วงเสวนาเภสัชฯ-นักวิชาการ เผย ปัญหายาซูโดฯ เป็นบทเรียน ชี้ช่องโหว่ของ กม.คุมยา ชี้ ยาสูตรผสมซูโดฯ ไม่มีประสิทธิผลพอ ย้ำ ไม่จำเป็น เหตุบางสูตรผสมยาบรรเทาหวัดน้อย มากด้วยพาราฯ ผู้บริโภคไร้ประสบการณ์ทานเกินเสี่ยงปัญหาตับ อนุกรรมการยาฯ จ่อเข้าพบ “พลเอก ยุทธศักดิ์” 1 พ.ค.จัดการปัญหายาไม่สมเหตุสมผล
วันนี้ (24 เม.ย.) ภญ.วรรณา ศรีวิริยานุภาพ ประธานกลุ่มศึกษาปัญหายา (กศย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในการประชุมวิชาการ“การพัฒนาระบบยาจากบทเรียนยาซูโดอีเฟดรีน” เพื่อสรุปบทเรียนจากปัญหา การรั่วไหลของซูโดอีเฟดรีน และแนวทางแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบซึ่งเป็นความร่วมมือของ วิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพแห่งประเทศไทย สภาเภสัชกรรม (วคบท.) ร่วมกับแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) และชมรมเภสัชชนบท ที่ รร.ริชมอนด์ นนทบุรี ว่า จากปัญหาเรื่องกฎหมายยาและวัตถุออกฤทธิ์ของไทยล้าสมัยมาก เช่น พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 ได้แก้ไขเพิ่มเติมมาตลอด แต่กลับไม่มีการจัดการกับปัญหาการใช้ประเทศเป็นทางผ่านส่งออกและนำเข้า มีเพียงควบคุมการผลิตและนำเข้าเท่านั้น ทำให้มีผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการนำผ่านและส่งออกซูโดอีเฟดรีนสูตรผสมเพื่อผลิตยาเสพติดได้ หรือกรณีกฎหมายดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติควบคุมราคา ปล่อยให้ผู้ขายและผู้ผลิตตั้งราคายาตามต้องการ ทำให้บางครั้งการซื้อขายมีราคาแตกต่างกันมาก จนเกิดปัญหาการสวมสิทธิ ยกตัวอย่าง หากซื้อยาในนามโรงพยาบาลจะถูกกว่าซื้อในร้านขายยา ทำให้เกิดปัญหาการสวมสิทธิได้
ด้าน ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหนึ่งในอนุกรรมการพัฒนาระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ กล่าวถึงความจำเป็นในการใช้ยาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีน ว่า หลังจากมีการควบคุมยาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีน ทำให้หลายคนเข้าใจว่าจะไม่มียาแก้หวัดใช้บำบัดรักษาอีก จริงๆ แล้วต้องเข้าใจก่อน ว่า โรคหวัด เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งการรักษาที่ดีที่สุด คือ การพักผ่อน นอนหลับ ดื่มน้ำมากๆ ส่วนการทานยานั้นสามารถบรรเทาอาการได้เพียงร้อยละ 4-6 เท่านั้น ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นยาสูตรผสมยาแก้หวัด หรือยาสูตรผสมอื่นๆ ตามหลักการทางเภสัชกรรม ไม่ส่งเสริมการทานยาสูตรผสมอยู่แล้ว เพราะการผสมยารวมกัน ไม่ทำให้ประสิทธิภาพของยาดีขึ้น แต่ทำให้ผู้บริโภคเสี่ยงต่อการได้รับยาเกินขนาด
