เครือข่ายผู้บาดเจ็บจากการทำงานเตรียมยื่นหนังสือต่อ “เผดิมชัย” 10 ก.พ.นี้ จี้แก้สัดส่วน กก.ไตรภาคีสถาบันความปลอดภัย พร้อมเรียกร้องให้ตั้งศูนย์รับร้องทุกข์
วันนี้ (8 ก.พ.) ที่มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) ร่วมกับ ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานจัดงานเสวนาร่วมกับคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ถึงร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.... (องค์การมหาชน)
นางสมบุญ สีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงาน กล่าวว่า ในวันที่ 10 ก.พ.นี้ ตนจะไปยื่นหนังสือที่กระทรวงแรงงาน คัดค้านการจัดงานประชาพิจารณ์สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 14 ก.พ.ของกระทรวงแรงงาน พร้อมกับข้อเสนอให้แก้ไขกฎหมายลูกบางมาตราของ พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
นางสมบุญ กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้กระทรวงแรงงานได้เร่งรัดพิจารณายกร่างกฎหมายการจัดตั้งสถาบันความปลอดภัยฯ โดยขาดการรับฟังความคิดเห็นจากฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในวันที่ 14 ก.พ. กระทรวงแรงงานก็จะจัดงานประชาพิจารณ์ร่างกฎหมายจัดตั้งสถาบันความปลอดภัยฯ ซึ่งควรจะรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย มากกว่าจะนำนักวิชาการหรือผู้เข้าร่วมอื่นๆ ที่ไม่ได้มีความรู้หรือมีส่วนได้ส่วนเสียด้านความปลอดภัยโดยตรงเข้ามาร่วมประชาพิจารณ์
นอกจากนี้ เนื้อหาของกฎหมายลูกมี 2 เรื่องที่ควรจะแก้ไข ได้แก่ 1.ต้องปรับสัดส่วนของคณะกรรมการและการได้มาซึ่งคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ คือ ประธานกรรมการบริหารต้องมาจากการสรรหาและไม่ใช่ข้าราชการ และตัวแทนฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง จะต้องมาจากการสรรหาหรือมาจากการเลือกตั้งทางตรงจากผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศ ยึดหลัก 1 คน 1 เสียง ไม่ใช่ 1 องค์กรที่เป็นสหภาพแรงงาน มีสิทธิ์ 1 เสียง
2. ตัวแทนเครือข่ายแรงงานได้มีการเสนอให้มีการตั้งศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ เพื่อให้สถาบันเข้าถึงข้อมูลร้องทุกข์ของแรงงานโดยตรง เพื่อจะนำมาเป็นข้อมูลมาปรับปรุงแก้ไขให้เข้าถึงการช่วยเหลือได้มากขึ้น โดยทางคณะกรรมการไตรภาคีให้เหตุผลว่าเป็นงานที่ซ้ำซ้อนกับสำนักความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ทั้งนี้ แนวคิดดังกล่าวขัดแย้งกับร่างพระราชกฤษฎีกาว่า เมื่อบังคับใช้แล้ว ให้รัฐมนตรีว่ากระทรวงแรงงานเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อโอนอำนาจหน้าที่ กิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ และงบฯ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความปลอดภัยฯ ไปเป็นของสถาบันฯ
รศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) กล่าวว่า การที่โรงงานระเบิด ไฟไหม้ หรือแรงงานแขนขาด ทางสถาบันฯจะต้องมีอำนาจเข้าไปสำรวจเพื่อเก็บข้อมูลด้วย เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาขับเคลื่อนหรือดำเนินนโยบายให้ตรงจุด ไม่เช่นนั้นสถาบันฯนี้จะถูกตั้งขึ้นโดยไม่สามารถจัดการกับปัญหาได้ เพราะการเก็บข้อมูลเหล่านี้กระทรวงแรงงานไม่เคยบันทึกไว้เลย
“ส่วนเรื่องสัดส่วนและที่มาของคณะกรรมการ ก็ต้องมีการปรับแก้ เพราะคณะกรรมการไตรภาคีมีทั้งหมด 11 คน แต่ส่วนของลูกจ้างมีเพียง 2 คน อีกทั้งคณะกรรมการไตรภาคีควรจะมาจากการสรรหาจากองค์กรอิสระ” รศ.ดร.วรวิทย์ กล่าว
นายพรชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน กล่าวว่า สถาบันฯ เป็นสวัสดิการให้แก่แรงงาน แต่ภาครัฐกลับหวงแหนอำนาจเช่น การตั้งศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ที่รัฐอ้างว่าซ้ำซ้อน จึงจะไม่ตั้งศูนย์นี้ขึ้น เพราะรัฐกลัวว่าจะมีการตรวจสอบอย่างเข้มข้น และจะทำให้เสียภาพลักษณ์ อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้สถาบันฯ จะต้องมีการรณรงค์เรื่องนี้เพื่อให้แรงงานที่มีกว่า 30 ล้านคนได้รับทราบ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
วันนี้ (8 ก.พ.) ที่มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย(คสรท.) ร่วมกับ ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานจัดงานเสวนาร่วมกับคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ถึงร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.... (องค์การมหาชน)
นางสมบุญ สีคำดอกแค ประธานสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงาน กล่าวว่า ในวันที่ 10 ก.พ.นี้ ตนจะไปยื่นหนังสือที่กระทรวงแรงงาน คัดค้านการจัดงานประชาพิจารณ์สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยฯ ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 14 ก.พ.ของกระทรวงแรงงาน พร้อมกับข้อเสนอให้แก้ไขกฎหมายลูกบางมาตราของ พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
นางสมบุญ กล่าวอีกว่า ก่อนหน้านี้กระทรวงแรงงานได้เร่งรัดพิจารณายกร่างกฎหมายการจัดตั้งสถาบันความปลอดภัยฯ โดยขาดการรับฟังความคิดเห็นจากฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ในวันที่ 14 ก.พ. กระทรวงแรงงานก็จะจัดงานประชาพิจารณ์ร่างกฎหมายจัดตั้งสถาบันความปลอดภัยฯ ซึ่งควรจะรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย มากกว่าจะนำนักวิชาการหรือผู้เข้าร่วมอื่นๆ ที่ไม่ได้มีความรู้หรือมีส่วนได้ส่วนเสียด้านความปลอดภัยโดยตรงเข้ามาร่วมประชาพิจารณ์
นอกจากนี้ เนื้อหาของกฎหมายลูกมี 2 เรื่องที่ควรจะแก้ไข ได้แก่ 1.ต้องปรับสัดส่วนของคณะกรรมการและการได้มาซึ่งคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ คือ ประธานกรรมการบริหารต้องมาจากการสรรหาและไม่ใช่ข้าราชการ และตัวแทนฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้าง จะต้องมาจากการสรรหาหรือมาจากการเลือกตั้งทางตรงจากผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศ ยึดหลัก 1 คน 1 เสียง ไม่ใช่ 1 องค์กรที่เป็นสหภาพแรงงาน มีสิทธิ์ 1 เสียง
2. ตัวแทนเครือข่ายแรงงานได้มีการเสนอให้มีการตั้งศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ เพื่อให้สถาบันเข้าถึงข้อมูลร้องทุกข์ของแรงงานโดยตรง เพื่อจะนำมาเป็นข้อมูลมาปรับปรุงแก้ไขให้เข้าถึงการช่วยเหลือได้มากขึ้น โดยทางคณะกรรมการไตรภาคีให้เหตุผลว่าเป็นงานที่ซ้ำซ้อนกับสำนักความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ทั้งนี้ แนวคิดดังกล่าวขัดแย้งกับร่างพระราชกฤษฎีกาว่า เมื่อบังคับใช้แล้ว ให้รัฐมนตรีว่ากระทรวงแรงงานเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อโอนอำนาจหน้าที่ กิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ และงบฯ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความปลอดภัยฯ ไปเป็นของสถาบันฯ
รศ.ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) กล่าวว่า การที่โรงงานระเบิด ไฟไหม้ หรือแรงงานแขนขาด ทางสถาบันฯจะต้องมีอำนาจเข้าไปสำรวจเพื่อเก็บข้อมูลด้วย เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้มาขับเคลื่อนหรือดำเนินนโยบายให้ตรงจุด ไม่เช่นนั้นสถาบันฯนี้จะถูกตั้งขึ้นโดยไม่สามารถจัดการกับปัญหาได้ เพราะการเก็บข้อมูลเหล่านี้กระทรวงแรงงานไม่เคยบันทึกไว้เลย
“ส่วนเรื่องสัดส่วนและที่มาของคณะกรรมการ ก็ต้องมีการปรับแก้ เพราะคณะกรรมการไตรภาคีมีทั้งหมด 11 คน แต่ส่วนของลูกจ้างมีเพียง 2 คน อีกทั้งคณะกรรมการไตรภาคีควรจะมาจากการสรรหาจากองค์กรอิสระ” รศ.ดร.วรวิทย์ กล่าว
นายพรชัย ตันติวิทยาพิทักษ์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน กล่าวว่า สถาบันฯ เป็นสวัสดิการให้แก่แรงงาน แต่ภาครัฐกลับหวงแหนอำนาจเช่น การตั้งศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ที่รัฐอ้างว่าซ้ำซ้อน จึงจะไม่ตั้งศูนย์นี้ขึ้น เพราะรัฐกลัวว่าจะมีการตรวจสอบอย่างเข้มข้น และจะทำให้เสียภาพลักษณ์ อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้สถาบันฯ จะต้องมีการรณรงค์เรื่องนี้เพื่อให้แรงงานที่มีกว่า 30 ล้านคนได้รับทราบ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง