ศธ.เร่งทำรายละเอียดสรุปจำนวนครู ทั้งกลุ่มข้าราชการ และกลุ่มที่ขึ้นกับเอกชน เพื่อปรับโครงสร้างเงินเดือน 1.5 หมื่นตามมติ ครม.ปลัด ศธ.เผย จะพยายามดำเนินการให้เสร็จภายในเดือน ก.พ.นี้
น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบปรับโครงสร้างเงินเดือนข้าราชการทั้งระบบ ปริญญาตรีขั้นต่ำ 15,000 บาท นั้น ในส่วนของข้าราชการครูของ ศธ.นั้น แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มข้าราชการ และกลุ่มที่ขึ้นกับเอกชน โดยในกลุ่มของข้าราชการก็จะแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ยังไม่ได้เข้ามาเป็นข้าราชการ แต่กำลังจะเข้ามาทำงาน ซึ่งแต่ละปีจะมีประมาณ 10,000 คน โดยในส่วนผู้ที่จบปริญญาตรี ได้เสนอ ครม.ได้พิจารณา 2 แบบ คือ เข้ามาเป็นข้าราชการใหม่รับเงินเดือน 15,000 บาทเลยทันที หรือจ่ายขั้นต่ำ 13,000 บาท บวกกับเงินเพิ่มพิเศษ แต่รวมแล้วได้ 15,000 บาท ส่วนปีหน้าจะมีการปรับเป็นฐาน 15,000 บาททั้งหมด อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้คงต้องรอความชัดเจนจาก ครม.ว่าจะตัดสินใจอย่างไร
ส่วนอีกกลุ่มทำงานกันอยู่แล้ว แต่ข้อมูลที่มีขณะนี้ยังไม่ครบ มีเพียงข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่สามารถแยกย่อยออกไปได้อีกหลายกลุ่ม คือ กลุ่มที่จบปริญญาตรี เรียน 4 ปี มีจำนวน 45,000 คน กลุ่มเรียนปริญญาตรี 5 ปี มีจำนวน 9,800 คน กลุ่มปริญญาโท มีจำนวน 7,600 คน และกลุ่มปริญญาเอก มีจำนวน 26 คน รวมทั้งหมด 63,000 คน ดังนั้น จึงยังต้องรอข้อมูลจากหน่วยงานอื่นที่ยังไม่ได้ส่งข้อมูลมา ทั้งในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) สถาบันการพลศึกษา วิทยาลัยชุมชน และสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โดยตนจะนัดประชุมเพื่อติดตามข้อมูลส่วนนี้ในสัปดาห์หน้า และจะต้องดำเนินการเรื่องนี้ให้แล้วเสร็จทั้งหมดภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ เพราะหากล่าช้าไปกว่านี้ก็จะส่งผลกระทบต่อการปรับขึ้นเงินเดือน ซึ่งปกติจะต้องได้รับการการพิจารณาปรับเงินเดือนตั้งแต่เดือนมกราคมแล้ว
ปลัด ศธ.กล่าวต่อว่า การพิจารณาในเรื่องที่เกี่ยวกับเงินเดือนนี้จำเป็นต้องผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) วิสามัญเกี่ยวกับการพัฒนานโยบายและการบริหารงานบุคคล รวมถึงคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ก่อน ดังนั้น จะต้องมีการเตรียมข้อมูลต่างๆ ไว้ให้พร้อม ขณะเดียวกันจะมีการหยิบยกเรื่องการเลื่อนไหลอัตราเงินเดือนของข้าราชการชำนาญการ หรือเทียบเท่าระดับ ค.ศ.2 ให้คณะกรรมการ ก.ค.ศ.ได้พิจารณาด้วย เพราะจากข้อมูลข้าราชการกลุ่มนี้เฉพาะที่อยู่ในสังกัด สพฐ.ก็มีมากถึง 250,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เงินเดือนเต็มเพดานกันแล้ว
“สำหรับกลุ่มบุคลากรที่ขึ้นกับเอกชนนั้น มีจำนวนประมาณ 65,000 คน ปกติจะได้รับเงินเดือนจากโรงเรียนเอกชนส่วนหนึ่ง และผ่านเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียนที่รัฐบาลจัดสรรให้อีกส่วนหนึ่ง ดังนั้นหากจะเพิ่มเงินเดือนให้กับครูเอกชนตรงนี้ยังไม่มีความชัดเจนจากรัฐบาลว่าจะเป็นผู้สนับสนุนเงินส่วนต่างนี้เองทั้งหมด หรือจะให้ทางโรงเรียนเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย ดังนั้น จึงต้องมีการเสนอให้คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) พิจารณาก่อนในวันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์นี้ หากมีมติที่จะให้รัฐสนับสนุนรัฐก็จะต้องดูแลด้วยการเพิ่มเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัวให้กับนักเรียนเอกชน โดยขณะนี้รัฐสนับสนุนอยู่นี้ 5% แต่หากจะให้ครอบคลุมทั้งหมดจะต้องอยู่ที่ 30%” น.ส.ศศิธารา กล่าว
