ชมรมรักษ์ สปสช.เตรียมแจ้งความดำเนินคดีบุคคลหมิ่นประมาท ขณะแพทย์ชนบท โต้ “วิทยา” ไม่ยั้ง จี้ให้เร่งแก้ปัญหาคาใจ ระบุ รายละเอียดชัดไม่มีแผนล้มระบบหลักประกันฯ
วันนี้ (1 ก.พ.) ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นายวีระพงศ์ เจริญเกตุ ประธานชมรมรักษ์ สปสช.กล่าวว่า ชมรมรักษ์ สปสช.เป็นชมรมที่เจ้าหน้าที่และพนักงานของ สปสช.กว่า 700 คนรวมตัวกันเพื่อดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรและสืบสานเจตนารมณ์การพัฒนาหลักประกันสุขภาพเพื่อประชาชนตามปณิธานของหมอหงวน และจากสถานการณ์ที่มีบุคคลที่ออกมาให้ข้อมูลที่เป็นให้ร้ายโจมตี สปสช.อย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิด และเกิดความไม่มั่นใจต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่ผ่านมาชมรมรักษ์สปสช.พยายามนิ่งเฉยและไม่ตอบโต้ เพราะไม่อยากให้เกิดเป็นประเด็นโต้แย้ง แต่กลุ่มบุคคลดังกล่าวก็ยังไม่ยอมหยุดพฤติกรรมให้ร้ายโจมตีสปสช. วันนี้ทางชมรมรักษ์สปสช.ขอยืนยันว่า สปสช. ยึดมั่นในจุดยืนเพื่อประชาชนนี้ ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงการบริหารงาน สปสช.ไปอย่างไร
และขอให้บุคลากร สปสช.ทุกคนช่วยกันสื่อสารและชี้แจงข้อเท็จจริงต่อบุคคลใกล้ตัวและต่อสาธารณะทุกช่องทาง ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องเสนอให้ สปสช.มอบอำนาจให้กับชมรมรักษ์สปสช.แจ้งความดำเนินคดีกับบุคคลที่หมิ่นประมาทต่อองค์กร อย่างไรก็ตาม การดำเนินการในครั้งนี้ไม่ได้ทำเพื่อผู้บริหารองค์กร หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ทำเพื่อปกป้องเจตนารมณ์ของสปสช.ที่ถูกกลุ่มบุคคลหนึ่งให้ร้ายโจมตีด้วยข้อมูลเท็จมาตลอด และต่อจากนี้จะดำเนินการรวบรวมข้อมูลหลักฐานเพื่อดำเนินการทางกฎหมายต่อไป หากคณะกรรมการบริหาร สปสช.มอบอำนาจให้ชมรมรักษ์ สปสช.ดำเนินการ
วันเดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชมรมแพทย์ชนบทประชุมออกแถลงการณ์ฉบับที่สาม เรียกร้องให้ นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เร่งแก้ไขปัญหาคาใจสังคมกรณีที่แต่งตั้งให้กลุ่มที่เคยคัดค้านนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าถึงกับเคยออกหนังสือไม่ให้รพ.ในสังกัดให้บริการผู้ป่วยไตวาย ของ สปสช.เพราะกลัวจะทำให้เสียราคาที่เคยได้รับจากสวัสดิการข้าราชการในราคาสูง และแต่งตั้ง นพ.ประดิษฐ์ สินธวณรงค์ นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เครือแสนสิริ และกรรมการผู้จัดการบริษัท เดคคอร์มาร์ท จำกัด เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์แผนไทย ทำให้บอร์ด สปสช.ถูกแทรกแซงเหมือนบอร์ดรัฐวิสาหกิจโดยทั่วไปที่เปลี่ยนแปลงไปตามอำนาจทางการเมือง ขาดผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ และมีความอิสระที่แท้จริงเหมือนอดีตบอร์ด สปสช.ที่ผ่านมา ทำให้ง่ายกับการออกนโยบายที่เอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มแพทย์พาณิชย์ บริษัทยาข้ามชาติ และนักการเมืองที่แสวงหาประโยชน์ระยะสั้น
