กกจ.ไฟเขียวส่งแรงงานไทยไปลิเบียหลังสงครามสงบ เพิ่มเงื่อนไขต้องทำประกันชีวิต-ทำแผนอพยพส่งกลับกรณีเกิดเหตุไม่ปกติ จี้บริษัทห้ามเก็บเงินแรงงานเพิ่มชี้เป็นสัญญาจ้างเดิม เผยตลาดแรงงานต้องการกว่า 1 แสนคน
วันนี้ (8 ก.พ.) นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ประชุมร่วมบริษัทจัดหางานที่ส่งแรงงานไทยไปประเทศลิเบีย 20 ราย โดยได้ชี้แจงถึงสถานการณ์ในประเทศลิเบีย ซึ่งได้รับการยืนยันจากสถานทูตไทยในลิเบียว่าขณะนี้สถานการณ์ได้คลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติและความปลอดภัยแล้ว และสามารถส่งแรงงานไทยกลับไปทำงานได้
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ บริษัทจัดหางานได้มีการทวงถามถึงการส่งแรงงานไทยกลับไปทำงานที่ลิเบีย แต่ขณะนั้นสถานการณ์ยังไม่คลี่คลาย ทำให้ กกจ.ยังไม่อนุญาตส่งแรงงานไทยกลับไปทำงาน ทั้งนี้ เมื่อได้รับการยืนยันจากสถานทูตจึงได้เชิญบริษัทจัดหางานทั้ง 20 แห่งมารับทำความเข้าใจถึงสถานการณ์ และชี้แจงถึงเกณฑ์การส่งแรงงานไทยกลับไปทำงานที่ลิเบีย ซึ่ง กกจ.ได้อนุญาตให้บริษัทจัดหางานส่งแรงงานไทยกลับไปลิเบียตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
อธิบดี กกจ.กล่าวอีกว่า สำหรับการส่งแรงงานไทยกลับไปลิเบียในครั้งนี้ ทาง กกจ.ได้เพิ่มเกณฑ์การคัดเลือกบริษัทจัดหางานโดยได้เพิ่มเติมในส่วนของการทำประกันชีวิตให้แก่แรงงาน และทำหนังสือยืนยันกลับไปทำงานที่บริษัทเดิมภายใต้สัญญาจ้างเดิมและตำแหน่งงานเดิม นอกจากนี้ จะต้องทำหนังสือยืนยันส่งตัวแรงงานไทยกลับกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่ปกติโดยบริษัทจัดหางานจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ตลอดจนบริษัทจะต้องทำแผนอพยพแรงงานในการส่งกลับไทยให้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ในการส่งแรงงานกลับไปนั้นแรงงานจะต้องไปเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีก และห้ามไม่ให้บริษัทจัดหางานไปเรียกเก็บจากแรงงาน เนื่องจากเป็นสัญญาจ้างเดิมที่ยังไม่หมดอายุ
“จากเหตุการณ์สงครามกลางเมืองในลิเบีย การอพยพแรงงานไทยกลับมาเป็นไปอย่างยากลำบาก เนื่องจากบริษัทจัดหางานไม่มีแผนอพยพที่ชัดเจน ทำให้ทุกอย่างต้องดำเนินการโดยหน่วยงานรัฐฝ่ายเดียว ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมเพื่อปกป้องชีวิตแรงงานไทยหากเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยเดิม” นายประวิทย์ กล่าว
ทั้งนี้ ส่วนค่าจ้างค้างจ่ายของแรงงานไทยในลิเบียที่เดินทางกลับมาทั้งหมด 10,754 คน ขณะนี้เหลือแรงงานที่ยังไม่ได้เงินค่าจ้าง 2,483 คน ซึ่ง กกจ.กำลังช่วยติดตามทวงถามจากบริษัทจัดหางานโดยขอให้แรงงานติดต่อไปที่บริษัทจัดหางานก่อน แต่หากติดต่อไม่ได้ก็ขอให้แจ้งมาที่ กกจ.อย่างไรก็ตาม คาดว่า การส่งแรงงานกลับไปล็อตแรก ส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานกลุ่มเดิมที่เดินทางกลับมาก่อนหน้านี้ เนื่องจากสัญญาจ้างยังไม่หมดอายุ ซึ่งแรงงานกลุ่มนี้สามารถเดินทางกลับไปทำงานได้เลยโดยไม่ต้องตรวจสอบสัญญาจ้าง แต่หากบริษัทเดิมมีโควตาเหลือและต้องส่งแรงงานใหม่เพิ่มเติม จะต้องเข้าสู่กระบวนการปกติและมารตรวจสอบสัญญาจ้างและสถานทูตจะต้องยืนยันตำแหน่งงานมาก่อน ซึ่งล่าสุดกกจ.เตรียมจะส่งทูตแรงงานไปประจำที่กรุงตริโปลี ประเทศลิเบีย จะทำให้แรงงานไทยได้รับการดูแลได้ใกล้ชิดขึ้น
“ขณะนี้ตลาดแรงงานลิเบียเปิดแล้ว และ กกจ.ได้รับแจ้งสถานทูตว่าลิเบียมีความต้องการแรงงานกว่า 1 แสนคน ส่วนใหญ่งานด้านประเภทบ่อน้ำมันและงานก่อสร้างทั่วไป ซึ่งตลาดแรงงานคู่แข่งของไทยส่วนใหญ่เป็นแรงงานจากประเทศอินเดีย บังกลาเทศ และศรีลังกาที่จะมีแรงงานเข้าไปทำงานเป็นอันดับต้นๆของตลาดลิเบีย ทั้งนี้ ขณะนี้กกจ.ได้เปิดให้บริษัทจัดหางานที่ได้รับอนุญาตให้จัดส่งสามารถแรงงานล็อตใหม่ได้” อธิบดี กกจ.กล่าว
วันนี้ (8 ก.พ.) นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ประชุมร่วมบริษัทจัดหางานที่ส่งแรงงานไทยไปประเทศลิเบีย 20 ราย โดยได้ชี้แจงถึงสถานการณ์ในประเทศลิเบีย ซึ่งได้รับการยืนยันจากสถานทูตไทยในลิเบียว่าขณะนี้สถานการณ์ได้คลี่คลายเข้าสู่ภาวะปกติและความปลอดภัยแล้ว และสามารถส่งแรงงานไทยกลับไปทำงานได้
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ บริษัทจัดหางานได้มีการทวงถามถึงการส่งแรงงานไทยกลับไปทำงานที่ลิเบีย แต่ขณะนั้นสถานการณ์ยังไม่คลี่คลาย ทำให้ กกจ.ยังไม่อนุญาตส่งแรงงานไทยกลับไปทำงาน ทั้งนี้ เมื่อได้รับการยืนยันจากสถานทูตจึงได้เชิญบริษัทจัดหางานทั้ง 20 แห่งมารับทำความเข้าใจถึงสถานการณ์ และชี้แจงถึงเกณฑ์การส่งแรงงานไทยกลับไปทำงานที่ลิเบีย ซึ่ง กกจ.ได้อนุญาตให้บริษัทจัดหางานส่งแรงงานไทยกลับไปลิเบียตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
อธิบดี กกจ.กล่าวอีกว่า สำหรับการส่งแรงงานไทยกลับไปลิเบียในครั้งนี้ ทาง กกจ.ได้เพิ่มเกณฑ์การคัดเลือกบริษัทจัดหางานโดยได้เพิ่มเติมในส่วนของการทำประกันชีวิตให้แก่แรงงาน และทำหนังสือยืนยันกลับไปทำงานที่บริษัทเดิมภายใต้สัญญาจ้างเดิมและตำแหน่งงานเดิม นอกจากนี้ จะต้องทำหนังสือยืนยันส่งตัวแรงงานไทยกลับกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่ปกติโดยบริษัทจัดหางานจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด ตลอดจนบริษัทจะต้องทำแผนอพยพแรงงานในการส่งกลับไทยให้ชัดเจน อย่างไรก็ตาม ในการส่งแรงงานกลับไปนั้นแรงงานจะต้องไปเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมอีก และห้ามไม่ให้บริษัทจัดหางานไปเรียกเก็บจากแรงงาน เนื่องจากเป็นสัญญาจ้างเดิมที่ยังไม่หมดอายุ
“จากเหตุการณ์สงครามกลางเมืองในลิเบีย การอพยพแรงงานไทยกลับมาเป็นไปอย่างยากลำบาก เนื่องจากบริษัทจัดหางานไม่มีแผนอพยพที่ชัดเจน ทำให้ทุกอย่างต้องดำเนินการโดยหน่วยงานรัฐฝ่ายเดียว ดังนั้น จึงจำเป็นต้องกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมเพื่อปกป้องชีวิตแรงงานไทยหากเกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยเดิม” นายประวิทย์ กล่าว
ทั้งนี้ ส่วนค่าจ้างค้างจ่ายของแรงงานไทยในลิเบียที่เดินทางกลับมาทั้งหมด 10,754 คน ขณะนี้เหลือแรงงานที่ยังไม่ได้เงินค่าจ้าง 2,483 คน ซึ่ง กกจ.กำลังช่วยติดตามทวงถามจากบริษัทจัดหางานโดยขอให้แรงงานติดต่อไปที่บริษัทจัดหางานก่อน แต่หากติดต่อไม่ได้ก็ขอให้แจ้งมาที่ กกจ.อย่างไรก็ตาม คาดว่า การส่งแรงงานกลับไปล็อตแรก ส่วนใหญ่จะเป็นแรงงานกลุ่มเดิมที่เดินทางกลับมาก่อนหน้านี้ เนื่องจากสัญญาจ้างยังไม่หมดอายุ ซึ่งแรงงานกลุ่มนี้สามารถเดินทางกลับไปทำงานได้เลยโดยไม่ต้องตรวจสอบสัญญาจ้าง แต่หากบริษัทเดิมมีโควตาเหลือและต้องส่งแรงงานใหม่เพิ่มเติม จะต้องเข้าสู่กระบวนการปกติและมารตรวจสอบสัญญาจ้างและสถานทูตจะต้องยืนยันตำแหน่งงานมาก่อน ซึ่งล่าสุดกกจ.เตรียมจะส่งทูตแรงงานไปประจำที่กรุงตริโปลี ประเทศลิเบีย จะทำให้แรงงานไทยได้รับการดูแลได้ใกล้ชิดขึ้น
“ขณะนี้ตลาดแรงงานลิเบียเปิดแล้ว และ กกจ.ได้รับแจ้งสถานทูตว่าลิเบียมีความต้องการแรงงานกว่า 1 แสนคน ส่วนใหญ่งานด้านประเภทบ่อน้ำมันและงานก่อสร้างทั่วไป ซึ่งตลาดแรงงานคู่แข่งของไทยส่วนใหญ่เป็นแรงงานจากประเทศอินเดีย บังกลาเทศ และศรีลังกาที่จะมีแรงงานเข้าไปทำงานเป็นอันดับต้นๆของตลาดลิเบีย ทั้งนี้ ขณะนี้กกจ.ได้เปิดให้บริษัทจัดหางานที่ได้รับอนุญาตให้จัดส่งสามารถแรงงานล็อตใหม่ได้” อธิบดี กกจ.กล่าว