“ประภัสร์” ข้องใจ กทม.รีบเซ็นต่อสัญญาบีทีเอส ยาว 30 ปี ท้วงขอมหาดไทยหรือยัง ลั่นบีทีเอสไม่ใช่ของพรรคการเมือง
นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ตนไม่เข้าใจว่า เหตุใด กทม.จะต้องรีบเซ็นสัญญาจ้างบีทีเอสในขณะนี้ ทั้งที่โครงสร้างสัญญาสัมปทานยังเหลือเวลาอีก 17 ปี ซึ่งเท่ากับว่า บีทีเอสได้ต่อสัญญาออกไปอีก 13 ปี เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง หากจะมีการจ้างเฉพาะส่วนต่อขยายอื่น ให้ครบเท่าเวลาสัมปทานของส่วนแรกที่เหลืออยู่ และเมื่อครบปีที่ 18 กทม.ก็เปิดให้ยื่นข้อเสนอจ้างเดินรถทุกโครงข่ายของ กทม.เป็นสัญญาเดียว ซึ่งมีผู้เดินรถที่มีอยู่หลายราย ซึ่งจะมีการแข่งขันและจะได้ราคาที่ถูกกว่านี้ ซึ่ง กทม.จะรู้ได้อย่างไรว่าในตอนนั้นจะไม่มีใครเสนอราคาที่ถูกกว่าที่จ้างบีทีเอสตอนนี้ และรถไฟฟ้าไม่ได้มีแค่นี้จะมีสายสีม่วง สีชมพู สีน้ำเงิน และที่สำคัญ ตั้งแต่เริ่มมีการให้สัมปทานบีทีเอส ตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง กทม.ทำสัญญากับบีทีเอสโดยรับมอบอำนาจจากกระทรวงมหาดไทย การลงนามครั้งนี้ กทม.ได้หารือกับมหาดไทยแล้วหรือยัง นอกจากนี้ ตามมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เมื่อปี 34 หรือ 35 ระบบรถไฟฟ้าที่ กทม.รับผิดชอบทั้งหมดจะต้องมอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
“บีทีเอสวันนี้เป็นของประเทศไทย ไม่ใช่ของพรรคการเมือง ตนไม่ทราบว่า มีเหตุผลอะไรจึงเร่งรีบเซ็นสัญญาในตอนนี้” นายประภัสร์ กล่าว
นายประภัสร์ จงสงวน ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ตนไม่เข้าใจว่า เหตุใด กทม.จะต้องรีบเซ็นสัญญาจ้างบีทีเอสในขณะนี้ ทั้งที่โครงสร้างสัญญาสัมปทานยังเหลือเวลาอีก 17 ปี ซึ่งเท่ากับว่า บีทีเอสได้ต่อสัญญาออกไปอีก 13 ปี เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง หากจะมีการจ้างเฉพาะส่วนต่อขยายอื่น ให้ครบเท่าเวลาสัมปทานของส่วนแรกที่เหลืออยู่ และเมื่อครบปีที่ 18 กทม.ก็เปิดให้ยื่นข้อเสนอจ้างเดินรถทุกโครงข่ายของ กทม.เป็นสัญญาเดียว ซึ่งมีผู้เดินรถที่มีอยู่หลายราย ซึ่งจะมีการแข่งขันและจะได้ราคาที่ถูกกว่านี้ ซึ่ง กทม.จะรู้ได้อย่างไรว่าในตอนนั้นจะไม่มีใครเสนอราคาที่ถูกกว่าที่จ้างบีทีเอสตอนนี้ และรถไฟฟ้าไม่ได้มีแค่นี้จะมีสายสีม่วง สีชมพู สีน้ำเงิน และที่สำคัญ ตั้งแต่เริ่มมีการให้สัมปทานบีทีเอส ตั้งแต่เริ่มก่อสร้าง กทม.ทำสัญญากับบีทีเอสโดยรับมอบอำนาจจากกระทรวงมหาดไทย การลงนามครั้งนี้ กทม.ได้หารือกับมหาดไทยแล้วหรือยัง นอกจากนี้ ตามมติคณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) เมื่อปี 34 หรือ 35 ระบบรถไฟฟ้าที่ กทม.รับผิดชอบทั้งหมดจะต้องมอบให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
“บีทีเอสวันนี้เป็นของประเทศไทย ไม่ใช่ของพรรคการเมือง ตนไม่ทราบว่า มีเหตุผลอะไรจึงเร่งรีบเซ็นสัญญาในตอนนี้” นายประภัสร์ กล่าว