“หมอสุพรรณ” แจงเห็ดขี้ควาย เป็น 1 ใน 9 ชนิดเห็ดพิษที่สำคัญในประเทศไทย นักวิจัยพยายามเตือน พร้อมเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน แนะหลีกเลี่ยงการกินเห็ดดอกตูมที่ไม่รู้จัก
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เปิดเผยว่า เป็นเวลามากกว่า 2,000 ปีมาแล้วที่มนุษย์บริโภคเห็ดเป็นอาหารและยารักษาโรค โดยเฉพาะประเทศในแถบตะวันออก มีงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์จำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่าเห็ดมีสารสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ทั่วโลกมีไม่ต่ำกว่า 200 ชนิด ที่ใช้เป็นอาหารและยา ในตำรายาเภสัชกรรมไทยมีการระบุการใช้เห็ดเป็นยาเช่นกัน
ทั้งนี้ จากข้อมูลกรมวิชาการเกษตร และสมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย พบว่า เห็ดพิษที่สำคัญที่พบในประเทศไทยที่นักวิชาการพยายามเผยแพร่ข้อมูลให้ประชาชนได้รับรู้เด่นๆ จะยกตัวอย่างในที่นี้จำนวน 9 ชนิด ได้แก่ เห็ดระโงกหินก้านลาย และเห็ดระงากขาว หรือเห็ดไข่ตายซาก เป็นเห็ดพิษที่มีความรุนแรงมากถึงขั้นเสียชีวิต โดยอาการจะแสดงหลังรับประทาน 6-24 ชั่วโมง มีอาการท้องร่วงเป็นตะคริวที่ท้อง ปวดท้องรุนแรง คลื่นไส้อาเจียน หลัง 24 ชั่วโมง มีอาการตับและไตวาย เสียชีวิตใน 2-6 วัน เห็ดเกล็ดดาว ความเป็นพิษที่แสดงออกคือมีเหงื่อออกมาก น้ำตาน้ำลายไหล วิงเวียน คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง ในรายที่รุนแรงชีพจรเต้นช้า ความดันโลหิตต่ำอาจเสียชีวิตได้
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่ความเป็นพิษรุนแรงน้อยกว่า ได้แก่ เห็ดผึ้งท้องรุ เห็ดหมวกจีน เห็ดหัวกรวดครีบเขียว เห็ดน้ำหมาก เห็ดเอนโตโลมา เป็นกลุ่มเห็ดพิษที่มีสีสันฉูดฉาด กลุ่มนี้พิษจะแสดงอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง เป็นตะคริว อาการจะแสดงหลังรับประทานประมาณ 30-90 นาที อาการจะทุเลาภายใน 3-4 ชั่วโมง และฟื้นตัวภายใน 1-2 วัน
ส่วนเห็ดขี้ควาย ลักษณะมีหมวกสีเหลืองอ่อน กลางหมวกสีน้ำตาล ครีบสีน้ำตาล ก้านทรงกระบอก มีวงแหวนสีน้ำตาลฉีกขาดง่าย ทุกส่วนเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเมื่อช้ำ อาการพิษที่แสดง คือ มีอาการเมา เคลิบเคลิ้ม เพ้อฝัน บ้าคลั่ง หลับลึก อาจมีอาการอาเจียน หมดแรง เป็นอัมพาตชั่วคราวร่วมด้วย กลุ่มหมอพื้นบ้านใช้ประโยชน์ของเห็ดขี้ควาย เพื่อรักษาอาการงูสวัด และไฟลามทุ่ง โดยใช้เห็ดขี้ควาย 1-2 ดอก ผสมกับน้ำซาวข้าวเจ้าเล็กน้อย บดให้ละเอียดทาบริเวณที่มีอาการ จะช่วยบรรเทาได้ ที่สำคัญไม่ควรรับประทานเห็ดดอกตูมที่เราไม่รู้จักชื่อ วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อพบว่าเป็นเห็ดพิษ ต้องทำให้อาเจียนโดยการรับประทานไข่ขาว แล้วส่งโรงพยาบาล พร้อมตัวอย่างเห็ดที่รับประทาน
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก เปิดเผยว่า เป็นเวลามากกว่า 2,000 ปีมาแล้วที่มนุษย์บริโภคเห็ดเป็นอาหารและยารักษาโรค โดยเฉพาะประเทศในแถบตะวันออก มีงานวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์จำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่าเห็ดมีสารสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ทั่วโลกมีไม่ต่ำกว่า 200 ชนิด ที่ใช้เป็นอาหารและยา ในตำรายาเภสัชกรรมไทยมีการระบุการใช้เห็ดเป็นยาเช่นกัน
ทั้งนี้ จากข้อมูลกรมวิชาการเกษตร และสมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย พบว่า เห็ดพิษที่สำคัญที่พบในประเทศไทยที่นักวิชาการพยายามเผยแพร่ข้อมูลให้ประชาชนได้รับรู้เด่นๆ จะยกตัวอย่างในที่นี้จำนวน 9 ชนิด ได้แก่ เห็ดระโงกหินก้านลาย และเห็ดระงากขาว หรือเห็ดไข่ตายซาก เป็นเห็ดพิษที่มีความรุนแรงมากถึงขั้นเสียชีวิต โดยอาการจะแสดงหลังรับประทาน 6-24 ชั่วโมง มีอาการท้องร่วงเป็นตะคริวที่ท้อง ปวดท้องรุนแรง คลื่นไส้อาเจียน หลัง 24 ชั่วโมง มีอาการตับและไตวาย เสียชีวิตใน 2-6 วัน เห็ดเกล็ดดาว ความเป็นพิษที่แสดงออกคือมีเหงื่อออกมาก น้ำตาน้ำลายไหล วิงเวียน คลื่นไส้อาเจียน ท้องร่วง ในรายที่รุนแรงชีพจรเต้นช้า ความดันโลหิตต่ำอาจเสียชีวิตได้
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่ความเป็นพิษรุนแรงน้อยกว่า ได้แก่ เห็ดผึ้งท้องรุ เห็ดหมวกจีน เห็ดหัวกรวดครีบเขียว เห็ดน้ำหมาก เห็ดเอนโตโลมา เป็นกลุ่มเห็ดพิษที่มีสีสันฉูดฉาด กลุ่มนี้พิษจะแสดงอาการปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง เป็นตะคริว อาการจะแสดงหลังรับประทานประมาณ 30-90 นาที อาการจะทุเลาภายใน 3-4 ชั่วโมง และฟื้นตัวภายใน 1-2 วัน
ส่วนเห็ดขี้ควาย ลักษณะมีหมวกสีเหลืองอ่อน กลางหมวกสีน้ำตาล ครีบสีน้ำตาล ก้านทรงกระบอก มีวงแหวนสีน้ำตาลฉีกขาดง่าย ทุกส่วนเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินเมื่อช้ำ อาการพิษที่แสดง คือ มีอาการเมา เคลิบเคลิ้ม เพ้อฝัน บ้าคลั่ง หลับลึก อาจมีอาการอาเจียน หมดแรง เป็นอัมพาตชั่วคราวร่วมด้วย กลุ่มหมอพื้นบ้านใช้ประโยชน์ของเห็ดขี้ควาย เพื่อรักษาอาการงูสวัด และไฟลามทุ่ง โดยใช้เห็ดขี้ควาย 1-2 ดอก ผสมกับน้ำซาวข้าวเจ้าเล็กน้อย บดให้ละเอียดทาบริเวณที่มีอาการ จะช่วยบรรเทาได้ ที่สำคัญไม่ควรรับประทานเห็ดดอกตูมที่เราไม่รู้จักชื่อ วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อพบว่าเป็นเห็ดพิษ ต้องทำให้อาเจียนโดยการรับประทานไข่ขาว แล้วส่งโรงพยาบาล พร้อมตัวอย่างเห็ดที่รับประทาน