ครูจ้างสอน จ.สุราษฎร์ เข้า ศธ. วอนดูแลสวัสดิการให้เหมือนลูกจ้างรัฐ เปลี่ยนสถานะเป็นครูอัตราจ้างมีโอกาสปรับเงินเดือน 1.5 หมื่นบาทตามนโยบายของรัฐบาล ระบุทุกวันนี้รับเงินเดือน 6 พันมา 5 ปีแล้ว
วันนี้ (3 ก.พ.) ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นางจริยา กิจวิถี ครูจ้างสอนโรงเรียนสหกรณ์นิคม จ.สุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยนางวนิดา น้ำทอง ครูจ้างสอนโรงเรียนบ้านเชี่ยวมะปราง จ.สุราษฎร์ธานี เป็นตัวแทนครูจ้างสอน เดินทางเพื่อยื่นหนังสือถึง ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ขอให้ช่วยรับครูจ้างสอนมาเป็นครูอัตราจ้าง เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากนโยบายของรัฐบาลเรื่องการปรับเพิ่มเงินเดือน15,000 บาทให้ข้าราชการและลูกจ้างที่จบระดับปริญญาตรี
นางจริยากล่าวว่า ปัจจุบันโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวนมากที่มีงบประมาณจำกัดแต่ประสบภาวะขาดแคลนครู และแก้ปัญหาด้วยการจ้างคนในท้องถิ่นที่มีประสบการณ์การสอนมาก่อน หรือผู้ที่มีความรู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านการศึกษาแต่อาจไม่มีใบประกอบวิชาชีพครู มาเป็นครูของโรงเรียน มีสถานภาพเป็นลูกจ้างของโรงเรียนแต่ไม่ใช่ลูกจ้างรัฐ รับค่าตอบแทนเพียงเดือนละ 4,000-6,000 บาท โดยไม่มีการขึ้นค่าตอบแทน ไม่มีเงินสะสม และไม่มีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลใดๆ ทั้งสิ้น เช่น กรณีตนก็รับเงินเดือน 6,000 บาท มาตลอดตั้งแต่เริ่มเป็นลูกจ้างสอนเมื่อปี 2551 เพราะโรงเรียนก็ไม่มีเงินมาขึ้นค่าตอบแทนให้ หรือครูจ้างสอนบางคนสอนหนังสือมาไม่ต่ำกว่า 15 ปี จนปัจจุบันก็ยังสอนอยู่โดยไม่ได้รับค่าตอบแทน อย่างไรก็ตาม คาดว่าครูจ้างสอนทั่วประเทศน่าจะมีไม่ต่ำกว่า 10,000 คน เพราะโรงเรียน ส่วนใหญ่จะมีการจ้างลูกจ้างสอน ยกเว้นโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีงบประมาณมากเพียงพอจ้างครูเต็มรูปแบบ เฉพาะในพื้นที่สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา (สพป.) สุราษฎร์ธานี เขต 2 ก็มีครูจ้างสอนกว่า 100 คน
“ครูจ้างสอนทุกคนก็ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ตามจิตวิญญาณของความเป็นครูเช่นเดียวกัน และการสอนของพวกเราก็ต้องผ่านการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) แม้ว่าครูจ้างสอนจะได้ค่าตอบแทนต่ำมาก ไม่เพียงพอสำหรับการใช้ชีวิตในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันที่ข้าวของแพงมาก จนกระทั่งรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มีนโยบายเพิ่มค่าตอบแทนให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างหน่วยงานรัฐ เป็นขั้นต่ำวันละ 300 บาท หรือเดือนละ 15,000 บาท แต่ครูจ้างสอนกลับไม่ได้รับประโยชน์จากนโยบายดังกล่าว เนื่องจากครูจ้างสอนไม่มีสถานะเป็นลูกจ้างรัฐ เป็นแค่ลูกจ้างของโรงเรียน จึงต้องรับค่าคอบแทน 6,000 บาทเท่าเดิม ค่าตอบแทนของครูจ้างสอนตอนนี้น้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำของลูกจ้างเอกชน หรือกรรมกรก่อสร้างเสียอีก ทั้งที่ครูจ้างสอนก็เป็นครู ทำหน้าที่สร้างเด็กและเยาวชนให้เป็นอนาคตของประเทศ”นางจริยากล่าว
นางจริยากล่าวต่อว่า เพราะฉะนั้นจึงอยากเรียกร้องให้ ศธ.ตั้งกรรมการศึกษาปัญหาและกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาครูจ้างสอน เพื่อให้ครูจ้างสอนได้เปลี่ยนสถาบันเป็นลูกจ้างรัฐ ครูจ้างสอนจะได้มีโอกาสเข้าถึงสิทธิประโยชน์ตามนโยบายของรัฐบาลด้วย และอยากให้ ศธ.เปิดรับครูจ้างสอนเป็นครูอัตราจ้างแทน เพราะครูอัตราจ้างมีฐานะเป็นลูกจ้างรัฐ ซึ่งในครั้งนี้ครูอัตราจ้างก็ได้ปรับเงินเดือนเพิ่มเป็น 15,000 บาท
ตามนโยบายรัฐเช่นกัน จากเดิมที่ครูอัตราจ้างเคยรับเงินเดือนประมาณ 8,000 สูสีกับครูจ้างสอน อย่างไรก็ตาม โรงเรียนส่วนใหญ่ไม่สามารถเปิดรับครูอัตราจ้างได้ เพราะไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกระทรวง จึงอยากให้กระทรวงเพิ่มงบประมาณจ้างครูอัตราจ้างให้โรงเรียนแล้วเปิดให้ครูจ้างสอนเปลี่ยนฐานะเป็นครูอัตราจ้างได้ โดยดูแลผลงาน ประสบการณ์สอนที่ผ่านมา
