นครปฐม - ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดราชบุรี เตือนประชาชนนักท่องเที่ยวที่ชอบกางเต็นท์นอนรับลมหนาวในช่วงปีใหม่นี้เสี่ยง “เชื้อร้าย” เผย “โรคสครับไทฟัสและมาลาเรีย” มีอันตรายถึงชีวิตได้จากสถิติปี 54 พบผู้ป่วย “โรคสครับไทฟัส” 5,721 ราย เสียชีวิต 2 ราย “โรคมาลาเรีย” พบผู้ป่วยทั้งสิ้น 17,636 ราย เสียชีวิต 8 ราย พบมากที่สุดในภาคเหนือ
ดร.นพ.อนุพงค์ สุจริยากุล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดราชบุรี มีความห่วงใยนักท่องเที่ยวที่ชอบกางเต็นท์นอนรับลมหนาวในช่วงปีใหม่นี้ เนื่องจากสภาพอากาศเย็นมากในเวลากลางคืนนักท่องเที่ยวควรระมัดระวังตนเอง เพราะในป่าจะมีไรอ่อน และยุงเป็นพาหะนำโรค ได้แก่ “โรคสครับไทฟัสและมาลาเรีย” ซึ่งมีอันตรายถึงชีวิตได้ จากสถิติปี 2554 พบผู้ป่วยโรคสครับไทฟัส 5,721 ราย เสียชีวิต 2 ราย
ส่วนโรคมาลาเรียพบผู้ป่วยทั้งสิ้น 17,636 ราย เสียชีวิต 8 ราย พบมากที่สุดในภาคเหนือ ขณะนี้มีจังหวัดที่ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยหนาว) 16 จังหวัด 143 อำเภอ 1,112 ตำบล 12,075 หมู่บ้าน แยกเป็น ภาคเหนือ 7 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ อุตรดิตถ์ น่าน ตาก และพะเยา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 จังหวัด ได้แก่สกลนคร เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ และบุรีรัมย์ ภาคกลาง 2 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี และราชบุรี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสายด่วน 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง
ดร.นพ.อนุพงค์ กล่าวว่า สิ่งที่นักท่องเที่ยวต้องรู้ในการเดินทางไปท่องเที่ยวในป่า คือ มาตรการ 3 รู้ 1.รู้เตรียมคือเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการเดินทาง 2. รู้ระวัง คือ การระวังป้องกันโรคและภัยต่างๆจากการเดินทาง 3. รู้สะอาด คือ ทำให้ร่างกายสะอาด และอบอุ่น เตรียมอาหารและข้าวของเครื่องใช้ที่สะอาดก็สามารถแคล้วคลาดจากโรคต่างๆ ได้แล้ว ซึ่งมาตรการ 3 รู้ นี้ เราสามารถใช้ในการป้องกันและระวังป้องกันโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจและโรคติดต่อระบบทางเดินอาหารได้เป็นอย่างดี แต่สิ่งจำเป็นในการเดินทาง ก็คือ ยารักษาโรคประจำตัวที่จำเป็นต้องกินเป็นประจำ
ส่วนอุปกรณ์ที่จำเป็นและที่จะใช้ป้องกันภัยหนาว เช่น เสื้อกันหนาว ผ้าพันคอ หมวกกันน้ำค้าง ถุงเท้าหนาๆ รองเท้าควรเป็นผ้าใบเพราะปิดมิดชิดและเดินสะดวก ทำให้ร่างกายอบอุ่นแถมยังสามารถป้องกันยุงและแมลงกัดได้อีกด้วย ส่วนเครื่องนอน ได้แก่ ผ้าห่ม หรือถุงนอน มุ้ง ควรเตรียมไปให้เพียงพอเพื่อป้องกันความหนาวเย็นและการป้องกันยุงกัดต้องอย่าลืมยากันยุงนะครับ (การใช้เครื่องกันหนาวมือสอง ราคาถูก อาจจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่มากับเสื้อผ้าดังกล่าว)
เช่น เชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ทำให้เกิดโรคกลากเกลื้อน ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย ก่อนนำมาใช้ ต้องซักและต้มในน้ำเดือดนาน 15-30 นาที เพราะการซักธรรมดาอย่างเดียว หรือตากแดดจัดๆ เป็นเวลานานไม่สามารถฆ่าเชื้อเหล่านี้ได้หมด แต่เราอาจแช่ด้วยน้ำยาซักผ้าขาวแล้วซักรีดด้วยความร้อนสูง โดยเฉพาะด้านในของเสื้อผ้า เพราะเชื้อราที่เป็นสาเหตุของกลากและเกลื้อนทนต่อสภาวะการทำความสะอาดตามปกติได้ดี)
