โดย..รัชญา จันทะรัง
“หลายคนถามผมว่า ในแต่ละวันนั้นผมทำอะไรบ้าง ผมไม่ทราบจะเล่าถึงหน้าที่ของเราได้ครบถ้วนหรือเปล่า ผมรู้เพียงแต่ว่า ผมและทหารไทยทุกนายทั่วประเทศ พร้อมที่จะทำทุกอย่าง เดินทางไปทุกแห่ง เพื่อที่จะทำหน้าที่ของเรา..ให้ดีที่สุด เพราะเราคือ ทหารของประชาชน” นี่เป็นเสียงบอกเล่าของ “พ่อ” ที่รับหน้าที่ถ่ายทอดโดย ผู้พันเบิร์ด-พันโท วันชนะ สวัสดี อีกหนึ่งในชุดโฆษณาดีๆ จากกองทัพบกที่ผู้พันเบิร์ดร่วมกันทำกับเพื่อนๆเพื่อบอกว่าทหารทำอะไรได้มากกว่าที่คุณคิดซึ่งเราไม่ค่อยมีโอกาสได้เห็นบ่อยๆ ตามฟรีทีวีแต่ในเว็บไซต์ยูทูปมียอดคลิกดูกว่า 1 แสนครั้ง !!

แต่ก่อนที่จะมาเป็นทหารได้อย่างเต็มภาคภูมิ ทั้งในจอและนอกจอเฉกเช่นนี้ ผู้ชายที่เราเรียกกันจนติดปากว่า “ผู้พันเบิร์ด” ย้อนอดีตของ ด.ช.วันชนะ สวัสดี ให้ฟังว่า ตอนเด็กไม่ได้อยากเป็นทหารแต่อยากเป็นสถาปนิก คุณพ่ออยากให้ลองไปสอบดู เพราะอยากให้เป็นทหาร ท่านเริ่มบอกประมาณชั้นม.2 แต่ไม่ได้บังคับ นี่คือส่วนที่หนึ่ง และส่วนที่สองช่วงเรียนอยู่ความนิยมในโรงเรียนเตรียมทหารมาแรงมาก รุ่นพี่ที่สอบติดก็จะกลับมาแนะแนวให้รุ่นน้องก็จะเห็นตัวอย่างจากตรงนี้ ส่วนที่ 3 เกิดขึ้นจากแรกผลักดันของเพื่อนกับครูแนะแนวที่ท่านเหมือนกับเชียร์เพราะเรามีผลการเรียนพอจะไปได้ และทำกิจกรรมมาก เขาก็เลยคิดว่าบุคลิกน่าจะเป็นทหาร ส่วนข้อที่ 4 เกิดขึ้นจากตัวเอง คือ คิดว่าการลองไปสอบก็ไม่เสียเวลาอะไร เพื่อนๆ ก็นิยม เราก็ไปนี่คือการไม่ได้ตัดสินใจจากความชอบเลย
“ตอน ม.4 ซึ่งเป็นปีแรกที่ลงสอบก็สอบไม่ติด ติดแค่สำรอง ทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น 2 อย่างด้วยกัน คือ 1.เสียใจ ซึ่งไอ้คำว่าเสียใจนี่แหละทำให้รู้สึกว่าอยากสอบเข้า โดยที่ไม่รู้ตัวมาก่อนเลยว่าตัวเองอยากติดโรงเรียนเตรียมทหาร ข้อที่ 2 คือว่า เอ๊ะทำไมไม่ติดก็ข้องใจติดแค่สำรอง พอกลับมาเรียนใหม่ ม.5 ที่โรงเรียนเดิมก็ไม่ซื้อหนังสือเรียนเพราะหวังว่าสำรองอันดับ 7 ติดแน่ๆ เขาต้องเรียกแน่ๆ พอจะสอบมิดเทอม ม.5 ไม่ไหว ไม่เรียกเรียนซะที ผมนั่งเรียนโดยที่ไม่มีหนังสือเรียนเลย รอคอยว่าเมื่อไหร่จะเรียก เวลาโรงเรียนประกาศก็ไม่มีชื่อตัวเอง ก็เลยซื้อหนังสือเข้าสอบมิดเทอมตามปกติ พบจบ ม.5 ก็ไปสอบใหม่อีกครั้งนึงก็สอบติด 190 คนจากสมัครสอบ 2 หมื่นคน”
ผู้พันเบิร์ด เล่าต่อว่า ตนเองไม่มีความคลุกคลีอะไรกับชีวิตทหารเลย แม้ว่าพ่อจะเป็นทหารไม่เคยเข้าไปที่ทำงานพ่อถึงเข้าไปก็ไม่รู้เรื่องอะไร แต่ถ้าถามว่าทำไมถึงเลือกเหล่านี้เพราะรู้จักเพียงเหล่าเดียว คือ ทหารบก
จากเด็กชายวันชนะ ก็เปลี่ยนคำนำหน้าใหม่เป็นนักเรียนเตรียมทหาร หลังเข้าสู่ดินแดนเกียรติยศแห่งจักรดาว กลายเป็นสุภาพบุรุษพระราม 4 อย่างเต็มตัว...
