ASTVผู้จัดการรายวัน - แหล่งข่าวจากวงการก่อสร้างซัด กทม.จงใจเอื้อบีทีเอสซีกินรวบ 30 ปีเดินรถไฟฟ้า ชี้รอใกล้หมดสัญญาได้เปรียบกว่าเห็นๆ ด้านกทม.เตรียมเปิดโต๊ะแถลงข้อเท็จจริงวันนี้
แหล่งข่าวจากวงการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ กล่าวถึงกรณีที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) เซ็นสัญญาว่าจ้างบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี เดินรถไฟฟ้าเป็นเวลา 30 ปี ว่า ถือเป็นการผูกขาดเดินรถไฟฟ้าล่วงหน้ารวดเดียว 30 ปี ด้วยวงเงินเกือบ 2 แสนล้านบาทอาจกลายเป็นการทำร้าย กทม.กับพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในฐานะพรรคต้นสังกัดของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.ที่อาจจะส่งผลต่อการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ในต้นปีหน้าด้วย
เนื่องจากการดำเนินการครั้งนี้ส่อเจตนาไปทางเอื้อให้บีทีเอสซีได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มที่ ในขณะที่เหตุผลชี้แจงโดยเฉพาะเรื่องสาเหตุที่ต้องรีบลงนามในสัญญาว่าจ้างก่อนที่สัญญาสัมปทานเดิมจะหมดหลายปีนั้นฟังไม่ขึ้น ทั้งยังทำให้ กทม.เสียประโยชน์อีก
“กทม.ต้องตอบให้ได้ว่าการเซ็นสัญญากับบีทีเอสซีระยะยาวรวดเดียว 30 ปี วงเงินสูงถึง 1.9 แสนล้านครั้งนี้นั้น กทม.ได้ราคาที่ถูกจริงหรือไม่ และที่สำคัญทำไมต้องรีบเซ็นก่อนหมดอายุสัมปทานถึง 17 ปี ถ้าเซ็นทีหลังมันจะแพงมากหรือยังไง เพราะแทบไม่เคยเห็นการเซ็นจ้างล่วงหน้าก่อนหมดสัญญาสัมปทานนานขนาดนี้”
แหล่งข่าวจากวงการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ หากรอให้ถึงช่วงใกล้หมดอายุสัมปทานแล้วค่อยเจรจาว่าจ้างบีทีเอสซีมาเดินรถจะทำให้ กทม.มีอำนาจต่อรองสูงกว่า ประการแรกในช่วงนั้นจะมีโครงข่ายรถไฟฟ้ามากกว่าในปัจจุบันมาก อย่างเช่น ภายใน 4-5 ปีนี้จะมีโครงข่ายรถไฟฟ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าเส้นทางแบริ่ง-สมุทรปราการ เส้นทางบางซื่อ-บางใหญ่ เส้นทางบางซื่อ-ท่าพระ เส้นทางหัวลำโพง-ท่าพระ หรืออย่างเส้นทางสายสีเขียวของกทม.ตามแผนคือเส้นทางหมอชิต-สะพานใหม่ เป็นต้น เมื่อรวมแล้วใน 17 ปีข้างหน้าที่เป็นระยะสัมปทานของบีทีเอสซีหมด ประเทศไทยจะมีโครงข่ายรถไฟฟ้ามากกว่าในปัจจุบันมาก จึงส่งผลให้ กทม.ย่อมมีอำนาจต่อรองสูงกว่า เพราะมีโครงข่ายที่จะมาสนับสนุนโครงข่ายของบีทีเอสซี โดยเฉพาะปริมาณผู้โดยสารที่จะสูงขึ้นมาก
