สธ.รับรองผลการรักษาของหมอพื้นบ้านและนำเข้าสู่ระบบริการในโรงพยาบาลปีนี้ 23 แห่ง ใน 16 จังหวัด รักษา 8 โรค ได้แก่ 1.งูพิษกัด 2.โรคกระดูกหัก 3.โรคอัมพฤกษ์/อัมพาต 4.อาการปวดเมื่อย 5.ไหล่ติด 6.โรคเรื้อรัง อาทิ เบาหวาน 7.โรคสะเก็ดเงิน 8.โรคตับแข็ง พร้อมส่งเสริมการใช้สมุนไพร
วันนี้ (3 ก.พ.) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ.และ นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “รวมพลังการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน ปี 2555” เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การพัฒนาการแพทย์พื้นบ้านและสมุนไพรในการดูแลรักษาปัญหาการเจ็บป่วยของประชาชนในแต่ละท้องถิ่น แต่ละภูมิภาค ให้ประชาชนทุกวัยได้รู้จัก และสัมผัสบริการจากภูมิปัญญาไทยดั้งเดิมได้จริงๆ ปีนี้จัด 5 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา เชียงราย สระแก้ว มหาสารคาม และ สงขลา จะเริ่มจัดตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ - 26 เมษายน 2555
โดย นายวิทยา กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านในระบบบริการสาธารณสุขทุกระดับ ซึ่งเป็นการดึงของดีที่มีแต่ดั้งเดิมกลับมาใช้ประโยชน์ สร้างความเข้มแข็งระบบบริการดูแลรักษาการเจ็บป่วย ประชาชนได้รับบริการที่มีมาตรฐาน ปลอดภัย ในปี 2555 นี้ ได้คัดเลือกภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่ผ่านการพิสูจน์ทางวิชาการว่ามีประสิทธิภาพ และปลอดภัย เข้าสู่ระบบบริการควบคู่การแพทย์แผนปัจจุบันในโรงพยาบาล 23 แห่ง ใน 16 จังหวัด รักษา 8 โรค ได้แก่ 1.งูพิษกัด 2.โรคกระดูกหัก 3.โรคอัมพฤกษ์/อัมพาต 4.อาการปวดเมื่อย 5.ไหล่ติด 6.โรคเรื้อรังอาทิเบาหวาน 7.โรคสะเก็ดเงิน 8.โรคตับแข็ง และการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก บำรุงน้ำนมหญิงหลังคลอด ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกของประเทศและจะขยายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
นายวิทยา กล่าวต่อว่า สำหรับการพัฒนาส่งเสริมวิชาชีพหมอพื้นบ้าน ซึ่งขณะนี้มี 50,591 คนทั่วประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ทุกจังหวัด ในปีนี้กระทรวงสาธารณสุขจะมอบใบประกอบโรคศิลปะให้แก่หมอพื้นบ้านที่มีฝีมือ มีผลการรักษาที่ผ่านการประเมินทางวิชาการว่ามีมาตรฐาน มีความปลอดภัย เป็นรุ่นที่ 2 ของประเทศ จำนวน 61 คน และสามารถประกอบวิชาชีพรักษาผู้ป่วยได้ถูกต้องตามกฎหมาย จะมอบในเดือนมีนาคม 2555 นี้
ด้าน นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า ทาง สธ.จะร่งส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยองค์ความรู้ต่างๆ อย่างกว้างขวาง การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านให้เป็นในเชิงวิทยาศาสตร์ มีความเชื่อมั่นทางวิชาการเช่นเดียวกับการแพทย์แผนปัจจุบัน โดยในปีนี้ได้จัดสรรงบประมาณจากกองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย จำนวน 124 ล้านบาท ให้ทุนแก่นักวิจัยที่สนใจทั่วประเทศที่สนใจด้านการแพทย์แผนไทย และการพัฒนาสมุนไพร สามารถติดต่อรับทุนได้ที่หมายเลข 0-2588-5743 ซึ่งจะมีคณะกรรมการกองทุนเป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณาอนุมัติโครงการต่างๆ
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า การจัดงานรวมพลังการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านนี้ จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 เพื่อรณรงค์และสร้างกระแสการพึ่งตนเองของสังคมและประชาชนด้วยการใช้การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และสมุนไพรในท้องถิ่น เสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประชาชนทุกภาคส่วน ในการอนุรักษ์ รวบรวม และนำมาใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน ในปีนี้ใช้งบประมาณจัด 12 ล้านบาท ดำเนินการใน 5 ภาค ดังนี้ ภาคเหนือที่จังหวัดเชียงราย วันที่ 10-11 กุมภาพันธ์ ภาคตะวันออกที่จังหวัดสระแก้ว วันที่ 14-20 กุมภาพันธ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดมหาสารคาม วันที่ 15-16 มีนาคม ภาคกลางที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 27-28 มีนาคม และภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา วันที่ 25-26 เมษายน 2555
“การจัดงาน 3 ปีที่ผ่านมา ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ 3 ประการ คือ 1.มีการนำการแพทย์พื้นบ้าน และสมุนไพร ไปใช้ประโยชน์ทั้งในระดับชุมชน โดยเฉพาะในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกว่า 90 เรื่อง อาทิ ย่ำขาง เหยียบเหล็กแดง ตำรับยาท้องถิ่น โต๊ะบิแด รำผีฟ้า 2. มีการคัดเลือกและรวบรวมสมุนไพรเด่น สมุนไพรหายาก นำไปใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์ คุ้มครองตามกฎหมาย รวมทั้งการศึกษาวิจัยและพัฒนาต่อยอดทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม จำนวน 124 รายการ 3.เกิดการรวมกลุ่มเครือข่ายหมอพื้นบ้าน นักวิชาการด้านการแพทย์แผนไทย ผู้ปลูกหรือแปรรูปสมุนไพร ผู้ผลิตหรือจำหน่ายยาแผนไทย องค์การเอกชนพัฒนาด้านการแพทย์แผนไทย ตลอดจนสมาคม ชมรม อาสาสมัครต่างๆ ทุกระดับในพื้นที่ นับเป็นจุดเริ่มต้นและกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน สู่แผนเชิงยุทธศาสตร์ระดับชาติ ในการอนุรักษ์ ส่งเสริม คุ้มครอง และใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและสมุนไพร” นพ.สุพรรณ กล่าว
สำหรับโรงพยาบาลที่นำการแพทย์พื้นบ้านให้บริการประชาชน ทั้งหมด 23 แห่ง ประกอบด้วย การรักษากระดูกหักที่โรงพยาบาล 12 แห่ง ได้แก่ 1.รพ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี 2.รพ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี 3.รพ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ 4.รพ.สูงเม่น จ.แพร่ 5.รพ.สอง จ.แพร่ 6.รพ.พิชัย จ.อุตรดิถต์ 7.รพ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา 8. รพ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี 9.รพ.เทพา จ.สงขลา และ 10.รพ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา 11.รพ.ชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จ.ชุมพร 12.รพ.หลังสวน จ.ชุมพร 13.รพ.ละแม จ.ชุมพร การรักษาปัญหาไหล่ติดที่ รพ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี รักษาอัมพฤกษ์/อัมพาตที่ รพ.เทิง จ.เชียงราย รักษาโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวานที่ รพ.คลองใหญ่ จ.ตราด และโรคปวดเมื่อยด้วยวิธีย่ำขางที่รพ.แม่ลาว จ.เชียงราย รักษาโรคสะเก็ดเงินและโรคตับแข็งที่โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี ซึ่งจัดเป็นโรงพยาบาลศูนย์แห่งเดียวที่บริการด้านนี้ การรักษางูพิษกัด สัตว์พิษกัด 2 แห่งใน จ.สุรินทร์ คือ ที่ รพ.พนมดงรักเฉลิมพระเกียรติ และ รพ.กาบเชิง รักษาโดย หมอเอี๊ยะ สายกระสุน โดยใช้ตำรับยาพื้นบ้าน คือ โลดทะนงแดง หมากแห้ง