วันนี้ (3 ก.พ.) ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) นางจริยา กิจวิถี ครูจ้างสอนโรงเรียนสหกรณ์นิคม จ.สุราษฎร์ธานี พร้อมด้วยนางวนิดา น้ำทอง ครูจ้างสอนโรงเรียนบ้านเชี่ยวมะปราง จ.สุราษฎร์ธานี เป็นตัวแทนครูจ้างสอน เดินทางเพื่อยื่นหนังสือถึง ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) และนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ขอให้ช่วยรับครูจ้างสอนมาเป็นครูอัตราจ้าง เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากนโยบายของรัฐบาลเรื่องการปรับเพิ่มเงินเดือน15,000 บาทให้ข้าราชการและลูกจ้างที่จบระดับปริญญาตรี
นางจริยากล่าวว่า ปัจจุบันโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวนมากที่มีงบประมาณจำกัดแต่ประสบภาวะขาดแคลนครู และแก้ปัญหาด้วยการจ้างคนในท้องถิ่นที่มีประสบการณ์การสอนมาก่อน หรือผู้ที่มีความรู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านการศึกษาแต่อาจไม่มีใบประกอบวิชาชีพครู มาเป็นครูของโรงเรียน มีสถานภาพเป็นลูกจ้างของโรงเรียนแต่ไม่ใช่ลูกจ้างรัฐ รับค่าตอบแทนเพียงเดือนละ 4,000-6,000 บาท โดยไม่มีการขึ้นค่าตอบแทน ไม่มีเงินสะสม และไม่มีสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลใดๆ ทั้งสิ้น เช่น กรณีตนก็รับเงินเดือน 6,000 บาท มาตลอดตั้งแต่เริ่มเป็นลูกจ้างสอนเมื่อปี 2551 เพราะโรงเรียนก็ไม่มีเงินมาขึ้นค่าตอบแทนให้ หรือครูจ้างสอนบางคนสอนหนังสือมาไม่ต่ำกว่า 15 ปี จนปัจจุบันก็ยังสอนอยู่โดยไม่ได้รับค่าตอบแทน อย่างไรก็ตาม คาดว่าครูจ้างสอนทั่วประเทศน่าจะมีไม่ต่ำกว่า 10,000 คน เพราะโรงเรียน ส่วนใหญ่จะมีการจ้างลูกจ้างสอน ยกเว้นโรงเรียนขนาดใหญ่ที่มีงบประมาณมากเพียงพอจ้างครูเต็มรูปแบบ เฉพาะในพื้นที่สำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษา (สพป.) สุราษฎร์ธานี เขต 2 ก็มีครูจ้างสอนกว่า 100 คน
“ครูจ้างสอนทุกคนก็ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ตามจิตวิญญาณของความเป็นครูเช่นเดียวกัน และการสอนของพวกเราก็ต้องผ่านการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) แม้ว่าครูจ้างสอนจะได้ค่าตอบแทนต่ำมาก ไม่เพียงพอสำหรับการใช้ชีวิตในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันที่ข้าวของแพงมาก จนกระทั่งรัฐบาลยิ่งลักษณ์ มีนโยบายเพิ่มค่าตอบแทนให้แก่ข้าราชการและลูกจ้างหน่วยงานรัฐ เป็นขั้นต่ำวันละ 300 บาท หรือเดือนละ 15,000 บาท แต่ครูจ้างสอนกลับไม่ได้รับประโยชน์จากนโยบายดังกล่าว เนื่องจากครูจ้างสอนไม่มีสถานะเป็นลูกจ้างรัฐ เป็นแค่ลูกจ้างของโรงเรียน จึงต้องรับค่าคอบแทน 6,000 บาทเท่าเดิม ค่าตอบแทนของครูจ้างสอนตอนนี้น้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำของลูกจ้างเอกชน หรือกรรมกรก่อสร้างเสียอีก ทั้งที่ครูจ้างสอนก็เป็นครู ทำหน้าที่สร้างเด็กและเยาวชนให้เป็นอนาคตของประเทศ”นางจริยากล่าว
นางจริยากล่าวต่อว่า เพราะฉะนั้นจึงอยากเรียกร้องให้ ศธ.ตั้งกรรมการศึกษาปัญหาและกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาครูจ้างสอน เพื่อให้ครูจ้างสอนได้เปลี่ยนสถาบันเป็นลูกจ้างรัฐ ครูจ้างสอนจะได้มีโอกาสเข้าถึงสิทธิประโยชน์ตามนโยบายของรัฐบาลด้วย และอยากให้ ศธ.เปิดรับครูจ้างสอนเป็นครูอัตราจ้างแทน เพราะครูอัตราจ้างมีฐานะเป็นลูกจ้างรัฐ ซึ่งในครั้งนี้ครูอัตราจ้างก็ได้ปรับเงินเดือนเพิ่มเป็น 15,000 บาท
ตามนโยบายรัฐเช่นกัน จากเดิมที่ครูอัตราจ้างเคยรับเงินเดือนประมาณ 8,000 สูสีกับครูจ้างสอน อย่างไรก็ตาม โรงเรียนส่วนใหญ่ไม่สามารถเปิดรับครูอัตราจ้างได้ เพราะไม่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกระทรวง จึงอยากให้กระทรวงเพิ่มงบประมาณจ้างครูอัตราจ้างให้โรงเรียนแล้วเปิดให้ครูจ้างสอนเปลี่ยนฐานะเป็นครูอัตราจ้างได้ โดยดูแลผลงาน ประสบการณ์สอนที่ผ่านมา