ปลัดแรงงานเผยคณะ กก.3 ระบบสุขภาพสรุปลงตัวพัฒนาบริการรักษาพยาบาลกรณีอุบัติเหตุ-เจ็บป่วยฉุกเฉินเข้าได้ทุกรพ.เริ่มปีนี้ เล็งพัฒนาระบบรักษาโรคเรื้อรัง นำร่องโรคเอดส์-ไต ด้านนายกฯ ห่วงงบค่ารักษาบาน หากไม่คุมให้ดีอีก 8 ปีพุ่งกว่า 7 แสนล้านบาท
วันนี้ (2 มี.ค.) นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพ 3 ระบบรักษาพยาบาล ประกอบด้วยระบบประกันสังคม ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการโดยมี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปเรื่องการให้บริการการรักษาพยาบาลกรณีเกิดอุบัติเหตุและเจ็บป่วยฉุกเฉิน เช่น โรคหัวใจ โรคสมอง โดยกำหนดให้เป็นระบบเดียวกัน คือ หากประชาชน ผู้ประกันตนและข้าราชการเกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถเข้ารับการรักษาโรงพยาบาลรัฐหรือโรงพยาบาลเอกชนแห่งใดก็ได้ โดยที่โรงพยาบาลจะไม่สอบถามว่าอยู่ในระบบการรักษาใด ซึ่งโรงพยาบาลจะรักษาจนสิ้นสุดการรักษา
ทั้งนี้ ระบบปัจจุบันผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษากรณีเกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินในโรงพยาบาลนอกบัตรรับรองสิทธิ์ได้ภายใน 72 ชั่วโมง และต้องแจ้งโรงพยาบาลตามบัตรมารับการรักษาต่อ แต่หากเริ่มระบบนี้ร่วมกันทั้ง 3 ระบบ ผู้ประกันตนจะได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลนั้นๆ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และโรงพยาบาลแห่งนั้นจะไปเรียกเก็บค่ารักษาจากหน่วยงานที่ดูแลระบบบริการสุขภาพที่ผู้ป่วยแต่ละคนมีสิทธิรักษาพยาบาลอยู่โดยค่ารักษายึดตามระดับความรุนแรงของโรค หรือดีอาร์จี ที่ทั้ง 3 ระบบใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผู้ประกันตนหากไปเข้ารับการรักษาพยาบาลในกรณีเกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินที่โรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนที่อยู่นอกเครือข่ายประกันสังคม ทางสปส.ก็ตกลงร่วมกับอีก 2 ระบบว่าจะจ่ายเงินค่ารักษาให้ดีอาร์จีละ 1.5 หมื่นบาทเช่นเดียวกับโรงพยาบาลเครือข่ายประกันสังคม คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ภายในปีนี้ โดยในวันที่ 13 มีนาคมนี้ จะประชุมกันอีกครั้ง เพื่อหาข้อสรุปในเรื่องงบประมาณดำเนินการ
ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังได้หารือถึงแนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในเรื่องการรักษาพยาบาลโรคเรื้อรังต่างๆ ซึ่งขณะนี้ทั้ง 3 ระบบมีมาตรฐานการให้บริการรักษาพยาบาลโรคเรื้อรังแตกต่างกันจึงอยากจะพัฒนาระบบรักษาพยาบาลโรคเรื้อรังต่างๆ ให้มีมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งจากการหารือกันเบื้องต้นพบว่า ปัจจุบันการรักษาพยาบาลโรคเรื้อรังที่ทั้ง 3 ระบบมีมาตรฐานใกล้เคียงกันมากคือ โรคเอดส์และโรคไต ดังนั้นจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนามาตรฐานการรักษาพยาบาลโรคเรื้อรังทั้งสองโรคนี้ของทั้ง 3 ระบบให้เป็นมาตรฐานเดียวกันก่อน เพื่อเป็นการนำร่อง ซึ่งตั้งเป้าหมายจะเริ่มดำเนินการภายในปีนี้ อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อสรุป จะต้องหารือกันในรายละเอียดต่อไป
“ในที่ประชุมนายกรัฐมนตรียังมีข้อห่วงใยในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ซึ่งเป็นภาระงบประมาณของประเทศซึ่งเพิ่มขึ้นในทุกปี ปัจจุบันค่ารักษาพยาบาลที่รัฐบาลต้องจ่ายในทุกระบบอยู่ที่กว่า 4.2 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.8 ของรายได้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) แต่หากไม่ปรับปรุงรูปแบบการรักษาพยาบาลและควบคุมค่าใช้จ่ายเช่น ค่ายา ให้ลดลง จะทำให้ในปี พ.ศ. 2563 หรือ อีก 8 ปีข้างหน้า ภาระงบประมาณด้านค่ารักษาสูงถึงกว่า 7 แสนล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 5.5 ของจีดีพี” นพ.สมเกียรติกล่าว
