สพคส.เตรียมเรียก 3 ระบบสุขภาพเข้าหาประเด็นค่ารักษาพยาบาล เร่งยุติข้อกังขา พยายามหาอัตรากลางลดปัญหาเหลื่อมล้ำในทุกระบบ
จากกรณีความไม่เข้าใจในการปรับรูปแบบการจ่ายเงินตามมติคณะกรรมการประกันสังคม(บอร์ด สปส.) กรณีกลุ่มโรคร้ายแรง เบื้องต้นมีการคำนวณความรุนแรงของโรคในอัตราละ 15,000 บาท ซึ่ง สูงกว่าระบบสุขภาพอื่นๆ ทั้งหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ที่อัตราละ 9,000 บาท และสวัสดิการข้าราชการอัตราละ 12,000 บาท ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าเอื้อประโยชน์ต่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด กระทั่งปลัดกระทรวงแรงงานออกโรงพร้อมเปิดข้อมูลต่อสาธารณะนั้น
นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงกรณีดังกล่าว ว่า ไม่อยากให้เรื่องดังกล่าวกลายเป็นประเด็นโต้เถียง ซึ่งการจ่ายในแต่ละกลุ่มโรคจะมีการคำนวณตามโครงสร้างที่แตกต่างกันไป อย่าง สปสช.มีการคำนวณโดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรของประเทศอย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งตรงนี้จะทำได้ก็ต้องอาศัยข้อมูลทางวิชาการ ข้อเท็จจริงต่างๆ สิ่งสำคัญ ณ ขณะนี้ไม่ใช่การเถียงโต้กันไปมา แต่ควรเข้าใจระบบ และจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีความร่วมมือในการหาทางออกแบบระบบร่วมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนทุกคน ซึ่งขณะนี้มีสำนักงานพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพแห่งชาติ (สพคส.) ซึ่งมี นพ.เทียม อังสาชน ผู้อำนวยการ สพคส. เป็นผู้ดูแล
“สำนักงานดังกล่าวจัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2553 เพื่อพัฒนาระบบการเงิน การคลังด้านสุขภาพของประเทศ ให้มีความยั่งยืน ซึ่งโดยภารกิจก็จะเป็นหน่วยงานในการดำเนินการออกแบบกลไกเรื่องระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพของประเทศไทยด้วย” นพ.ประทีป กล่าว
ด้าน นพ.เทียม กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นของแต่ละระบบ มาจากการคำนวณตัวเลขค่าใช้จ่ายที่มาจากฐานข้อมูลแยกกลุ่มกัน อย่าง สปส.ก็ใช้ฐานข้อมูลของกลุ่มอีกกลุ่ม ขณะที่บัตรทองก็อีกกลุ่ม ทำให้ข้อมูลที่ได้ต่างกัน ซึ่งหากไม่มีการแยกกลุ่ม การคำนวณผลก็จะออกมาไม่แตกต่าง ดังนั้น ทาง 3 ระบบ ควรหันหน้าเข้าหากัน เพื่อหาทางออกแบบระบบร่วมกัน โดยเริ่มต้นอาจเน้นในเรื่องของอัตรากลางของแต่ละกลุ่มโรค เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ สพคส. อยู่ระหว่างเตรียมการในการเชิญทั้ง 3 ระบบสุขภาพไทยมาหารือเกี่ยวกับเรื่องนี้เช่นกัน
จากกรณีความไม่เข้าใจในการปรับรูปแบบการจ่ายเงินตามมติคณะกรรมการประกันสังคม(บอร์ด สปส.) กรณีกลุ่มโรคร้ายแรง เบื้องต้นมีการคำนวณความรุนแรงของโรคในอัตราละ 15,000 บาท ซึ่ง สูงกว่าระบบสุขภาพอื่นๆ ทั้งหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ที่อัตราละ 9,000 บาท และสวัสดิการข้าราชการอัตราละ 12,000 บาท ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าเอื้อประโยชน์ต่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด กระทั่งปลัดกระทรวงแรงงานออกโรงพร้อมเปิดข้อมูลต่อสาธารณะนั้น
นพ.ประทีป ธนกิจเจริญ รองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวถึงกรณีดังกล่าว ว่า ไม่อยากให้เรื่องดังกล่าวกลายเป็นประเด็นโต้เถียง ซึ่งการจ่ายในแต่ละกลุ่มโรคจะมีการคำนวณตามโครงสร้างที่แตกต่างกันไป อย่าง สปสช.มีการคำนวณโดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรของประเทศอย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งตรงนี้จะทำได้ก็ต้องอาศัยข้อมูลทางวิชาการ ข้อเท็จจริงต่างๆ สิ่งสำคัญ ณ ขณะนี้ไม่ใช่การเถียงโต้กันไปมา แต่ควรเข้าใจระบบ และจำเป็นอย่างยิ่งต้องมีความร่วมมือในการหาทางออกแบบระบบร่วมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประชาชนทุกคน ซึ่งขณะนี้มีสำนักงานพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพแห่งชาติ (สพคส.) ซึ่งมี นพ.เทียม อังสาชน ผู้อำนวยการ สพคส. เป็นผู้ดูแล
“สำนักงานดังกล่าวจัดตั้งขึ้นตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2553 เพื่อพัฒนาระบบการเงิน การคลังด้านสุขภาพของประเทศ ให้มีความยั่งยืน ซึ่งโดยภารกิจก็จะเป็นหน่วยงานในการดำเนินการออกแบบกลไกเรื่องระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพของประเทศไทยด้วย” นพ.ประทีป กล่าว
ด้าน นพ.เทียม กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นของแต่ละระบบ มาจากการคำนวณตัวเลขค่าใช้จ่ายที่มาจากฐานข้อมูลแยกกลุ่มกัน อย่าง สปส.ก็ใช้ฐานข้อมูลของกลุ่มอีกกลุ่ม ขณะที่บัตรทองก็อีกกลุ่ม ทำให้ข้อมูลที่ได้ต่างกัน ซึ่งหากไม่มีการแยกกลุ่ม การคำนวณผลก็จะออกมาไม่แตกต่าง ดังนั้น ทาง 3 ระบบ ควรหันหน้าเข้าหากัน เพื่อหาทางออกแบบระบบร่วมกัน โดยเริ่มต้นอาจเน้นในเรื่องของอัตรากลางของแต่ละกลุ่มโรค เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ สพคส. อยู่ระหว่างเตรียมการในการเชิญทั้ง 3 ระบบสุขภาพไทยมาหารือเกี่ยวกับเรื่องนี้เช่นกัน