“ชีวิตที่เตรียมทหารผมชอบออกกำลังกาย เล่นกีฬา ชอบอยู่กับเพื่อนเยอะๆ ความเหนื่อยมันไม่ได้ทำให้ผมท้อ มีความสุขกับการเรียนมากเลย เหนื่อยแต่ละครั้งมันก็เหนื่อยอะแต่ก็รู้ว่าไม่ตาย ทนได้ ไม่มีความเดือดร้อนอะไร แล้วก็มีความสุขที่ได้มาเรียนที่โรงเรียนเตรียมทหาร ตอนเรียนอยู่ที่นี่ผมได้เป็นหัวหน้านักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 34 เคยถามหนุ่ย( เพื่อนสนิท) เหมือนกันว่าทำไมถึงโหวตให้เป็นหัวหน้านักเรียนหนุ่ยก็บอกว่าตอนปิดเทอมจะกลับบ้านที่เชียงใหม่ที่ติดเข้าเวรถามใครก็ไม่มีใครเข้าแทน พอมาถามพี่ๆ ก็บอกว่าผมอยู่ได้เพราะบ้านอยู่กาญจนบุรีกลับที่หลังได้”
ผู้พันเบิร์ด เล่าถึงชีวิตในวัยเรียนต่อว่า ตนเองจบจากโรงเรียนเตรียมทหารด้วยเกรดเฉลี่ย 3.2 และยังได้รับโล่นักกีฬายอดเยี่ยม และโล่ลักษณะทหารยอดเยี่ยม จาก 2 ใน 3 โล่ ซึ่งโล่ที่ไม่ได้ คือ โล่ผลการเรียนยอดเยี่ยม พอจบจากโรงเรียนนายร้อย จปร.ได้มา 1 โล่ จาก 2 โล่ โดยตนเองได้โล่คะแนนความเหมาะสมสูงสุด ซึ่งพิจารณาจากการโหวตของเพื่อนตั้งแต่ปีหนึ่งมาเรื่อยๆ จนถึงปีสุดท้ายในขณะเดียวจะเป็นการโหวตของรุ่นพี่ที่มองมารุ่นน้องแต่จะไม่มีการโหวตจากน้องให้พี่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตนเรียนไม่ดีเท่าไหร่นักอยู่อันดับที่ 30 กว่าๆ แต่ยึดหลักที่ว่า ความรู้นั้นสำคัญแต่อุปนิสัยที่ดีนั้นสำคัญกว่า
“โรงเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนนายร้อย มันมีกุศโลบายในการปลูกฝังให้รักชาติโดยไม่รู้ตัว จบมาแล้วมองย้อนกลับไปมีการสอนหลายแบบ เช่น เวลาที่เราเดินเข้าอาคารก็จะมีคำขวัญติดเต็มไปหมดเลย ตามเสา ตามขื่อ คาน เช่น เกิดมาใช่อื่นเพื่อผืนแผ่นดินไทย หรือแม้แต่พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งผมจำได้หมด มันจะค่อยซึมซับไปกับความเหนื่อย ความหิว ความง่วง ซึ่งหน่วยงานอื่นสามารถนำเอาไปใช้ได้”
ส่วนที่ตัดสินใจเลือกเหล่าทหารม้าหลังจากสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อย จปร.นั้น ผู้พันเบิร์ด อธิบายว่า เนื่องจากพ่อเป็นทหารม้า และเมื่อจบแล้วอยากกลับไปทำงานที่หน่วยเดียวกับที่พ่อทำงาน และได้แสดงเจตจำนงค์ตั้งแต่เข้าโรงเรียนเตรียมทหารกับเพื่อนๆ แล้วว่าจะเลือกเหล่านี้ซึ่งผู้พันเบิร์ดได้พยายามมุ่งมั่นในการเรียนจนท้ายที่สุดก็ได้ทำงานที่เดียวกับผู้ให้กำเนิด
แต่อย่างไรก็ตาม แม้ดูเหมือนชีวิตในรั้วโรงเรียนจะไม่มีปัญหา แต่ใครจะไปรู้ว่า ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ติดค้างในใจผู้พันเบิร์ดตลอดมานั้น คือ เหตุการณ์ที่ทำให้เพื่อนคนหนึ่งสมัยเรียนเตรียมทหารต้องออกจากโรงเรียนเนื่องจากจับได้ว่าขโมยของในโรงเรียนแม้จะเป็นการโหวตจากเพื่อน มีการประชุมกันจนมีมติรุ่นออกมา แม้พ่อกับแม่ของเพื่อนจะไปหาถึงบ้านที่กาญจนบุรี
“เราเป็นคนเริ่มต้นก่อนเพราะมีเพื่อนมาบอก วันอาทิตย์ตอนเย็นก็กลับมาประชุมรุ่นใหม่อีกครั้งซึ่งผมไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ ดังนั้นถ้าพี่ย้อนเวลากลับไปได้พี่จะไม่ยอมให้เพื่อนออกไปเพราะมันเปลี่ยนแปลงชีวิตของเขาไปเลย”
...จากเด็กน้อยที่มีถิ่นเกิด ณ เมืองลำปาง มีคุณตาเป็นแขกอินเดียนายห้างขายผ้าขนานแท้ มีคุณปู่เป็นคนจีน 100 เปอร์เซ็นต์ จนถึงทุกวันนี้ 38 ปีผ่านไปกับการรับใช้ชาติภายใต้อาณาจักรของธงไตรรงค์โบกสะบัด ผู้พันเบิร์ด ระบุชัดว่า
“ผมเหมาะสมที่สุดที่จะเป็นทหารทั้งวิถีชีวิต การดำเนินชีวิต บริบท สิ่งแวดล้อม มันทำให้ผมภาคภูมิใจกับหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นที่มากำเนิดจากโรงเรียนนายร้อย สถาบันที่ได้รับความเชื่อถือจากประชาชน ภารกิจที่ทำเพื่อส่วนรวมเพื่อประเทศชาติ”
ผู้พันเบิร์ด บอกอีกว่า สำหรับคนที่เห็นแก่ตัวมากๆ จะอยู่ในกองทัพไม่ได้ มันจะกระทบในวงกว้างซึ่งก็เหมือนกับคนที่ไม่มีศีลอยู่กับคนมีศีลก็จะถูกขับออกไป อย่างไรก็ตาม ณ วันนี้ในทัศนะของพี่ๆเชื่อว่ากองทัพมาถูกทางแล้วเพียงแต่ว่าต้องสื่อสารกับประชาชนให้มากขึ้นเพื่อความเข้าใจในการปฏิบัติหน้าที่ เช่น ภารกิจที่คนเคยรู้แต่ไม่เข้าใจนั้นคือการป้องกันประเทศแต่คนไม่เข้าใจ ป้องกันยังไง ทหารต้องจับปืนยิงอย่างเดียวแล้วยอมตายไป ฉะนั้นการฝึกรบต้องมีการฝึกทุกปี อำนาจกำลังรบมันไม่มีตัวตนแต่เราต้องมี ไม่เช่นนั้นจีนคงไม่เพิ่มงบประมาณให้กองทัพในการจัดซื้อาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ สำหรับการพัฒนาศักยภาพของกองทัพ
