โดย... รัชญา จันทะรัง
จากเด็กอู่ซ่อมรถยนต์ผันตัวเองสู่ลูกหม้อกรุงเทพมหานคร (กทม.) หลังสอบบรรจุได้ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิศวะเครื่องกลระดับ 3 เมื่อปี 2522 จวบจนวันนี้ 33 ผ่านไป เด็กชายคนนั้นได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดทางด้านการบริหารจัดการน้ำของเมืองหลวง ผู้กุมบังเหียนสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม.นาม “สัญญา ชีนิมิตร” ชื่อที่ใครๆ คงคุ้นเคยเมื่อวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ที่ผ่านมา...
ผอ.สัญญา ฉายภาพครั้งวัยเยาว์ให้ฟัง ว่า เติบโตมากับครอบครัวชาวนาย่านฝั่งตะวันออกของกทม.เป็นลูกคนที่ 3 จากทั้งหมด 9 คน สมัยเรียนหนังสือก็มีโดดเรียนบ้าง เพราะเพื่อนฝูงเยอะแต่ก็เกรดเฉลี่ยปานกลางประมาณ 2.4-2.5 จนสำเร็จปริญญาตรีทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลด้วยความอุปถัมภ์ของคุณลุงที่ส่งเสียจนสำเร็จการศึกษา
เมื่อสอบบรรจุเป็นข้าราชการ กทม.ได้ ผอ.สัญญา ก็ถูกส่งมาประจำที่สำนักการระบายน้ำทันที โดยเริ่มทำงานตั้งแต่เป็นวิศวกรกรเด็กๆ อยู่กองกำจัดน้ำเสียดูโครงการบำบัดน้ำเสียต่างๆ ซึ่งปัจจุบันกองดังกล่าวได้กลายเป็นสำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ
“พออยู่กองกำจัดน้ำเสียได้เพียง 1 ปี เจ้านายก็ให้ไปช่วยเรื่องน้ำท่วมที่สถานีสูบน้ำพระราม 4 ซึ่งตอนนั้นถือว่าใหญ่ที่สุด เพราะเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอก็ทำงานตรงนี้มาเรื่อยๆ จนได้ระดับ 6 ก็ได้ย้ายมาอยู่ที่กองเครื่องจักรกลที่ปัจจุบันกองนี้มีหน้าที่ดูแลเครื่องสูบน้ำของ สนน.ทั้งหมด รวมถึงเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ซึ่งผมอยู่ในกองนี้ 2-3 ปี ก็ได้รับการโปรโมตให้เป็นหัวหน้าฝ่ายที่สำนักสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นการข้ามห้วยครั้งแรกและครั้งเดียวในชีิวิตการทำงานของผมแต่อยู่โรงกำจัดสิ่งปฏิกูลได้เพียง 7 เดือน ผู้บังคับบัญชาก็บอกว่าคุณน่าจะมาช่วยดูระบายน้ำก็เลยได้กลับมาดูส่วนระบบอาคารบังคับน้ำอยู่ได้ 3-4 ปี ผมก็เขียนปรับโครงสร้างให้เป็นกองระบบอาคารบังคับน้ำเป็นผอ.คนแรกของกอง ซึ่งกองนี้ต้องดูแลประตูระบายน้ำกว่า 200 แห่ง สถานีสูบน้ำ 158 แห่ง อุโมงค์ระบายน้ำ แก้มลิง รวมถึงดูภาพรวมระดับน้ำของ กทม.ทั้งหมด”
หลังเป็น ผอ.กองระบบอาคารบังคับน้ำได้ 5 ปี ผู้ชายที่ชื่อสัญญา ชีนิมิตร ก็ได้เลื่อนขั้นให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ และอยู่ในบทบาทนี้อีก 5 ปีจึงได้รับการดปรโมทให้ขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดด้านการบริหารจัดการน้ำของเมืองหลวงในฐานะผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำหลังใช้ชีวิตราชการมาถึง 30 ปี
