ประชุม 3 กองทุน สรุปเริ่มใช้ระบบรักษาพยาบาลฉุกเฉินพร้อมกัน 1 เม.ย.นี้ สปส.รับลูกที่ประชุม ชงบอร์ดแก้ประกาศการแพทย์ 3 เม.ย.ให้มีผลย้อนหลัง คาดใช้งบเพิ่ม 120 ล้านบาท
วานนี้ (13 มี.ค.) นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กล่าวหลังร่วมประชุมคณะกรรมการ3กองทุนเพื่อพัฒนาระบบบริการรักษาพยาบาลให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ว่า ที่ประชุมได้หารือเรื่องการพัฒนาระบบบริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉิน รวมถึงกรณีประสบอุบัติเหตุ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้ง 3 ระบบ ได้แก่ ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการข้าราชการ ซึ่งผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลใดก็ได้ทั้งรพ.รัฐและเอกชน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และให้การรักษาจนพ้นภาวะที่จำเป็น ซึงที่ประชุมได้มีมติให้เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน นี้ โดยมีข้อตกลงทั้ง 3 ระบบจะใช้มาตรฐานเดียวกัน หากผู้ป่วยไปใช้บริการนอกระบบที่ตนเองมีสิทธิอยู่ ก็ให้คิดค่ารักษาในอัตรา 10,500บาทต่อระดับความรุนแรงของโรค(RW) และคิดค่ารักษากรณีรักษาพยาบาลทั่วไป เช่น การทำแผล จากอุบัติเหตุ ก็ให้คิดตามอัตราที่กรมบัญชีกลางกำหนดไว้
โดยในส่วนของประกันสังคมที่ต้องมาดำเนินการต่อ จะมีการเสนอแก้ไขประกาศเรื่องหลักเกณฑ์ และอัตราการบริการกรณีอุบัติเหตุการเจ็บป่วยฉุกเฉิน และประสบอันตราย โดยกำหนดให้กรณีผู้ป่วยระบบอื่นมาใช้บริการใน รพ.เครือข่ายระบบประกันสังคม ก็ให้คิดค่ารักษาพยาบาลในอัตรา 10,500 บาทต่อระดับความรุนแรงของโรค (DRG) และคิดค่ารักษาพยาบาลทั่วไปก็ให้คิดตามอัตราที่กรมบัญชีกลางกำหนด ส่วนผู้ป่วยที่มีสิทธิอยุ่ในระบบประกันสังคมรือข่ายประกันสังคม (ผู้ประกันตน) และเข้ารับการรักษาในรพ.เครือข่ายประกันสังคม ก็ยังคงคิดค่ารักษาพยาบาลในอัตรา 15,000 บาทต่อ RW
ทั้งนิ้ ทั้งผู้ป่วยนอกระบบประกันสังคมและผู้ประกันตน ทาง รพ.เครือข่ายประกันสังคมจะต้องให้การรักษาจนพ้นภาวะที่จำเป็น ซึ่งจะมีการยกเลิกข้อกำหนดที่ให้การรักษาต่อเนื่องไม่เกิน 72 ชั่วโมง ซึ่งจะมีการเสนอเข้าคณะกรรมการการแพทย์ในสัปดาห์หน้า หลังจากนั้น จะเสนอเข้าบอร์ดประกันสังคม ในวันที่ 3 เมษายนนี้ เพื่อพิจารณาต่อไป พร้อมกันนี้ จะมอบให้สปส.เร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้เข้าใจถึงระบบการรักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินในระบบใหม่ว่ามีโรคใดบ้างที่เข้าข่าย เช่น โรคใส้ติ่งอักเสบ เส้นเลือดสมองแตก หัวใจวายเฉียบพลัน เป็นต้น
“ทาง สปส.จะเริ่มดำเนินการตามมติที่ประชุมในวันที่ 1 เมษายนนี้ แล้วค่อยเสนอเรื่องเข้าบอร์ด สปส.ในวันที่ 3 เมษายน เพื่อพิจารณาและอนุมัติย้อนหลัง ซึ่งงบประมาณที่ สปส.จัดสรรเพื่อรักษาผู้ประกันตนกรณีฉุกเฉินในปี 2554 อยู่ที่ 350 ล้านบาท หากดำเนินการตามระบบใหม่ในช่วง 6 เดือนแรก (เม.ย.-ก.ย.55) สปส.จะใช้งบเพิ่มขึ้นอีก 120 ล้านบาท นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือถึงการร่วมกันพัฒนาระบบการักษาพยาบาลโรคร้ายให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยตั้งเป้าจะนำร่องโรคไต และเอดส์ ด้วย” นพ.สุรเดช กล่าว
