ครม.เคาะปรับโครงสร้างเงินเดือน ป.ตรี 1.1 หมื่นบ./ด.บวกค่าครองชีพ ครบ.1.5 หมื่นบ.สั่ง ก.พ.-สำนักงบฯ ศึกษาทยอยปรับทั้งระบบ ป.ตรี 1.5 หมื่นบ.ภายใน 2 ปี เบื้องต้นปี 56 ปรับ 1.3 หมื่นบ.ปี 57 ขยับถึง 1.5 หมื่นบ.หลังจากนั้น เลิกอัดฉีดค่าครองชีพ ย้ำค่าแรงขั้นต่ำ 300 บ.เดือน เม.ย.ได้ชัวร์ ไม่เลื่อน
วันนี้ (31 ม.ค.) น.ส.อนุตตมา อมรวิวัฒน์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบการปรับปรุงค่าตอบแทนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยการปรับเงินเดือนแรกบรรจุและปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบตามเป้าหมายของรัฐบาล คือ ปริญญาตรี 15,000 บาท โดยปรับขึ้นโครงสร้างเงินเดือนจาก 9,690 บาท เป็น 11,680 บาทต่อเดือน รวมเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวอีก 3,320 บาทต่อเดือน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2555
ทั้งนี้ ในการดำเนินการดังกล่าวใช้งบประมาณ ปี 2555 เพิ่มขึ้น 5.6 พันล้านบาท เพื่อดำเนินการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุและปรับเงินเดือนชดเชยให้ครอบคลุม กลุ่มเป้าหมายที่รับราชการในตำแหน่งระดับแรกบรรุจแล้วอย่างน้อย 10 ปี ก่อนวันที่อัตราเงินเดือนแรกบรรจุตามวุฒิใหม่
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าที่ประชุม ครม.ได้พิจารณาเรื่องการปรับเงินเดือนข้าราชการและพนักงานราชการ 15,000 บาท โดยได้เชิญนายนนทิกร กาญจนะจิตรา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เข้าชี้แจง ซึ่ง ครม.ต้องการให้มีการสื่อสารในแนวทางเดียวกัน คือ ข้าราชการ พนักงานข้าราชการ วุฒิปริญญาตรี ได้รับรายได้ 15,000 บาทต่อเดือน มีผลย้อนหลังตั้งแต่ 1 ม.ค.55 ที่ผ่านมา ส่วนการปรับในส่วนอื่นจะเข้าที่ประชุม ครม.ในสัปดาห์หน้า
รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ประเด็นนี้ในที่ประชุมได้ใช้เวลาในการหารือเป็นเวลานานมาก เนื่องจากทุกคนต้องการความเสมอภาคกัน ซึ่งเลขาธิการ ก.พ.อธิบายว่า การปรับฐานเงินเดือนจะส่งผลกระทบกับทุกฝ่าย แต่ไม่ได้หมายความว่า รัฐบาลนี้คิดนโยบายนี้เพื่อให้เกิดความแตกแยกในองค์กร ข้าราชการ แต่รัฐบาลออกนโยบายนี้เพื่อยกระดับค่าครองชีพ เพราะคนที่มีเงินเดือนไม่ถึง 15,000 บาท จะดำเนินชีวิตประจำวันได้ยาก ส่วนกรณีคนที่มีรายได้ 18,000 บาทต่อเดือน ก็จะมีการปรับ แต่เปอร์เซ็นต์อาจจะไม่เท่ากัน
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ เลขาธิการ ก.พ.ได้ประชุมร่วมกับกระทรวงการคลัง และได้เสนอสูตรการปรับฐานเงินเดือนมา 3 สูตร ประกอบด้วย สูตรที่หนึ่งใช้ระยะเวลา 1 ปี สูตรที่สองใช้ระยะเวลา 2 ปี และสูตรที่สามใช้ระยะเวลา 3 ปี ซึ่งกระทรวงการคลัง ใช้สูตรที่สอง แต่ได้ให้ ก.พ.ไปปรึกษาร่วมกับกระทรวงการคลังใหม่ เพราะเห็นว่า 2 ปีอาจจะไม่ทัน และจะมีการเพิ่มภาระงบประมาณ จึงอาจจะมีการขยายเพิ่มเป็น 3 ปี ซึ่งจะมีการนำเข้าที่ประชุม ครม.อีกครั้งในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้ นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ค้านเรื่องการปรับฐานเงินเดือน ว่า หากการปรับฐานเงินเดือนให้กับผู้ที่มีวุฒิ ปวช.และวุฒิ ปวส.ไม่เยอะ จะเท่ากับว่าส่งเสริมให้คนไม่เรียน ปวช.และ ปวส.เรียนแต่ปริญญาตรี จะทำให้เราขาดโอกาสในการเพิ่มสายอาชีพ
