เผยชื่อ 43 บริษัท ยอดรวม 18 ล้านเม็ด เฉพาะพาราฯ พุ่ง 10 กว่าล้านเม็ด พร้อมส่งเจ้าหน้าที่ ตรวจสอบ 3 บริษัท พบยาคืนสูงกว่า 1 ล้านเม็ด
วานนี้ (3 พ.ค.) นพ.พงศ์พันธ์ วงศ์มณี รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงความคืบหน้าของการคืนยาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีนทุกสูตร รวมทั้งสูตรผสมพาราเซตามอล ตั้งแต่วันที่ 4 เม.ย.-2 พ.ค.2555 ว่า ขณะนี้มีบริษัทยาจำนวน 43 แห่งได้รายงานมายังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ถึงตัวเลขการคืนยาทั้งหมด อยู่ที่ 18,033,604 เม็ด เป็นยาสูตรผสมพาราเซตามอล 10,923,726 เม็ด ขณะที่ยาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีนสูตรแก้หวัด 7,109, 878 เม็ด ส่วนยาน้ำอยู่ที่ 11,258,500 มิลลิลิตร ทั้งนี้ สำหรับยอดการรับยาคืนที่ตึกเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด อย.ซึ่งเป็นสถานที่เปิดให้บริษัทยารับยาคืนจากร้านขายยา คลินิก และสถานพยาบาลเอกชนที่ไม่ประสงค์จะครอบครองยา เมื่อวันที่ 1-2 พ.ค.ที่ผ่านมา ยอดรวมอยู่ที่ 81,853 เม็ด ส่วนยาน้ำ 10,680 มิลลิลิตร
นพ.พงศ์พันธ์ กล่าวอีกว่า จากข้อมูลการคืนยาทั้งหมด พบว่า มี 3 บริษัทแรกที่มียอดรับยาคืนสูงสุดมากกว่า 1 ล้านเม็ดขึ้นไป อันดับ 1 คือ บริษัท ไทยนครพัฒนา จำกัด 10,149,268 เม็ด เป็นยาน้ำ 6,403,080 มิลลิลิตร รองลงมาคือ บริษัท เอ็ม แอนด์ เอ็ช แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด มีจำนวน 1,984,979 เม็ด เป็นยาน้ำ 1,467,300 มิลลิลิตรและบริษัท ยูนิแล็ป ฟาร์มาซูติคอลส์ จำกัด 1,118,280 เม็ด โดยทั้ง 3 แห่ง ทาง อย.จะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบเช็กยอดของบริษัทว่าตรงตามที่รายงานหรือไม่ เนื่องจากมียอดจำนวนมาก แต่ไม่ได้หมายความว่า ผิดปกติแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นการเช็กเพิ่มเติม ส่วนบริษัทรายอื่นๆ จะทยอยลงหลังจากวันที่ 3 พฤษภาคม เป็นต้นไป ส่วนการส่งยาคืนทางไปรษณีย์นั้น ยังไม่มีรายงาน คาดว่า อาจวิตกกังวลในเรื่องการจัดส่ง อย่างไรก็ตาม หากมีการส่งมาจริงจะดูวันที่ตีตรา หากอยู่ภายในวันที่ 3 พฤษภาคม ถือว่าไม่ผิดกฎหมาย
รองเลขาธิการ อย.กล่าวว่า หลังจากเรียกเก็บยาคืนทั้งหมดแล้ว จะอยู่ในขั้นตอนการจัดระเบียบต่างๆ โดยจะมีการลงพื้นที่ตรวจปริมาณยาของแต่ละบริษัท รวมทั้งตรวจร้านขายยา คลินิกต่างๆ ว่า มียาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีนทุกสูตรอยู่หรือไม่ นอกจากนี้ ในวันที่ 25 พฤษภาคมนี้ จะเรียกบริษัทยาที่ผลิต และนำเข้าซูโดฯ รวมทั้งคลินิก หรือสถานพยาบาลที่มีความประสงค์ถือครองยา มาประชุมเพื่อหารือถึงแนวทางการจัดการยาให้เป็นระบบ หรือที่เรียกว่า FDA Reporter ซึ่งเป็นระบบออนไลน์เรียลไทม์ ที่สามารถแจ้งจำนวนการสั่งยา และส่งยาของบริษัทต่างๆ โดยจะมีการกำหนดจำนวนที่ครอบครอง และต้องมีการจัดทำแผน เช่น 5,000-10,000 เม็ด สถานพยาบาล หรือคลินิกที่ต้องการครอบครองในจำนวนมากๆ จะต้องมีการทำแผนการจัดส่งเหล่านี้ด้วย ส่วนจำนวนที่กำหนดยังไม่ชัดเจน ต้องหารือกันอีกครั้ง
