มติบอร์ด สปส.ไร้เรื่องประกาศใช้รูปแบบใหม่ดีอาร์จี เหตุขัดข้องกระบวนการ คาด 1-2 สัปดาห์แล้วเสร็จ
วันนี้ (1 ก.พ.) นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) ว่า ในการประชุมครั้งนี้ได้หารือในเรื่องงบประมาณบริหารของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) โดยกฎหมายกำหนดให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินสมทบในแต่ละปี แต่ สปส.ใช้เพียงร้อยละ 3 เท่านั้น โดยปีนี้อยู่ที่ 4,050 ล้านบาท จากเงินสมทบทั้งหมดราวแสนล้านบาท จากปีที่แล้วใช้ที่ 3,900 ล้านบาท ส่วนประเด็นการพิจารณาเงินสมทบในส่วนที่รัฐบาลต้องจ่ายเข้ากองทุนปีละ 25,000 ล้านบาท แต่ไม่สามารถจ่ายได้ครบกำหนดทุกปี ทำให้การจ่ายต้องล่าช้านั้น จริงๆ เชื่อว่า รัฐบาลไม่ได้ต้องการค้างจ่าย แต่อาจมีภาระงบประมาณ ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ไม่มีในการหารือ แต่ในภาพรวมรัฐบาลได้จ่ายเงินก้อนดังกล่าวให้ สปส.เฉพาะปี 2553 แล้วจำนวนหมื่นล้านเศษๆ ส่วนเงินที่ยังไม่ได้จ่ายในปี 2554-2555 ยังไม่ได้ดำเนินการ ซึ่งในการประชุมบอร์ด สปส.ที่ผ่านมามีมติว่า หากภาระงบประมาณของรัฐบาลเริ่มบรรเทาลง ให้ สปส.พิจารณาและทำหนังสือเกี่ยวกับเงินที่ยังค้างจ่าย เพื่อของบกลางต่อไป ซึ่งเฉพาะปี 2554 จะอยู่ที่ 25,000 ล้านบาท แต่ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลพิจารณา
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีความไม่ชัดเจนในการทำสัญญาค่าใช้จ่ายกลุ่มโรคร้ายแรงที่มีการปรับรูปแบบการจ่ายดีอาร์จี (DRG) หรือกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม ส่งผลให้โรงพยาบาลเอกชนไม่มั่นใจ นพ.สมเกียรติ กล่าวว่า กรณีดังกล่าวมีประกาศใช้อยู่แล้ว เพียงแต่เหลือประกาศอย่างเป็นทางการ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ เนื่องจากมีกรรมการบางรายไม่เข้าใจในรายละเอียดการปรับเพิ่มดีอาร์จี จึงต้องมีการอธิบาย แต่ปรากฏว่า นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล รองเลขาธิการ สปส.คนใหม่ต้องเป็นผู้รายงาน แต่ติดภารกิจที่สภาฯ จึงไม่สามารถเข้าร่วม คิดว่าประเด็นนี้จะชัดเจนภายใน 1-2 สัปดาห์
วันนี้ (1 ก.พ.) นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวภายหลังประชุมคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) ว่า ในการประชุมครั้งนี้ได้หารือในเรื่องงบประมาณบริหารของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) โดยกฎหมายกำหนดให้ใช้ได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของเงินสมทบในแต่ละปี แต่ สปส.ใช้เพียงร้อยละ 3 เท่านั้น โดยปีนี้อยู่ที่ 4,050 ล้านบาท จากเงินสมทบทั้งหมดราวแสนล้านบาท จากปีที่แล้วใช้ที่ 3,900 ล้านบาท ส่วนประเด็นการพิจารณาเงินสมทบในส่วนที่รัฐบาลต้องจ่ายเข้ากองทุนปีละ 25,000 ล้านบาท แต่ไม่สามารถจ่ายได้ครบกำหนดทุกปี ทำให้การจ่ายต้องล่าช้านั้น จริงๆ เชื่อว่า รัฐบาลไม่ได้ต้องการค้างจ่าย แต่อาจมีภาระงบประมาณ ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ไม่มีในการหารือ แต่ในภาพรวมรัฐบาลได้จ่ายเงินก้อนดังกล่าวให้ สปส.เฉพาะปี 2553 แล้วจำนวนหมื่นล้านเศษๆ ส่วนเงินที่ยังไม่ได้จ่ายในปี 2554-2555 ยังไม่ได้ดำเนินการ ซึ่งในการประชุมบอร์ด สปส.ที่ผ่านมามีมติว่า หากภาระงบประมาณของรัฐบาลเริ่มบรรเทาลง ให้ สปส.พิจารณาและทำหนังสือเกี่ยวกับเงินที่ยังค้างจ่าย เพื่อของบกลางต่อไป ซึ่งเฉพาะปี 2554 จะอยู่ที่ 25,000 ล้านบาท แต่ก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลพิจารณา
ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีความไม่ชัดเจนในการทำสัญญาค่าใช้จ่ายกลุ่มโรคร้ายแรงที่มีการปรับรูปแบบการจ่ายดีอาร์จี (DRG) หรือกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม ส่งผลให้โรงพยาบาลเอกชนไม่มั่นใจ นพ.สมเกียรติ กล่าวว่า กรณีดังกล่าวมีประกาศใช้อยู่แล้ว เพียงแต่เหลือประกาศอย่างเป็นทางการ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการ เนื่องจากมีกรรมการบางรายไม่เข้าใจในรายละเอียดการปรับเพิ่มดีอาร์จี จึงต้องมีการอธิบาย แต่ปรากฏว่า นพ.สุรเดช วลีอิทธิกุล รองเลขาธิการ สปส.คนใหม่ต้องเป็นผู้รายงาน แต่ติดภารกิจที่สภาฯ จึงไม่สามารถเข้าร่วม คิดว่าประเด็นนี้จะชัดเจนภายใน 1-2 สัปดาห์