สำหรับความฝันสูงสุดของ ผู้พันเบิร์ด นั้น ผู้พันเบิร์ด บอกอย่างชัดถ้อยชัดคำว่า ก็ต้องไปให้ถึงยศพลเอก หากลึกไปกว่านั้นก็ผู้บัญาชาการทหารบก แต่สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของบุญวาสนาซึ่งเป็นความใฝ่ฝันสูงสุด เป็นเกียรติยศให้กับครอบครัว อยากสร้างประโยชน์ให้กับกองทัพอย่างแท้จริง
“อยากฝากบอกทหารทุกคนเราจะต้องเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เหนือหัว และเข้าให้ถึงใจประชาชนนั้นหมายถึงเราต้องรับฟังความคิดเห็นส่วนใหญ่แต่ไม่ลืมเสียงส่วนน้อย ส่วนเบื้องหลังจะต้องสู้ทุกภัยพิบัติ รักษาประเทศชาติ รับใช้ประชาชนทุกคน” หัวหน้าแผนกปฏิบัติการจิตวิทยา กองปฏิบัติการจิตวิทยา กรมกิจการพลเรือน (หน.แผนก ปจว.) และยังพ่วงคุณพอเพียงต้นแบบ อาสาพัฒนาชุมชน ระบุทิ้งท้ายในสำหรับภารกิจทหาร
ส่วนภารกิจครอบครัวนั้น ผู้พันเบิร์ด บอกว่า อยากมีลูกมากและไม่วาดฝันว่าเขาจะเป็นอะไรแต่ทหารเป็นทหารได้ก็จะดี และจะมีความสุขทุกครั้งที่หาเงินได้แล้วนำไปให้ภรรยา เรื่องทะเลาะมีบ้างเล็กๆ น้อยๆ เพราะชอบไปแก้ปัญหาให้คนอื่น และชอบให้คนอื่นยืมเงินแล้วไม่ค่อยจะได้คืน ฉะนั้นถ้ามีหนี้ก็จะรีบใช้ ต้องอยู่อย่างไม่มีหนี้ถึงจะมีความสุขซึ่งหนี้ตอนนี้มี คือ ผ่อนบ้านเดี่ยวสานความฝันให้กับภรรยา...
“หลายคนถามผมว่า ในแต่ละวันนั้นผมทำอะไรบ้าง ผมไม่ทราบจะเล่าถึงหน้าที่ของเราได้ครบถ้วนหรือเปล่า ผมรู้เพียงแต่ว่า ผมและทหารไทยทุกนายทั่วประเทศ พร้อมที่จะทำทุกอย่าง เดินทางไปทุกแห่ง เพื่อที่จะทำหน้าที่ของเรา..ให้ดีที่สุด เพราะเราคือ ทหารของประชาชน” นี่เป็นเสียงบอกเล่าของ “พ่อ” ที่รับหน้าที่ถ่ายทอดโดย ผู้พันเบิร์ด-พันโท วันชนะ สวัสดี อีกหนึ่งในชุดโฆษณาดีๆ จากกองทัพบกที่ผู้พันเบิร์ดร่วมกันทำกับเพื่อนๆเพื่อบอกว่าทหารทำอะไรได้มากกว่าที่คุณคิดซึ่งเราไม่ค่อยมีโอกาสได้เห็นบ่อยๆ ตามฟรีทีวีแต่ในเว็บไซต์ยูทูปมียอดคลิกดูกว่า 1 แสนครั้ง !!
