ASTVผู้จัดการรายวัน-ข้าราชการแห้วซ้ำซาก เงินเดือนปริญญาตรี 1.5 หมื่นบาท หลัง"อำพน"ไม่บรรจุวาระให้ครม.พิจารณา อ้างต้องขอความเห็นจากหน่วยงานก่อน วงในเผย "โต้ง"สั่งดึงออก หวั่นถูกรุมถล่ม เหตุไม่เป็นไปตามที่โม้ไว้
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ครม.) เปิดเผยว่า ได้แจ้งนายนนทิกร กาญจนะจิตรา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ให้ทราบว่า ยังไม่ได้มีการบรรจุระเบียบวาระพิจารณา เรื่องการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการระดับปริญญาตรี 1.5 หมื่นบาท เนื่องจากอยู่ระหว่างขั้นตอนขอความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น จึงไม่มีการพิจารณาเรื่องดังกล่าวในการประชุมครม. เมื่อวานนี้ (24 ม.ค.)
แหล่งข่าวที่ประชุมครม. กล่าวว่า สาเหตุที่ ครม.ถอนเรื่องกฎ ก.พ.ว่าด้วยเรื่องการรับเงินเดือนข้าราชการ พ.ศ. ... เพื่อปรับโครงสร้างเงินเดือนข้าราชการ 1.5 หมื่นบาทต่อเดือนให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล เนื่องจากนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ต้องการทบทวน เพราะในช่วงหาเสียงเลือกตั้งรัฐบาลประกาศไว้ว่าจะขึ้นเงินเดือน 1.5 หมื่นบาท ภายใน 1ปี แต่ข้อเสนอที่ กพ.เสนอเข้าครม.ใช้เวลา 2 ปี
ทั้งนี้ รมว.คลังต้องการทบทวนนโยบายใหม่ เนื่องจากเดิมนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง ได้ดำเนินการไว้โดยใช้เวลา 2 ปี ในการดำเนินการ โดยปีแรกใช้งบประมาณ 6 พันล้านบาท และในปีที่ 2 ใช้งบประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท แต่หากดำเนินการภายใน 1 ปี ประมาณการณ์ว่ารัฐบาลจะต้องใช้งบประมาณ 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งจำเป็นต้องจัดหาแหล่งเงินมารองรับการดำเนินนโยบาย และจะมีผลกระทบด้านฐานข้าราชการแรกเข้าและข้าราชการอายุงานที่จะขยายเพิ่มจำนวนจากเดิม ข้าราชการที่อายุงานไม่เกิน 10 ปี เป็น 13-15 ปี ที่สมควรได้รับการปรับขึ้นเงินเดือน 1.5 หมื่นบาท จำนวนหลายแสนคน
นายนทกร กาญจนะจิตรา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) กล่าวว่า ในส่วนของกพ. ได้ส่งเรื่องให้กับนายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการครม.ไปแล้ว จากนี้ก็เป็นเรื่องของเลขาฯ ครม.ที่จะตรวจสอบ เพื่อส่งเรื่องให้กับน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นำเข้าขอมติต่อครม. ซึ่งในช่วงนี้ คาดว่าเลขาฯ ครม.คงกำลังตรวจสอบเพื่อขอความเห็นจากหน่วยงานราชการต่างๆ อยู่ เนื่องจากเป็นเรื่องของตัวเลข จึงอาจทำให้ล่าช้า โดยยืนยันว่าขั้นตอนในส่วนของกพ.จบลงตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อเสนอการขึ้นเงินเดือนข้าราชการระดับปริญญาตรี 1.5 หมื่นบาท ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) ตั้งแต่เดือน ต.ค.2554 และมีกำหนดจะให้มีผลบังคับใช้ในเดือน ม.ค.2555 โดยก่อนหน้านั้นเคยมีกระแสข่าวว่าจะเข้าสู่การพิจารณาในการประชุมครม. ตั้งแต่การประชุมสัญจร ที่ จ.เชียงใหม่ กระทั่งการประชุม ครม.ครั้งล่าสุด
ขณะที่นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ได้ยืนยันเมื่อวันที่ 29 ธ.ค.2554 ว่า กระทรวงการคลังเตรียมประกาศปรับรายได้ให้ข้าราชการ ลูกจ้าง วุฒิปริญญาตรีขึ้นไป รับเงินเดือนบวกเงินเพิ่ม ต้องไม่ต่ำกว่า 15,000 ต่อเดือน โดยกลุ่มที่ต่ำกว่าปริญญาตรี ก็ได้ปรับด้วย โดยเริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค.2555 เป็นต้นไป ถือเป็นการให้ของขวัญปีใหม่จากรัฐบาล
ทั้งนี้ บุคลากรภาครัฐที่จะได้ปรับรายได้ครั้งนี้จะครอบคลุม 5 กลุ่มรวมกว่า 649,323 คน คือ ข้าราชการ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการรัฐสภาสามัญ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวที่จ้างจากเงินงบประมาณ ทหารกองประจำการ และพนักงานราชการ
โดยเงินที่จ่ายนั้น จะเป็นเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว (พชค.) กำหนดเงื่อนไขไว้ 2 ลักษณะ คือ กลุ่มที่บรรจุในตำแหน่งที่กำหนดคุณสมบัติเฉพาะว่าต้องใช้วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ถ้าได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ถึงเดือนละ 15,000 บาท ให้รับเงิน พชค. เพิ่มจนถึง 15,000 บาท และกลุ่มที่บรรจุในตำแหน่งที่ใช้วุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ถ้าได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ถึงเดือนละ 12,285 บาท ให้รับเงิน พชค. เดือนละ 1,500 บาท แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 12,285 บาท หรือถ้ารวมกันแล้วไม่เกิน 9,000 บาท ก็ให้อีกจนถึง 9,000 บาท และทหารกองประจำการที่รับเงินเดือน ระดับ พ.1 ถ้ารับเงินเดือนรวมกับเบี้ยเลี้ยงประจำตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมแล้วไม่ถึงเดือนละ 9,000 บาทให้ได้รับเงิน พชค. เพิ่มขึ้นตามที่กระทรวงกลาโหมจะกำหนดต่อไป แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน เดือนละ 9,000 บาท
ปัจจุบันข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวและพนักงานราชการ ที่บรรจุในวุฒิปริญญาตรีขึ้นไป มี 346,365 คน งบประมาณที่ใช้ 1,589 ล้านบาทต่อเดือน ที่ต่ำกว่าปริญญาตรี 164,943 คน ทหารกองประจำการ 138,015 คน 2 กลุ่มนี้จะใช้เงินงบประมาณ 455 ล้านบาทต่อเดือน รวมใช้งบประมาณ 2,044 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งในปีงบประมาณ 2555 เวลา 9 เดือนจะใช้เงิน18,396 ล้านบาท
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการคณะรัฐมนตรี (ครม.) เปิดเผยว่า ได้แจ้งนายนนทิกร กาญจนะจิตรา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ให้ทราบว่า ยังไม่ได้มีการบรรจุระเบียบวาระพิจารณา เรื่องการปรับขึ้นเงินเดือนข้าราชการระดับปริญญาตรี 1.5 หมื่นบาท เนื่องจากอยู่ระหว่างขั้นตอนขอความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น จึงไม่มีการพิจารณาเรื่องดังกล่าวในการประชุมครม. เมื่อวานนี้ (24 ม.ค.)
แหล่งข่าวที่ประชุมครม. กล่าวว่า สาเหตุที่ ครม.ถอนเรื่องกฎ ก.พ.ว่าด้วยเรื่องการรับเงินเดือนข้าราชการ พ.ศ. ... เพื่อปรับโครงสร้างเงินเดือนข้าราชการ 1.5 หมื่นบาทต่อเดือนให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล เนื่องจากนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ต้องการทบทวน เพราะในช่วงหาเสียงเลือกตั้งรัฐบาลประกาศไว้ว่าจะขึ้นเงินเดือน 1.5 หมื่นบาท ภายใน 1ปี แต่ข้อเสนอที่ กพ.เสนอเข้าครม.ใช้เวลา 2 ปี
ทั้งนี้ รมว.คลังต้องการทบทวนนโยบายใหม่ เนื่องจากเดิมนายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง ได้ดำเนินการไว้โดยใช้เวลา 2 ปี ในการดำเนินการ โดยปีแรกใช้งบประมาณ 6 พันล้านบาท และในปีที่ 2 ใช้งบประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท แต่หากดำเนินการภายใน 1 ปี ประมาณการณ์ว่ารัฐบาลจะต้องใช้งบประมาณ 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งจำเป็นต้องจัดหาแหล่งเงินมารองรับการดำเนินนโยบาย และจะมีผลกระทบด้านฐานข้าราชการแรกเข้าและข้าราชการอายุงานที่จะขยายเพิ่มจำนวนจากเดิม ข้าราชการที่อายุงานไม่เกิน 10 ปี เป็น 13-15 ปี ที่สมควรได้รับการปรับขึ้นเงินเดือน 1.5 หมื่นบาท จำนวนหลายแสนคน