ขณะที่บีทีเอสซีไม่ได้ใช้งบลงทุนสักบาทเดียวเป็นของรัฐบาลและ กทม.หมด ทั้งยังจะหมดสัญญาสัมปทานไม่มีงานทำแล้วด้วย
“ยิ่งในอนาคตนั้นย่อมจะมีบริษัทที่มีความสามารถเดินรถได้มากกว่าปัจจุบัน เพราะจะต้องมีบริษัทเดินรถผุดขึ้นมาอีก เนื่องจากมีโครงข่ายรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ซึ่งตามหลักการสากลการเปิดการประมูลย่อมเป็นผลดีด้านราคาว่าจ้างแก่ภาครัฐมากกว่าอยู่แล้วเพราะมีการแข่งขันกันด้านราคาและความสามารถอยู่แล้ว จึงมองไม่เห็นเหตุผลของการรีบร้อนเซ็นสัญญากับบีทีเอสซีในครั้งนี้เลย”
แหล่งข่าวคนเดิม กล่าวต่อว่า สำหรับเหตุผลที่ กทม.ชี้แจงในประเด็นเรื่องที่บอกว่า หากเซ็นจ้างตอนนี้จะเป็นการประกันว่าบีทีเอสซีจะต้องมีการเพิ่มจำนวนรถไฟฟ้าในอนาคตและจะต้องรักษาสภาพรถให้อยู่ในสภาพดีตลอดอายุว่าจ้าง 30 ปีนับจากนี้ หากเซ็นตอนหมดอายุสัมปทานอีก 17 ปี รถไฟฟ้าก็จะอยู่ในสภาพไม่ดีนั้น เท่าที่ทราบการลงนามสัญญาสัมปทานที่ผ่านมานั้นเป็นระบบบีโอที (Build-Operate-Transfer) บีทีเอสซีมีหน้าที่ต้องเพิ่มจำนวนรถตามปริมาณผู้โดยสาร และถึงเวลาหมดอายุสัญญาสัมปทานก็จะต้องส่งมอบตัวรถไฟฟ้าที่อยู่ในสภาพใช้งานได้อยู่แล้ว จึงไม่จริงตามที่อ้างว่าจะเป็นต้องเซ็นว่าจ้างช่วงนี้
“ที่ผ่านมาตอน กทม.เซ็นว่าจ้างบีทีเอสซีมาเป็นผู้เดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายเส้นทางตากสิน-วงเวียนใหญ่ กับอ่อนนุช-แบริ่ง นั้นบีทีเอสซีก็ได้ให้เหตุผลของภาระที่จะต้องซื้อรถไฟฟ้าเพิ่มเพื่อมาวิ่งบริการส่วนนี้ จึงบวกค่าซื้อรถไฟฟ้าอยู่ในค่าจ้างเดินรถด้วย เท่ากับเป็นการผลักภาระค่าซื้อรถให้กับ กทม.ไปด้วย”
นอกจากนี้ ในประเด็นที่ กทม.บอกว่า ปัจจัยหนึ่งของการลงนามในสัญญาครั้งนี้ก็เพื่อป้องกันการที่รัฐบาลกลางจะมาฮุบกิจการรถไฟฟ้าบีทีเอสในอนาคตนั้นก็ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน เพราะการที่รัฐบาลจะมาฮุบกิจการในช่วงนี้นั้นก็ต้องเจรจาเรื่องราคาหุ้นของบีทีเอสซี ซึ่งหากรัฐบาลให้ผลประโยชน์ไม่ตรงกับความพอใจของบีทีเอสซี บีทีเอสซีเขาก็ย่อมไม่ขายกิจการให้รัฐ รัฐบาลจะไปบังคับภาคเอกชนได้อย่างไร