นพ.พงศ์พันธ์ สำหรับแผนการจัดระเบียบต่างๆ หากเป็นคลินิก สถานพยาบาลเอกชนที่ต้องการมียาในครอบครอง นอกจากต้องมีใบอนุญาตครอบครองจาก อย.แล้ว ยังต้องมีใบประกอบโรคศิลป ยอดการสั่งอีก ซึ่งการจัดการนั้นจะอิงทั้งส่วนบริษัทยา และสถานพยาบาล ตัวเลยการสั่งซื้อต้องตรงกัน ไม่เพียงแต่ควบคุมการผลิตยา สูตรผสมซูโดอีเฟดรีนเท่านั้น สำหรับยาสูตรเดี่ยว ที่เดิมทีอนุญาตให้ 4 บริษัทผลิตได้เท่านั้น ขณะนี้ได้สั่งห้ามผลิตเป็นการชั่วคราวแล้ว ทั้งนี้ อย.มีแผนว่าจะควบคุมการใช้ยากลุ่มนี้ไว้ไม่เกินปีละ 12 ตัน หรือ 12,000 กิโลกรัมเบส จากเดิม 35 ตันต่อปี หรือ 35,000 กิโลกรัมเบส ซึ่งกิโลกรัมเบส คือ จำนวนการผลิตยาในกลุ่มอุตสาหกรรมยา
ผู้สื่อข่าวถามว่า นอกจากควบคุมภายในประเทศแล้ว มาตรการควบคุมต่างประเทศจะเป็นอย่างไร นพ.พงศ์พันธ์ กล่าวว่า ขณะนี้ไม่อนุญาตให้นำเข้า หรือส่งออกยากลุ่มนี้เด็ดขาด เพราะยังอยู่ระหว่างการควบคุม ซึ่งเรื่องนี้ได้แจ้งไปยังคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศ (International Narcotics Control Board - INCB)
วานนี้ (3 พ.ค.) นพ.พงศ์พันธ์ วงศ์มณี รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงความคืบหน้าของการคืนยาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีนทุกสูตร รวมทั้งสูตรผสมพาราเซตามอล ตั้งแต่วันที่ 4 เม.ย.-2 พ.ค.2555 ว่า ขณะนี้มีบริษัทยาจำนวน 43 แห่งได้รายงานมายังสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ถึงตัวเลขการคืนยาทั้งหมด อยู่ที่ 18,033,604 เม็ด เป็นยาสูตรผสมพาราเซตามอล 10,923,726 เม็ด ขณะที่ยาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีนสูตรแก้หวัด 7,109, 878 เม็ด ส่วนยาน้ำอยู่ที่ 11,258,500 มิลลิลิตร ทั้งนี้ สำหรับยอดการรับยาคืนที่ตึกเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด อย.ซึ่งเป็นสถานที่เปิดให้บริษัทยารับยาคืนจากร้านขายยา คลินิก และสถานพยาบาลเอกชนที่ไม่ประสงค์จะครอบครองยา เมื่อวันที่ 1-2 พ.ค.ที่ผ่านมา ยอดรวมอยู่ที่ 81,853 เม็ด ส่วนยาน้ำ 10,680 มิลลิลิตร