ในส่วนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ (รพ.สต.) มีบริการ 3 แห่ง ได้แก่ รพ.สต.สำโรงโคกเพชร จ.สุรินทร์ มีหมอตำแยร่วมดูแลสุขภาพสุขภาพแม่และเด็ก นำตำรับยาบำรุงน้ำนมหญิงหลังคลอด ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ รพ.สต.ดงเค็ง จ.ขอนแก่น ดูแลด้วย ตำรับยาหมอพื้นบ้านบำรุงน้ำนม รพ.สต.โคกม่วง จ.พัทลุง มีหมอตำแยร่วมดูแลหญิงตั้งครรภ์
วันนี้ (3 ก.พ.) นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ.และ นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “รวมพลังการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้าน ปี 2555” เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การพัฒนาการแพทย์พื้นบ้านและสมุนไพรในการดูแลรักษาปัญหาการเจ็บป่วยของประชาชนในแต่ละท้องถิ่น แต่ละภูมิภาค ให้ประชาชนทุกวัยได้รู้จัก และสัมผัสบริการจากภูมิปัญญาไทยดั้งเดิมได้จริงๆ ปีนี้จัด 5 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา เชียงราย สระแก้ว มหาสารคาม และ สงขลา จะเริ่มจัดตั้งแต่วันที่ 10 กุมภาพันธ์ - 26 เมษายน 2555
โดย นายวิทยา กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายส่งเสริมการใช้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านในระบบบริการสาธารณสุขทุกระดับ ซึ่งเป็นการดึงของดีที่มีแต่ดั้งเดิมกลับมาใช้ประโยชน์ สร้างความเข้มแข็งระบบบริการดูแลรักษาการเจ็บป่วย ประชาชนได้รับบริการที่มีมาตรฐาน ปลอดภัย ในปี 2555 นี้ ได้คัดเลือกภูมิปัญญาพื้นบ้าน ที่ผ่านการพิสูจน์ทางวิชาการว่ามีประสิทธิภาพ และปลอดภัย เข้าสู่ระบบบริการควบคู่การแพทย์แผนปัจจุบันในโรงพยาบาล 23 แห่ง ใน 16 จังหวัด รักษา 8 โรค ได้แก่ 1.งูพิษกัด 2.โรคกระดูกหัก 3.โรคอัมพฤกษ์/อัมพาต 4.อาการปวดเมื่อย 5.ไหล่ติด 6.โรคเรื้อรังอาทิเบาหวาน 7.โรคสะเก็ดเงิน 8.โรคตับแข็ง และการดูแลสุขภาพแม่และเด็ก บำรุงน้ำนมหญิงหลังคลอด ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกของประเทศและจะขยายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
นายวิทยา กล่าวต่อว่า สำหรับการพัฒนาส่งเสริมวิชาชีพหมอพื้นบ้าน ซึ่งขณะนี้มี 50,591 คนทั่วประเทศ ครอบคลุมพื้นที่ทุกจังหวัด ในปีนี้กระทรวงสาธารณสุขจะมอบใบประกอบโรคศิลปะให้แก่หมอพื้นบ้านที่มีฝีมือ มีผลการรักษาที่ผ่านการประเมินทางวิชาการว่ามีมาตรฐาน มีความปลอดภัย เป็นรุ่นที่ 2 ของประเทศ จำนวน 61 คน และสามารถประกอบวิชาชีพรักษาผู้ป่วยได้ถูกต้องตามกฎหมาย จะมอบในเดือนมีนาคม 2555 นี้
ด้าน นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า ทาง สธ.จะร่งส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยองค์ความรู้ต่างๆ อย่างกว้างขวาง การแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านให้เป็นในเชิงวิทยาศาสตร์ มีความเชื่อมั่นทางวิชาการเช่นเดียวกับการแพทย์แผนปัจจุบัน โดยในปีนี้ได้จัดสรรงบประมาณจากกองทุนภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย จำนวน 124 ล้านบาท ให้ทุนแก่นักวิจัยที่สนใจทั่วประเทศที่สนใจด้านการแพทย์แผนไทย และการพัฒนาสมุนไพร สามารถติดต่อรับทุนได้ที่หมายเลข 0-2588-5743 ซึ่งจะมีคณะกรรมการกองทุนเป็นผู้มีอำนาจในการพิจารณาอนุมัติโครงการต่างๆ
นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า การจัดงานรวมพลังการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านนี้ จัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 เพื่อรณรงค์และสร้างกระแสการพึ่งตนเองของสังคมและประชาชนด้วยการใช้การแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และสมุนไพรในท้องถิ่น เสริมสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประชาชนทุกภาคส่วน ในการอนุรักษ์ รวบรวม และนำมาใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และชุมชน ในปีนี้ใช้งบประมาณจัด 12 ล้านบาท ดำเนินการใน 5 ภาค ดังนี้ ภาคเหนือที่จังหวัดเชียงราย วันที่ 10-11 กุมภาพันธ์ ภาคตะวันออกที่จังหวัดสระแก้ว วันที่ 14-20 กุมภาพันธ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่จังหวัดมหาสารคาม วันที่ 15-16 มีนาคม ภาคกลางที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วันที่ 27-28 มีนาคม และภาคใต้ที่จังหวัดสงขลา วันที่ 25-26 เมษายน 2555
“การจัดงาน 3 ปีที่ผ่านมา ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ 3 ประการ คือ 1.มีการนำการแพทย์พื้นบ้าน และสมุนไพร ไปใช้ประโยชน์ทั้งในระดับชุมชน โดยเฉพาะในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกว่า 90 เรื่อง อาทิ ย่ำขาง เหยียบเหล็กแดง ตำรับยาท้องถิ่น โต๊ะบิแด รำผีฟ้า 2. มีการคัดเลือกและรวบรวมสมุนไพรเด่น สมุนไพรหายาก นำไปใช้ประโยชน์ในการอนุรักษ์ คุ้มครองตามกฎหมาย รวมทั้งการศึกษาวิจัยและพัฒนาต่อยอดทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม จำนวน 124 รายการ 3.เกิดการรวมกลุ่มเครือข่ายหมอพื้นบ้าน นักวิชาการด้านการแพทย์แผนไทย ผู้ปลูกหรือแปรรูปสมุนไพร ผู้ผลิตหรือจำหน่ายยาแผนไทย องค์การเอกชนพัฒนาด้านการแพทย์แผนไทย ตลอดจนสมาคม ชมรม อาสาสมัครต่างๆ ทุกระดับในพื้นที่ นับเป็นจุดเริ่มต้นและกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน สู่แผนเชิงยุทธศาสตร์ระดับชาติ ในการอนุรักษ์ ส่งเสริม คุ้มครอง และใช้ประโยชน์จากภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านและสมุนไพร” นพ.สุพรรณ กล่าว
สำหรับโรงพยาบาลที่นำการแพทย์พื้นบ้านให้บริการประชาชน ทั้งหมด 23 แห่ง ประกอบด้วย การรักษากระดูกหักที่โรงพยาบาล 12 แห่ง ได้แก่ 1.รพ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี 2.รพ.ม่วงสามสิบ จ.อุบลราชธานี 3.รพ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ 4.รพ.สูงเม่น จ.แพร่ 5.รพ.สอง จ.แพร่ 6.รพ.พิชัย จ.อุตรดิถต์ 7.รพ.อุทัย จ.พระนครศรีอยุธยา 8. รพ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี 9.รพ.เทพา จ.สงขลา และ 10.รพ.สะบ้าย้อย จ.สงขลา 11.รพ.ชุมพรเขตอุดมศักดิ์ จ.ชุมพร 12.รพ.หลังสวน จ.ชุมพร 13.รพ.ละแม จ.ชุมพร การรักษาปัญหาไหล่ติดที่ รพ.ท่าวุ้ง จ.ลพบุรี รักษาอัมพฤกษ์/อัมพาตที่ รพ.เทิง จ.เชียงราย รักษาโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวานที่ รพ.คลองใหญ่ จ.ตราด และโรคปวดเมื่อยด้วยวิธีย่ำขางที่รพ.แม่ลาว จ.เชียงราย รักษาโรคสะเก็ดเงินและโรคตับแข็งที่โรงพยาบาลพระปกเกล้า จังหวัดจันทบุรี ซึ่งจัดเป็นโรงพยาบาลศูนย์แห่งเดียวที่บริการด้านนี้ การรักษางูพิษกัด สัตว์พิษกัด 2 แห่งใน จ.สุรินทร์ คือ ที่ รพ.พนมดงรักเฉลิมพระเกียรติ และ รพ.กาบเชิง รักษาโดย หมอเอี๊ยะ สายกระสุน โดยใช้ตำรับยาพื้นบ้าน คือ โลดทะนงแดง หมากแห้ง
ในส่วนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ (รพ.สต.) มีบริการ 3 แห่ง ได้แก่ รพ.สต.สำโรงโคกเพชร จ.สุรินทร์ มีหมอตำแยร่วมดูแลสุขภาพสุขภาพแม่และเด็ก นำตำรับยาบำรุงน้ำนมหญิงหลังคลอด ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ รพ.สต.ดงเค็ง จ.ขอนแก่น ดูแลด้วย ตำรับยาหมอพื้นบ้านบำรุงน้ำนม รพ.สต.โคกม่วง จ.พัทลุง มีหมอตำแยร่วมดูแลหญิงตั้งครรภ์