วันนี้ (2 มี.ค.) นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน (รง.) กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบสุขภาพ 3 ระบบรักษาพยาบาล ประกอบด้วยระบบประกันสังคม ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการโดยมี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปเรื่องการให้บริการการรักษาพยาบาลกรณีเกิดอุบัติเหตุและเจ็บป่วยฉุกเฉิน เช่น โรคหัวใจ โรคสมอง โดยกำหนดให้เป็นระบบเดียวกัน คือ หากประชาชน ผู้ประกันตนและข้าราชการเกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินสามารถเข้ารับการรักษาโรงพยาบาลรัฐหรือโรงพยาบาลเอกชนแห่งใดก็ได้ โดยที่โรงพยาบาลจะไม่สอบถามว่าอยู่ในระบบการรักษาใด ซึ่งโรงพยาบาลจะรักษาจนสิ้นสุดการรักษา
ทั้งนี้ ระบบปัจจุบันผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษากรณีเกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินในโรงพยาบาลนอกบัตรรับรองสิทธิ์ได้ภายใน 72 ชั่วโมง และต้องแจ้งโรงพยาบาลตามบัตรมารับการรักษาต่อ แต่หากเริ่มระบบนี้ร่วมกันทั้ง 3 ระบบ ผู้ประกันตนจะได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องจากโรงพยาบาลนั้นๆ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และโรงพยาบาลแห่งนั้นจะไปเรียกเก็บค่ารักษาจากหน่วยงานที่ดูแลระบบบริการสุขภาพที่ผู้ป่วยแต่ละคนมีสิทธิรักษาพยาบาลอยู่โดยค่ารักษายึดตามระดับความรุนแรงของโรค หรือดีอาร์จี ที่ทั้ง 3 ระบบใช้เป็นมาตรฐานเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของผู้ประกันตนหากไปเข้ารับการรักษาพยาบาลในกรณีเกิดอุบัติเหตุหรือเจ็บป่วยฉุกเฉินที่โรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนที่อยู่นอกเครือข่ายประกันสังคม ทางสปส.ก็ตกลงร่วมกับอีก 2 ระบบว่าจะจ่ายเงินค่ารักษาให้ดีอาร์จีละ 1.5 หมื่นบาทเช่นเดียวกับโรงพยาบาลเครือข่ายประกันสังคม คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ภายในปีนี้ โดยในวันที่ 13 มีนาคมนี้ จะประชุมกันอีกครั้ง เพื่อหาข้อสรุปในเรื่องงบประมาณดำเนินการ
ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวอีกว่า ที่ประชุมยังได้หารือถึงแนวทางการพัฒนาระบบบริการสุขภาพในเรื่องการรักษาพยาบาลโรคเรื้อรังต่างๆ ซึ่งขณะนี้ทั้ง 3 ระบบมีมาตรฐานการให้บริการรักษาพยาบาลโรคเรื้อรังแตกต่างกันจึงอยากจะพัฒนาระบบรักษาพยาบาลโรคเรื้อรังต่างๆ ให้มีมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งจากการหารือกันเบื้องต้นพบว่า ปัจจุบันการรักษาพยาบาลโรคเรื้อรังที่ทั้ง 3 ระบบมีมาตรฐานใกล้เคียงกันมากคือ โรคเอดส์และโรคไต ดังนั้นจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนามาตรฐานการรักษาพยาบาลโรคเรื้อรังทั้งสองโรคนี้ของทั้ง 3 ระบบให้เป็นมาตรฐานเดียวกันก่อน เพื่อเป็นการนำร่อง ซึ่งตั้งเป้าหมายจะเริ่มดำเนินการภายในปีนี้ อย่างไรก็ตาม ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อสรุป จะต้องหารือกันในรายละเอียดต่อไป
“ในที่ประชุมนายกรัฐมนตรียังมีข้อห่วงใยในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ซึ่งเป็นภาระงบประมาณของประเทศซึ่งเพิ่มขึ้นในทุกปี ปัจจุบันค่ารักษาพยาบาลที่รัฐบาลต้องจ่ายในทุกระบบอยู่ที่กว่า 4.2 แสนล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 3.8 ของรายได้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (จีดีพี) แต่หากไม่ปรับปรุงรูปแบบการรักษาพยาบาลและควบคุมค่าใช้จ่ายเช่น ค่ายา ให้ลดลง จะทำให้ในปี พ.ศ. 2563 หรือ อีก 8 ปีข้างหน้า ภาระงบประมาณด้านค่ารักษาสูงถึงกว่า 7 แสนล้านบาทหรือคิดเป็นร้อยละ 5.5 ของจีดีพี” นพ.สมเกียรติกล่าว