นพ.มงคล แนะแก้ไข ม.41 แทน พ.ร.บ.ผู้ป่วยต้องพิจารณารอบด้าน ด้านแพทยสภา ยกร่างแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ เสนอ “วิทยา” พิจารณาแล้ว
จากกรณีที่มีกระแสข่าวว่า จะมีการเสนอแก้ไข มาตรา 41 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 กรณีเรื่องการจ่ายเงินชดเชยความเสียหายจากการบริการสาธารณสุขนั้น โดยจะให้ขยายสิทธิครอบคลุมไปถึงผู้ประกันตน และสิทธิสวัสดิการข้าราชการ จากปัจจุบันคุ้มครองเพียงผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง ซึ่งจะเสนอในการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) วันที่ 6 กุมภาพันธ์นี้
นพ.มงคล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีดังกล่าว ว่า ไม่ว่าจะเป็นการขยายมาตรา 41 หรือการออก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ...ล้วนเป็นกฎหมายที่ดีเพื่อผู้ป่วย แต่ปัญหาคือ ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองฯ ยังไม่แล้วเสร็จ หากจะมีการเสนอให้ปรับปรุงมาตรา 41 โดยขยายครอบคลุมทุกคนทุกระบบสุขภาพของไทย ก็ถือเป็นเรื่องดี แต่ต้องพิจารณากันดีๆ โดยเฉพาะเรื่องการจัดสรรงบประมาณสำหรับกองทุน เนื่องจากปัจจุบันมาตรานี้คุ้มครองเพียงผู้อยู่ในระบบบัตรทอง ใช้เงินส่วนหนึ่งของเหมาจ่ายรายหัว แต่หากรวมทุกระบบจำเป็นต้องนำเงินจากระบบอื่นๆเข้ามาด้วย ไม่เช่นนั้นจะเป็นปัญหาได้
“ หากจะปรับแก้มาตรา 41 ต้องคิดรอบด้าน ให้เกิดความเท่าเทียมจริงๆ ซึ่งในส่วนของการปรับเพิ่มเพดานการจ่ายเงินชดเชย จากปัจจุบันเสียชีวิตจาก 2 แสนบาท พิการจ่าย 120,000 บาท ตรงนี้ก็ต้องมีการหารือถึงเพดานที่เหมาะสมด้วย แต่จริงๆ แล้ว ทางที่ดีที่สุดก็ควรผลักดันให้เกิด พ.ร.บ.คุ้มครองฯ เพราะจะเป็นกฎหมายโดยตรง และมีคณะกรรมการกลั่นกรองในเรื่องนี้ จะทำให้การทำงานรวดเร็วยิ่งขึ้นด้วย” นพ.มงคล กล่าว
ด้าน ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กุสลานันท์ นายกแพทยสภา กล่าวว่า แพทยสภาได้ยกร่างแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มาตรา 41 และ 42 พร้อมทั้งยกร่างข้อบังคับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่าด้วยการช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล พ.ศ... โดยได้เสนอรัฐมนตรี สธ.พิจารณาแล้ว เพื่อเป็นอีกทางเลือกของร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย ซึ่งทางเลือกการแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะง่ายและทำได้เลย โดยเนื้อหาสำคัญของมาตรา 41 คือ ให้กองทุนนี้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้รับบริการในระบบบัตรทอง ประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ ส่วนมาตรา 42 คือ ในกรณีที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ และได้ตกลงรับเงินช่วยเหลือจากกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ให้สิทธิการฟ้องร้องต่อศาลเป็นอันระงับไป ส่วนการยกร่างข้อบังคับฯ ให้เพิ่มเพดานค่าชดเชยจากเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวร จ่ายเพียง 2 แสนบาท เพิ่มเป็นไม่เกิน 2 ล้านบาท ส่วนพิการจ่ายเงินช่วยเหลือไม่เกิน 1.2 แสนบาท เพิ่มเป็นไม่เกิน 5 แสนบาท
