ช่วงหลังน้ำลด เชื่อว่า หลายๆ ครอบครัว คงกำลังหนักใจกับการทำความสะอาดบ้านเรือน ที่พักอาศัย ไหนจะข้าวของที่พังเสียหาย เครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ วอลเปเปอร์แสนสวย ฯลฯ ยิ่งกว่านั้น “กระสอบทราย” กั้นน้องน้ำที่เคยหาซื้อยากราคาแสนแพง มาวันนี้กลับกลายเป็นปัญหาใหญ่ ที่ไม่รู้จะจัดการอย่างไรดี
ภญ.ลักษณา ลือประเสริฐ โฆษกกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แนะนำหลักการง่ายๆ ในการทำความสะอาดบ้านเรือนและที่พักอาศัยไว้ดังนี้ เริ่มต้นจากการจัดการปัญหาถุงทรายกองมหึมาที่เน่าเปื่อย และชื้นแฉะว่า หลายคนมีแผนจะใช้ถุงทรายเก่าที่ครั้งหนึ่ง เคยใช้กั้นมวลน้ำไปถมสนามเด็กเล่น แต่วิธีการประยุกต์ใช้ถุงทรายดังกล่าวนั้น เป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง เพราะเสี่ยงต่อการรับเชื้อโรค เนื่องจากเด็กเป็นวัยที่ภูมิต้านทานต่ำ และดูแลตนเองได้ไม่ดีพอ หากปล่อยให้เล่นไปตามใจชอบจากถุงทรายที่ปนเปื้อนเชื้อโรคก็เสี่ยงป่วยได้ง่าย เนื่องจากถุงทรายบางทีผ่านการซึมซับน้ำสกปรกมา ทั้งน้ำที่เปื้อนขยะ เปื้อนสิ่งปฏิกูล และสารเคมีอื่นๆที่มากับน้ำ รวมทั้งอาจมีพยาธิ หรือไข่พยาธิฝังอยู่ ดังนั้นแนะนำว่าให้หลีกเลี่ยงจะเป็นการดีที่สุด
สำหรับหลายคนที่สงสัยว่า จะใช้ประโยชน์จากถึงทรายเก่าอย่างไรนั้น กรมวิทย์ แนะนำว่า ควรนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น นำไปถมที่ดินเพิ่มเติม ถมตามรั้วกำแพง หรือผสมดินปลูกต้นไม้ เช่น ปลูกไม้ประดับจำพวก กระบองเพชร เป็นต้น
นอกจากการจัดการกับถุงทรายที่ผ่านการใช้งานแล้ว นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ได้จัดทำคู่มือการทำความสะอาดบ้านหลังน้ำลดบริการประชาชนถึง 2 หมื่นชุด เพื่อแนะนำการป้องกันตนเองในการทำความสะอาดบ้าน ซึ่งผู้ที่จำเป็นต้องทำความสะอาดบ้านเรือน นั้น ควรมีการป้องกันร่างกายอย่างมิดชิด คือสวมรองเท้าบู๊ทยาง ถุงมือยาง เพื่อป้องกันเชื้อราสัมผัสผิวหนังโดยตรง ใส่แว่นตาป้องกันเชื้อกระเด็นเข้าตา และใส่ผ้าปิดปากปิดจมูกป้องกันการหายใจเอาสปอร์เชื้อราและไอระเหยสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย
จุดที่ต้องได้รับการทำความสะอาดโดยเร็ว คือ เฟอร์นิเจอร์ต้องทำภายใน 24 ถึง 48 ชั่วโมงหลังน้ำลด โดยให้ล้างด้วยน้ำและสบู่เพื่อขจัดสิ่งสกปรกออกก่อน หลังจากนั้น ให้ล้างด้วยน้ำยาโซเดียมไฮโปคลอไรต์ หรือผงปูนคลอรีน หรือใช้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปน้ำยาซักผ้าขาวที่มีส่วนผสมของโซเดียมไฮโปคลอไรต์ซึ่งสามารถหาซื้อได้ที่ซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป นำมาผสมกับน้ำในอัตราส่วนน้ำยาซักผ้าขาว 1 ถ้วย เช็ดคราบเชื้อราทิ้งไว้ 15-30 นาที แล้วจึงล้างออก