ในแถลงการณ์ยังเรียกร้องให้ รมว.สาธารณสุข ทบทวนการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สปสช.ชุดต่างๆ ที่ส่งสัญญาณว่าต้องการดึงงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกลับคืนอยู่ภายใต้การบริหาร หรือกำกับของกระทรวงสาธารณสุข เหมือนในอดีตที่ไม่มี พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และไม่มี สปสช.เป็นตัวแทนของผู้ป่วยหรือผู้ซื้อบริการ
ด้าน นพ.วชิระ บถพิบูลย์ ประธานคณะทำงานส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและอดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ชมรมแพทย์ชนบท จำเป็นต้องออกมาเคลื่อนไหวปกป้องระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพราะขณะที่ฝ่ายการเมืองประกาศแถลงข่าวยืนยันตลอดว่า ไม่มีแผนล้มระบบ สปสช.แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงสังคมกลับมองเห็นและมีปัญหาคาใจอยู่ คือการที่ฝ่ายการเมืองเอานักธุรกิจนายทุนพรรคที่ไม่เคยมีประสบการณ์ด้านระบบหลักประกันสุขภาพ และจับมือกับกลุ่มผลประโยชน์ที่เคยคัดค้านหลักการของระบบบัตรทองเข้ามามีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายของ สปสช.ทั้งในระดับบอร์ดและคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ ทำให้ตลอดระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา งานหลักประกันสุขภาพที่เคยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นที่ยอมรับทั้งภายในและภายนอกประเทศ กลับต้องหยุดชะงัก และมีแนวโน้มจะมีการเปลี่ยนทิศทางไปเป็นระบบอนาถาเหมือนในอดีต
“6 เดือนไม่มีผลงานอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน แต่ระบบที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องกำลังปั่นป่วนเหมือนกับ เอาเด็กสร้างบ้าน เจ้าของธุรกิจก่อสร้างแต่ไม่มีความรู้ระบบหลักประกันสุขภาพมีกลุ่ม แพทย์พาณิชย์เป็นที่ปรึกษาร่วมกันตั้งตัวเองเป็นผู้เชี่ยวชาญปิดห้องจัดโผแต่งตั้งบอร์ด สปสช.และตั้งอนุกรรมการรวมทั้งเตรียมแก้กฎหมายเอาเงินกองทุน สปสช.ตามมาตรา 41 ไปช่วยธุรกิจ รพ.เอกชนแล้วชงให้คนมีอำนาจแต่ขาดความรู้หรือมีความรู้แต่มีวาระซ้อนเร้นเป็นผู้ทุบโต๊ะ โดยมีบอร์ดอื่นๆ ที่ทนได้นั่งเป็นไม้ประดับ ถ้าเป็นแบบนี้จริงระบบหลักประกันสุขภาพที่คุณหมอสงวน และภาคประชาชนภายใต้การสนับสนุนของอดีตนายกรัฐมนตรีพรรคไทยรักไทยสร้างไว้กว่า 10 ปี จะไม่ล่มสลายในยุครัฐมนตรีพรรคเพื่อไทยได้อย่างไร” อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบทกล่าวเพิ่มเติมว่าสถานการณ์แบบนี้ทุกภาคส่วนและประชาชนเครือข่ายผู้ป่วยต้องขยับตัวช่วยกันรักษาระบบเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ไว้ให้ได้
รายงานข่าวแจ้งว่า เช้าวันที่ 5 ก.พ.สมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย จะจัดเสวนาในหัวข้อ ทางแพร่งระบบประกันสุขภาพภายใต้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ โดยวิทยากรที่ได้ตอบรับจะเข้าร่วมแล้ว มี นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ อดีต รมว.สาธารณสุข นพ.วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบทและนายนิมิต เทียนอุดม กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตั้งแต่เวลา 09.30-12.00 น.ที่สมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