“ผมมีความผูกพันกับการทำงานที่ได้ช่วยเหลือให้ประชาชนพ้นทุกข์ ถ้าเห็นเขายังมีทุกข์เราก็สบายใจไม่ได้ อย่างปี 2538 ชาวลาดพร้าวเป็นทุกข์เพราะน้ำท่วมมาก เข้าห้องน้ำก็ไม่ได้ ต้องถ่ายอุจจาระแล้วเอาถุงแขวนไว้ เราก็เข้าไปช่วยเขา เขาก็ขอบคุณจนทางการเคหะมอบโล่ให้กับเรา และจนถึงทุกวันนี้ก็ยังคิดแบบนี้อยู่ และรู้สึกภูมิใจที่ได้ทำงานในด้านนี้มาโดยตลอด”
ผอ.สัญญา บอกว่า แม้จะต้องทำงานแค่ไหน จนไม่มีแม้แต่เวลาที่จะพาครอบครัวไปเที่ยวพักผ่อนเหมือนคนอื่นเขา เวลาที่จะเจอหน้าลูกก็แทบไม่มียิ่งช่วงหน้าฝนกลับมาบ้านตอนเช้าก็สวนทางกับลูกๆ ที่ออกไปเรียนแล้ว แต่ ผอ.สัญญา บอกว่า เรื่องเล่านี้ไม่เคยทำให้มีปัญหาครอบครัวเพราะด้วยความที่เป็นครอบครัวขยาย มีญาติพี่น้องอยู่ด้วยกันในอาณาบริเวณบ้านเดียวกัน ที่สำคัญภรรยาและลูกเข้าใจจึงทำให้ทำงานได้เต็มที่ และสนับสนุนการทำงานเสมอมา
ผอ.สนน.คนนี้ เล่าอีกว่า ตั้งแต่ทำงานมาต้องผจญกับน้ำท่วมเมืองกรุงถึง 5 ครั้ง นับตั้งแต่ปี 2526 ปี 2538 ปี 2549 ปี 2553 และปี 2554 ที่ถือว่าเป็นวิกฤตน้ำท่วมครั้งใหญ่ของเมืองกรุง แต่สิ่งที่ทำให้ฝ่าฟันวิกฤติในแต่ละครั้งมาได้นั้นตนก็จะนึกถึงคำที่ผู้บังคับบัญชาเก่าที่เคยสั่งสอน หรือแม้แต่น้ำท่วมที่ผ่านมาผู้บังคับบัญชาบางท่านก็คอยให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะว่าเราควรทำยังไง ควรก้าวต่อไปยังไง และที่สำคัญเราได้ทำงานถวายใต้เบื้องพระยุคลบาท เราเป็นข้าของแผ่นดิน ฉะนั้นเราต้องทำให้ดีที่สุด
“ตอนน้ำท่วมใหญ่ที่ผ่านมา ในที่ประชุมผมนั่งน้ำตาไหล มีแรงกดดันเยอะมาก แต่แรงกดดันนี้ก็เป็นตัวผลักดันให้เราเร่งแก้ปัญหา ที่ผมทุกข์เพราะเราจะทำยังไงให้ชาวบ้านที่น้ำท่วมคลายทุกข์เร็วที่สุด ต้องขอบคุณผู้ใหญ่ในบ้านเมืองหลายคนที่เมตตาเข้าใจ และที่สำคัญโครงการพระราชดำริต่างๆของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เป็นประโยชน์อย่างมาก และสุดท้ายเราทำเพื่อประชาชนจริงๆ จึงทำให้เราผ่านอุปสรรคไปได้”
อดีตเด็กอู่ซ่อมรถ คนนี้ บอกด้วยว่า สิ่งที่สร้างความหนักใจให้กับการทำงานในตำแหน่งนี้นั้นคือความคาดหวังของประชาชนที่ค่อนข้างสูงแต่ด้วยสภาพพื้นที่ของกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นหลุมขนมครกก็จะทำให้มีพื้นที่จุดอ่อนน้ำท่วมที่เวลาฝนตกลงมาเมื่อไหร่ในพื้นที่นั้นก็จะเกิดน้ำท่วมขัง 1-2 ชั่วโมง แต่ก็จะพยายามบรรเทาปัญหาในส่วนนี้ให้ดีที่สุด ซึ่งมีโครงการที่จะสร้างบ่อสูบน้ำ รวมถึงจะควบคุมความรุนแรงของน้ำให้ลดลงซึ่งหน้าฝนปีนี้คาดว่าจะไม่เกิดน้ำท่วมหนักอย่างที่ผ่านมาเพราะรัฐบาลและกทม. ได้มีการวางแผนร่วมกันในการบริหารจัดการน้ำ รวมถึงมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่จะช่วยบรรเทาถ้าเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมขึ้นอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวเชื่อว่า ไม่น่าจะเกิดขึ้นเพราะดูจากสภาพการณ์ตอนนี้ที่ไม่มีพายุฝนแต่เราก็ไม่ประมาท เราเตรียมพร้อมเต็มที่กับศักยภาพที่เรามีอยู่
