สอศ.สั่งระงับเบิกจ่ายจัดซื้อครุภัณฑ์ 13 รายงาน วงเงิน 884 ล้านบาท งบประมาณไทยเข้มแข็ง พร้อมตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง หลังพบข่าวคุรุภัณฑ์ที่ส่งมอบให้วิทยาลัยราคาแพงกว่าท้องตลาด 300% “ชัยพฤกษ์” แจงต้องลงนาม เพราะที่ผ่านมาเหลือเพียงขั้นตอนที่เลขาธิการ กอศ.หากไม่ลงก็ต้องถูกฟ้องศาลปกครองเช่นที่เคยมีกรณีลักษณะนี้มาก่อน ชี้ ไม่เคยมีการร้องเรียนมาถึง
วันนี้ (23 มี.ค.) นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เตรียมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีที่มีข่าวการจัดซื้อครุภัณฑ์ของวิทยาลัยอาชีวะศึกษา 13 รายการ วงเงิน 884 ล้านบาท ตามงบประมาณไทยเข้มแข็งนั้น มีการตั้งราคาสูงกว่าราคาท้องตลาด ครุภัณฑ์ที่จัดซื้อและกำลังส่งมอบให้วิทยาลัยบางรายการมีราคาสูงเกินราคาท้องตลาดถึง 300% และตนยังได้สั่งระงับไม่ให้มีการเบิกจ่ายงบประมาณในส่วนนี้เพื่อรอผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน ทั้งนี้ สอศ.จะทาบทามผู้ที่เชี่ยวชาญทางด้านการจัดซื้อจัดจ้าง ทั้งจากภายในและภายนอกกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มาเป็นกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ รวมถึงเชิญผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยในสาขาวิชาที่มีการจัดซื้อครุภัณฑ์มาร่วมเป็นกรรมการด้วย เบื้องต้น ได้ทาบทาม นายประเสริฐ แก้วเพชร อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (รองเลขาธิการ กอศ.) และเคยดำรงตำแหน่ง ผอ.กองคลังสำนักปลัด ศธ.ซึ่งมีความเชี่ยวชาญทางด้านการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมากมาเป็นคณะกรรมการด้วย
ทั้งนี้ เมื่อผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงออกมาแล้ว หากมีหลักฐานแน่นหนาชัดเจน พิสูจน์ได้ว่า การจัดซื้อครุภัณฑ์ได้ของที่แพงเกินความจริง ทำให้ราชการเสียประโยชน์ก็จะต้องมีคนรับผิดชอบ และอาจจะนำไปสู่การยกเลิกสัญญาการจัดซื้อจัดจ้างได้ แต่หากไม่พบหลักฐานชัดเจน การยกเลิกสัญญาอาจทำให้ผู้ประมูลการจัดซื้อได้ฟ้องร้องทาง สอศ.ได้
อย่างไรก็ตาม ขอชี้แจงว่า การจัดซื้อครุภัณฑ์ 13 รายการนั้น เกิดขึ้นในช่วงงบประมาณไทยเข้มแข็งตั้งแต่ปี 52-54 เกือบทุกขั้นตอนดำเนินการไว้เสร็จเรียบร้อยก่อนที่ตนจะมารับตำแหน่งเลขาธิการ สอศ.แล้ว ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนของการกำหนดสเปก การทำ TOR หรือการประกวดราคา ซึ่งใช้ระบบอี-ออกชัน เมื่อได้ผู้ชนะการประกวดราคาแล้ว สอศ.ก็ได้ส่งเรื่องพร้อมราคาจัดซื้อไปขออนุมัติสำนักงบประมาณ เมื่อสำนักงบฯอนุมัติ ก็จะส่งเรื่องกลับมายังสอศ.เพื่อให้เลขาธิการ สอศ.ลงนามในสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง ช่วงที่ตนมารับตำแหน่งนั้น เหลือแค่ขั้นตอนรอเลขาธิการลงนามในสัญญาเท่านั้น
“ผมจำเป็นจะต้องลงนามในสัญญาดังกล่าว ถามว่า สามารถไม่ลงนามในสัญญาได้หรือไม่ ถ้าผมไม่ลงนามก็จะถูกฟ้องศาลปกครอง ซึ่งที่ผ่านมาก็เคยเกิดกรณีนี้มาแล้ว ยกเว้นจะต้องมีการร้องเรียนขึ้น แต่ตั้งแต่ผมมารับตำแหน่งไม่มีการร้องเรียนในเรื่องดังกล่าวมาที่ผมเลย อีกทั้งการดำเนินการดังกล่าวก็ดำเนินการมาถูกต้องตามขั้นตอน ไม่มีเหตุที่จะไปยกเลิกการดำเนินการหรือไม่ลงนามในสัญญาได้” เลขาธิการ กอศ. กล่าว
