คลังยืนยันปรับค่าครองชีพข้าราชการปริญญาตรี 1.5 หมื่นบาทต่อเดือนสิ้นมกราคมนี้แน่นอน "วิรุฬ" ระบุไม่ต้องรอแผนปรับโครงสร้างเงินเดือนของก.พ.ที่ยังไม่เข้าครม. พร้อมจี้หน่วยงานราชการเสนอเรื่องเข้ามาหลังพบมีเพียง 3 หน่วยงานที่ขอตั้งเบิกเงิน
นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รมช.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังยืนยันปรับเงินค่าครองชีพให้ข้าราชการระดับปริญญาตรีขึ้นไปที่เดือนละ 15,000 บาทและวุฒิการศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาตรีและต่ำกว่า 9,000 บาทให้ขึ้นไปอยู่ที่ 9,000 บาท ได้ตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมนี้ โดยไม่ต้องรอการปรับฐานเงินเดือนของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ( ก.พ. )
โดยในขณะนี้มี 3 หน่วยงานคือ กรมชลประทาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(มศว.) เท่านั้น ที่ตั้งเรื่องขอเบิกจ่ายเงินเข้ามาแล้ว ส่วนหน่วยงานอื่นๆ ที่ยังเสนอเรื่องมาไม่ทันเดือนมกราคมนี้กรมบัญชีกลางจะจ่ายเงินตกเบิกย้อนหลังให้ถึงเดือนมกราคม จึงขอให้ส่วนราการทำเรื่องเสนอเข้ามา ส่วนเงินที่ต้องจ่ายเพิ่มกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท นั้นไม่เป็นปัญหามีเตรียมพร้อมไว้อยู่แล้ว
"การปรับเพิ่มรายได้หรือค่าครองชีพให้ข้าราชการระดับปริญญาตรีเดือนละ 1.5 หมื่นบาทถือเป็นนโยบายที่รัฐบาลประกาศไว้และต้องดำเนินการไปตามที่กำหนดไว้เดือนเริ่ม 1 มกราคม 2555 แม้ว่าการปรับโครงสร้างเงินเดือนของก.พ.จะยังไม่ได้เสนอเข้าสู่การพิจารณาอนุมัติของคณะรัฐมนตรี(ครม.) แต่ยืนยันว่าสิ้นเดือนนี้ข้าราชการวุฒิปริญญาตรีจะมีรายได้ขั้นต่ำที่ 1.5 หมื่นบาทต่อเดือนอย่างแน่นอน ”นายวิรุฬ กล่าวและว่าจากกระแสข่าวที่ออกไปทำให้มีข้าราชการโทรเข้าสอบถามข้อมูลเป็นจำนวนมาก "
ส่วนการปรับโครงสร้างอัตราเงินเดือนแรกบรรจุขั้นต่ำของทุกวุฒิการศึกษาทั้งตรี โท เอก ของก.พ.ที่ยังได้เข้าครม.สัปดาห์นี้เพราะบรรจุวาระไม่ทันนั้น คาดว่าจะเสนอเข้าครม.ได้ในสัปดาห์หน้าและมีผลย้อนหลังถึงวันที่ 1 มกราคมเช่นกัน ส่วนที่มีข่าว่านายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและรมว.คลังจะขอทบทวนเรื่องการปรับโครงสร้างเงินเดือนใหม่จากดำเนินการภายใน 2 ปีเป็น 1 ปีนั้นยังไม่ทราบและยังไม่ได้มีการหารือกัน อีกทั้งถือเป็นความรับผิดชอบของทางก.พ.
