รองเลขาธิการ สปส.ปัดไม่เคยคัดค้าน หลักการเจ็บป่วยฉุกเฉิน แค่บริการตามความเป็นจริง วอนแจกแจงรายละเอียดการบริการให้ชัดเจน
วันนี้ (11 เม.ย.) จากกรณีรัฐบาลประกาศใช้การบริการเจ็บป่วยฉุกเฉินใน 3 กองทุน คือ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทอง กองทุนประกันสังคม และกองทุนสวัสดิการข้าราชการให้สามารถเข้ารับบริการรักษาพยาบาลในสถานบริการสาธารณสุขทุกแห่ง เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2555 กระทั่งคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) มีมติเมื่อวันที่ 3 เม.ย.ว่า ไม่เห็นชอบในการเซ็นข้อตกลงร่วม 3 ฝ่าย เรื่องให้ประชาชนเข้ารับบริการที่ใดก็ได้ หากเกิดอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน โดยใช้อัตราการจ่าย DRG ละ 10,500 บาท ด้วยเหตุผลว่าจะทำให้กองทุนประกันสังคมต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลอีกมหาศาล จนนำมาสู่การออกแถลงการณ์จากชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน เพื่อประณามบอร์ดสปส.จากเหตุไม่เห็นชอบเจ็บป่วยฉุกเฉิน 3 กองทุนนั้น
ล่าสุด วันนี้ (11 เม.ย.) นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กล่าวถึงกรณีดังกล่าว ว่า เรื่องดังกล่าวเป็นความเข้าใจผิดเพราะ สปส.ไม่เคยคัดค้านในหลักการความเท่าเทียมของ 3 ระบบ แต่ต้องการให้มีการชี้ชัดว่า มีหลักปฏิบัติอย่างไรเท่านั้นเอง นั่นคือ เรื่องของการแจกแจงรายละเอียดการบริการตามนิยามเจ็บป่วยฉุกเฉินให้ชัดเจน ดังนั้น สปส.จึงต้องยึดแนวปฏิบัติที่ทั้ง 3 กองทุน คือ กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กองทุนประกันสังคม และกองทุนสวัสดิการข้าราชการ ที่ได้ทำความตกลงร่วมกันไว้โดยในกรณีเจ็บป่วยจากอุบัติเหตุ จะให้โรงพยาบาลทำการรักษาและไปเบิกค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนผู้ประสบภัยทางรถยนต์ก่อน แต่หากผู้ป่วยพ้นกำหนดเวลาที่ได้รับสิทธิคุ้มครองจากกองทุนผู้ประสบภัยทางรถยนต์ ก็ให้โรงพยาบาลไปเบิกค่ารักษาพยาบาลจากแต่ละกองทุนที่ผู้ป่วยมีสิทธิ
นพ.สุรเดช กล่าวเพิ่มว่า สำหรับหลักการง่ายๆ คือ ส่วนของประกันสังคมนั้น กำหนดไว้ตาม หลักเกณฑ์และอัตราการบริการกรณีอุบัติเหตุการเจ็บป่วยฉุกเฉิน และประสบอันตรายโดยกำหนดให้กรณีผู้ป่วยระบบอื่นมาใช้บริการใน รพ.เครือข่ายระบบประกันสังคมก็ให้คิดค่ารักษาพยาบาลในอัตรา 10,500 บาทต่อระดับความรุนแรงของโรค หรือ DRG และคิดค่ารักษาพยาบาลทั่วไปก็ให้คิดตามอัตราที่กรมบัญชีกลางกำหนด ซึ่งส่วนของผู้ประกันตนนั้นหากเจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถเข้ารับบริการรักษาในสถานบริการที่เข้าระบบของประกันสังคมได้ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง โดยยังคงคิดค่ารักษาพยาบาลในอัตรา 15,000 บาทต่อ RW ซึ่งเป็นไปตามสิทธิขั้นพื้นฐานอยู่แล้ว
วันนี้ (11 เม.ย.) จากกรณีรัฐบาลประกาศใช้การบริการเจ็บป่วยฉุกเฉินใน 3 กองทุน คือ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทอง กองทุนประกันสังคม และกองทุนสวัสดิการข้าราชการให้สามารถเข้ารับบริการรักษาพยาบาลในสถานบริการสาธารณสุขทุกแห่ง เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2555 กระทั่งคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) มีมติเมื่อวันที่ 3 เม.ย.ว่า ไม่เห็นชอบในการเซ็นข้อตกลงร่วม 3 ฝ่าย เรื่องให้ประชาชนเข้ารับบริการที่ใดก็ได้ หากเกิดอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน โดยใช้อัตราการจ่าย DRG ละ 10,500 บาท ด้วยเหตุผลว่าจะทำให้กองทุนประกันสังคมต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลอีกมหาศาล จนนำมาสู่การออกแถลงการณ์จากชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน เพื่อประณามบอร์ดสปส.จากเหตุไม่เห็นชอบเจ็บป่วยฉุกเฉิน 3 กองทุนนั้น
ล่าสุด วันนี้ (11 เม.ย.) นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม (สปส.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กล่าวถึงกรณีดังกล่าว ว่า เรื่องดังกล่าวเป็นความเข้าใจผิดเพราะ สปส.ไม่เคยคัดค้านในหลักการความเท่าเทียมของ 3 ระบบ แต่ต้องการให้มีการชี้ชัดว่า มีหลักปฏิบัติอย่างไรเท่านั้นเอง นั่นคือ เรื่องของการแจกแจงรายละเอียดการบริการตามนิยามเจ็บป่วยฉุกเฉินให้ชัดเจน ดังนั้น สปส.จึงต้องยึดแนวปฏิบัติที่ทั้ง 3 กองทุน คือ กองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กองทุนประกันสังคม และกองทุนสวัสดิการข้าราชการ ที่ได้ทำความตกลงร่วมกันไว้โดยในกรณีเจ็บป่วยจากอุบัติเหตุ จะให้โรงพยาบาลทำการรักษาและไปเบิกค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนผู้ประสบภัยทางรถยนต์ก่อน แต่หากผู้ป่วยพ้นกำหนดเวลาที่ได้รับสิทธิคุ้มครองจากกองทุนผู้ประสบภัยทางรถยนต์ ก็ให้โรงพยาบาลไปเบิกค่ารักษาพยาบาลจากแต่ละกองทุนที่ผู้ป่วยมีสิทธิ
นพ.สุรเดช กล่าวเพิ่มว่า สำหรับหลักการง่ายๆ คือ ส่วนของประกันสังคมนั้น กำหนดไว้ตาม หลักเกณฑ์และอัตราการบริการกรณีอุบัติเหตุการเจ็บป่วยฉุกเฉิน และประสบอันตรายโดยกำหนดให้กรณีผู้ป่วยระบบอื่นมาใช้บริการใน รพ.เครือข่ายระบบประกันสังคมก็ให้คิดค่ารักษาพยาบาลในอัตรา 10,500 บาทต่อระดับความรุนแรงของโรค หรือ DRG และคิดค่ารักษาพยาบาลทั่วไปก็ให้คิดตามอัตราที่กรมบัญชีกลางกำหนด ซึ่งส่วนของผู้ประกันตนนั้นหากเจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถเข้ารับบริการรักษาในสถานบริการที่เข้าระบบของประกันสังคมได้ ไม่จำกัดจำนวนครั้ง โดยยังคงคิดค่ารักษาพยาบาลในอัตรา 15,000 บาทต่อ RW ซึ่งเป็นไปตามสิทธิขั้นพื้นฐานอยู่แล้ว