“วิทยา” มอบอธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย-สสจ.อ่างทอง พิสูจน์สรรพคุณของหญ้าปล้องแดง คาดว่า จะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์จะทราบผล
จากกรณีที่ชายวัย 50 ปี ชาวจังหวัดอ่างทอง ซึ่งป่วยเป็นโรคตับแข็งมาเป็นเวลากว่า 10 ปี ได้นำหญ้าปล้องแดงจากสุนัขบอก มารับประทานโดยรับประทานสดๆ และต้มน้ำดื่ม จนอาการป่วยดีขึ้น และมีชาวบ้านคนอื่นๆ ที่ป่วยเป็นโรคตับแข็ง และโรคเกาต์นำไปกินด้วย และบอกว่าอาการก็หายเช่นกันนั้น
ความคืบหน้าในเรื่องนี้วันนี้ (27 มี.ค.) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้สัมภาษณ์ (สธ.) ว่า ประเทศไทยนับว่ามีพืชผักสมุนไพรจำนวนมากอยู่แล้ว อย่างไรก็ดี ในเรื่องของหญ้าปล้องแดงนี้ ได้มอบหมายให้กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก และทีมเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอ่างทองลงพื้นที่ที่บ้านของผู้ป่วย คือ หมู่ที่ 3 ต.ย่านซื่อ อ.เมือง จ.อ่างทอง ศึกษาข้อเท็จจริงทั้งจากผู้ป่วย และสรรพคุณของหญ้าชนิดนี้ ว่า มีประโยชน์ทางยา หรือเป็นอาหารบำรุงร้างกายได้หรือไม่ รวมทั้งพิษอันตราย เพื่อให้คำแนะนำประชาชนที่ถูกต้อง ทั้งประชาชนที่เจ็บป่วยแล้วและประชาชนทั่วไป ซึ่งหากพบว่าหญ้าชนิดนี้มีประโยชน์จริง ก็จะส่งเสริมให้ประชาชนนำมาบริโภคเป็นอาหารบำรุงร่างกาย คาดว่า จะใช้เวลาศึกษาประมาณ 1 สัปดาห์
นายวิทยา กล่าวต่อว่า ในปีนี้กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายให้สถานบริการสาธารณสุขทั่วประเทศ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม.รณรงค์ส่งเสริมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชนให้หันมาสร้างสุขภาพดี เพื่อลดจำนวนผู้เจ็บป่วย โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อ ซึ่งสาเหตุการเกิดโรคมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่เหมาะสม ที่กำลังเป็นปัญหาติดอันดับต้นๆ ขณะนี้ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง แนวโน้มจำนวนคนป่วยมากขึ้น จึงต้องเร่งป้องกัน โดยกระทรวงสาธารณสุข จะรณรงค์ประชาชนออกกำลังกาย ลดการรับประทานอาหารรสหวาน มัน เค็ม เพิ่มการกินผัก ผลไม้ให้ได้วันละ 4 ขีด และลดหรืองดดื่มสุรา สูบบุหรี่ ซึ่งเป็นสิ่งทำลายสุขภาพ
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ในการศึกษาสรรพคุณของหญ้าปล้องแดงครั้งนี้ จะศึกษาโรค อาการที่ผู้ป่วยเป็น ควบคู่กับการศึกษาหญ้าปล้องแดง โดยจะเก็บตัวอย่างหญ้ามาตรวจที่สถาบันวิจัยสมุนไพรว่าเป็นสายพันธุ์ใด และมีสรรพคุณทางยา หรือสรรพคุณทางอาหารหรือไม่ ทั้งนี้ จากข้อมูลที่มีอยู่ในขณะนี้ พบว่าหญ้าปล้องแดง เป็นพืชตระกูลหญ้าคลายผักบุ้ง มีชื่อเรียกอื่นว่าผักปล้อง ลักษณะลำต้นเป็นปล้อง มีความยาวปล้องประมาณ 2 นิ้ว ลักษณะใบแหลมเรียว มีขนเล็กน้อยที่ขอบใบ โดยทั่วไปประชาชนบางภาค เช่น ที่ภาคใต้ นำมาปรุงเป็นอาหาร ผักชนิดนี้มีรสชาติจืด ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร คือ ยอด ต้นอ่อน โดยใช้ในอาหารประเภทแกงส้ม แกงเทโพ แกงกะทิ หรือเป็นผักจิ้มทั้งกินสดหรือลวก สรรพคุณทางสมุนไพรทั้งต้น หมอพื้นบ้านจะนำใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ขับระดูขาว แก้นิ่ว บำรุงไต แก้ร้อนใน