นพ.พงศ์พันธ์ กล่าวอีกว่า จากข้อมูลการคืนยาทั้งหมด พบว่า มี 3 บริษัทแรกที่มียอดรับยาคืนสูงสุดมากกว่า 1 ล้านเม็ดขึ้นไป อันดับ 1 คือ บริษัท ไทยนครพัฒนา จำกัด 10,149,268 เม็ด เป็นยาน้ำ 6,403,080 มิลลิลิตร รองลงมาคือ บริษัท เอ็ม แอนด์ เอ็ช แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด มีจำนวน 1,984,979 เม็ด เป็นยาน้ำ 1,467,300 มิลลิลิตรและบริษัท ยูนิแล็ป ฟาร์มาซูติคอลส์ จำกัด 1,118,280 เม็ด โดยทั้ง 3 แห่ง ทาง อย.จะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบเช็กยอดของบริษัทว่าตรงตามที่รายงานหรือไม่ เนื่องจากมียอดจำนวนมาก แต่ไม่ได้หมายความว่า ผิดปกติแต่อย่างใด เพียงแต่เป็นการเช็กเพิ่มเติม ส่วนบริษัทรายอื่นๆ จะทยอยลงหลังจากวันที่ 3 พฤษภาคม เป็นต้นไป ส่วนการส่งยาคืนทางไปรษณีย์นั้น ยังไม่มีรายงาน คาดว่า อาจวิตกกังวลในเรื่องการจัดส่ง อย่างไรก็ตาม หากมีการส่งมาจริงจะดูวันที่ตีตรา หากอยู่ภายในวันที่ 3 พฤษภาคม ถือว่าไม่ผิดกฎหมาย
รองเลขาธิการ อย.กล่าวว่า หลังจากเรียกเก็บยาคืนทั้งหมดแล้ว จะอยู่ในขั้นตอนการจัดระเบียบต่างๆ โดยจะมีการลงพื้นที่ตรวจปริมาณยาของแต่ละบริษัท รวมทั้งตรวจร้านขายยา คลินิกต่างๆ ว่า มียาสูตรผสมซูโดอีเฟดรีนทุกสูตรอยู่หรือไม่ นอกจากนี้ ในวันที่ 25 พฤษภาคมนี้ จะเรียกบริษัทยาที่ผลิต และนำเข้าซูโดฯ รวมทั้งคลินิก หรือสถานพยาบาลที่มีความประสงค์ถือครองยา มาประชุมเพื่อหารือถึงแนวทางการจัดการยาให้เป็นระบบ หรือที่เรียกว่า FDA Reporter ซึ่งเป็นระบบออนไลน์เรียลไทม์ ที่สามารถแจ้งจำนวนการสั่งยา และส่งยาของบริษัทต่างๆ โดยจะมีการกำหนดจำนวนที่ครอบครอง และต้องมีการจัดทำแผน เช่น 5,000-10,000 เม็ด สถานพยาบาล หรือคลินิกที่ต้องการครอบครองในจำนวนมากๆ จะต้องมีการทำแผนการจัดส่งเหล่านี้ด้วย ส่วนจำนวนที่กำหนดยังไม่ชัดเจน ต้องหารือกันอีกครั้ง
นพ.พงศ์พันธ์ สำหรับแผนการจัดระเบียบต่างๆ หากเป็นคลินิก สถานพยาบาลเอกชนที่ต้องการมียาในครอบครอง นอกจากต้องมีใบอนุญาตครอบครองจาก อย.แล้ว ยังต้องมีใบประกอบโรคศิลป ยอดการสั่งอีก ซึ่งการจัดการนั้นจะอิงทั้งส่วนบริษัทยา และสถานพยาบาล ตัวเลยการสั่งซื้อต้องตรงกัน ไม่เพียงแต่ควบคุมการผลิตยา สูตรผสมซูโดอีเฟดรีนเท่านั้น สำหรับยาสูตรเดี่ยว ที่เดิมทีอนุญาตให้ 4 บริษัทผลิตได้เท่านั้น ขณะนี้ได้สั่งห้ามผลิตเป็นการชั่วคราวแล้ว ทั้งนี้ อย.มีแผนว่าจะควบคุมการใช้ยากลุ่มนี้ไว้ไม่เกินปีละ 12 ตัน หรือ 12,000 กิโลกรัมเบส จากเดิม 35 ตันต่อปี หรือ 35,000 กิโลกรัมเบส ซึ่งกิโลกรัมเบส คือ จำนวนการผลิตยาในกลุ่มอุตสาหกรรมยา
ผู้สื่อข่าวถามว่า นอกจากควบคุมภายในประเทศแล้ว มาตรการควบคุมต่างประเทศจะเป็นอย่างไร นพ.พงศ์พันธ์ กล่าวว่า ขณะนี้ไม่อนุญาตให้นำเข้า หรือส่งออกยากลุ่มนี้เด็ดขาด เพราะยังอยู่ระหว่างการควบคุม ซึ่งเรื่องนี้ได้แจ้งไปยังคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดระหว่างประเทศ (International Narcotics Control Board - INCB)