แหล่งข่าวคนเดิม กล่าวด้วยว่า ดูจากลักษณะการกระทำของ กทม.แล้ว ค่อนข้างเชื่อได้ว่ามีเจตนาเอื้อประโยชน์ต่อบีทีเอสซี อย่างเรื่องการออกข้อบัญญัติให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) บริษัทวิสาหกิจของ กทม.มีอำนาจลงนามว่าจ้างบริษัทเอกชนมาดำเนินกิจการแทนกทม.ได้ และยิ่งบอกว่าเตรียมการมาแล้วถึง 2 ปี ก็ยิ่งพลอยชี้ให้เห็นว่า การณ์นี้ทำเพื่อให้เคทีเซ็นว่าจ้างบีทีเอสซีในครั้งนี้โดยไม่รอให้มีการเปิดประมูลแข่งขันในอนาคต
“รฟม.ไม่เคยตั้งบริษัทที่ปรึกษาเพื่อมาดำเนินธุรกิจแทนตัวเองเหมือนกับที่ กทม.มีเคทีซึ่งต้องจ่ายค่าจ้างให้เคทีถึง 1.8 พันล้านบาท ทำให้ รฟม.สามารถเข้ามาดูรายรับรายจ่ายของบริษัทเดินรถของตัวเองได้ ขณะที่กทม.นั้นต้องผ่านเคทีทุกอย่าง ลองคิดดูหากเคทีฮั้วกับบีทีเอสซีขึ้นมา กทม.จะสามารถตรวจสอบได้อย่างไร และเมื่อมีกำไรถึง3แสนล้านบาท บีทีเอสซีรับไปคนเดียวเกือบ 2 แสนล้านบาท มันยุติธรรมหรือไม่”แหล่งข่าวจากวงการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่คนเดิมว่า”
รายงานข่าวจากกทม.แจ้งด้วยว่า ในวันนี้ (14 พ.ค.) กทม.จะแถลงข้อเท็จจริงกรณี BTS เพื่อไม่ให้เป็นประเด็นทางการเมืองหวั่นซ้ำรอยกล้องซีซีทีวีโดยได้ให้สำนักงานกฎหมายและคดี กทม.ชี้แจ้งในข้อกฎมาย การตีความของกฤษฎีกา ให้เคทีชี้จ้างการจัดซื้อจัดจ้าง และให้สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชี้แจงในรายละเอียดประเด็นราคาเนื่องจากเคทีได้ว่าจ้างศศินทร์มาเป็นที่ปรึกษาในเรื่องดังกล่าว
แหล่งข่าวจากวงการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ กล่าวถึงกรณีที่กรุงเทพมหานคร (กทม.) เซ็นสัญญาว่าจ้างบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี เดินรถไฟฟ้าเป็นเวลา 30 ปี ว่า ถือเป็นการผูกขาดเดินรถไฟฟ้าล่วงหน้ารวดเดียว 30 ปี ด้วยวงเงินเกือบ 2 แสนล้านบาทอาจกลายเป็นการทำร้าย กทม.กับพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ในฐานะพรรคต้นสังกัดของ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.ที่อาจจะส่งผลต่อการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ในต้นปีหน้าด้วย
เนื่องจากการดำเนินการครั้งนี้ส่อเจตนาไปทางเอื้อให้บีทีเอสซีได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มที่ ในขณะที่เหตุผลชี้แจงโดยเฉพาะเรื่องสาเหตุที่ต้องรีบลงนามในสัญญาว่าจ้างก่อนที่สัญญาสัมปทานเดิมจะหมดหลายปีนั้นฟังไม่ขึ้น ทั้งยังทำให้ กทม.เสียประโยชน์อีก
