เร่งยกร่างระเบียบ กรอ.เสนอ ครม.สัญจรภูเก็ตสัปดาห์หน้า เพื่อรองรับการปล่อยกู้ กรอ.ระดับอุดมศึกษาปีที่ 1 ในปีการศึกษา 55 เหตุเพราะยังออกกฎหมายบังคับใช้ไม่ทัน “สุชาติ” ระบุ เปิดให้กู้ทุกสาขาวิชา แต่เฉพาะสาขาที่มีการกู้มาก ต้องพิจารณาคุณสมบัติสถาบันประกอบด้วย เพื่อคัดคนเก่ง เรียนดี เผย ให้กู้ใน 3 ส่วนเฉพาะกู้ค่าครองชีพต้องมีรายได้ครัวเรือนไม่เกิน 3 แสนบาท ชี้ ให้มอง กรอ.เป็นการให้ทุนการศึกษามากกว่าการปล่อยกู้ ด้าน “หมอธาดา” คาดเงินกองทุน 6,200 ล้านบาท เพียงพอปล่อยกู้ นศ.ปี 1 รับการกำหนดให้ต้องใช้คืนเมื่อครบกำหนด 2 ปีแบบ กยศ.ตรึงเกินไป อาจต้องปรับใหม่ในส่วนของ กรอ.เพื่อผ่อนคลายแต่ยันต้องคืนเป็นตัวเงิน
วันนี้ (12 มี.ค.) ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับ นพ.ธาดา มาร์ติน ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ผศ.ดร.ประดิษฐ์ เถกิงรังสฤษฏ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพายัพ ในฐานะนายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (สสอท.) และผู้แทนสำนักงบประมาณ เพื่อหารือเกี่ยวกับการแนวทางการดำเนินการปล่อยกู้กองทุนเงินที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ว่า ที่ประชุมมีมติยกร่างระเบียบและวิธีปฏิบัติ เพื่อรองรับการจัดตั้งกองทุน กรอ.ตามนโยบายรัฐบาล โดยจะเน้นให้ผู้รับทุนกู้ได้ทุกสาขา ซึ่งปัจจุบันนั้นการปล่อยกู้ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) นั้นจะเน้นปล่อยกู้ใน 6 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มวิชาด้านสังคมศาสตร์ กลุ่มด้านศิลปกรรมศาสตร์ กลุ่มทางด้านเกษตรศาสตร์ กลุ่มวิทยาศาสตร์ กลุ่มเภสัชศาสตร์และเทคนิคการแพทย์ และกลุ่มแพทย์ เช่น ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ เป็นต้น ซึ่งที่ประชุมได้ให้ความเห็นด้วยว่า สาขาใดที่มีผู้แสดงความประสงค์กู้มากก็จะต้องดูคุณภาพของสถาบันการศึกษาประกอบด้วย เพื่อจะได้คัดเด็กที่มีคุณภาพเข้าเรียนได้จริงๆ
ทั้งนี้ กรอ.นั้นจะให้กู้ใน 3 ส่วน คือ ค่าเล่าเรียน ค่าครองชีพ และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ค่าห้องแล็บ ค่าปฏิบัติการ หรือรายการอื่นๆ ที่สถาบันการศึกษาเรียกเก็บเพิ่มเติม โดยส่วนของค่าเล่าเรียน และค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่องนั้น ทางกองทุนจะเป็นผู้โอนเงินไปยังสถานศึกษา แต่เฉพาะในส่วนการกู้ค่าครองชีพจะส่งให้นักเรียนโดยตรง แต่มีเงื่อนไขว่ารายได้ครัวเรือนไม่เกิน 300,000 บาทต่อปี ซึ่งการปล่อยกู้ กรอ.นี้จะเปิดให้กู้เฉพาะนักศึกษาระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ส่วนนักเรียนชั้นมัธยมตอนปลาย (ม.4-6) และระดับอาชีวศึกษานั้นให้กู้โดยใช้ระเบียบ กยศ.เดิมต่อไป และสามารถกู้ได้ทั้ง 3 ส่วนเช่นเดียวกัน ยกเว้นเฉพาะค่าเล่าเรียนที่จะต้องไม่ซ้ำซ้อนกับโครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปี ซึ่งรัฐบาลได้อุดหนุนค่าใช้จ่ายให้อยู่แล้ว