ดร.นพ.อนุพงค์ กล่าวต่ออีกว่า มีอีกเรื่องที่อยากขอแนะนำนักท่องเที่ยว เนื่องจากสถานการณ์ภัยหนาวโรคและภัยที่พบได้บ่อย 6 โรค ได้แก่ โรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม โรคหัด โรคหัดเยอรมัน โรคอีสุกอีใส และ อุจจาระร่วงในเด็ก รวมถึงโรคที่เกิดจากสภาพอากาศแห้ง เช่น โรคผิวหนัง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคหอบหืด โรคปอดเรื้อรัง โรคตับแข็ง โรคไต และโรคโลหิตจาง ส่วนแนวทางการป้องกัน ขอให้นักท่องเที่ยวป้องกันตนเองโดยการทำให้ร่างกายมีความอบอุ่น โดยเฉพาะที่ส่วนอกและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
นอกจากนี้ ขอให้ดื่มน้ำบ่อยๆ โดยเฉพาะน้ำอุ่นควรดื่มอย่างน้อยวันละ 1 ลิตร ซึ่งน้ำจะช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้น ไม่แตกง่าย หากมีโลชั่น หรือน้ำมันมะพร้าวก็สามารถชะโลมผิวป้องกันผิวแห้งแตกได้ และที่สำคัญ ไม่ควรนอนคลุมโปง ไม่ควรผิงไฟในเต็นท์เพราะอาจหายใจไม่ออก อีกทั้งให้หลีกเลี่ยงการดื่มสุราบางคนมีความเชื่อว่า การดื่มสุราจะช่วยให้หายหนาวได้ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะสุราเมื่อดื่มเข้าไปแล้วจะทำให้หลอดเลือดดำขยายทำให้รู้สึกร้อนซู่ซ่า จึงไม่รู้สึกหนาวบางครั้งอาจถอดเสื้อ เปิดพัดลมแล้วเผลอนอนหลับไปในที่โล่งลมโกรกจึงทำให้เป็นปอดบวมถ้ารักษาไม่ทันอาจทำให้เสียชีวิตได้
การป้องกันโรคติดต่อที่ได้ผลดีที่สุด คือ 1.การกินอาหารขณะที่ยังร้อนอยู่ 2.การใช้ช้อนกลางตักกับข้าวใส่จานข้าวของเราเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในระหว่างรับประทานอาหาร 3.การล้างมือบ่อยๆ เพื่อลดเชื้อโรคที่ติดมือมา เพียงเท่านี้ถ้าท่านทำได้โรคติดต่อต่างๆก็ไม่สามารถเข้ามาทำให้เราเกิดการเจ็บป่วยได้ ปีใหม่ พ.ศ.2555 นี้ ขออวยพรให้นักท่องเที่ยวทุกท่านเดินทางไปเที่ยวกันอย่างปลอดภัย
ดร.นพ.อนุพงค์ สุจริยากุล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 4 จังหวัดราชบุรี มีความห่วงใยนักท่องเที่ยวที่ชอบกางเต็นท์นอนรับลมหนาวในช่วงปีใหม่นี้ เนื่องจากสภาพอากาศเย็นมากในเวลากลางคืนนักท่องเที่ยวควรระมัดระวังตนเอง เพราะในป่าจะมีไรอ่อน และยุงเป็นพาหะนำโรค ได้แก่ “โรคสครับไทฟัสและมาลาเรีย” ซึ่งมีอันตรายถึงชีวิตได้ จากสถิติปี 2554 พบผู้ป่วยโรคสครับไทฟัส 5,721 ราย เสียชีวิต 2 ราย
ส่วนโรคมาลาเรียพบผู้ป่วยทั้งสิ้น 17,636 ราย เสียชีวิต 8 ราย พบมากที่สุดในภาคเหนือ ขณะนี้มีจังหวัดที่ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยหนาว) 16 จังหวัด 143 อำเภอ 1,112 ตำบล 12,075 หมู่บ้าน แยกเป็น ภาคเหนือ 7 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ อุตรดิตถ์ น่าน ตาก และพะเยา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7 จังหวัด ได้แก่สกลนคร เลย หนองคาย นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ และบุรีรัมย์ ภาคกลาง 2 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี และราชบุรี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสายด่วน 1422 ตลอด 24 ชั่วโมง