ผศ.นพ.พิสนธิ์ กล่าวว่า ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยโรคหวัดที่ทานยาลดน้ำมูก เมื่อทานยาพาราเซตามอลสูตรผสมเฟนิลเอฟรีน ต้องทราบก่อนว่า การจะทานยาสูตรเฟนิลเอฟรีนให้ได้ผลต้องทานให้ได้ 25 มิลลิกรัม แต่ในความเป็นจริง 1 เม็ด มีสารลดคัดจมูกเพียง 10 มิลลิกรัม เนื่องจากมีการผสมยาพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัมต่อเม็ด ทำให้ต้องทานซ้ำอีก แต่พอทานซ้ำเมื่อได้เฟนิลเอฟรีนครบอีก ซึ่งผลลัพธ์กลับได้พาราเซตามอลเกินความจำเป็น โดยปกติพาราเซตามอลต้องทานไม่เกิน 1,000 มิลลกรัมต่อครั้ง และไม่เกิน 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน และน้ำหนักตัวไม่เกิน 50 กิโลกรัม ต้องกินไม่เกิน 1 เม็ด หรือ 500 มิลลิกรัม แต่หากน้ำหนักเกิน 50 กิโลกรัมต้องกินเม็ดครึ่ง แต่ความเป็นจริงไม่มีใครทราบ และทานเกิน ซึ่งเป็นการสะสมทำให้เกิดอันตรายต่อตับ และส่งผลต่อชีวิตได้
“จากอันตรายเหล่านี้ในประเทศพัฒนาแล้ว เล็งเห็นความสำคัญ โดยเฉพาะในเด็ก เพราะหากใช้ยาสูตรผสมร่วมกัน เช่น แก้ไอและน้ำมูก ก็จะทำให้ได้รับยาสูตรผสมเกินอีก อย่างสหรัฐอเมริกา มีกฎหมายบังคับห้ามให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ทานยาสูตรผสมทุกชนิด ขณะที่แคนาดา และ อังกฤษ บังคับห้ามให้เด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบทานยาสูตรผสม แต่ในประเทศไทยไม่มีการควบคุมใดๆ เลย โดยจากปัญหาการใช้ยาสูตรผสม ปัญหาการใช้ยาพาราเซตามอลเกินความจำเป็น ทั้งๆ ที่มีอันตรายต่อตับ รวมถึงปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุสมผลต่างๆ ในวันที่ 1 พฤษภาคมนี้ คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล โดยมี นพ.ธีรวัฒน์ กุลทนันท์ อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นประธาน จะนำปัญหาดังกล่าวเสนอต่อ พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งดูแลเรื่องนโยบายยาแห่งชาติ โดยนำปัญหาดังกล่าวเพื่อเสนอให้มีการจัดการระบบยาอย่างจริงจัง รวมถึงส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลจริงๆ” ผศ.นพ.พิสนธิ์ กล่าว
วันนี้ (24 เม.ย.) ภญ.วรรณา ศรีวิริยานุภาพ ประธานกลุ่มศึกษาปัญหายา (กศย.) คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวในการประชุมวิชาการ“การพัฒนาระบบยาจากบทเรียนยาซูโดอีเฟดรีน” เพื่อสรุปบทเรียนจากปัญหา การรั่วไหลของซูโดอีเฟดรีน และแนวทางแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบซึ่งเป็นความร่วมมือของ วิทยาลัยการคุ้มครองผู้บริโภคด้านยาและสุขภาพแห่งประเทศไทย สภาเภสัชกรรม (วคบท.) ร่วมกับแผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังระบบยา (กพย.) แผนงานคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ (คคส.) และชมรมเภสัชชนบท ที่ รร.ริชมอนด์ นนทบุรี ว่า จากปัญหาเรื่องกฎหมายยาและวัตถุออกฤทธิ์ของไทยล้าสมัยมาก เช่น พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510 ได้แก้ไขเพิ่มเติมมาตลอด แต่กลับไม่มีการจัดการกับปัญหาการใช้ประเทศเป็นทางผ่านส่งออกและนำเข้า มีเพียงควบคุมการผลิตและนำเข้าเท่านั้น ทำให้มีผู้กระทำผิดเกี่ยวกับการนำผ่านและส่งออกซูโดอีเฟดรีนสูตรผสมเพื่อผลิตยาเสพติดได้ หรือกรณีกฎหมายดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติควบคุมราคา ปล่อยให้ผู้ขายและผู้ผลิตตั้งราคายาตามต้องการ ทำให้บางครั้งการซื้อขายมีราคาแตกต่างกันมาก จนเกิดปัญหาการสวมสิทธิ ยกตัวอย่าง หากซื้อยาในนามโรงพยาบาลจะถูกกว่าซื้อในร้านขายยา ทำให้เกิดปัญหาการสวมสิทธิได้
ด้าน ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหนึ่งในอนุกรรมการพัฒนาระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ กล่าวถึงความจำเป็นในการใช้ยาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีน ว่า หลังจากมีการควบคุมยาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีน ทำให้หลายคนเข้าใจว่าจะไม่มียาแก้หวัดใช้บำบัดรักษาอีก จริงๆ แล้วต้องเข้าใจก่อน ว่า โรคหวัด เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งการรักษาที่ดีที่สุด คือ การพักผ่อน นอนหลับ ดื่มน้ำมากๆ ส่วนการทานยานั้นสามารถบรรเทาอาการได้เพียงร้อยละ 4-6 เท่านั้น ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นยาสูตรผสมยาแก้หวัด หรือยาสูตรผสมอื่นๆ ตามหลักการทางเภสัชกรรม ไม่ส่งเสริมการทานยาสูตรผสมอยู่แล้ว เพราะการผสมยารวมกัน ไม่ทำให้ประสิทธิภาพของยาดีขึ้น แต่ทำให้ผู้บริโภคเสี่ยงต่อการได้รับยาเกินขนาด
ผศ.นพ.พิสนธิ์ กล่าวว่า ยกตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยโรคหวัดที่ทานยาลดน้ำมูก เมื่อทานยาพาราเซตามอลสูตรผสมเฟนิลเอฟรีน ต้องทราบก่อนว่า การจะทานยาสูตรเฟนิลเอฟรีนให้ได้ผลต้องทานให้ได้ 25 มิลลิกรัม แต่ในความเป็นจริง 1 เม็ด มีสารลดคัดจมูกเพียง 10 มิลลิกรัม เนื่องจากมีการผสมยาพาราเซตามอล 500 มิลลิกรัมต่อเม็ด ทำให้ต้องทานซ้ำอีก แต่พอทานซ้ำเมื่อได้เฟนิลเอฟรีนครบอีก ซึ่งผลลัพธ์กลับได้พาราเซตามอลเกินความจำเป็น โดยปกติพาราเซตามอลต้องทานไม่เกิน 1,000 มิลลกรัมต่อครั้ง และไม่เกิน 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน และน้ำหนักตัวไม่เกิน 50 กิโลกรัม ต้องกินไม่เกิน 1 เม็ด หรือ 500 มิลลิกรัม แต่หากน้ำหนักเกิน 50 กิโลกรัมต้องกินเม็ดครึ่ง แต่ความเป็นจริงไม่มีใครทราบ และทานเกิน ซึ่งเป็นการสะสมทำให้เกิดอันตรายต่อตับ และส่งผลต่อชีวิตได้
“จากอันตรายเหล่านี้ในประเทศพัฒนาแล้ว เล็งเห็นความสำคัญ โดยเฉพาะในเด็ก เพราะหากใช้ยาสูตรผสมร่วมกัน เช่น แก้ไอและน้ำมูก ก็จะทำให้ได้รับยาสูตรผสมเกินอีก อย่างสหรัฐอเมริกา มีกฎหมายบังคับห้ามให้เด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ทานยาสูตรผสมทุกชนิด ขณะที่แคนาดา และ อังกฤษ บังคับห้ามให้เด็กอายุต่ำกว่า 6 ขวบทานยาสูตรผสม แต่ในประเทศไทยไม่มีการควบคุมใดๆ เลย โดยจากปัญหาการใช้ยาสูตรผสม ปัญหาการใช้ยาพาราเซตามอลเกินความจำเป็น ทั้งๆ ที่มีอันตรายต่อตับ รวมถึงปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุสมผลต่างๆ ในวันที่ 1 พฤษภาคมนี้ คณะอนุกรรมการพัฒนาระบบการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล โดยมี นพ.ธีรวัฒน์ กุลทนันท์ อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เป็นประธาน จะนำปัญหาดังกล่าวเสนอต่อ พลเอก ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งดูแลเรื่องนโยบายยาแห่งชาติ โดยนำปัญหาดังกล่าวเพื่อเสนอให้มีการจัดการระบบยาอย่างจริงจัง รวมถึงส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลจริงๆ” ผศ.นพ.พิสนธิ์ กล่าว