สธ.เผยคนไทยตาย เพราะมะเร็งตับสูงสุดในโลก โดยเฉพาะภาคอีสาน เหตุชอบกินปลาร้าดิบ ส่งผลอัตราป่วยเพิ่มขึ้นวันละ 30 ราย เร่งจับมือโรงพยาบาล 15 แห่ง ทั่วภูมิภาค จัดโครงการผ่าตัดฟรี 224 ราย เทิดพระเกียรติ “ในหลวง-พระราชินี-พระบรมฯ” พร้อมส่ง อสม.ให้ความรู้ชาวบ้าน
นายแพทย์ สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์หลังตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสกลนคร เพื่อติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหามะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี ว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ข้อมูลล่าสุดในปี 2553 มีผู้เสียชีวิต 58,076 ราย อันดับ 1 คือ มะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี 14,008 ราย ในจำนวนนี้ร้อยละ 54 หรือ 7,513 ราย อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยไทยมีอัตราตายจากมะเร็งตับสูงที่สุดในโลก ในผู้ชายพบสูงถึง 36.9 คน ต่อประชากร 100,000 คน ส่วนผู้หญิง 15.2 คน ต่อประชากร 100,000 คน โดยจังหวัดสกลนคร มีอัตราตายจากมะเร็งชนิดนี้สูงที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบ 55 คนต่อประชากร 100,000 คน สำหรับการป่วยจากมะเร็งตับ พบว่า มีชายไทยป่วย 1 คน ทุก 1 ชั่วโมง ส่วนผู้หญิงป่วย 1 คน ทุก 3 ชั่วโมง เฉลี่ยพบผู้ป่วยวันละกว่า 30 คนทั่วประเทศ
นายแพทย์ สุรวิทย์ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำโครงการ “ประชาร่วมใจ สร้างสุขอนามัยห่างไกลมะเร็งท่อน้ำดีในตับร้าย เทิดไท้องค์ราชัน-มหาราชินี-พระบรมฯ” เพื่อแก้ไขปัญหา โดยจะทำการค้นหาผู้ป่วยมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี ระยะเริ่มต้น มารับการผ่าตัดรักษาฟรี เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เริ่มตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2555 - 31 กรกฎาคม 2556 รวมจำนวน 224 ราย ผ่าตัดในโรงพยาบาล 15 แห่ง ประกอบด้วย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8 แห่ง ได้แก่ รพ.ศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รพ.ขอนแก่น รพ.อุดรธานี รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี รพ.มหาราชนครราชสีมา รพ.สกลนคร รพ.ร้อยเอ็ด และรพ.สุรินทร์ ภาคกลาง 5 แห่ง ได้แก่ รพ.ราชวิถี รพ.จุฬาลงกรณ์ รพ.รามาธิบดี รพ.ศิริราช และรพ.จุฬาภรณ์ กทม. ภาคเหนือ ที่ รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ และภาคใต้ ที่ รพ.หาดใหญ่ ซึ่งการรักษาตั้งแต่เซลล์มะเร็งยังไม่ลุกลาม จะหายขาด มีโอกาสรอดชีวิตสูง
นายแพทย์ สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุข ยังได้เร่งอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ให้มีความรู้เรื่องการป้องกันโรคมะเร็งตับ เพื่อให้ความรู้ประชาชน และค้นหาผู้ป่วยจากการตรวจคัดกรองประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยง 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่เป็นชาวอีสานแต่กำเนิด กลุ่มที่ตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ตับในอุจจาระ กลุ่มที่มีถิ่นฐานบ้านเรือนใกล้ริมแม่น้ำ ลำคลอง ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีประวัติมีญาติพี่น้องเป็นมะเร็งตับ หากพบว่ามีความเสี่ยงจะส่งตัวไปตรวจอัลตราซาวนด์ และตรวจทางห้องปฏิบัติการที่โรงพยาบาลชุมชน เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยโรคโดยเร็ว และส่งต่อไปผ่าตัดรักษาได้ทันเวลา ขณะเดียวกัน จะรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนในการป้องกันโรคมะเร็ง 2 ชนิดนี้ โดยเฉพาะใน 20 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน เน้นกินอาหารที่ปรุงสุกสะอาด ไม่กินปลาน้ำจืดที่มีเกล็ดดิบๆ ปลาร้าดิบ ซึ่งจะมีพยาธิใบไม้ตับ สาเหตุหลักที่ทำให้เป็นมะเร็งตับและท่อน้ำดีตามมา
นายแพทย์ สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์หลังตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลสกลนคร เพื่อติดตามความคืบหน้าการแก้ไขปัญหามะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี ว่า โรคมะเร็งเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ข้อมูลล่าสุดในปี 2553 มีผู้เสียชีวิต 58,076 ราย อันดับ 1 คือ มะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี 14,008 ราย ในจำนวนนี้ร้อยละ 54 หรือ 7,513 ราย อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยไทยมีอัตราตายจากมะเร็งตับสูงที่สุดในโลก ในผู้ชายพบสูงถึง 36.9 คน ต่อประชากร 100,000 คน ส่วนผู้หญิง 15.2 คน ต่อประชากร 100,000 คน โดยจังหวัดสกลนคร มีอัตราตายจากมะเร็งชนิดนี้สูงที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบ 55 คนต่อประชากร 100,000 คน สำหรับการป่วยจากมะเร็งตับ พบว่า มีชายไทยป่วย 1 คน ทุก 1 ชั่วโมง ส่วนผู้หญิงป่วย 1 คน ทุก 3 ชั่วโมง เฉลี่ยพบผู้ป่วยวันละกว่า 30 คนทั่วประเทศ
นายแพทย์ สุรวิทย์ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดทำโครงการ “ประชาร่วมใจ สร้างสุขอนามัยห่างไกลมะเร็งท่อน้ำดีในตับร้าย เทิดไท้องค์ราชัน-มหาราชินี-พระบรมฯ” เพื่อแก้ไขปัญหา โดยจะทำการค้นหาผู้ป่วยมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี ระยะเริ่มต้น มารับการผ่าตัดรักษาฟรี เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เริ่มตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2555 - 31 กรกฎาคม 2556 รวมจำนวน 224 ราย ผ่าตัดในโรงพยาบาล 15 แห่ง ประกอบด้วย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8 แห่ง ได้แก่ รพ.ศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รพ.ขอนแก่น รพ.อุดรธานี รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี รพ.มหาราชนครราชสีมา รพ.สกลนคร รพ.ร้อยเอ็ด และรพ.สุรินทร์ ภาคกลาง 5 แห่ง ได้แก่ รพ.ราชวิถี รพ.จุฬาลงกรณ์ รพ.รามาธิบดี รพ.ศิริราช และรพ.จุฬาภรณ์ กทม. ภาคเหนือ ที่ รพ.มหาราชนครเชียงใหม่ และภาคใต้ ที่ รพ.หาดใหญ่ ซึ่งการรักษาตั้งแต่เซลล์มะเร็งยังไม่ลุกลาม จะหายขาด มีโอกาสรอดชีวิตสูง
นายแพทย์ สุรวิทย์ กล่าวต่อว่า กระทรวงสาธารณสุข ยังได้เร่งอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ให้มีความรู้เรื่องการป้องกันโรคมะเร็งตับ เพื่อให้ความรู้ประชาชน และค้นหาผู้ป่วยจากการตรวจคัดกรองประชาชนที่เป็นกลุ่มเสี่ยง 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่เป็นชาวอีสานแต่กำเนิด กลุ่มที่ตรวจพบไข่พยาธิใบไม้ตับในอุจจาระ กลุ่มที่มีถิ่นฐานบ้านเรือนใกล้ริมแม่น้ำ ลำคลอง ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป และผู้ที่มีประวัติมีญาติพี่น้องเป็นมะเร็งตับ หากพบว่ามีความเสี่ยงจะส่งตัวไปตรวจอัลตราซาวนด์ และตรวจทางห้องปฏิบัติการที่โรงพยาบาลชุมชน เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยโรคโดยเร็ว และส่งต่อไปผ่าตัดรักษาได้ทันเวลา ขณะเดียวกัน จะรณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนในการป้องกันโรคมะเร็ง 2 ชนิดนี้ โดยเฉพาะใน 20 จังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน เน้นกินอาหารที่ปรุงสุกสะอาด ไม่กินปลาน้ำจืดที่มีเกล็ดดิบๆ ปลาร้าดิบ ซึ่งจะมีพยาธิใบไม้ตับ สาเหตุหลักที่ทำให้เป็นมะเร็งตับและท่อน้ำดีตามมา