วานนี้ (13 มี.ค.) นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล รองเลขาธิการสำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน กล่าวหลังร่วมประชุมคณะกรรมการ3กองทุนเพื่อพัฒนาระบบบริการรักษาพยาบาลให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ว่า ที่ประชุมได้หารือเรื่องการพัฒนาระบบบริการรักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉิน รวมถึงกรณีประสบอุบัติเหตุ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้ง 3 ระบบ ได้แก่ ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ระบบประกันสังคม และระบบสวัสดิการข้าราชการ ซึ่งผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลใดก็ได้ทั้งรพ.รัฐและเอกชน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และให้การรักษาจนพ้นภาวะที่จำเป็น ซึงที่ประชุมได้มีมติให้เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน นี้ โดยมีข้อตกลงทั้ง 3 ระบบจะใช้มาตรฐานเดียวกัน หากผู้ป่วยไปใช้บริการนอกระบบที่ตนเองมีสิทธิอยู่ ก็ให้คิดค่ารักษาในอัตรา 10,500บาทต่อระดับความรุนแรงของโรค(RW) และคิดค่ารักษากรณีรักษาพยาบาลทั่วไป เช่น การทำแผล จากอุบัติเหตุ ก็ให้คิดตามอัตราที่กรมบัญชีกลางกำหนดไว้
โดยในส่วนของประกันสังคมที่ต้องมาดำเนินการต่อ จะมีการเสนอแก้ไขประกาศเรื่องหลักเกณฑ์ และอัตราการบริการกรณีอุบัติเหตุการเจ็บป่วยฉุกเฉิน และประสบอันตราย โดยกำหนดให้กรณีผู้ป่วยระบบอื่นมาใช้บริการใน รพ.เครือข่ายระบบประกันสังคม ก็ให้คิดค่ารักษาพยาบาลในอัตรา 10,500 บาทต่อระดับความรุนแรงของโรค (DRG) และคิดค่ารักษาพยาบาลทั่วไปก็ให้คิดตามอัตราที่กรมบัญชีกลางกำหนด ส่วนผู้ป่วยที่มีสิทธิอยุ่ในระบบประกันสังคมรือข่ายประกันสังคม (ผู้ประกันตน) และเข้ารับการรักษาในรพ.เครือข่ายประกันสังคม ก็ยังคงคิดค่ารักษาพยาบาลในอัตรา 15,000 บาทต่อ RW
ทั้งนิ้ ทั้งผู้ป่วยนอกระบบประกันสังคมและผู้ประกันตน ทาง รพ.เครือข่ายประกันสังคมจะต้องให้การรักษาจนพ้นภาวะที่จำเป็น ซึ่งจะมีการยกเลิกข้อกำหนดที่ให้การรักษาต่อเนื่องไม่เกิน 72 ชั่วโมง ซึ่งจะมีการเสนอเข้าคณะกรรมการการแพทย์ในสัปดาห์หน้า หลังจากนั้น จะเสนอเข้าบอร์ดประกันสังคม ในวันที่ 3 เมษายนนี้ เพื่อพิจารณาต่อไป พร้อมกันนี้ จะมอบให้สปส.เร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้เข้าใจถึงระบบการรักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินในระบบใหม่ว่ามีโรคใดบ้างที่เข้าข่าย เช่น โรคใส้ติ่งอักเสบ เส้นเลือดสมองแตก หัวใจวายเฉียบพลัน เป็นต้น
“ทาง สปส.จะเริ่มดำเนินการตามมติที่ประชุมในวันที่ 1 เมษายนนี้ แล้วค่อยเสนอเรื่องเข้าบอร์ด สปส.ในวันที่ 3 เมษายน เพื่อพิจารณาและอนุมัติย้อนหลัง ซึ่งงบประมาณที่ สปส.จัดสรรเพื่อรักษาผู้ประกันตนกรณีฉุกเฉินในปี 2554 อยู่ที่ 350 ล้านบาท หากดำเนินการตามระบบใหม่ในช่วง 6 เดือนแรก (เม.ย.-ก.ย.55) สปส.จะใช้งบเพิ่มขึ้นอีก 120 ล้านบาท นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้หารือถึงการร่วมกันพัฒนาระบบการักษาพยาบาลโรคร้ายให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยตั้งเป้าจะนำร่องโรคไต และเอดส์ ด้วย” นพ.สุรเดช กล่าว