น.ส.ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบปรับโครงสร้างเงินเดือนข้าราชการทั้งระบบ ปริญญาตรีขั้นต่ำ 15,000 บาท นั้น ในส่วนของข้าราชการครูของ ศธ.นั้น แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มข้าราชการ และกลุ่มที่ขึ้นกับเอกชน โดยในกลุ่มของข้าราชการก็จะแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ยังไม่ได้เข้ามาเป็นข้าราชการ แต่กำลังจะเข้ามาทำงาน ซึ่งแต่ละปีจะมีประมาณ 10,000 คน โดยในส่วนผู้ที่จบปริญญาตรี ได้เสนอ ครม.ได้พิจารณา 2 แบบ คือ เข้ามาเป็นข้าราชการใหม่รับเงินเดือน 15,000 บาทเลยทันที หรือจ่ายขั้นต่ำ 13,000 บาท บวกกับเงินเพิ่มพิเศษ แต่รวมแล้วได้ 15,000 บาท ส่วนปีหน้าจะมีการปรับเป็นฐาน 15,000 บาททั้งหมด อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้คงต้องรอความชัดเจนจาก ครม.ว่าจะตัดสินใจอย่างไร
ส่วนอีกกลุ่มทำงานกันอยู่แล้ว แต่ข้อมูลที่มีขณะนี้ยังไม่ครบ มีเพียงข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่สามารถแยกย่อยออกไปได้อีกหลายกลุ่ม คือ กลุ่มที่จบปริญญาตรี เรียน 4 ปี มีจำนวน 45,000 คน กลุ่มเรียนปริญญาตรี 5 ปี มีจำนวน 9,800 คน กลุ่มปริญญาโท มีจำนวน 7,600 คน และกลุ่มปริญญาเอก มีจำนวน 26 คน รวมทั้งหมด 63,000 คน ดังนั้น จึงยังต้องรอข้อมูลจากหน่วยงานอื่นที่ยังไม่ได้ส่งข้อมูลมา ทั้งในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) สถาบันการพลศึกษา วิทยาลัยชุมชน และสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ โดยตนจะนัดประชุมเพื่อติดตามข้อมูลส่วนนี้ในสัปดาห์หน้า และจะต้องดำเนินการเรื่องนี้ให้แล้วเสร็จทั้งหมดภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ เพราะหากล่าช้าไปกว่านี้ก็จะส่งผลกระทบต่อการปรับขึ้นเงินเดือน ซึ่งปกติจะต้องได้รับการการพิจารณาปรับเงินเดือนตั้งแต่เดือนมกราคมแล้ว
ปลัด ศธ.กล่าวต่อว่า การพิจารณาในเรื่องที่เกี่ยวกับเงินเดือนนี้จำเป็นต้องผ่านการพิจารณาของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) วิสามัญเกี่ยวกับการพัฒนานโยบายและการบริหารงานบุคคล รวมถึงคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) ก่อน ดังนั้น จะต้องมีการเตรียมข้อมูลต่างๆ ไว้ให้พร้อม ขณะเดียวกันจะมีการหยิบยกเรื่องการเลื่อนไหลอัตราเงินเดือนของข้าราชการชำนาญการ หรือเทียบเท่าระดับ ค.ศ.2 ให้คณะกรรมการ ก.ค.ศ.ได้พิจารณาด้วย เพราะจากข้อมูลข้าราชการกลุ่มนี้เฉพาะที่อยู่ในสังกัด สพฐ.ก็มีมากถึง 250,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เงินเดือนเต็มเพดานกันแล้ว
“สำหรับกลุ่มบุคลากรที่ขึ้นกับเอกชนนั้น มีจำนวนประมาณ 65,000 คน ปกติจะได้รับเงินเดือนจากโรงเรียนเอกชนส่วนหนึ่ง และผ่านเงินอุดหนุนรายหัวนักเรียนที่รัฐบาลจัดสรรให้อีกส่วนหนึ่ง ดังนั้นหากจะเพิ่มเงินเดือนให้กับครูเอกชนตรงนี้ยังไม่มีความชัดเจนจากรัฐบาลว่าจะเป็นผู้สนับสนุนเงินส่วนต่างนี้เองทั้งหมด หรือจะให้ทางโรงเรียนเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย ดังนั้น จึงต้องมีการเสนอให้คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) พิจารณาก่อนในวันจันทร์ที่ 6 กุมภาพันธ์นี้ หากมีมติที่จะให้รัฐสนับสนุนรัฐก็จะต้องดูแลด้วยการเพิ่มเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายรายหัวให้กับนักเรียนเอกชน โดยขณะนี้รัฐสนับสนุนอยู่นี้ 5% แต่หากจะให้ครอบคลุมทั้งหมดจะต้องอยู่ที่ 30%” น.ส.ศศิธารา กล่าว