“เป้าหมายของการที่ดำเนิน เพราะผมเคยสัญญาไว้กับพี่น้องพี่น้องประชาชน ว่า จะดูแลลูกหลานให้เหมือนลูก ไม่ใช่พอเรียนจบปุ๊บทำงานได้ไม่เท่าไหร่ ถ้าไม่ใช้เงินคืน ก็จะต้องถูกฟ้อง โดยการกู้ กรอ.แบบใหม่นี้ไม่อยากให้มองว่าเป็นการกู้ยืมแต่อยากให้มองว่าเป็นการทุนการศึกษา พอมีเงินรายได้ระดับหนึ่งก็ค่อยมาใช้คือ ซึ่งเดิม กรอ.กำหนดไว้ที่ 16,000 บาท ค่อยใช้คืน ส่วนแบบใหม่จะเป็นเท่าไหร่นั้น คงต้องขึ้นอยู่กับ กยศ.ไปกำหนด ส่วนนักศึกษาปีที่ 2-4 ที่เคยกู้ กยศ.อยู่แล้วก็ให้กู้ในระบบ กยศ.ต่อเนื่องไปจนจบตามเดิม”นายสุชาติ กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม ได้ให้เร่งยกร่างเพื่อนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัปดาห์หน้าซึ่งมี ครม.สัญจร ที่ จ.ภูเก็ต
ด้าน ทพญ.ศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการ ศธ.กล่าวว่า กรอ.รุ่น 3 จะไม่มีการทำสัญญาเงินกู้ เพราะแนวคิดของ กรอ.และ กยศ.ต้องการให้โอกาสเด็กทุกคนไม่ว่าจะยากดีมีจน ได้เรียนจนสูงสุดเท่าที่เจ้าตัวอยากเรียน ดังนั้น รัฐบาลจึงอยากทำเงื่อนไขการกู้เงินให้น้อยที่สุด ทุกคนจะได้สามารถกู้ได้ และมีความเชื่อว่าเมื่อเราดูแลเด็กอย่างดี เมื่อเด็กเรียนจบและมีงานทำ เด็กก็จะใช้เงินคืนตามหน้าที่ แต่อย่างไรก็ตาม ข่าวที่เกิดขึ้นในด้านลบเป็นเรื่องเฉพาะกรณีที่ต้องแก้ปัญหาไป
ขณะที่ นพ.ธาดา กล่าวว่า เพื่อให้สามารถปล่อยกู้ กรอ.ได้ทันในเทอม 1 ปีการศึกษา 2555 ทางคณะกรรมการกยศ.จะไปออกระเบียบ กยศ.รองรับ คาดว่า เมื่อ ครม.เห็นชอบก็น่าจะทันปล่อยกู้ในเดือนพฤษภาคมนี้ ซึ่งขณะนี้กองทุน กรอ.มีเงินอยู่ประมาณ 6,200 ล้านบาท คิดว่าเพียงพอที่จะปล่อยกู้ให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่จะเข้าใหม่ทั้งหมด โดยไม่ต้องไปเกี่ยวข้องกับเงินของ กยศ.ส่วนรายละเอียดว่าเพดานค่าครองจะอยู่ที่เท่าไหร่นั้น ยังไม่สามารถตอบได้ ต้องไปหารือกับทางบอร์ดก่อน แต่คาดว่า ไม่ต่ำกว่าที่ให้ในระบบการกู้ กยศ.อยู่ที่ 26,400 บาทต่อปีเฉลี่ยเดือนละ 2,200 บาท ส่วนที่ว่าจะเปลี่ยนเป็นระบบการให้ทุนแทนการทำสัญญาเงินกู้แบบ กยศ.ที่กำหนดให้ต้องชำระภายใน 2 ปี ไม่เช่นนั้นเด็กก็จะถูกฟ้อง ซึ่งทาง กยศ.มองว่า ระบบนี้ค่อนข้างตึงเกินไป ดังนั้น อาจต้องไปหาแนวทางปรับแก้ให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยแนวทางการใช้คืนนั้นมีมากมาย เช่น ทำในลักษณะเดียวกับการให้ทุนนักศึกษาแพทย์ ที่จบแล้ว ก็ต้องไปทำงานใช้ทุนตามโรงพยาบาล เป็นต้น แต่แน่นอนว่าเป้าหมายการใช้ทุนของ กรอ.ก็ยังคงต้องคืนเป็นตัวเงิน ส่วนจะคืนอย่างไร ขอไปจัดทำรายละเอียดและดูข้อกฎหมายให้ชัดเจนก่อน
วันนี้ (12 มี.ค.) ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับ นพ.ธาดา มาร์ติน ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ผศ.ดร.ประดิษฐ์ เถกิงรังสฤษฏ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพายัพ ในฐานะนายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (สสอท.) และผู้แทนสำนักงบประมาณ เพื่อหารือเกี่ยวกับการแนวทางการดำเนินการปล่อยกู้กองทุนเงินที่ผูกกับรายได้ในอนาคต (กรอ.) ว่า ที่ประชุมมีมติยกร่างระเบียบและวิธีปฏิบัติ เพื่อรองรับการจัดตั้งกองทุน กรอ.ตามนโยบายรัฐบาล โดยจะเน้นให้ผู้รับทุนกู้ได้ทุกสาขา ซึ่งปัจจุบันนั้นการปล่อยกู้ของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) นั้นจะเน้นปล่อยกู้ใน 6 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มวิชาด้านสังคมศาสตร์ กลุ่มด้านศิลปกรรมศาสตร์ กลุ่มทางด้านเกษตรศาสตร์ กลุ่มวิทยาศาสตร์ กลุ่มเภสัชศาสตร์และเทคนิคการแพทย์ และกลุ่มแพทย์ เช่น ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ เป็นต้น ซึ่งที่ประชุมได้ให้ความเห็นด้วยว่า สาขาใดที่มีผู้แสดงความประสงค์กู้มากก็จะต้องดูคุณภาพของสถาบันการศึกษาประกอบด้วย เพื่อจะได้คัดเด็กที่มีคุณภาพเข้าเรียนได้จริงๆ
ทั้งนี้ กรอ.นั้นจะให้กู้ใน 3 ส่วน คือ ค่าเล่าเรียน ค่าครองชีพ และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวเนื่อง เช่น ค่าห้องแล็บ ค่าปฏิบัติการ หรือรายการอื่นๆ ที่สถาบันการศึกษาเรียกเก็บเพิ่มเติม โดยส่วนของค่าเล่าเรียน และค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่องนั้น ทางกองทุนจะเป็นผู้โอนเงินไปยังสถานศึกษา แต่เฉพาะในส่วนการกู้ค่าครองชีพจะส่งให้นักเรียนโดยตรง แต่มีเงื่อนไขว่ารายได้ครัวเรือนไม่เกิน 300,000 บาทต่อปี ซึ่งการปล่อยกู้ กรอ.นี้จะเปิดให้กู้เฉพาะนักศึกษาระดับอุดมศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2555 ส่วนนักเรียนชั้นมัธยมตอนปลาย (ม.4-6) และระดับอาชีวศึกษานั้นให้กู้โดยใช้ระเบียบ กยศ.เดิมต่อไป และสามารถกู้ได้ทั้ง 3 ส่วนเช่นเดียวกัน ยกเว้นเฉพาะค่าเล่าเรียนที่จะต้องไม่ซ้ำซ้อนกับโครงการเรียนฟรี เรียนดี 15 ปี ซึ่งรัฐบาลได้อุดหนุนค่าใช้จ่ายให้อยู่แล้ว