จากกรณีที่ชายวัย 50 ปี ชาวจังหวัดอ่างทอง ซึ่งป่วยเป็นโรคตับแข็งมาเป็นเวลากว่า 10 ปี ได้นำหญ้าปล้องแดงจากสุนัขบอก มารับประทานโดยรับประทานสดๆ และต้มน้ำดื่ม จนอาการป่วยดีขึ้น และมีชาวบ้านคนอื่นๆ ที่ป่วยเป็นโรคตับแข็ง และโรคเกาต์นำไปกินด้วย และบอกว่าอาการก็หายเช่นกันนั้น
ความคืบหน้าในเรื่องนี้วันนี้ (27 มี.ค.) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขให้สัมภาษณ์ (สธ.) ว่า ประเทศไทยนับว่ามีพืชผักสมุนไพรจำนวนมากอยู่แล้ว อย่างไรก็ดี ในเรื่องของหญ้าปล้องแดงนี้ ได้มอบหมายให้กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก และทีมเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอ่างทองลงพื้นที่ที่บ้านของผู้ป่วย คือ หมู่ที่ 3 ต.ย่านซื่อ อ.เมือง จ.อ่างทอง ศึกษาข้อเท็จจริงทั้งจากผู้ป่วย และสรรพคุณของหญ้าชนิดนี้ ว่า มีประโยชน์ทางยา หรือเป็นอาหารบำรุงร้างกายได้หรือไม่ รวมทั้งพิษอันตราย เพื่อให้คำแนะนำประชาชนที่ถูกต้อง ทั้งประชาชนที่เจ็บป่วยแล้วและประชาชนทั่วไป ซึ่งหากพบว่าหญ้าชนิดนี้มีประโยชน์จริง ก็จะส่งเสริมให้ประชาชนนำมาบริโภคเป็นอาหารบำรุงร่างกาย คาดว่า จะใช้เวลาศึกษาประมาณ 1 สัปดาห์
นายวิทยา กล่าวต่อว่า ในปีนี้กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายให้สถานบริการสาธารณสุขทั่วประเทศ และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม.รณรงค์ส่งเสริมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชนให้หันมาสร้างสุขภาพดี เพื่อลดจำนวนผู้เจ็บป่วย โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อ ซึ่งสาเหตุการเกิดโรคมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่เหมาะสม ที่กำลังเป็นปัญหาติดอันดับต้นๆ ขณะนี้ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง แนวโน้มจำนวนคนป่วยมากขึ้น จึงต้องเร่งป้องกัน โดยกระทรวงสาธารณสุข จะรณรงค์ประชาชนออกกำลังกาย ลดการรับประทานอาหารรสหวาน มัน เค็ม เพิ่มการกินผัก ผลไม้ให้ได้วันละ 4 ขีด และลดหรืองดดื่มสุรา สูบบุหรี่ ซึ่งเป็นสิ่งทำลายสุขภาพ
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ในการศึกษาสรรพคุณของหญ้าปล้องแดงครั้งนี้ จะศึกษาโรค อาการที่ผู้ป่วยเป็น ควบคู่กับการศึกษาหญ้าปล้องแดง โดยจะเก็บตัวอย่างหญ้ามาตรวจที่สถาบันวิจัยสมุนไพรว่าเป็นสายพันธุ์ใด และมีสรรพคุณทางยา หรือสรรพคุณทางอาหารหรือไม่ ทั้งนี้ จากข้อมูลที่มีอยู่ในขณะนี้ พบว่าหญ้าปล้องแดง เป็นพืชตระกูลหญ้าคลายผักบุ้ง มีชื่อเรียกอื่นว่าผักปล้อง ลักษณะลำต้นเป็นปล้อง มีความยาวปล้องประมาณ 2 นิ้ว ลักษณะใบแหลมเรียว มีขนเล็กน้อยที่ขอบใบ โดยทั่วไปประชาชนบางภาค เช่น ที่ภาคใต้ นำมาปรุงเป็นอาหาร ผักชนิดนี้มีรสชาติจืด ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร คือ ยอด ต้นอ่อน โดยใช้ในอาหารประเภทแกงส้ม แกงเทโพ แกงกะทิ หรือเป็นผักจิ้มทั้งกินสดหรือลวก สรรพคุณทางสมุนไพรทั้งต้น หมอพื้นบ้านจะนำใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ขับระดูขาว แก้นิ่ว บำรุงไต แก้ร้อนใน