ดร.นพ.อนุพงค์ กล่าวว่า สิ่งที่นักท่องเที่ยวต้องรู้ในการเดินทางไปท่องเที่ยวในป่า คือ มาตรการ 3 รู้ 1.รู้เตรียมคือเตรียมวัสดุอุปกรณ์ในการเดินทาง 2. รู้ระวัง คือ การระวังป้องกันโรคและภัยต่างๆจากการเดินทาง 3. รู้สะอาด คือ ทำให้ร่างกายสะอาด และอบอุ่น เตรียมอาหารและข้าวของเครื่องใช้ที่สะอาดก็สามารถแคล้วคลาดจากโรคต่างๆ ได้แล้ว ซึ่งมาตรการ 3 รู้ นี้ เราสามารถใช้ในการป้องกันและระวังป้องกันโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจและโรคติดต่อระบบทางเดินอาหารได้เป็นอย่างดี แต่สิ่งจำเป็นในการเดินทาง ก็คือ ยารักษาโรคประจำตัวที่จำเป็นต้องกินเป็นประจำ
ส่วนอุปกรณ์ที่จำเป็นและที่จะใช้ป้องกันภัยหนาว เช่น เสื้อกันหนาว ผ้าพันคอ หมวกกันน้ำค้าง ถุงเท้าหนาๆ รองเท้าควรเป็นผ้าใบเพราะปิดมิดชิดและเดินสะดวก ทำให้ร่างกายอบอุ่นแถมยังสามารถป้องกันยุงและแมลงกัดได้อีกด้วย ส่วนเครื่องนอน ได้แก่ ผ้าห่ม หรือถุงนอน มุ้ง ควรเตรียมไปให้เพียงพอเพื่อป้องกันความหนาวเย็นและการป้องกันยุงกัดต้องอย่าลืมยากันยุงนะครับ (การใช้เครื่องกันหนาวมือสอง ราคาถูก อาจจะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อที่มากับเสื้อผ้าดังกล่าว)
เช่น เชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา ทำให้เกิดโรคกลากเกลื้อน ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย ก่อนนำมาใช้ ต้องซักและต้มในน้ำเดือดนาน 15-30 นาที เพราะการซักธรรมดาอย่างเดียว หรือตากแดดจัดๆ เป็นเวลานานไม่สามารถฆ่าเชื้อเหล่านี้ได้หมด แต่เราอาจแช่ด้วยน้ำยาซักผ้าขาวแล้วซักรีดด้วยความร้อนสูง โดยเฉพาะด้านในของเสื้อผ้า เพราะเชื้อราที่เป็นสาเหตุของกลากและเกลื้อนทนต่อสภาวะการทำความสะอาดตามปกติได้ดี)
ดร.นพ.อนุพงค์ กล่าวต่ออีกว่า มีอีกเรื่องที่อยากขอแนะนำนักท่องเที่ยว เนื่องจากสถานการณ์ภัยหนาวโรคและภัยที่พบได้บ่อย 6 โรค ได้แก่ โรคไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม โรคหัด โรคหัดเยอรมัน โรคอีสุกอีใส และ อุจจาระร่วงในเด็ก รวมถึงโรคที่เกิดจากสภาพอากาศแห้ง เช่น โรคผิวหนัง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคหอบหืด โรคปอดเรื้อรัง โรคตับแข็ง โรคไต และโรคโลหิตจาง ส่วนแนวทางการป้องกัน ขอให้นักท่องเที่ยวป้องกันตนเองโดยการทำให้ร่างกายมีความอบอุ่น โดยเฉพาะที่ส่วนอกและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
นอกจากนี้ ขอให้ดื่มน้ำบ่อยๆ โดยเฉพาะน้ำอุ่นควรดื่มอย่างน้อยวันละ 1 ลิตร ซึ่งน้ำจะช่วยให้ผิวหนังชุ่มชื้น ไม่แตกง่าย หากมีโลชั่น หรือน้ำมันมะพร้าวก็สามารถชะโลมผิวป้องกันผิวแห้งแตกได้ และที่สำคัญ ไม่ควรนอนคลุมโปง ไม่ควรผิงไฟในเต็นท์เพราะอาจหายใจไม่ออก อีกทั้งให้หลีกเลี่ยงการดื่มสุราบางคนมีความเชื่อว่า การดื่มสุราจะช่วยให้หายหนาวได้ ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิด เพราะสุราเมื่อดื่มเข้าไปแล้วจะทำให้หลอดเลือดดำขยายทำให้รู้สึกร้อนซู่ซ่า จึงไม่รู้สึกหนาวบางครั้งอาจถอดเสื้อ เปิดพัดลมแล้วเผลอนอนหลับไปในที่โล่งลมโกรกจึงทำให้เป็นปอดบวมถ้ารักษาไม่ทันอาจทำให้เสียชีวิตได้
การป้องกันโรคติดต่อที่ได้ผลดีที่สุด คือ 1.การกินอาหารขณะที่ยังร้อนอยู่ 2.การใช้ช้อนกลางตักกับข้าวใส่จานข้าวของเราเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในระหว่างรับประทานอาหาร 3.การล้างมือบ่อยๆ เพื่อลดเชื้อโรคที่ติดมือมา เพียงเท่านี้ถ้าท่านทำได้โรคติดต่อต่างๆก็ไม่สามารถเข้ามาทำให้เราเกิดการเจ็บป่วยได้ ปีใหม่ พ.ศ.2555 นี้ ขออวยพรให้นักท่องเที่ยวทุกท่านเดินทางไปเที่ยวกันอย่างปลอดภัย