แต่ก่อนที่จะมาเป็นทหารได้อย่างเต็มภาคภูมิ ทั้งในจอและนอกจอเฉกเช่นนี้ ผู้ชายที่เราเรียกกันจนติดปากว่า “ผู้พันเบิร์ด” ย้อนอดีตของ ด.ช.วันชนะ สวัสดี ให้ฟังว่า ตอนเด็กไม่ได้อยากเป็นทหารแต่อยากเป็นสถาปนิก คุณพ่ออยากให้ลองไปสอบดู เพราะอยากให้เป็นทหาร ท่านเริ่มบอกประมาณชั้นม.2 แต่ไม่ได้บังคับ นี่คือส่วนที่หนึ่ง และส่วนที่สองช่วงเรียนอยู่ความนิยมในโรงเรียนเตรียมทหารมาแรงมาก รุ่นพี่ที่สอบติดก็จะกลับมาแนะแนวให้รุ่นน้องก็จะเห็นตัวอย่างจากตรงนี้ ส่วนที่ 3 เกิดขึ้นจากแรกผลักดันของเพื่อนกับครูแนะแนวที่ท่านเหมือนกับเชียร์เพราะเรามีผลการเรียนพอจะไปได้ และทำกิจกรรมมาก เขาก็เลยคิดว่าบุคลิกน่าจะเป็นทหาร ส่วนข้อที่ 4 เกิดขึ้นจากตัวเอง คือ คิดว่าการลองไปสอบก็ไม่เสียเวลาอะไร เพื่อนๆ ก็นิยม เราก็ไปนี่คือการไม่ได้ตัดสินใจจากความชอบเลย
“ตอน ม.4 ซึ่งเป็นปีแรกที่ลงสอบก็สอบไม่ติด ติดแค่สำรอง ทำให้เกิดความรู้สึกขึ้น 2 อย่างด้วยกัน คือ 1.เสียใจ ซึ่งไอ้คำว่าเสียใจนี่แหละทำให้รู้สึกว่าอยากสอบเข้า โดยที่ไม่รู้ตัวมาก่อนเลยว่าตัวเองอยากติดโรงเรียนเตรียมทหาร ข้อที่ 2 คือว่า เอ๊ะทำไมไม่ติดก็ข้องใจติดแค่สำรอง พอกลับมาเรียนใหม่ ม.5 ที่โรงเรียนเดิมก็ไม่ซื้อหนังสือเรียนเพราะหวังว่าสำรองอันดับ 7 ติดแน่ๆ เขาต้องเรียกแน่ๆ พอจะสอบมิดเทอม ม.5 ไม่ไหว ไม่เรียกเรียนซะที ผมนั่งเรียนโดยที่ไม่มีหนังสือเรียนเลย รอคอยว่าเมื่อไหร่จะเรียก เวลาโรงเรียนประกาศก็ไม่มีชื่อตัวเอง ก็เลยซื้อหนังสือเข้าสอบมิดเทอมตามปกติ พบจบ ม.5 ก็ไปสอบใหม่อีกครั้งนึงก็สอบติด 190 คนจากสมัครสอบ 2 หมื่นคน”
ผู้พันเบิร์ด เล่าต่อว่า ตนเองไม่มีความคลุกคลีอะไรกับชีวิตทหารเลย แม้ว่าพ่อจะเป็นทหารไม่เคยเข้าไปที่ทำงานพ่อถึงเข้าไปก็ไม่รู้เรื่องอะไร แต่ถ้าถามว่าทำไมถึงเลือกเหล่านี้เพราะรู้จักเพียงเหล่าเดียว คือ ทหารบก
จากเด็กชายวันชนะ ก็เปลี่ยนคำนำหน้าใหม่เป็นนักเรียนเตรียมทหาร หลังเข้าสู่ดินแดนเกียรติยศแห่งจักรดาว กลายเป็นสุภาพบุรุษพระราม 4 อย่างเต็มตัว...
“ชีวิตที่เตรียมทหารผมชอบออกกำลังกาย เล่นกีฬา ชอบอยู่กับเพื่อนเยอะๆ ความเหนื่อยมันไม่ได้ทำให้ผมท้อ มีความสุขกับการเรียนมากเลย เหนื่อยแต่ละครั้งมันก็เหนื่อยอะแต่ก็รู้ว่าไม่ตาย ทนได้ ไม่มีความเดือดร้อนอะไร แล้วก็มีความสุขที่ได้มาเรียนที่โรงเรียนเตรียมทหาร ตอนเรียนอยู่ที่นี่ผมได้เป็นหัวหน้านักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 34 เคยถามหนุ่ย( เพื่อนสนิท) เหมือนกันว่าทำไมถึงโหวตให้เป็นหัวหน้านักเรียนหนุ่ยก็บอกว่าตอนปิดเทอมจะกลับบ้านที่เชียงใหม่ที่ติดเข้าเวรถามใครก็ไม่มีใครเข้าแทน พอมาถามพี่ๆ ก็บอกว่าผมอยู่ได้เพราะบ้านอยู่กาญจนบุรีกลับที่หลังได้”
ผู้พันเบิร์ด เล่าถึงชีวิตในวัยเรียนต่อว่า ตนเองจบจากโรงเรียนเตรียมทหารด้วยเกรดเฉลี่ย 3.2 และยังได้รับโล่นักกีฬายอดเยี่ยม และโล่ลักษณะทหารยอดเยี่ยม จาก 2 ใน 3 โล่ ซึ่งโล่ที่ไม่ได้ คือ โล่ผลการเรียนยอดเยี่ยม พอจบจากโรงเรียนนายร้อย จปร.ได้มา 1 โล่ จาก 2 โล่ โดยตนเองได้โล่คะแนนความเหมาะสมสูงสุด ซึ่งพิจารณาจากการโหวตของเพื่อนตั้งแต่ปีหนึ่งมาเรื่อยๆ จนถึงปีสุดท้ายในขณะเดียวจะเป็นการโหวตของรุ่นพี่ที่มองมารุ่นน้องแต่จะไม่มีการโหวตจากน้องให้พี่ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าตนเรียนไม่ดีเท่าไหร่นักอยู่อันดับที่ 30 กว่าๆ แต่ยึดหลักที่ว่า ความรู้นั้นสำคัญแต่อุปนิสัยที่ดีนั้นสำคัญกว่า
“โรงเรียนเตรียมทหาร โรงเรียนนายร้อย มันมีกุศโลบายในการปลูกฝังให้รักชาติโดยไม่รู้ตัว จบมาแล้วมองย้อนกลับไปมีการสอนหลายแบบ เช่น เวลาที่เราเดินเข้าอาคารก็จะมีคำขวัญติดเต็มไปหมดเลย ตามเสา ตามขื่อ คาน เช่น เกิดมาใช่อื่นเพื่อผืนแผ่นดินไทย หรือแม้แต่พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งผมจำได้หมด มันจะค่อยซึมซับไปกับความเหนื่อย ความหิว ความง่วง ซึ่งหน่วยงานอื่นสามารถนำเอาไปใช้ได้”
ส่วนที่ตัดสินใจเลือกเหล่าทหารม้าหลังจากสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนนายร้อย จปร.นั้น ผู้พันเบิร์ด อธิบายว่า เนื่องจากพ่อเป็นทหารม้า และเมื่อจบแล้วอยากกลับไปทำงานที่หน่วยเดียวกับที่พ่อทำงาน และได้แสดงเจตจำนงค์ตั้งแต่เข้าโรงเรียนเตรียมทหารกับเพื่อนๆ แล้วว่าจะเลือกเหล่านี้ซึ่งผู้พันเบิร์ดได้พยายามมุ่งมั่นในการเรียนจนท้ายที่สุดก็ได้ทำงานที่เดียวกับผู้ให้กำเนิด
แต่อย่างไรก็ตาม แม้ดูเหมือนชีวิตในรั้วโรงเรียนจะไม่มีปัญหา แต่ใครจะไปรู้ว่า ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่ติดค้างในใจผู้พันเบิร์ดตลอดมานั้น คือ เหตุการณ์ที่ทำให้เพื่อนคนหนึ่งสมัยเรียนเตรียมทหารต้องออกจากโรงเรียนเนื่องจากจับได้ว่าขโมยของในโรงเรียนแม้จะเป็นการโหวตจากเพื่อน มีการประชุมกันจนมีมติรุ่นออกมา แม้พ่อกับแม่ของเพื่อนจะไปหาถึงบ้านที่กาญจนบุรี