ผอ.สัญญา บอกต่อว่า ที่สำคัญ ต้องขอความร่วมมือประชาชนช่วยกันดูแล เพราะขณะนี้มีมิจฉาชีพขโมยตะแกรง สายไฟ แบตเตอรี่ที่สถานีสูบน้ำ และอย่าทิ้งขยะลงคูคลอง เพราะถ้าไม่มีคนทิ้งขยะเราสามารถที่จะนำพนักงานเก็บขยะไปทำหน้าที่อย่างอื่นได้ดีกว่านี้ ในส่วนของตนเองก็จะพัฒนาองค์กรทั้งในด้านการใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บข้อมูล สถิติซึ่งจะเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยตัดสินใจในการทำงาน รวมถึงจะลดการการใช้คนมาใช้เครื่องมือให้มากขึ้น เช่น การลอกท่อที่ยังใช้คนเป็นกำลังหลักอยู่ ตลอดจนจะลดความสูญเสียปัญหาทางสุขภาพ เศรษฐกิจในเมืองที่มาจากปัญหาน้ำท่วมให้น้อยลง และที่สำคัญจะสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระองค์ท่านต่อไป
“น้ำเป็นชีวิต คนขาดมันไม่ได้ แต่น้ำก็เป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ขณะที่การเจริญเติบโตของเมืองเพิ่มมากขึ้นดังนั้นหากเราใช้น้ำอย่างมีคุณค่าในอนาคตก็จะไม่มีปัญหา ส่วยตัวผมเองทำงานอยู่กับตรงนี้มาตลอด เจริญเติบโตมากับน้ำ บอกได้ว่าน้ำให้คุณประโยชน์กับผมมากถือได้ว่าน้ำเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผมได้เกิดได้อยู่กับมันทุกวัน” ผอ.สัญญา สรุปทิ้งท้าย
จากเด็กอู่ซ่อมรถยนต์ผันตัวเองสู่ลูกหม้อกรุงเทพมหานคร (กทม.) หลังสอบบรรจุได้ในตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิศวะเครื่องกลระดับ 3 เมื่อปี 2522 จวบจนวันนี้ 33 ผ่านไป เด็กชายคนนั้นได้ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดทางด้านการบริหารจัดการน้ำของเมืองหลวง ผู้กุมบังเหียนสำนักการระบายน้ำ (สนน.) กทม.นาม “สัญญา ชีนิมิตร” ชื่อที่ใครๆ คงคุ้นเคยเมื่อวิกฤตน้ำท่วมใหญ่ที่ผ่านมา...
ผอ.สัญญา ฉายภาพครั้งวัยเยาว์ให้ฟัง ว่า เติบโตมากับครอบครัวชาวนาย่านฝั่งตะวันออกของกทม.เป็นลูกคนที่ 3 จากทั้งหมด 9 คน สมัยเรียนหนังสือก็มีโดดเรียนบ้าง เพราะเพื่อนฝูงเยอะแต่ก็เกรดเฉลี่ยปานกลางประมาณ 2.4-2.5 จนสำเร็จปริญญาตรีทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลด้วยความอุปถัมภ์ของคุณลุงที่ส่งเสียจนสำเร็จการศึกษา
เมื่อสอบบรรจุเป็นข้าราชการ กทม.ได้ ผอ.สัญญา ก็ถูกส่งมาประจำที่สำนักการระบายน้ำทันที โดยเริ่มทำงานตั้งแต่เป็นวิศวกรกรเด็กๆ อยู่กองกำจัดน้ำเสียดูโครงการบำบัดน้ำเสียต่างๆ ซึ่งปัจจุบันกองดังกล่าวได้กลายเป็นสำนักงานจัดการคุณภาพน้ำ
“พออยู่กองกำจัดน้ำเสียได้เพียง 1 ปี เจ้านายก็ให้ไปช่วยเรื่องน้ำท่วมที่สถานีสูบน้ำพระราม 4 ซึ่งตอนนั้นถือว่าใหญ่ที่สุด เพราะเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอก็ทำงานตรงนี้มาเรื่อยๆ จนได้ระดับ 6 ก็ได้ย้ายมาอยู่ที่กองเครื่องจักรกลที่ปัจจุบันกองนี้มีหน้าที่ดูแลเครื่องสูบน้ำของ สนน.ทั้งหมด รวมถึงเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ซึ่งผมอยู่ในกองนี้ 2-3 ปี ก็ได้รับการโปรโมตให้เป็นหัวหน้าฝ่ายที่สำนักสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นการข้ามห้วยครั้งแรกและครั้งเดียวในชีิวิตการทำงานของผมแต่อยู่โรงกำจัดสิ่งปฏิกูลได้เพียง 7 เดือน ผู้บังคับบัญชาก็บอกว่าคุณน่าจะมาช่วยดูระบายน้ำก็เลยได้กลับมาดูส่วนระบบอาคารบังคับน้ำอยู่ได้ 3-4 ปี ผมก็เขียนปรับโครงสร้างให้เป็นกองระบบอาคารบังคับน้ำเป็นผอ.คนแรกของกอง ซึ่งกองนี้ต้องดูแลประตูระบายน้ำกว่า 200 แห่ง สถานีสูบน้ำ 158 แห่ง อุโมงค์ระบายน้ำ แก้มลิง รวมถึงดูภาพรวมระดับน้ำของ กทม.ทั้งหมด”
หลังเป็น ผอ.กองระบบอาคารบังคับน้ำได้ 5 ปี ผู้ชายที่ชื่อสัญญา ชีนิมิตร ก็ได้เลื่อนขั้นให้ดำรงตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำ และอยู่ในบทบาทนี้อีก 5 ปีจึงได้รับการดปรโมทให้ขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดด้านการบริหารจัดการน้ำของเมืองหลวงในฐานะผู้อำนวยการสำนักการระบายน้ำหลังใช้ชีวิตราชการมาถึง 30 ปี
“ผมมีความผูกพันกับการทำงานที่ได้ช่วยเหลือให้ประชาชนพ้นทุกข์ ถ้าเห็นเขายังมีทุกข์เราก็สบายใจไม่ได้ อย่างปี 2538 ชาวลาดพร้าวเป็นทุกข์เพราะน้ำท่วมมาก เข้าห้องน้ำก็ไม่ได้ ต้องถ่ายอุจจาระแล้วเอาถุงแขวนไว้ เราก็เข้าไปช่วยเขา เขาก็ขอบคุณจนทางการเคหะมอบโล่ให้กับเรา และจนถึงทุกวันนี้ก็ยังคิดแบบนี้อยู่ และรู้สึกภูมิใจที่ได้ทำงานในด้านนี้มาโดยตลอด”
ผอ.สัญญา บอกว่า แม้จะต้องทำงานแค่ไหน จนไม่มีแม้แต่เวลาที่จะพาครอบครัวไปเที่ยวพักผ่อนเหมือนคนอื่นเขา เวลาที่จะเจอหน้าลูกก็แทบไม่มียิ่งช่วงหน้าฝนกลับมาบ้านตอนเช้าก็สวนทางกับลูกๆ ที่ออกไปเรียนแล้ว แต่ ผอ.สัญญา บอกว่า เรื่องเล่านี้ไม่เคยทำให้มีปัญหาครอบครัวเพราะด้วยความที่เป็นครอบครัวขยาย มีญาติพี่น้องอยู่ด้วยกันในอาณาบริเวณบ้านเดียวกัน ที่สำคัญภรรยาและลูกเข้าใจจึงทำให้ทำงานได้เต็มที่ และสนับสนุนการทำงานเสมอมา
ผอ.สนน.คนนี้ เล่าอีกว่า ตั้งแต่ทำงานมาต้องผจญกับน้ำท่วมเมืองกรุงถึง 5 ครั้ง นับตั้งแต่ปี 2526 ปี 2538 ปี 2549 ปี 2553 และปี 2554 ที่ถือว่าเป็นวิกฤตน้ำท่วมครั้งใหญ่ของเมืองกรุง แต่สิ่งที่ทำให้ฝ่าฟันวิกฤติในแต่ละครั้งมาได้นั้นตนก็จะนึกถึงคำที่ผู้บังคับบัญชาเก่าที่เคยสั่งสอน หรือแม้แต่น้ำท่วมที่ผ่านมาผู้บังคับบัญชาบางท่านก็คอยให้คำแนะนำ ข้อเสนอแนะว่าเราควรทำยังไง ควรก้าวต่อไปยังไง และที่สำคัญเราได้ทำงานถวายใต้เบื้องพระยุคลบาท เราเป็นข้าของแผ่นดิน ฉะนั้นเราต้องทำให้ดีที่สุด
“ตอนน้ำท่วมใหญ่ที่ผ่านมา ในที่ประชุมผมนั่งน้ำตาไหล มีแรงกดดันเยอะมาก แต่แรงกดดันนี้ก็เป็นตัวผลักดันให้เราเร่งแก้ปัญหา ที่ผมทุกข์เพราะเราจะทำยังไงให้ชาวบ้านที่น้ำท่วมคลายทุกข์เร็วที่สุด ต้องขอบคุณผู้ใหญ่ในบ้านเมืองหลายคนที่เมตตาเข้าใจ และที่สำคัญโครงการพระราชดำริต่างๆของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่เป็นประโยชน์อย่างมาก และสุดท้ายเราทำเพื่อประชาชนจริงๆ จึงทำให้เราผ่านอุปสรรคไปได้”
อดีตเด็กอู่ซ่อมรถ คนนี้ บอกด้วยว่า สิ่งที่สร้างความหนักใจให้กับการทำงานในตำแหน่งนี้นั้นคือความคาดหวังของประชาชนที่ค่อนข้างสูงแต่ด้วยสภาพพื้นที่ของกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นหลุมขนมครกก็จะทำให้มีพื้นที่จุดอ่อนน้ำท่วมที่เวลาฝนตกลงมาเมื่อไหร่ในพื้นที่นั้นก็จะเกิดน้ำท่วมขัง 1-2 ชั่วโมง แต่ก็จะพยายามบรรเทาปัญหาในส่วนนี้ให้ดีที่สุด ซึ่งมีโครงการที่จะสร้างบ่อสูบน้ำ รวมถึงจะควบคุมความรุนแรงของน้ำให้ลดลงซึ่งหน้าฝนปีนี้คาดว่าจะไม่เกิดน้ำท่วมหนักอย่างที่ผ่านมาเพราะรัฐบาลและกทม. ได้มีการวางแผนร่วมกันในการบริหารจัดการน้ำ รวมถึงมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่จะช่วยบรรเทาถ้าเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมขึ้นอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวเชื่อว่า ไม่น่าจะเกิดขึ้นเพราะดูจากสภาพการณ์ตอนนี้ที่ไม่มีพายุฝนแต่เราก็ไม่ประมาท เราเตรียมพร้อมเต็มที่กับศักยภาพที่เรามีอยู่
ผอ.สัญญา บอกต่อว่า ที่สำคัญ ต้องขอความร่วมมือประชาชนช่วยกันดูแล เพราะขณะนี้มีมิจฉาชีพขโมยตะแกรง สายไฟ แบตเตอรี่ที่สถานีสูบน้ำ และอย่าทิ้งขยะลงคูคลอง เพราะถ้าไม่มีคนทิ้งขยะเราสามารถที่จะนำพนักงานเก็บขยะไปทำหน้าที่อย่างอื่นได้ดีกว่านี้ ในส่วนของตนเองก็จะพัฒนาองค์กรทั้งในด้านการใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บข้อมูล สถิติซึ่งจะเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยตัดสินใจในการทำงาน รวมถึงจะลดการการใช้คนมาใช้เครื่องมือให้มากขึ้น เช่น การลอกท่อที่ยังใช้คนเป็นกำลังหลักอยู่ ตลอดจนจะลดความสูญเสียปัญหาทางสุขภาพ เศรษฐกิจในเมืองที่มาจากปัญหาน้ำท่วมให้น้อยลง และที่สำคัญจะสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระองค์ท่านต่อไป
“น้ำเป็นชีวิต คนขาดมันไม่ได้ แต่น้ำก็เป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ขณะที่การเจริญเติบโตของเมืองเพิ่มมากขึ้นดังนั้นหากเราใช้น้ำอย่างมีคุณค่าในอนาคตก็จะไม่มีปัญหา ส่วยตัวผมเองทำงานอยู่กับตรงนี้มาตลอด เจริญเติบโตมากับน้ำ บอกได้ว่าน้ำให้คุณประโยชน์กับผมมากถือได้ว่าน้ำเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตผมได้เกิดได้อยู่กับมันทุกวัน” ผอ.สัญญา สรุปทิ้งท้าย