ด้าน นายศักดา คงเพชร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวในเรื่องนี้ว่า ตนได้รับรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้จากเลขาธิการ สอศ.แล้วเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา และให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบ และให้ดำเนินการในเรื่องนี้ให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด เรื่องนี้คงจะตรวจสอบได้ไม่ยาก เพราะมีรายละเอียดของการกำหนดสเปกการจัดซื้ออยู่แล้ว และหากผลสอบออกมา พบว่า มีการทุจริตตนก็จะรายงานให้ รมว.ศึกษาธิการ รับทราบว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ซึ่งหากผลสอบพบว่ามีการทุจริตจริงและมีนักการเมือง หรือข้าราชการระดับสูงเข้ามาเกี่ยวข้องก็ให้ดำเนินการไปตามข้อเท็จจริง
“ผมเคยกำชับกับบริหาร สอศ.วันแรกที่ให้นโยบายแล้ว ว่าต่อไปนี้การจัดซื้อจัดจ้างต้องตรงกับความต้องเป็นไปตามความต้องการของเด็ก ถ้าไม่ดี ไม่ตรงความต้องการก็อย่าทำ และก็โชคดีเรื่องนี้เกิดขึ้นก่อนที่ผมจะมาดูแล แต่ก็เป็นอุทาหรณ์” นายศักดา กล่าว
ด้านนายประแสง มงคลศิริ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตนจะเข้าไปตรวจสอบข้อมูลในเรื่องนี้ เพราะ นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ มอบให้ตนดูแลเรื่องการทุจริต จะดูว่าเรื่องที่เป็นข่าวนี้มีมูลความจริงหรือไม่ การจัดซื้อมีความผิดปกติจริงหรือไม่ และมีใครเกี่ยวข้องบ้าง จากนั้นก็จะสรุปรายงาน รมว.ศึกษาธิการ ต่อไป
วันนี้ (23 มี.ค.) นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ กอศ.) กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เตรียมตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีที่มีข่าวการจัดซื้อครุภัณฑ์ของวิทยาลัยอาชีวะศึกษา 13 รายการ วงเงิน 884 ล้านบาท ตามงบประมาณไทยเข้มแข็งนั้น มีการตั้งราคาสูงกว่าราคาท้องตลาด ครุภัณฑ์ที่จัดซื้อและกำลังส่งมอบให้วิทยาลัยบางรายการมีราคาสูงเกินราคาท้องตลาดถึง 300% และตนยังได้สั่งระงับไม่ให้มีการเบิกจ่ายงบประมาณในส่วนนี้เพื่อรอผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน ทั้งนี้ สอศ.จะทาบทามผู้ที่เชี่ยวชาญทางด้านการจัดซื้อจัดจ้าง ทั้งจากภายในและภายนอกกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มาเป็นกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงในเรื่องนี้ รวมถึงเชิญผู้เชี่ยวชาญและอาจารย์จากมหาวิทยาลัยในสาขาวิชาที่มีการจัดซื้อครุภัณฑ์มาร่วมเป็นกรรมการด้วย เบื้องต้น ได้ทาบทาม นายประเสริฐ แก้วเพชร อดีตรองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (รองเลขาธิการ กอศ.) และเคยดำรงตำแหน่ง ผอ.กองคลังสำนักปลัด ศธ.ซึ่งมีความเชี่ยวชาญทางด้านการจัดซื้อจัดจ้างอย่างมากมาเป็นคณะกรรมการด้วย