สำหรับเชื้อราที่ขึ้นเป็นจุดๆ บนวอลเปเปอร์และผนัง ให้เช็ดด้วยแอลกอฮอล์ล้างแผล 70 เปอร์เซ็นต์ แต่หากพบว่ามีเชื้อราเป็นจำนวนมากควรเปลี่ยนวอลเปเปอร์และผนังใหม่ ส่วนเชื้อราบนเครื่องหนังให้ใช้แอลกอฮอล์ล้างแผล 70% เช็ดถูหลายๆ ครั้ง เมื่อเครื่องหนังแห้งแล้วให้เช็ดด้วยน้ำยาทำความสะอาดอีกครั้งและใช้ครีมเช็ดรองเท้าเช็ดถูปิดท้าย หลังจากการทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เสร็จแล้ว ให้ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อราเช็ดหรือพ่นบริเวณที่มีเชื้อราเจริญต่อเนื่องทุกวันจนเชื้อราหายไป จากนั้นเว้นระยะเช็ด หรือพ่นเป็นสัปดาห์ละครั้งเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เชื้อราเจริญเติบโตอีก สำหรับเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่สามารถกำจัดเชื้อรา และทำให้แห้งได้ เช่น พรม เบาะผ้า ที่นอน ฟูก วอลเปเปอร์ ฯลฯ ไม่ควรเก็บไว้ใช้ต่อควรทิ้งโดยใส่ในถุงพลาสติกและมัดอย่างดีเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อราสู่อากาศ
“หลังทำความสะอาดและฆ่าเชื้อราในบ้านเสร็จแล้วให้เปิดพัดลมเป่าในบ้านและอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เปิดหน้าต่าง ประตู เพื่อให้อากาศถ่ายเทเอาสปอร์ของเชื้อราออกจากตัวบ้านจนมั่นใจว่าบ้านและอุปกรณ์ต่างๆ แห้งสนิท”นพ.บุญชัย แนะนำ
ภญ.ลักษณา ลือประเสริฐ โฆษกกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แนะนำหลักการง่ายๆ ในการทำความสะอาดบ้านเรือนและที่พักอาศัยไว้ดังนี้ เริ่มต้นจากการจัดการปัญหาถุงทรายกองมหึมาที่เน่าเปื่อย และชื้นแฉะว่า หลายคนมีแผนจะใช้ถุงทรายเก่าที่ครั้งหนึ่ง เคยใช้กั้นมวลน้ำไปถมสนามเด็กเล่น แต่วิธีการประยุกต์ใช้ถุงทรายดังกล่าวนั้น เป็นวิธีการที่ไม่ถูกต้อง เพราะเสี่ยงต่อการรับเชื้อโรค เนื่องจากเด็กเป็นวัยที่ภูมิต้านทานต่ำ และดูแลตนเองได้ไม่ดีพอ หากปล่อยให้เล่นไปตามใจชอบจากถุงทรายที่ปนเปื้อนเชื้อโรคก็เสี่ยงป่วยได้ง่าย เนื่องจากถุงทรายบางทีผ่านการซึมซับน้ำสกปรกมา ทั้งน้ำที่เปื้อนขยะ เปื้อนสิ่งปฏิกูล และสารเคมีอื่นๆที่มากับน้ำ รวมทั้งอาจมีพยาธิ หรือไข่พยาธิฝังอยู่ ดังนั้นแนะนำว่าให้หลีกเลี่ยงจะเป็นการดีที่สุด
สำหรับหลายคนที่สงสัยว่า จะใช้ประโยชน์จากถึงทรายเก่าอย่างไรนั้น กรมวิทย์ แนะนำว่า ควรนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น นำไปถมที่ดินเพิ่มเติม ถมตามรั้วกำแพง หรือผสมดินปลูกต้นไม้ เช่น ปลูกไม้ประดับจำพวก กระบองเพชร เป็นต้น
