กรมจัดหางาน ประสาน “บัวแก้ว” เร่งสำรวจพื้นที่ปลอดภัย ก่อนส่งแรงงานไทยไปลิเบีย หวั่นถูก “ศรีลังกา” แย่งงาน ชี้ ตรวจสอบตำแหน่งงาน-บริษัทตัวแทนได้ที่ จัดหางานจังหวัด
วันนี้ (17 ม.ค.) นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กล่าวถึงการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานที่ประเทศลิเบีย ว่า ขณะนี้ทาง กกจ.ได้ประสานไปยังกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เพื่อให้แรงงานไทยได้กลับไปทำงานที่ประเทศลิเบีย โดยเมื่อเร็วๆ นี้ กกจ.ได้ขอให้สถานทูตไทยในลิเบียช่วยสำรวจว่าพื้นที่ใดปลอดภัยที่แรงงานไทยสามารถเข้าไปทำงานได้
“กกจ.ได้ขอให้ กต.เร่งดำเนินการและแจ้งเรื่องมายัง กกจ.โดยเร็วที่สุด เนื่องจากขณะนี้ได้รับรายงาน ว่า มีแรงงานชาวศรีลังกาเข้าไปทำงานในประเทศลิเบียแล้ว จึงเกรงว่า แรงงานไทยจะถูกแย่งงาน ซึ่งงานในลิเบียส่วนใหญ่เป็นงานก่อสร้างและงานในโรงงานน้ำมัน” นายประวิทย์ กล่าว
อธิบดี กกจ.กล่าวอีกว่า ขณะนี้มีบริษัทจัดหางานหลายแห่งยื่นเรื่องขอจัดส่งแรงงานประมาณ 3,000 คน กลับไปทำงานที่ลิเบีย โดยบริษัทจัดหางานทุกแห่งจะต้องขึ้นทะเบียนกับ กกจ.รวมทั้งต้องมีเงินประกันชดเชยการถูกหลอกลวง รวมทั้งทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (เอ็มโอยู) ในเรื่องค่าใช้จ่ายในการอพยพ รวมถึงแผนในการอพยพ เนื่องจากที่ผ่านมาเงินกองทุนช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศมีไม่เพียงพอ ทำให้รัฐบาลต้องจัดงบประมาณช่วยเหลือในการอพยพ ซึ่งในช่วงกลางปีนี้ จะมีการจัดส่งอัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายแรงงานไปประจำที่ลิเบียด้วย” นายประวิทย์ กล่าว
อธิบดี กกจ.กล่าวด้วยว่า ในส่วนของผู้ที่ยังไม่เคยไปทำงานที่ลิเบียสามารถมาตรวจสอบตำแหน่งงานและสถานประกอบการในลิเบีย และบริษัทจัดหางานที่ขึ้นทะเบียนแล้วได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดโดยบริษัทหางานเก็บค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 7 หมื่นบาทตามที่กฎหมายกำหนด
วันนี้ (17 ม.ค.) นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กล่าวถึงการจัดส่งแรงงานไทยไปทำงานที่ประเทศลิเบีย ว่า ขณะนี้ทาง กกจ.ได้ประสานไปยังกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เพื่อให้แรงงานไทยได้กลับไปทำงานที่ประเทศลิเบีย โดยเมื่อเร็วๆ นี้ กกจ.ได้ขอให้สถานทูตไทยในลิเบียช่วยสำรวจว่าพื้นที่ใดปลอดภัยที่แรงงานไทยสามารถเข้าไปทำงานได้
“กกจ.ได้ขอให้ กต.เร่งดำเนินการและแจ้งเรื่องมายัง กกจ.โดยเร็วที่สุด เนื่องจากขณะนี้ได้รับรายงาน ว่า มีแรงงานชาวศรีลังกาเข้าไปทำงานในประเทศลิเบียแล้ว จึงเกรงว่า แรงงานไทยจะถูกแย่งงาน ซึ่งงานในลิเบียส่วนใหญ่เป็นงานก่อสร้างและงานในโรงงานน้ำมัน” นายประวิทย์ กล่าว
อธิบดี กกจ.กล่าวอีกว่า ขณะนี้มีบริษัทจัดหางานหลายแห่งยื่นเรื่องขอจัดส่งแรงงานประมาณ 3,000 คน กลับไปทำงานที่ลิเบีย โดยบริษัทจัดหางานทุกแห่งจะต้องขึ้นทะเบียนกับ กกจ.รวมทั้งต้องมีเงินประกันชดเชยการถูกหลอกลวง รวมทั้งทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (เอ็มโอยู) ในเรื่องค่าใช้จ่ายในการอพยพ รวมถึงแผนในการอพยพ เนื่องจากที่ผ่านมาเงินกองทุนช่วยเหลือคนหางานไปทำงานในต่างประเทศมีไม่เพียงพอ ทำให้รัฐบาลต้องจัดงบประมาณช่วยเหลือในการอพยพ ซึ่งในช่วงกลางปีนี้ จะมีการจัดส่งอัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายแรงงานไปประจำที่ลิเบียด้วย” นายประวิทย์ กล่าว
อธิบดี กกจ.กล่าวด้วยว่า ในส่วนของผู้ที่ยังไม่เคยไปทำงานที่ลิเบียสามารถมาตรวจสอบตำแหน่งงานและสถานประกอบการในลิเบีย และบริษัทจัดหางานที่ขึ้นทะเบียนแล้วได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดโดยบริษัทหางานเก็บค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 7 หมื่นบาทตามที่กฎหมายกำหนด