จากกรณีที่มีกระแสข่าวว่า จะมีการเสนอแก้ไข มาตรา 41 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 กรณีเรื่องการจ่ายเงินชดเชยความเสียหายจากการบริการสาธารณสุขนั้น โดยจะให้ขยายสิทธิครอบคลุมไปถึงผู้ประกันตน และสิทธิสวัสดิการข้าราชการ จากปัจจุบันคุ้มครองเพียงผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือบัตรทอง ซึ่งจะเสนอในการประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (บอร์ด สปสช.) วันที่ 6 กุมภาพันธ์นี้
นพ.มงคล ณ สงขลา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีดังกล่าว ว่า ไม่ว่าจะเป็นการขยายมาตรา 41 หรือการออก พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ...ล้วนเป็นกฎหมายที่ดีเพื่อผู้ป่วย แต่ปัญหาคือ ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองฯ ยังไม่แล้วเสร็จ หากจะมีการเสนอให้ปรับปรุงมาตรา 41 โดยขยายครอบคลุมทุกคนทุกระบบสุขภาพของไทย ก็ถือเป็นเรื่องดี แต่ต้องพิจารณากันดีๆ โดยเฉพาะเรื่องการจัดสรรงบประมาณสำหรับกองทุน เนื่องจากปัจจุบันมาตรานี้คุ้มครองเพียงผู้อยู่ในระบบบัตรทอง ใช้เงินส่วนหนึ่งของเหมาจ่ายรายหัว แต่หากรวมทุกระบบจำเป็นต้องนำเงินจากระบบอื่นๆเข้ามาด้วย ไม่เช่นนั้นจะเป็นปัญหาได้
“ หากจะปรับแก้มาตรา 41 ต้องคิดรอบด้าน ให้เกิดความเท่าเทียมจริงๆ ซึ่งในส่วนของการปรับเพิ่มเพดานการจ่ายเงินชดเชย จากปัจจุบันเสียชีวิตจาก 2 แสนบาท พิการจ่าย 120,000 บาท ตรงนี้ก็ต้องมีการหารือถึงเพดานที่เหมาะสมด้วย แต่จริงๆ แล้ว ทางที่ดีที่สุดก็ควรผลักดันให้เกิด พ.ร.บ.คุ้มครองฯ เพราะจะเป็นกฎหมายโดยตรง และมีคณะกรรมการกลั่นกรองในเรื่องนี้ จะทำให้การทำงานรวดเร็วยิ่งขึ้นด้วย” นพ.มงคล กล่าว
ด้าน ศ.คลินิก นพ.อำนาจ กุสลานันท์ นายกแพทยสภา กล่าวว่า แพทยสภาได้ยกร่างแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มาตรา 41 และ 42 พร้อมทั้งยกร่างข้อบังคับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติว่าด้วยการช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล พ.ศ... โดยได้เสนอรัฐมนตรี สธ.พิจารณาแล้ว เพื่อเป็นอีกทางเลือกของร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย ซึ่งทางเลือกการแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะง่ายและทำได้เลย โดยเนื้อหาสำคัญของมาตรา 41 คือ ให้กองทุนนี้จ่ายเงินช่วยเหลือแก่ผู้รับบริการในระบบบัตรทอง ประกันสังคม และสวัสดิการข้าราชการ ส่วนมาตรา 42 คือ ในกรณีที่ได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ และได้ตกลงรับเงินช่วยเหลือจากกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ ให้สิทธิการฟ้องร้องต่อศาลเป็นอันระงับไป ส่วนการยกร่างข้อบังคับฯ ให้เพิ่มเพดานค่าชดเชยจากเสียชีวิต หรือทุพพลภาพถาวร จ่ายเพียง 2 แสนบาท เพิ่มเป็นไม่เกิน 2 ล้านบาท ส่วนพิการจ่ายเงินช่วยเหลือไม่เกิน 1.2 แสนบาท เพิ่มเป็นไม่เกิน 5 แสนบาท