นอกจากการจัดการกับถุงทรายที่ผ่านการใช้งานแล้ว นพ.บุญชัย สมบูรณ์สุข อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ได้จัดทำคู่มือการทำความสะอาดบ้านหลังน้ำลดบริการประชาชนถึง 2 หมื่นชุด เพื่อแนะนำการป้องกันตนเองในการทำความสะอาดบ้าน ซึ่งผู้ที่จำเป็นต้องทำความสะอาดบ้านเรือน นั้น ควรมีการป้องกันร่างกายอย่างมิดชิด คือสวมรองเท้าบู๊ทยาง ถุงมือยาง เพื่อป้องกันเชื้อราสัมผัสผิวหนังโดยตรง ใส่แว่นตาป้องกันเชื้อกระเด็นเข้าตา และใส่ผ้าปิดปากปิดจมูกป้องกันการหายใจเอาสปอร์เชื้อราและไอระเหยสารเคมีเข้าสู่ร่างกาย
จุดที่ต้องได้รับการทำความสะอาดโดยเร็ว คือ เฟอร์นิเจอร์ต้องทำภายใน 24 ถึง 48 ชั่วโมงหลังน้ำลด โดยให้ล้างด้วยน้ำและสบู่เพื่อขจัดสิ่งสกปรกออกก่อน หลังจากนั้น ให้ล้างด้วยน้ำยาโซเดียมไฮโปคลอไรต์ หรือผงปูนคลอรีน หรือใช้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปน้ำยาซักผ้าขาวที่มีส่วนผสมของโซเดียมไฮโปคลอไรต์ซึ่งสามารถหาซื้อได้ที่ซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป นำมาผสมกับน้ำในอัตราส่วนน้ำยาซักผ้าขาว 1 ถ้วย เช็ดคราบเชื้อราทิ้งไว้ 15-30 นาที แล้วจึงล้างออก
สำหรับเชื้อราที่ขึ้นเป็นจุดๆ บนวอลเปเปอร์และผนัง ให้เช็ดด้วยแอลกอฮอล์ล้างแผล 70 เปอร์เซ็นต์ แต่หากพบว่ามีเชื้อราเป็นจำนวนมากควรเปลี่ยนวอลเปเปอร์และผนังใหม่ ส่วนเชื้อราบนเครื่องหนังให้ใช้แอลกอฮอล์ล้างแผล 70% เช็ดถูหลายๆ ครั้ง เมื่อเครื่องหนังแห้งแล้วให้เช็ดด้วยน้ำยาทำความสะอาดอีกครั้งและใช้ครีมเช็ดรองเท้าเช็ดถูปิดท้าย หลังจากการทำความสะอาดเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เสร็จแล้ว ให้ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อราเช็ดหรือพ่นบริเวณที่มีเชื้อราเจริญต่อเนื่องทุกวันจนเชื้อราหายไป จากนั้นเว้นระยะเช็ด หรือพ่นเป็นสัปดาห์ละครั้งเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เชื้อราเจริญเติบโตอีก สำหรับเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่สามารถกำจัดเชื้อรา และทำให้แห้งได้ เช่น พรม เบาะผ้า ที่นอน ฟูก วอลเปเปอร์ ฯลฯ ไม่ควรเก็บไว้ใช้ต่อควรทิ้งโดยใส่ในถุงพลาสติกและมัดอย่างดีเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อราสู่อากาศ
“หลังทำความสะอาดและฆ่าเชื้อราในบ้านเสร็จแล้วให้เปิดพัดลมเป่าในบ้านและอุปกรณ์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เปิดหน้าต่าง ประตู เพื่อให้อากาศถ่ายเทเอาสปอร์ของเชื้อราออกจากตัวบ้านจนมั่นใจว่าบ้านและอุปกรณ์ต่างๆ แห้งสนิท”นพ.บุญชัย แนะนำ