“เป้าหมายของการที่ดำเนิน เพราะผมเคยสัญญาไว้กับพี่น้องพี่น้องประชาชน ว่า จะดูแลลูกหลานให้เหมือนลูก ไม่ใช่พอเรียนจบปุ๊บทำงานได้ไม่เท่าไหร่ ถ้าไม่ใช้เงินคืน ก็จะต้องถูกฟ้อง โดยการกู้ กรอ.แบบใหม่นี้ไม่อยากให้มองว่าเป็นการกู้ยืมแต่อยากให้มองว่าเป็นการทุนการศึกษา พอมีเงินรายได้ระดับหนึ่งก็ค่อยมาใช้คือ ซึ่งเดิม กรอ.กำหนดไว้ที่ 16,000 บาท ค่อยใช้คืน ส่วนแบบใหม่จะเป็นเท่าไหร่นั้น คงต้องขึ้นอยู่กับ กยศ.ไปกำหนด ส่วนนักศึกษาปีที่ 2-4 ที่เคยกู้ กยศ.อยู่แล้วก็ให้กู้ในระบบ กยศ.ต่อเนื่องไปจนจบตามเดิม”นายสุชาติ กล่าวและว่า อย่างไรก็ตาม ได้ให้เร่งยกร่างเพื่อนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัปดาห์หน้าซึ่งมี ครม.สัญจร ที่ จ.ภูเก็ต
ด้าน ทพญ.ศรีญาดา ปาลิมาพันธ์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการ ศธ.กล่าวว่า กรอ.รุ่น 3 จะไม่มีการทำสัญญาเงินกู้ เพราะแนวคิดของ กรอ.และ กยศ.ต้องการให้โอกาสเด็กทุกคนไม่ว่าจะยากดีมีจน ได้เรียนจนสูงสุดเท่าที่เจ้าตัวอยากเรียน ดังนั้น รัฐบาลจึงอยากทำเงื่อนไขการกู้เงินให้น้อยที่สุด ทุกคนจะได้สามารถกู้ได้ และมีความเชื่อว่าเมื่อเราดูแลเด็กอย่างดี เมื่อเด็กเรียนจบและมีงานทำ เด็กก็จะใช้เงินคืนตามหน้าที่ แต่อย่างไรก็ตาม ข่าวที่เกิดขึ้นในด้านลบเป็นเรื่องเฉพาะกรณีที่ต้องแก้ปัญหาไป
ขณะที่ นพ.ธาดา กล่าวว่า เพื่อให้สามารถปล่อยกู้ กรอ.ได้ทันในเทอม 1 ปีการศึกษา 2555 ทางคณะกรรมการกยศ.จะไปออกระเบียบ กยศ.รองรับ คาดว่า เมื่อ ครม.เห็นชอบก็น่าจะทันปล่อยกู้ในเดือนพฤษภาคมนี้ ซึ่งขณะนี้กองทุน กรอ.มีเงินอยู่ประมาณ 6,200 ล้านบาท คิดว่าเพียงพอที่จะปล่อยกู้ให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่จะเข้าใหม่ทั้งหมด โดยไม่ต้องไปเกี่ยวข้องกับเงินของ กยศ.ส่วนรายละเอียดว่าเพดานค่าครองจะอยู่ที่เท่าไหร่นั้น ยังไม่สามารถตอบได้ ต้องไปหารือกับทางบอร์ดก่อน แต่คาดว่า ไม่ต่ำกว่าที่ให้ในระบบการกู้ กยศ.อยู่ที่ 26,400 บาทต่อปีเฉลี่ยเดือนละ 2,200 บาท ส่วนที่ว่าจะเปลี่ยนเป็นระบบการให้ทุนแทนการทำสัญญาเงินกู้แบบ กยศ.ที่กำหนดให้ต้องชำระภายใน 2 ปี ไม่เช่นนั้นเด็กก็จะถูกฟ้อง ซึ่งทาง กยศ.มองว่า ระบบนี้ค่อนข้างตึงเกินไป ดังนั้น อาจต้องไปหาแนวทางปรับแก้ให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยแนวทางการใช้คืนนั้นมีมากมาย เช่น ทำในลักษณะเดียวกับการให้ทุนนักศึกษาแพทย์ ที่จบแล้ว ก็ต้องไปทำงานใช้ทุนตามโรงพยาบาล เป็นต้น แต่แน่นอนว่าเป้าหมายการใช้ทุนของ กรอ.ก็ยังคงต้องคืนเป็นตัวเงิน ส่วนจะคืนอย่างไร ขอไปจัดทำรายละเอียดและดูข้อกฎหมายให้ชัดเจนก่อน