“กทม.ต้องตอบให้ได้ว่าการเซ็นสัญญากับบีทีเอสซีระยะยาวรวดเดียว 30 ปี วงเงินสูงถึง 1.9 แสนล้านครั้งนี้นั้น กทม.ได้ราคาที่ถูกจริงหรือไม่ และที่สำคัญทำไมต้องรีบเซ็นก่อนหมดอายุสัมปทานถึง 17 ปี ถ้าเซ็นทีหลังมันจะแพงมากหรือยังไง เพราะแทบไม่เคยเห็นการเซ็นจ้างล่วงหน้าก่อนหมดสัญญาสัมปทานนานขนาดนี้”
แหล่งข่าวจากวงการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ กล่าวอีกว่า ทั้งนี้ หากรอให้ถึงช่วงใกล้หมดอายุสัมปทานแล้วค่อยเจรจาว่าจ้างบีทีเอสซีมาเดินรถจะทำให้ กทม.มีอำนาจต่อรองสูงกว่า ประการแรกในช่วงนั้นจะมีโครงข่ายรถไฟฟ้ามากกว่าในปัจจุบันมาก อย่างเช่น ภายใน 4-5 ปีนี้จะมีโครงข่ายรถไฟฟ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ไม่ว่าจะเป็นรถไฟฟ้าเส้นทางแบริ่ง-สมุทรปราการ เส้นทางบางซื่อ-บางใหญ่ เส้นทางบางซื่อ-ท่าพระ เส้นทางหัวลำโพง-ท่าพระ หรืออย่างเส้นทางสายสีเขียวของกทม.ตามแผนคือเส้นทางหมอชิต-สะพานใหม่ เป็นต้น เมื่อรวมแล้วใน 17 ปีข้างหน้าที่เป็นระยะสัมปทานของบีทีเอสซีหมด ประเทศไทยจะมีโครงข่ายรถไฟฟ้ามากกว่าในปัจจุบันมาก จึงส่งผลให้ กทม.ย่อมมีอำนาจต่อรองสูงกว่า เพราะมีโครงข่ายที่จะมาสนับสนุนโครงข่ายของบีทีเอสซี โดยเฉพาะปริมาณผู้โดยสารที่จะสูงขึ้นมาก
ขณะที่บีทีเอสซีไม่ได้ใช้งบลงทุนสักบาทเดียวเป็นของรัฐบาลและ กทม.หมด ทั้งยังจะหมดสัญญาสัมปทานไม่มีงานทำแล้วด้วย
“ยิ่งในอนาคตนั้นย่อมจะมีบริษัทที่มีความสามารถเดินรถได้มากกว่าปัจจุบัน เพราะจะต้องมีบริษัทเดินรถผุดขึ้นมาอีก เนื่องจากมีโครงข่ายรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ซึ่งตามหลักการสากลการเปิดการประมูลย่อมเป็นผลดีด้านราคาว่าจ้างแก่ภาครัฐมากกว่าอยู่แล้วเพราะมีการแข่งขันกันด้านราคาและความสามารถอยู่แล้ว จึงมองไม่เห็นเหตุผลของการรีบร้อนเซ็นสัญญากับบีทีเอสซีในครั้งนี้เลย”
แหล่งข่าวคนเดิม กล่าวต่อว่า สำหรับเหตุผลที่ กทม.ชี้แจงในประเด็นเรื่องที่บอกว่า หากเซ็นจ้างตอนนี้จะเป็นการประกันว่าบีทีเอสซีจะต้องมีการเพิ่มจำนวนรถไฟฟ้าในอนาคตและจะต้องรักษาสภาพรถให้อยู่ในสภาพดีตลอดอายุว่าจ้าง 30 ปีนับจากนี้ หากเซ็นตอนหมดอายุสัมปทานอีก 17 ปี รถไฟฟ้าก็จะอยู่ในสภาพไม่ดีนั้น เท่าที่ทราบการลงนามสัญญาสัมปทานที่ผ่านมานั้นเป็นระบบบีโอที (Build-Operate-Transfer) บีทีเอสซีมีหน้าที่ต้องเพิ่มจำนวนรถตามปริมาณผู้โดยสาร และถึงเวลาหมดอายุสัญญาสัมปทานก็จะต้องส่งมอบตัวรถไฟฟ้าที่อยู่ในสภาพใช้งานได้อยู่แล้ว จึงไม่จริงตามที่อ้างว่าจะเป็นต้องเซ็นว่าจ้างช่วงนี้