วันนี้ (1 ก.พ.) ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นายวีระพงศ์ เจริญเกตุ ประธานชมรมรักษ์ สปสช.กล่าวว่า ชมรมรักษ์ สปสช.เป็นชมรมที่เจ้าหน้าที่และพนักงานของ สปสช.กว่า 700 คนรวมตัวกันเพื่อดำเนินกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรและสืบสานเจตนารมณ์การพัฒนาหลักประกันสุขภาพเพื่อประชาชนตามปณิธานของหมอหงวน และจากสถานการณ์ที่มีบุคคลที่ออกมาให้ข้อมูลที่เป็นให้ร้ายโจมตี สปสช.อย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาชนเกิดความเข้าใจผิด และเกิดความไม่มั่นใจต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่ผ่านมาชมรมรักษ์สปสช.พยายามนิ่งเฉยและไม่ตอบโต้ เพราะไม่อยากให้เกิดเป็นประเด็นโต้แย้ง แต่กลุ่มบุคคลดังกล่าวก็ยังไม่ยอมหยุดพฤติกรรมให้ร้ายโจมตีสปสช. วันนี้ทางชมรมรักษ์สปสช.ขอยืนยันว่า สปสช. ยึดมั่นในจุดยืนเพื่อประชาชนนี้ ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงการบริหารงาน สปสช.ไปอย่างไร
และขอให้บุคลากร สปสช.ทุกคนช่วยกันสื่อสารและชี้แจงข้อเท็จจริงต่อบุคคลใกล้ตัวและต่อสาธารณะทุกช่องทาง ดังนั้น จึงจำเป็นที่จะต้องเสนอให้ สปสช.มอบอำนาจให้กับชมรมรักษ์สปสช.แจ้งความดำเนินคดีกับบุคคลที่หมิ่นประมาทต่อองค์กร อย่างไรก็ตาม การดำเนินการในครั้งนี้ไม่ได้ทำเพื่อผู้บริหารองค์กร หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ทำเพื่อปกป้องเจตนารมณ์ของสปสช.ที่ถูกกลุ่มบุคคลหนึ่งให้ร้ายโจมตีด้วยข้อมูลเท็จมาตลอด และต่อจากนี้จะดำเนินการรวบรวมข้อมูลหลักฐานเพื่อดำเนินการทางกฎหมายต่อไป หากคณะกรรมการบริหาร สปสช.มอบอำนาจให้ชมรมรักษ์ สปสช.ดำเนินการ
วันเดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชมรมแพทย์ชนบทประชุมออกแถลงการณ์ฉบับที่สาม เรียกร้องให้ นายวิทยา บุรณศิริ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เร่งแก้ไขปัญหาคาใจสังคมกรณีที่แต่งตั้งให้กลุ่มที่เคยคัดค้านนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าถึงกับเคยออกหนังสือไม่ให้รพ.ในสังกัดให้บริการผู้ป่วยไตวาย ของ สปสช.เพราะกลัวจะทำให้เสียราคาที่เคยได้รับจากสวัสดิการข้าราชการในราคาสูง และแต่งตั้ง นพ.ประดิษฐ์ สินธวณรงค์ นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เครือแสนสิริ และกรรมการผู้จัดการบริษัท เดคคอร์มาร์ท จำกัด เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์แผนไทย ทำให้บอร์ด สปสช.ถูกแทรกแซงเหมือนบอร์ดรัฐวิสาหกิจโดยทั่วไปที่เปลี่ยนแปลงไปตามอำนาจทางการเมือง ขาดผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ และมีความอิสระที่แท้จริงเหมือนอดีตบอร์ด สปสช.ที่ผ่านมา ทำให้ง่ายกับการออกนโยบายที่เอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มแพทย์พาณิชย์ บริษัทยาข้ามชาติ และนักการเมืองที่แสวงหาประโยชน์ระยะสั้น
ในแถลงการณ์ยังเรียกร้องให้ รมว.สาธารณสุข ทบทวนการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ สปสช.ชุดต่างๆ ที่ส่งสัญญาณว่าต้องการดึงงบประมาณกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกลับคืนอยู่ภายใต้การบริหาร หรือกำกับของกระทรวงสาธารณสุข เหมือนในอดีตที่ไม่มี พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และไม่มี สปสช.เป็นตัวแทนของผู้ป่วยหรือผู้ซื้อบริการ
ด้าน นพ.วชิระ บถพิบูลย์ ประธานคณะทำงานส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและอดีตประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ชมรมแพทย์ชนบท จำเป็นต้องออกมาเคลื่อนไหวปกป้องระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เพราะขณะที่ฝ่ายการเมืองประกาศแถลงข่าวยืนยันตลอดว่า ไม่มีแผนล้มระบบ สปสช.แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงสังคมกลับมองเห็นและมีปัญหาคาใจอยู่ คือการที่ฝ่ายการเมืองเอานักธุรกิจนายทุนพรรคที่ไม่เคยมีประสบการณ์ด้านระบบหลักประกันสุขภาพ และจับมือกับกลุ่มผลประโยชน์ที่เคยคัดค้านหลักการของระบบบัตรทองเข้ามามีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายของ สปสช.ทั้งในระดับบอร์ดและคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ ทำให้ตลอดระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา งานหลักประกันสุขภาพที่เคยมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นที่ยอมรับทั้งภายในและภายนอกประเทศ กลับต้องหยุดชะงัก และมีแนวโน้มจะมีการเปลี่ยนทิศทางไปเป็นระบบอนาถาเหมือนในอดีต
“6 เดือนไม่มีผลงานอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน แต่ระบบที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องกำลังปั่นป่วนเหมือนกับ เอาเด็กสร้างบ้าน เจ้าของธุรกิจก่อสร้างแต่ไม่มีความรู้ระบบหลักประกันสุขภาพมีกลุ่ม แพทย์พาณิชย์เป็นที่ปรึกษาร่วมกันตั้งตัวเองเป็นผู้เชี่ยวชาญปิดห้องจัดโผแต่งตั้งบอร์ด สปสช.และตั้งอนุกรรมการรวมทั้งเตรียมแก้กฎหมายเอาเงินกองทุน สปสช.ตามมาตรา 41 ไปช่วยธุรกิจ รพ.เอกชนแล้วชงให้คนมีอำนาจแต่ขาดความรู้หรือมีความรู้แต่มีวาระซ้อนเร้นเป็นผู้ทุบโต๊ะ โดยมีบอร์ดอื่นๆ ที่ทนได้นั่งเป็นไม้ประดับ ถ้าเป็นแบบนี้จริงระบบหลักประกันสุขภาพที่คุณหมอสงวน และภาคประชาชนภายใต้การสนับสนุนของอดีตนายกรัฐมนตรีพรรคไทยรักไทยสร้างไว้กว่า 10 ปี จะไม่ล่มสลายในยุครัฐมนตรีพรรคเพื่อไทยได้อย่างไร” อดีตประธานชมรมแพทย์ชนบทกล่าวเพิ่มเติมว่าสถานการณ์แบบนี้ทุกภาคส่วนและประชาชนเครือข่ายผู้ป่วยต้องขยับตัวช่วยกันรักษาระบบเพื่อประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ไว้ให้ได้
รายงานข่าวแจ้งว่า เช้าวันที่ 5 ก.พ.สมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกับสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย จะจัดเสวนาในหัวข้อ ทางแพร่งระบบประกันสุขภาพภายใต้รัฐบาลยิ่งลักษณ์ โดยวิทยากรที่ได้ตอบรับจะเข้าร่วมแล้ว มี นายวิทยา บุรณศิริ รมว.สาธารณสุข นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ อดีต รมว.สาธารณสุข นพ.วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบทและนายนิมิต เทียนอุดม กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตั้งแต่เวลา 09.30-12.00 น.ที่สมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย