ASTV ผู้จัดการรายวัน - อย.เตรียมออกประกาศคุมเข้มแกงถุง-สินค้าโอทอป-ของฝาก ตามมาตรฐาน “จีเอ็มพี ไมนัส” หลังพบทั่วประเทศมีผู้ผลิตกว่าหมื่นราย
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สำนักงานฯได้ดำเนินการยกร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เรื่อง มาตรฐานอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย หรือ จีเอ็มพี ไมนัส (GMP Minus) ซึ่งจะเป็นมาตรฐานสำหรับโรงงานผลิตขนาดเล็ก จะครอบคลุมโรงงานที่ผลิตอาหารโอทอป ของฝากหรืออาหารอื่นใดที่บรรจุในภาชนะบรรจุ โดยเกณฑ์การประเมินจะยืดหยุ่นกว่ามาตรฐานจีเอ็มพีที่เป็นมาตรฐานสำหรับโรงงานการผลิตในระบบอุตสาหกรรม ขณะนี้ร่างมาตรฐานดังกล่าวผ่านความเห็นชอบของอนุกรรมการอาหารเรียบร้อยแล้ว จะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะการกรรมอาหารในต้นเดือนมี.ค.นี้ ก่อนออกเป็นประกาศ สธ.เพื่อมีผลบังคับใช้ต่อไป
“ทั้งนี้ จะเป็นการยกระดับมาตรฐานการผลิตเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและรองรับประชาคมอาเซียนในปี 2558 ตัวอย่างเช่น สถานที่ผลิตต้องมีความปลอดภัย ไม่มีสัตว์เลี้ยงอยู่ใกล้บริเวณและสามารถป้องกันแมลงไม่ให้เข้าไปในพื้นที่ผลิตได้ รวมถึงพิจารณาในเรื่องกระบวนการผลิต และสุขลักษณะด้วย โดยมีผลบังคับใช้จะครอบคลุมอาหารที่ผลิตเป็นสินค้าโอทอป และของฝากทั่วประเทศ คาดว่า น่าจะมีกว่า 1-2 หมื่นราย รวมถึงแกงถุงที่มีการบรรจุพร้อมจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าต่างๆ โรงงานที่ผลิตจะต้องผ่านมาตรฐานจีเอ็มพี ไมนัสด้วย ยกเว้นอาหารที่ปรุงสุขใหม่และขายทันที เช่น ข้าวแกงที่ตักใส่ถุงเพื่อขายหน้าร้าน กล้วยแขกที่ทอดขายสดๆ แต่หากเป็นแกงหรือขนมที่บรรจุอยู่ในภาชนะสำเร็จพร้อมจำหน่าย อาทิ ไปรับแกงบรรจุถุงจากที่อื่นมาขายหน้าร้าน ก็จะต้องผ่านมาตรฐานนี้ทั้งหมด” นพ.พิพัฒน์ กล่าว
อนึ่ง สำหรับหลักเกณฑ์ GMP Minus ตามร่างประกาศ สธ.ประกอบด้วย 6 ข้อหลัก ได้แก่ 1.สถานที่ตั้งและอาคารผลิต เช่น ต้องไม่มีฝุ่นควัน มากผิดปกติ และไม่มีน้ำขังแฉะสกปรก 2.เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต ต้องง่ายแก่การทำความสะอาด ทำด้วยวัสดุผิวเรียบ ไม่เป็นสนิม 3.การควบคุมกระบวนการผลิต วัตถุดิบ ส่วนผสมต่างๆ และภาชนะบรรจุ มีการคัดเลือก มีการล้างทำความสะอาดอย่างเหมาะสมในบางประเภทที่จำเป็น มีการเก็บรักษาอย่างเหมาะสม มีการใช้วัตถุเจือปนอาหารตามที่กฎหมายกำหนด การผลิตภัณฑ์ มีการคัดแยกหรือทำลายผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสม มีการเก็บรักษาอย่างเหมาะสมและขนส่งในลักษณะที่ป้องกันการปนเปื้อนและการเสื่อมสลาย 4.การสุขาภิบาล เช่น น้ำที่ใช้ภายในสถานที่ผลิตเป็นน้ำสะอาด มีภาชนะสำหรับใส่ขยะพร้อมฝาปิดและตั้งอยู่ในที่ที่เหมาะสมและเพียงพอ และมีวิธีการกำจัดขยะที่เหมาะสม มีการจัดการการระบายน้ำทิ้งและสิ่งโสโครก และมีมาตรการในการป้องกันและกำจัดมิให้สัตว์หรือแมลงปนเปื้อนในกระบวนการผลิต เป็นต้น 5.การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด มีวิธีการหรือมาตรการดูแลทำความสะอาดอาคารผลิตอย่างสม่ำเสมอ 6.บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงานในบริเวณผลิตอาหารไม่มีบาดแผล ไม่เป็นโรคหรือพาหะของโรคตามที่ระบุในกฎกระทรวง แต่งกายสะอาด
นพ.พิพัฒน์ ยิ่งเสรี เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สำนักงานฯได้ดำเนินการยกร่างประกาศกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เรื่อง มาตรฐานอาหารแปรรูปที่บรรจุในภาชนะพร้อมจำหน่าย หรือ จีเอ็มพี ไมนัส (GMP Minus) ซึ่งจะเป็นมาตรฐานสำหรับโรงงานผลิตขนาดเล็ก จะครอบคลุมโรงงานที่ผลิตอาหารโอทอป ของฝากหรืออาหารอื่นใดที่บรรจุในภาชนะบรรจุ โดยเกณฑ์การประเมินจะยืดหยุ่นกว่ามาตรฐานจีเอ็มพีที่เป็นมาตรฐานสำหรับโรงงานการผลิตในระบบอุตสาหกรรม ขณะนี้ร่างมาตรฐานดังกล่าวผ่านความเห็นชอบของอนุกรรมการอาหารเรียบร้อยแล้ว จะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะการกรรมอาหารในต้นเดือนมี.ค.นี้ ก่อนออกเป็นประกาศ สธ.เพื่อมีผลบังคับใช้ต่อไป
“ทั้งนี้ จะเป็นการยกระดับมาตรฐานการผลิตเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคและรองรับประชาคมอาเซียนในปี 2558 ตัวอย่างเช่น สถานที่ผลิตต้องมีความปลอดภัย ไม่มีสัตว์เลี้ยงอยู่ใกล้บริเวณและสามารถป้องกันแมลงไม่ให้เข้าไปในพื้นที่ผลิตได้ รวมถึงพิจารณาในเรื่องกระบวนการผลิต และสุขลักษณะด้วย โดยมีผลบังคับใช้จะครอบคลุมอาหารที่ผลิตเป็นสินค้าโอทอป และของฝากทั่วประเทศ คาดว่า น่าจะมีกว่า 1-2 หมื่นราย รวมถึงแกงถุงที่มีการบรรจุพร้อมจำหน่ายในห้างสรรพสินค้าต่างๆ โรงงานที่ผลิตจะต้องผ่านมาตรฐานจีเอ็มพี ไมนัสด้วย ยกเว้นอาหารที่ปรุงสุขใหม่และขายทันที เช่น ข้าวแกงที่ตักใส่ถุงเพื่อขายหน้าร้าน กล้วยแขกที่ทอดขายสดๆ แต่หากเป็นแกงหรือขนมที่บรรจุอยู่ในภาชนะสำเร็จพร้อมจำหน่าย อาทิ ไปรับแกงบรรจุถุงจากที่อื่นมาขายหน้าร้าน ก็จะต้องผ่านมาตรฐานนี้ทั้งหมด” นพ.พิพัฒน์ กล่าว
อนึ่ง สำหรับหลักเกณฑ์ GMP Minus ตามร่างประกาศ สธ.ประกอบด้วย 6 ข้อหลัก ได้แก่ 1.สถานที่ตั้งและอาคารผลิต เช่น ต้องไม่มีฝุ่นควัน มากผิดปกติ และไม่มีน้ำขังแฉะสกปรก 2.เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต ต้องง่ายแก่การทำความสะอาด ทำด้วยวัสดุผิวเรียบ ไม่เป็นสนิม 3.การควบคุมกระบวนการผลิต วัตถุดิบ ส่วนผสมต่างๆ และภาชนะบรรจุ มีการคัดเลือก มีการล้างทำความสะอาดอย่างเหมาะสมในบางประเภทที่จำเป็น มีการเก็บรักษาอย่างเหมาะสม มีการใช้วัตถุเจือปนอาหารตามที่กฎหมายกำหนด การผลิตภัณฑ์ มีการคัดแยกหรือทำลายผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะสม มีการเก็บรักษาอย่างเหมาะสมและขนส่งในลักษณะที่ป้องกันการปนเปื้อนและการเสื่อมสลาย 4.การสุขาภิบาล เช่น น้ำที่ใช้ภายในสถานที่ผลิตเป็นน้ำสะอาด มีภาชนะสำหรับใส่ขยะพร้อมฝาปิดและตั้งอยู่ในที่ที่เหมาะสมและเพียงพอ และมีวิธีการกำจัดขยะที่เหมาะสม มีการจัดการการระบายน้ำทิ้งและสิ่งโสโครก และมีมาตรการในการป้องกันและกำจัดมิให้สัตว์หรือแมลงปนเปื้อนในกระบวนการผลิต เป็นต้น 5.การบำรุงรักษาและการทำความสะอาด มีวิธีการหรือมาตรการดูแลทำความสะอาดอาคารผลิตอย่างสม่ำเสมอ 6.บุคลากรและสุขลักษณะผู้ปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงานในบริเวณผลิตอาหารไม่มีบาดแผล ไม่เป็นโรคหรือพาหะของโรคตามที่ระบุในกฎกระทรวง แต่งกายสะอาด