กสร.เร่งจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยในการทำงานฯให้แล้วเสร็จก่อน 15 ก.ค.นี้ เตรียมของบรัฐบาล 1 พันล้าน ประเดิมตั้งกองทุนส่งเสริมความปลอดภัยฯ เล็งอนาคตดันสถาบันฯประเมินมาตรฐานระบบความปลอดภัยโรงงานทั่วประเทศ
วันนี้ (14 ก.พ.) นางสมบุญ สีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย กล่าวในการสัมมนาไตรภาคีรับฟังความเห็นเรื่องร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.)จัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ....ที่โรงแรมดิ เอมเมอรัลด์ กทม.ว่า โครงสร้างของสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯที่กำหนดไว้ในร่าง พ.ร.ฎ.จัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯยึดติดกับระบบราชการ และไม่ได้เป็นองค์กรอิสระตามผู้ใช้แรงงานเรียกร้องอย่างแท้จริงเช่น ไม่มีหน่วยงานรับเรื่องราวร้องทุกข์จากแรงงานโดยตรง ทำให้สถาบันฯไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบระบบความปลอดภัยภายในโรงงาน ส่งผลให้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลและปัญหาในเชิงลึก และสัดส่วนคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ 11 คนก็มาจากราชการมากเกินไป
“เครือข่ายฯอยากให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานปรับร่าง พ.ร.ฎ.จัดตั้งสถาบันฯโดยให้มีการตั้งคณะกรรมการสรรหาประธานกรรมการบริหารสถาบันฯ ซึ่งต้องไม่ใช่มาจาการฝ่ายราชการ รวมถึงกรรมการบริหารสถาบันในส่วนของผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน ส่วนกรรมการฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างฝ่ายละ 2 คนก็ให้มีการเลือกตั้ง รวมถึงจัดตั้งศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์จากแรงงานเพื่อให้เข้าไปทำหน้าที่ตรวจสอบระบบความปลอดภัยภายในโรงงาน ส่วนการดำเนินการกับสถานประกอบการที่กระทำผิดกฎหมายเรื่องความปลอดภัยในการทำงานก็ให้สำนักความปลอดภัยของกสร.ดูแลและช่วยเหลือแรงงานที่บาดเจ็บ ป่วยและทุพพลภาพจากการทำงาน ทั้งนี้ อนาคตอยากให้สถาบันฯทำหน้าที่ประเมินและให้การรับรองในเรื่องมาตรฐานระบบความปลอดภัยของสถานประกอบการต่างๆ ไม่ใช่แค่ทำหน้าที่ในเชิงวิชาการและการวิจัยเท่านั้น” นางสมบุญ กล่าว
นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 กำหนดให้ออก พ.ร.ฎ.และจัดตั้งสถาบันฯให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 15 ก.ค.นี้ ดังนั้น กสร.จะเร่งจัดตั้งสถาบันฯให้เสร็จตามกำหนดโดยขณะนี้อยู่ระหว่างการประชาพิจารณ์ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหลังจากวันนี้จะเปิดประชาพิจารณ์ผ่านเว็บไซต์ของกสร.ไปจนถึงสิ้นเดือนมี.ค.นี้ หลังจากนั้นจะนำผลประชาพิจารณ์มาปรับปรุงร่าง พ.ร.ฎ.จัดตั้งสถาบันฯ และเสนอคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ช่วยตรวจสอบเนื้อหาต่อจากนั้นจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อประกาศใช้ต่อไป
อธิบดี กสร.กล่าวอีกว่า ตอนนี้ กสร.กำลังวางโครงสร้าง อัตรากำลังและงบประมาณของสถาบันฯ ซึ่งสถาบันฯเป็นองค์กรมหาชนอยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงแรงงานมีหน้าที่ในเรื่องงานด้านวิชาการและงานวิจัย รวมถึงจัดทำมาตรฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยฯ โดยทำงานคู่ขนานไปกับสำนักความปลอดภัยของ กสร.ด้านปฏิบัติรับเรื่องร้องทุกข์และมีอำนาจดำเนินการตามกฎหมายกับสถานประกอบการที่กระทำผิดด้านความปลอดภัยฯ หลังจากจัดตั้งสถาบันฯขึ้นมาแล้วจะมีการโอนบุคลากรจาก กสร.มาทำงานที่สถาบันแห่งนี้โดยให้เป็นไปตามความสมัครใจ และจะเสนอของบประมาณจากรัฐบาล 1 พันล้านบาท เพื่อจัดตั้งกองทุนส่งเสริมความปลอดภัยฯ รวมทั้งกฎหมายกำหนดให้มีการจัดสรรงบประมาณจากกองทุนเงินทดแทนเข้ามาใส่ในกองทุนส่งเสริมความปลอดภัยฯทุกปีด้วย
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ได้มีข้อเสนอจากเครือข่ายผู้บาดเจ็บจากการทำงานขอให้จัดตั้งศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์จากแรงงานโดยตรง ซึ่ง กสร.ได้นำเรื่องนี้ไปหารือกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) แต่ทาง ก.พ.ร.ไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้งศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ขึ้น เพราะเห็นว่าเป็นงานที่ซ้ำซ้อนกับสำนักความปลอดภัยแรงงานของ กสร.อีกทั้งแม้ตั้งศูนย์ดังกล่าวขึ้นมาก็ต้องส่งเรื่องมาที่สำนักความปลอดภัยของ กสร.ให้ช่วยเหลือแรงงานและดำเนินการตามกฎหมายกับสถานประกอบการที่กระทำผิดด้านความปลอดภัย เนื่องจากสถาบันฯไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะไปดำเนินการกับสถานประกอบการได้เพราะมีหน้าที่ทำงานด้านวิชาการและวิจัยเท่านั้น
“เบื้องต้น กสร.จะจัดตั้งสถาบันฯขึ้นมาให้ได้ก่อนตามกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด หลังจากนั้น จะค่อยๆ สร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันฯเพื่อให้ได้รับความเชื่อถือจากทุกๆ ฝ่าย อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวในอนาคตอยากให้สถาบันฯทำหน้าที่ประเมินและให้การรับรองในเรื่องมาตรฐานระบบความปลอดภัยในการทำงานให้แก่สถานประกอบการต่างๆ ด้วย ไม่ใช่แค่ทำงานวิชาการ” นายอาทิตย์ กล่าว
วันนี้ (14 ก.พ.) นางสมบุญ สีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย กล่าวในการสัมมนาไตรภาคีรับฟังความเห็นเรื่องร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.)จัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ....ที่โรงแรมดิ เอมเมอรัลด์ กทม.ว่า โครงสร้างของสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯที่กำหนดไว้ในร่าง พ.ร.ฎ.จัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯยึดติดกับระบบราชการ และไม่ได้เป็นองค์กรอิสระตามผู้ใช้แรงงานเรียกร้องอย่างแท้จริงเช่น ไม่มีหน่วยงานรับเรื่องราวร้องทุกข์จากแรงงานโดยตรง ทำให้สถาบันฯไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบระบบความปลอดภัยภายในโรงงาน ส่งผลให้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลและปัญหาในเชิงลึก และสัดส่วนคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ 11 คนก็มาจากราชการมากเกินไป
“เครือข่ายฯอยากให้กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานปรับร่าง พ.ร.ฎ.จัดตั้งสถาบันฯโดยให้มีการตั้งคณะกรรมการสรรหาประธานกรรมการบริหารสถาบันฯ ซึ่งต้องไม่ใช่มาจาการฝ่ายราชการ รวมถึงกรรมการบริหารสถาบันในส่วนของผู้ทรงคุณวุฒิ 2 คน ส่วนกรรมการฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างฝ่ายละ 2 คนก็ให้มีการเลือกตั้ง รวมถึงจัดตั้งศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์จากแรงงานเพื่อให้เข้าไปทำหน้าที่ตรวจสอบระบบความปลอดภัยภายในโรงงาน ส่วนการดำเนินการกับสถานประกอบการที่กระทำผิดกฎหมายเรื่องความปลอดภัยในการทำงานก็ให้สำนักความปลอดภัยของกสร.ดูแลและช่วยเหลือแรงงานที่บาดเจ็บ ป่วยและทุพพลภาพจากการทำงาน ทั้งนี้ อนาคตอยากให้สถาบันฯทำหน้าที่ประเมินและให้การรับรองในเรื่องมาตรฐานระบบความปลอดภัยของสถานประกอบการต่างๆ ไม่ใช่แค่ทำหน้าที่ในเชิงวิชาการและการวิจัยเท่านั้น” นางสมบุญ กล่าว
นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (กสร.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 กำหนดให้ออก พ.ร.ฎ.และจัดตั้งสถาบันฯให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 15 ก.ค.นี้ ดังนั้น กสร.จะเร่งจัดตั้งสถาบันฯให้เสร็จตามกำหนดโดยขณะนี้อยู่ระหว่างการประชาพิจารณ์ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่งหลังจากวันนี้จะเปิดประชาพิจารณ์ผ่านเว็บไซต์ของกสร.ไปจนถึงสิ้นเดือนมี.ค.นี้ หลังจากนั้นจะนำผลประชาพิจารณ์มาปรับปรุงร่าง พ.ร.ฎ.จัดตั้งสถาบันฯ และเสนอคณะกรรมการกฤษฎีกาให้ช่วยตรวจสอบเนื้อหาต่อจากนั้นจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อประกาศใช้ต่อไป
อธิบดี กสร.กล่าวอีกว่า ตอนนี้ กสร.กำลังวางโครงสร้าง อัตรากำลังและงบประมาณของสถาบันฯ ซึ่งสถาบันฯเป็นองค์กรมหาชนอยู่ภายใต้การกำกับของกระทรวงแรงงานมีหน้าที่ในเรื่องงานด้านวิชาการและงานวิจัย รวมถึงจัดทำมาตรฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยฯ โดยทำงานคู่ขนานไปกับสำนักความปลอดภัยของ กสร.ด้านปฏิบัติรับเรื่องร้องทุกข์และมีอำนาจดำเนินการตามกฎหมายกับสถานประกอบการที่กระทำผิดด้านความปลอดภัยฯ หลังจากจัดตั้งสถาบันฯขึ้นมาแล้วจะมีการโอนบุคลากรจาก กสร.มาทำงานที่สถาบันแห่งนี้โดยให้เป็นไปตามความสมัครใจ และจะเสนอของบประมาณจากรัฐบาล 1 พันล้านบาท เพื่อจัดตั้งกองทุนส่งเสริมความปลอดภัยฯ รวมทั้งกฎหมายกำหนดให้มีการจัดสรรงบประมาณจากกองทุนเงินทดแทนเข้ามาใส่ในกองทุนส่งเสริมความปลอดภัยฯทุกปีด้วย
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ได้มีข้อเสนอจากเครือข่ายผู้บาดเจ็บจากการทำงานขอให้จัดตั้งศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์จากแรงงานโดยตรง ซึ่ง กสร.ได้นำเรื่องนี้ไปหารือกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) แต่ทาง ก.พ.ร.ไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้งศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ขึ้น เพราะเห็นว่าเป็นงานที่ซ้ำซ้อนกับสำนักความปลอดภัยแรงงานของ กสร.อีกทั้งแม้ตั้งศูนย์ดังกล่าวขึ้นมาก็ต้องส่งเรื่องมาที่สำนักความปลอดภัยของ กสร.ให้ช่วยเหลือแรงงานและดำเนินการตามกฎหมายกับสถานประกอบการที่กระทำผิดด้านความปลอดภัย เนื่องจากสถาบันฯไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะไปดำเนินการกับสถานประกอบการได้เพราะมีหน้าที่ทำงานด้านวิชาการและวิจัยเท่านั้น
“เบื้องต้น กสร.จะจัดตั้งสถาบันฯขึ้นมาให้ได้ก่อนตามกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด หลังจากนั้น จะค่อยๆ สร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันฯเพื่อให้ได้รับความเชื่อถือจากทุกๆ ฝ่าย อย่างไรก็ตาม โดยส่วนตัวในอนาคตอยากให้สถาบันฯทำหน้าที่ประเมินและให้การรับรองในเรื่องมาตรฐานระบบความปลอดภัยในการทำงานให้แก่สถานประกอบการต่างๆ ด้วย ไม่ใช่แค่ทำงานวิชาการ” นายอาทิตย์ กล่าว