“ที่ผ่านมาตอน กทม.เซ็นว่าจ้างบีทีเอสซีมาเป็นผู้เดินรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายเส้นทางตากสิน-วงเวียนใหญ่ กับอ่อนนุช-แบริ่ง นั้นบีทีเอสซีก็ได้ให้เหตุผลของภาระที่จะต้องซื้อรถไฟฟ้าเพิ่มเพื่อมาวิ่งบริการส่วนนี้ จึงบวกค่าซื้อรถไฟฟ้าอยู่ในค่าจ้างเดินรถด้วย เท่ากับเป็นการผลักภาระค่าซื้อรถให้กับ กทม.ไปด้วย”
นอกจากนี้ ในประเด็นที่ กทม.บอกว่า ปัจจัยหนึ่งของการลงนามในสัญญาครั้งนี้ก็เพื่อป้องกันการที่รัฐบาลกลางจะมาฮุบกิจการรถไฟฟ้าบีทีเอสในอนาคตนั้นก็ฟังไม่ขึ้นเช่นกัน เพราะการที่รัฐบาลจะมาฮุบกิจการในช่วงนี้นั้นก็ต้องเจรจาเรื่องราคาหุ้นของบีทีเอสซี ซึ่งหากรัฐบาลให้ผลประโยชน์ไม่ตรงกับความพอใจของบีทีเอสซี บีทีเอสซีเขาก็ย่อมไม่ขายกิจการให้รัฐ รัฐบาลจะไปบังคับภาคเอกชนได้อย่างไร
แหล่งข่าวคนเดิม กล่าวด้วยว่า ดูจากลักษณะการกระทำของ กทม.แล้ว ค่อนข้างเชื่อได้ว่ามีเจตนาเอื้อประโยชน์ต่อบีทีเอสซี อย่างเรื่องการออกข้อบัญญัติให้บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) บริษัทวิสาหกิจของ กทม.มีอำนาจลงนามว่าจ้างบริษัทเอกชนมาดำเนินกิจการแทนกทม.ได้ และยิ่งบอกว่าเตรียมการมาแล้วถึง 2 ปี ก็ยิ่งพลอยชี้ให้เห็นว่า การณ์นี้ทำเพื่อให้เคทีเซ็นว่าจ้างบีทีเอสซีในครั้งนี้โดยไม่รอให้มีการเปิดประมูลแข่งขันในอนาคต
“รฟม.ไม่เคยตั้งบริษัทที่ปรึกษาเพื่อมาดำเนินธุรกิจแทนตัวเองเหมือนกับที่ กทม.มีเคทีซึ่งต้องจ่ายค่าจ้างให้เคทีถึง 1.8 พันล้านบาท ทำให้ รฟม.สามารถเข้ามาดูรายรับรายจ่ายของบริษัทเดินรถของตัวเองได้ ขณะที่กทม.นั้นต้องผ่านเคทีทุกอย่าง ลองคิดดูหากเคทีฮั้วกับบีทีเอสซีขึ้นมา กทม.จะสามารถตรวจสอบได้อย่างไร และเมื่อมีกำไรถึง3แสนล้านบาท บีทีเอสซีรับไปคนเดียวเกือบ 2 แสนล้านบาท มันยุติธรรมหรือไม่”แหล่งข่าวจากวงการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่คนเดิมว่า”
รายงานข่าวจากกทม.แจ้งด้วยว่า ในวันนี้ (14 พ.ค.) กทม.จะแถลงข้อเท็จจริงกรณี BTS เพื่อไม่ให้เป็นประเด็นทางการเมืองหวั่นซ้ำรอยกล้องซีซีทีวีโดยได้ให้สำนักงานกฎหมายและคดี กทม.ชี้แจ้งในข้อกฎมาย การตีความของกฤษฎีกา ให้เคทีชี้จ้างการจัดซื้อจัดจ้าง และให้สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยชี้แจงในรายละเอียดประเด็นราคาเนื่องจากเคทีได้ว่าจ้างศศินทร์มาเป็นที่ปรึกษาในเรื่องดังกล่าว