ทั้งนี้ การปรับโครงสร้างอัตราเงินเดือนแรกเข้าทั้งระดับ ปวช. ปวส. ปริญญาตรี โท เอก นั้นต้องทำแบค่อยเป็นค่อยไป ในการจะเปลี่ยนจากรายได้ค่าครองชีพเป็นตัวเงินเดือน โดยปีแรกน่าจะใช้เงินประมาณ 6-8 พันล้านบาท ขณะที่ของกรมบัญชีกลางที่ปรับเพิ่มค่าครองชีพให้ปีนี้ใช้เงินประมาณ 1.28 หมื่นล้านบาท ส่วนปีที่ 2 ก.พ.น่าจะใช้ประมาณหมื่นกว่าล้านบาท โดยปีแรกเงินเดือนของปริญญาตรีจะอยู่ที่ 11,680-12,390 บาท ปีที่ 2 จึงปรับเพิ่มเป็น 15,000-16,500 บาท ซึ่งหากเงินเดือนเพิ่มค่าครองชีพก็จะลดลงในอัตราที่เท่ากัน ส่วนปริญญาโท ปีแรกปรับมาอยู่ที่ 15,300-16,220 บาท ปีที่ 2 ปรับมาอยู่ที่ 17,500-19,250 บาท ระดับปริญญาเอกปีแรกปรับมาอยู่ที่ 19,00-20,140 บาท ปีที่ 2 ปรับมาอยู่ที่ 21,000-23,100 บาทซึ่งจะใช้เป็นฐานเงินเดือนแรกบรรจุขั้นต่ำต่อไป
นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รมช.คลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังยืนยันปรับเงินค่าครองชีพให้ข้าราชการระดับปริญญาตรีขึ้นไปที่เดือนละ 15,000 บาทและวุฒิการศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาตรีและต่ำกว่า 9,000 บาทให้ขึ้นไปอยู่ที่ 9,000 บาท ได้ตั้งแต่ปลายเดือนมกราคมนี้ โดยไม่ต้องรอการปรับฐานเงินเดือนของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ( ก.พ. )
โดยในขณะนี้มี 3 หน่วยงานคือ กรมชลประทาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ(มศว.) เท่านั้น ที่ตั้งเรื่องขอเบิกจ่ายเงินเข้ามาแล้ว ส่วนหน่วยงานอื่นๆ ที่ยังเสนอเรื่องมาไม่ทันเดือนมกราคมนี้กรมบัญชีกลางจะจ่ายเงินตกเบิกย้อนหลังให้ถึงเดือนมกราคม จึงขอให้ส่วนราการทำเรื่องเสนอเข้ามา ส่วนเงินที่ต้องจ่ายเพิ่มกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท นั้นไม่เป็นปัญหามีเตรียมพร้อมไว้อยู่แล้ว
"การปรับเพิ่มรายได้หรือค่าครองชีพให้ข้าราชการระดับปริญญาตรีเดือนละ 1.5 หมื่นบาทถือเป็นนโยบายที่รัฐบาลประกาศไว้และต้องดำเนินการไปตามที่กำหนดไว้เดือนเริ่ม 1 มกราคม 2555 แม้ว่าการปรับโครงสร้างเงินเดือนของก.พ.จะยังไม่ได้เสนอเข้าสู่การพิจารณาอนุมัติของคณะรัฐมนตรี(ครม.) แต่ยืนยันว่าสิ้นเดือนนี้ข้าราชการวุฒิปริญญาตรีจะมีรายได้ขั้นต่ำที่ 1.5 หมื่นบาทต่อเดือนอย่างแน่นอน ”นายวิรุฬ กล่าวและว่าจากกระแสข่าวที่ออกไปทำให้มีข้าราชการโทรเข้าสอบถามข้อมูลเป็นจำนวนมาก "
ส่วนการปรับโครงสร้างอัตราเงินเดือนแรกบรรจุขั้นต่ำของทุกวุฒิการศึกษาทั้งตรี โท เอก ของก.พ.ที่ยังได้เข้าครม.สัปดาห์นี้เพราะบรรจุวาระไม่ทันนั้น คาดว่าจะเสนอเข้าครม.ได้ในสัปดาห์หน้าและมีผลย้อนหลังถึงวันที่ 1 มกราคมเช่นกัน ส่วนที่มีข่าว่านายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและรมว.คลังจะขอทบทวนเรื่องการปรับโครงสร้างเงินเดือนใหม่จากดำเนินการภายใน 2 ปีเป็น 1 ปีนั้นยังไม่ทราบและยังไม่ได้มีการหารือกัน อีกทั้งถือเป็นความรับผิดชอบของทางก.พ.
ทั้งนี้ การปรับโครงสร้างอัตราเงินเดือนแรกเข้าทั้งระดับ ปวช. ปวส. ปริญญาตรี โท เอก นั้นต้องทำแบค่อยเป็นค่อยไป ในการจะเปลี่ยนจากรายได้ค่าครองชีพเป็นตัวเงินเดือน โดยปีแรกน่าจะใช้เงินประมาณ 6-8 พันล้านบาท ขณะที่ของกรมบัญชีกลางที่ปรับเพิ่มค่าครองชีพให้ปีนี้ใช้เงินประมาณ 1.28 หมื่นล้านบาท ส่วนปีที่ 2 ก.พ.น่าจะใช้ประมาณหมื่นกว่าล้านบาท โดยปีแรกเงินเดือนของปริญญาตรีจะอยู่ที่ 11,680-12,390 บาท ปีที่ 2 จึงปรับเพิ่มเป็น 15,000-16,500 บาท ซึ่งหากเงินเดือนเพิ่มค่าครองชีพก็จะลดลงในอัตราที่เท่ากัน ส่วนปริญญาโท ปีแรกปรับมาอยู่ที่ 15,300-16,220 บาท ปีที่ 2 ปรับมาอยู่ที่ 17,500-19,250 บาท ระดับปริญญาเอกปีแรกปรับมาอยู่ที่ 19,00-20,140 บาท ปีที่ 2 ปรับมาอยู่ที่ 21,000-23,100 บาทซึ่งจะใช้เป็นฐานเงินเดือนแรกบรรจุขั้นต่ำต่อไป