นายนทกร กาญจนะจิตรา เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) กล่าวว่า ในส่วนของกพ. ได้ส่งเรื่องให้กับนายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการครม.ไปแล้ว จากนี้ก็เป็นเรื่องของเลขาฯ ครม.ที่จะตรวจสอบ เพื่อส่งเรื่องให้กับน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นำเข้าขอมติต่อครม. ซึ่งในช่วงนี้ คาดว่าเลขาฯ ครม.คงกำลังตรวจสอบเพื่อขอความเห็นจากหน่วยงานราชการต่างๆ อยู่ เนื่องจากเป็นเรื่องของตัวเลข จึงอาจทำให้ล่าช้า โดยยืนยันว่าขั้นตอนในส่วนของกพ.จบลงตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อเสนอการขึ้นเงินเดือนข้าราชการระดับปริญญาตรี 1.5 หมื่นบาท ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (กพ.) ตั้งแต่เดือน ต.ค.2554 และมีกำหนดจะให้มีผลบังคับใช้ในเดือน ม.ค.2555 โดยก่อนหน้านั้นเคยมีกระแสข่าวว่าจะเข้าสู่การพิจารณาในการประชุมครม. ตั้งแต่การประชุมสัญจร ที่ จ.เชียงใหม่ กระทั่งการประชุม ครม.ครั้งล่าสุด
ขณะที่นายรังสรรค์ ศรีวรศาสตร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง ได้ยืนยันเมื่อวันที่ 29 ธ.ค.2554 ว่า กระทรวงการคลังเตรียมประกาศปรับรายได้ให้ข้าราชการ ลูกจ้าง วุฒิปริญญาตรีขึ้นไป รับเงินเดือนบวกเงินเพิ่ม ต้องไม่ต่ำกว่า 15,000 ต่อเดือน โดยกลุ่มที่ต่ำกว่าปริญญาตรี ก็ได้ปรับด้วย โดยเริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค.2555 เป็นต้นไป ถือเป็นการให้ของขวัญปีใหม่จากรัฐบาล
ทั้งนี้ บุคลากรภาครัฐที่จะได้ปรับรายได้ครั้งนี้จะครอบคลุม 5 กลุ่มรวมกว่า 649,323 คน คือ ข้าราชการ ได้แก่ ข้าราชการพลเรือน ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการในสถาบันอุดมศึกษา ข้าราชการรัฐสภาสามัญ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวที่จ้างจากเงินงบประมาณ ทหารกองประจำการ และพนักงานราชการ
โดยเงินที่จ่ายนั้น จะเป็นเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราว (พชค.) กำหนดเงื่อนไขไว้ 2 ลักษณะ คือ กลุ่มที่บรรจุในตำแหน่งที่กำหนดคุณสมบัติเฉพาะว่าต้องใช้วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไป ถ้าได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ถึงเดือนละ 15,000 บาท ให้รับเงิน พชค. เพิ่มจนถึง 15,000 บาท และกลุ่มที่บรรจุในตำแหน่งที่ใช้วุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ถ้าได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างไม่ถึงเดือนละ 12,285 บาท ให้รับเงิน พชค. เดือนละ 1,500 บาท แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 12,285 บาท หรือถ้ารวมกันแล้วไม่เกิน 9,000 บาท ก็ให้อีกจนถึง 9,000 บาท และทหารกองประจำการที่รับเงินเดือน ระดับ พ.1 ถ้ารับเงินเดือนรวมกับเบี้ยเลี้ยงประจำตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมแล้วไม่ถึงเดือนละ 9,000 บาทให้ได้รับเงิน พชค. เพิ่มขึ้นตามที่กระทรวงกลาโหมจะกำหนดต่อไป แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน เดือนละ 9,000 บาท
ปัจจุบันข้าราชการ ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างชั่วคราวและพนักงานราชการ ที่บรรจุในวุฒิปริญญาตรีขึ้นไป มี 346,365 คน งบประมาณที่ใช้ 1,589 ล้านบาทต่อเดือน ที่ต่ำกว่าปริญญาตรี 164,943 คน ทหารกองประจำการ 138,015 คน 2 กลุ่มนี้จะใช้เงินงบประมาณ 455 ล้านบาทต่อเดือน รวมใช้งบประมาณ 2,044 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งในปีงบประมาณ 2555 เวลา 9 เดือนจะใช้เงิน18,396 ล้านบาท