ทั้งนี้ เมื่อผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงออกมาแล้ว หากมีหลักฐานแน่นหนาชัดเจน พิสูจน์ได้ว่า การจัดซื้อครุภัณฑ์ได้ของที่แพงเกินความจริง ทำให้ราชการเสียประโยชน์ก็จะต้องมีคนรับผิดชอบ และอาจจะนำไปสู่การยกเลิกสัญญาการจัดซื้อจัดจ้างได้ แต่หากไม่พบหลักฐานชัดเจน การยกเลิกสัญญาอาจทำให้ผู้ประมูลการจัดซื้อได้ฟ้องร้องทาง สอศ.ได้
อย่างไรก็ตาม ขอชี้แจงว่า การจัดซื้อครุภัณฑ์ 13 รายการนั้น เกิดขึ้นในช่วงงบประมาณไทยเข้มแข็งตั้งแต่ปี 52-54 เกือบทุกขั้นตอนดำเนินการไว้เสร็จเรียบร้อยก่อนที่ตนจะมารับตำแหน่งเลขาธิการ สอศ.แล้ว ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนของการกำหนดสเปก การทำ TOR หรือการประกวดราคา ซึ่งใช้ระบบอี-ออกชัน เมื่อได้ผู้ชนะการประกวดราคาแล้ว สอศ.ก็ได้ส่งเรื่องพร้อมราคาจัดซื้อไปขออนุมัติสำนักงบประมาณ เมื่อสำนักงบฯอนุมัติ ก็จะส่งเรื่องกลับมายังสอศ.เพื่อให้เลขาธิการ สอศ.ลงนามในสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง ช่วงที่ตนมารับตำแหน่งนั้น เหลือแค่ขั้นตอนรอเลขาธิการลงนามในสัญญาเท่านั้น
“ผมจำเป็นจะต้องลงนามในสัญญาดังกล่าว ถามว่า สามารถไม่ลงนามในสัญญาได้หรือไม่ ถ้าผมไม่ลงนามก็จะถูกฟ้องศาลปกครอง ซึ่งที่ผ่านมาก็เคยเกิดกรณีนี้มาแล้ว ยกเว้นจะต้องมีการร้องเรียนขึ้น แต่ตั้งแต่ผมมารับตำแหน่งไม่มีการร้องเรียนในเรื่องดังกล่าวมาที่ผมเลย อีกทั้งการดำเนินการดังกล่าวก็ดำเนินการมาถูกต้องตามขั้นตอน ไม่มีเหตุที่จะไปยกเลิกการดำเนินการหรือไม่ลงนามในสัญญาได้” เลขาธิการ กอศ. กล่าว
ด้าน นายศักดา คงเพชร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวในเรื่องนี้ว่า ตนได้รับรายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้จากเลขาธิการ สอศ.แล้วเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา และให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบ และให้ดำเนินการในเรื่องนี้ให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด เรื่องนี้คงจะตรวจสอบได้ไม่ยาก เพราะมีรายละเอียดของการกำหนดสเปกการจัดซื้ออยู่แล้ว และหากผลสอบออกมา พบว่า มีการทุจริตตนก็จะรายงานให้ รมว.ศึกษาธิการ รับทราบว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ซึ่งหากผลสอบพบว่ามีการทุจริตจริงและมีนักการเมือง หรือข้าราชการระดับสูงเข้ามาเกี่ยวข้องก็ให้ดำเนินการไปตามข้อเท็จจริง
“ผมเคยกำชับกับบริหาร สอศ.วันแรกที่ให้นโยบายแล้ว ว่าต่อไปนี้การจัดซื้อจัดจ้างต้องตรงกับความต้องเป็นไปตามความต้องการของเด็ก ถ้าไม่ดี ไม่ตรงความต้องการก็อย่าทำ และก็โชคดีเรื่องนี้เกิดขึ้นก่อนที่ผมจะมาดูแล แต่ก็เป็นอุทาหรณ์” นายศักดา กล่าว
ด้านนายประแสง มงคลศิริ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตนจะเข้าไปตรวจสอบข้อมูลในเรื่องนี้ เพราะ นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ มอบให้ตนดูแลเรื่องการทุจริต จะดูว่าเรื่องที่เป็นข่าวนี้มีมูลความจริงหรือไม่ การจัดซื้อมีความผิดปกติจริงหรือไม่ และมีใครเกี่ยวข้องบ้าง จากนั้นก็จะสรุปรายงาน รมว.ศึกษาธิการ ต่อไป