“เราเป็นคนเริ่มต้นก่อนเพราะมีเพื่อนมาบอก วันอาทิตย์ตอนเย็นก็กลับมาประชุมรุ่นใหม่อีกครั้งซึ่งผมไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ ดังนั้นถ้าพี่ย้อนเวลากลับไปได้พี่จะไม่ยอมให้เพื่อนออกไปเพราะมันเปลี่ยนแปลงชีวิตของเขาไปเลย”
...จากเด็กน้อยที่มีถิ่นเกิด ณ เมืองลำปาง มีคุณตาเป็นแขกอินเดียนายห้างขายผ้าขนานแท้ มีคุณปู่เป็นคนจีน 100 เปอร์เซ็นต์ จนถึงทุกวันนี้ 38 ปีผ่านไปกับการรับใช้ชาติภายใต้อาณาจักรของธงไตรรงค์โบกสะบัด ผู้พันเบิร์ด ระบุชัดว่า
“ผมเหมาะสมที่สุดที่จะเป็นทหารทั้งวิถีชีวิต การดำเนินชีวิต บริบท สิ่งแวดล้อม มันทำให้ผมภาคภูมิใจกับหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นที่มากำเนิดจากโรงเรียนนายร้อย สถาบันที่ได้รับความเชื่อถือจากประชาชน ภารกิจที่ทำเพื่อส่วนรวมเพื่อประเทศชาติ”
ผู้พันเบิร์ด บอกอีกว่า สำหรับคนที่เห็นแก่ตัวมากๆ จะอยู่ในกองทัพไม่ได้ มันจะกระทบในวงกว้างซึ่งก็เหมือนกับคนที่ไม่มีศีลอยู่กับคนมีศีลก็จะถูกขับออกไป อย่างไรก็ตาม ณ วันนี้ในทัศนะของพี่ๆเชื่อว่ากองทัพมาถูกทางแล้วเพียงแต่ว่าต้องสื่อสารกับประชาชนให้มากขึ้นเพื่อความเข้าใจในการปฏิบัติหน้าที่ เช่น ภารกิจที่คนเคยรู้แต่ไม่เข้าใจนั้นคือการป้องกันประเทศแต่คนไม่เข้าใจ ป้องกันยังไง ทหารต้องจับปืนยิงอย่างเดียวแล้วยอมตายไป ฉะนั้นการฝึกรบต้องมีการฝึกทุกปี อำนาจกำลังรบมันไม่มีตัวตนแต่เราต้องมี ไม่เช่นนั้นจีนคงไม่เพิ่มงบประมาณให้กองทัพในการจัดซื้อาวุธยุทโธปกรณ์ต่างๆ สำหรับการพัฒนาศักยภาพของกองทัพ
สำหรับความฝันสูงสุดของ ผู้พันเบิร์ด นั้น ผู้พันเบิร์ด บอกอย่างชัดถ้อยชัดคำว่า ก็ต้องไปให้ถึงยศพลเอก หากลึกไปกว่านั้นก็ผู้บัญาชาการทหารบก แต่สิ่งเหล่านี้เป็นเรื่องของบุญวาสนาซึ่งเป็นความใฝ่ฝันสูงสุด เป็นเกียรติยศให้กับครอบครัว อยากสร้างประโยชน์ให้กับกองทัพอย่างแท้จริง
“อยากฝากบอกทหารทุกคนเราจะต้องเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ไว้เหนือหัว และเข้าให้ถึงใจประชาชนนั้นหมายถึงเราต้องรับฟังความคิดเห็นส่วนใหญ่แต่ไม่ลืมเสียงส่วนน้อย ส่วนเบื้องหลังจะต้องสู้ทุกภัยพิบัติ รักษาประเทศชาติ รับใช้ประชาชนทุกคน” หัวหน้าแผนกปฏิบัติการจิตวิทยา กองปฏิบัติการจิตวิทยา กรมกิจการพลเรือน (หน.แผนก ปจว.) และยังพ่วงคุณพอเพียงต้นแบบ อาสาพัฒนาชุมชน ระบุทิ้งท้ายในสำหรับภารกิจทหาร
ส่วนภารกิจครอบครัวนั้น ผู้พันเบิร์ด บอกว่า อยากมีลูกมากและไม่วาดฝันว่าเขาจะเป็นอะไรแต่ทหารเป็นทหารได้ก็จะดี และจะมีความสุขทุกครั้งที่หาเงินได้แล้วนำไปให้ภรรยา เรื่องทะเลาะมีบ้างเล็กๆ น้อยๆ เพราะชอบไปแก้ปัญหาให้คนอื่น และชอบให้คนอื่นยืมเงินแล้วไม่ค่อยจะได้คืน ฉะนั้นถ้ามีหนี้ก็จะรีบใช้ ต้องอยู่อย่างไม่มีหนี้ถึงจะมีความสุขซึ่งหนี้ตอนนี้มี คือ ผ่อนบ้านเดี่ยวสานความฝันให้กับภรรยา...