นายอนุสรณ์ กล่าวว่า ในส่วนการค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาทของพนักงาน ลูกจ้างเอกชนนั้น เราเตรียมการจะปรับขึ้นตั้งแต่ 1 ม.ค.55 แต่เนื่องจากเงินเป็นคนละก้อนกัน เนื่องจากเงินที่ปรับให้กับข้าราชการนั้นเป็นเงินของรัฐ แต่เงินที่จะปรับให้กับลูกจ้างนั้นเป็นเงินของผู้ประกอบการ ซึ่งทางผู้ประกอบการก็ขอความเห็นใจมาที่กระทรวงแรงงาน ว่า ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท ยังขึ้นให้ไม่ได้ เนื่องจากประสบภาวะวิกฤตอุทกภัยน้ำท่วม ซึ่งจะขอเลื่อนให้มีผลในวันที่ 1 เม.ย.55
ด้าน นายนนทิกร กล่าวว่า การปรับโครงสร้างเงินเดือนในปีถัดไป ที่ประชุม ครม.ให้ไปหารือกับสำนักงบประมาณในการปรับโครงสร้างเงินเดือนจาก 11,680 บาท เป็น 15,000 บาทต่อเดือน โดยเบื้องต้น ครม.เห็นว่ามีระยะห่างก้าวกระโดดเกินไป จึงใช้วิธีทยอยปรับภายใน 2 ปี คือ ปี 2556 ปริญญาตรีปรับขึ้นเป็น 13,000 บาทและปี 2557 ปรับขึ้นเป็น 15,000 บาท จากนั้นจะไม่มีเงินส่วนเพิ่มที่เป็นเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวอีกต่อไป ทั้งหมดจะอยู่ในบัญชีเงินเดือน
ทั้งนี้ ที่ประชุม ครม.เห็นชอบการปรับค่าตอบแทนพนักงานราชการเป็นเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวให้ ครอบคลุมพนักงานสัญญาจ้างภาครัฐที่มีสัญญาจ้าง 4 ปีต่อครั้ง ประมาณแสนกว่าคน โดยที่ประชุม ครม.อนุมัติตามที่คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ (คพร.) เสนอขอจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติ่ม 1,395 ล้านบาท ปี 2555 รวมเป็นงบประมาณ 4,837 ล้านบาท สำหรับอัตราแรกบรรจุใหม่ปริญญาตรีได้รับ 14,020 บาทต่อเดือน ปริญญาโท 18,360 บาทต่อเดือน และปริญญาเอก 22,800 บาทต่อเดือน
วันนี้ (31 ม.ค.) น.ส.อนุตตมา อมรวิวัฒน์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบการปรับปรุงค่าตอบแทนข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยการปรับเงินเดือนแรกบรรจุและปรับเงินเดือนชดเชยผู้ได้รับผลกระทบตามเป้าหมายของรัฐบาล คือ ปริญญาตรี 15,000 บาท โดยปรับขึ้นโครงสร้างเงินเดือนจาก 9,690 บาท เป็น 11,680 บาทต่อเดือน รวมเงินเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวอีก 3,320 บาทต่อเดือน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2555
ทั้งนี้ ในการดำเนินการดังกล่าวใช้งบประมาณ ปี 2555 เพิ่มขึ้น 5.6 พันล้านบาท เพื่อดำเนินการปรับอัตราเงินเดือนแรกบรรจุและปรับเงินเดือนชดเชยให้ครอบคลุม กลุ่มเป้าหมายที่รับราชการในตำแหน่งระดับแรกบรรุจแล้วอย่างน้อย 10 ปี ก่อนวันที่อัตราเงินเดือนแรกบรรจุตามวุฒิใหม่
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าที่ประชุม ครม.ได้พิจารณาเรื่องการปรับเงินเดือนข้าราชการและพนักงานราชการ 15,000 บาท โดยได้เชิญนายนนทิกร กาญจนะจิตรา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เข้าชี้แจง ซึ่ง ครม.ต้องการให้มีการสื่อสารในแนวทางเดียวกัน คือ ข้าราชการ พนักงานข้าราชการ วุฒิปริญญาตรี ได้รับรายได้ 15,000 บาทต่อเดือน มีผลย้อนหลังตั้งแต่ 1 ม.ค.55 ที่ผ่านมา ส่วนการปรับในส่วนอื่นจะเข้าที่ประชุม ครม.ในสัปดาห์หน้า
รองโฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้ ประเด็นนี้ในที่ประชุมได้ใช้เวลาในการหารือเป็นเวลานานมาก เนื่องจากทุกคนต้องการความเสมอภาคกัน ซึ่งเลขาธิการ ก.พ.อธิบายว่า การปรับฐานเงินเดือนจะส่งผลกระทบกับทุกฝ่าย แต่ไม่ได้หมายความว่า รัฐบาลนี้คิดนโยบายนี้เพื่อให้เกิดความแตกแยกในองค์กร ข้าราชการ แต่รัฐบาลออกนโยบายนี้เพื่อยกระดับค่าครองชีพ เพราะคนที่มีเงินเดือนไม่ถึง 15,000 บาท จะดำเนินชีวิตประจำวันได้ยาก ส่วนกรณีคนที่มีรายได้ 18,000 บาทต่อเดือน ก็จะมีการปรับ แต่เปอร์เซ็นต์อาจจะไม่เท่ากัน
ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ เลขาธิการ ก.พ.ได้ประชุมร่วมกับกระทรวงการคลัง และได้เสนอสูตรการปรับฐานเงินเดือนมา 3 สูตร ประกอบด้วย สูตรที่หนึ่งใช้ระยะเวลา 1 ปี สูตรที่สองใช้ระยะเวลา 2 ปี และสูตรที่สามใช้ระยะเวลา 3 ปี ซึ่งกระทรวงการคลัง ใช้สูตรที่สอง แต่ได้ให้ ก.พ.ไปปรึกษาร่วมกับกระทรวงการคลังใหม่ เพราะเห็นว่า 2 ปีอาจจะไม่ทัน และจะมีการเพิ่มภาระงบประมาณ จึงอาจจะมีการขยายเพิ่มเป็น 3 ปี ซึ่งจะมีการนำเข้าที่ประชุม ครม.อีกครั้งในสัปดาห์หน้า ทั้งนี้ นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้ค้านเรื่องการปรับฐานเงินเดือน ว่า หากการปรับฐานเงินเดือนให้กับผู้ที่มีวุฒิ ปวช.และวุฒิ ปวส.ไม่เยอะ จะเท่ากับว่าส่งเสริมให้คนไม่เรียน ปวช.และ ปวส.เรียนแต่ปริญญาตรี จะทำให้เราขาดโอกาสในการเพิ่มสายอาชีพ
นายอนุสรณ์ กล่าวว่า ในส่วนการค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาทของพนักงาน ลูกจ้างเอกชนนั้น เราเตรียมการจะปรับขึ้นตั้งแต่ 1 ม.ค.55 แต่เนื่องจากเงินเป็นคนละก้อนกัน เนื่องจากเงินที่ปรับให้กับข้าราชการนั้นเป็นเงินของรัฐ แต่เงินที่จะปรับให้กับลูกจ้างนั้นเป็นเงินของผู้ประกอบการ ซึ่งทางผู้ประกอบการก็ขอความเห็นใจมาที่กระทรวงแรงงาน ว่า ค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาท ยังขึ้นให้ไม่ได้ เนื่องจากประสบภาวะวิกฤตอุทกภัยน้ำท่วม ซึ่งจะขอเลื่อนให้มีผลในวันที่ 1 เม.ย.55
ด้าน นายนนทิกร กล่าวว่า การปรับโครงสร้างเงินเดือนในปีถัดไป ที่ประชุม ครม.ให้ไปหารือกับสำนักงบประมาณในการปรับโครงสร้างเงินเดือนจาก 11,680 บาท เป็น 15,000 บาทต่อเดือน โดยเบื้องต้น ครม.เห็นว่ามีระยะห่างก้าวกระโดดเกินไป จึงใช้วิธีทยอยปรับภายใน 2 ปี คือ ปี 2556 ปริญญาตรีปรับขึ้นเป็น 13,000 บาทและปี 2557 ปรับขึ้นเป็น 15,000 บาท จากนั้นจะไม่มีเงินส่วนเพิ่มที่เป็นเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวอีกต่อไป ทั้งหมดจะอยู่ในบัญชีเงินเดือน
ทั้งนี้ ที่ประชุม ครม.เห็นชอบการปรับค่าตอบแทนพนักงานราชการเป็นเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวให้ ครอบคลุมพนักงานสัญญาจ้างภาครัฐที่มีสัญญาจ้าง 4 ปีต่อครั้ง ประมาณแสนกว่าคน โดยที่ประชุม ครม.อนุมัติตามที่คณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ (คพร.) เสนอขอจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติ่ม 1,395 ล้านบาท ปี 2555 รวมเป็นงบประมาณ 4,837 ล้านบาท สำหรับอัตราแรกบรรจุใหม่ปริญญาตรีได้รับ 14,020 บาทต่อเดือน ปริญญาโท 18,360 บาทต่อเดือน และปริญญาเอก 22,800 บาทต่อเดือน