บอร์ดใหม่ สปสช.สุดป่วน “วรานุช หงสประภาส” ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินการคลังได้ยื่นใบลาออกจากบอร์ด สปสช.และลาออกจากประธานคณะอนุกรรมการการเงินการคลังแล้ว ด้านกรรมการตัวแทนองค์กรเอกชนประกาศไม่ร่วมเป็นอนุกรรมการทุกคณะ เพราะรับไม่ได้กับการใช้อำนาจและอาจผิดกฎหมายของฝ่ายการเมือง แต่จะสงวนสิทธิ์อภิปรายตรวจสอบอย่างหนักในที่ประชุมบอร์ดแทน ด้าน “หมอวิชัย” หารือฝ่ายกฎหมายเล็งขออำนาจศาลปกครองในการเพิกถอนมติการแต่งตั้งนี้
รายงานข่าวจากกระทรวงสาธารณสุข แจ้งว่า นางวรานุช หงสประภาส อดีตที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ ที่นายวิทยา บูรณศิริ รมว.สาธารณสุขเสนอให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินการคลังในบอร์ด สปสช.ได้ยื่นใบลาออกจากกรรมการ สปสช.และประธานคณะอนุกรรมการการเงินการคลัง ใบลาออกได้ถึงมือ นายวิทยา แล้ว โดยไม่ทราบสาเหตุในการลาออกครั้งนี้ โดยในที่ประชุมเมื่อวันที่ 24 ม.ค.ที่ผ่านมา นางวรานุช ก็ไม่ได้เข้าร่วมประชุมทั้งที่มีวาระสำคัญในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ และการเตรียมสรรหาเลขาธิการ สปสช.ใหม่ ขณะที่ นพ.วิชัย โชควิวัฒน และนายนิมิตร์ เทียนอุดม บอร์ด สปสช.ในสัดส่วนองค์กรภาคประชาชนประกาศถอนตัวจากการเป็นอนุกรรมการ สปสช.ทุกคณะ เพราะรับไม่ได้ที่ฝ่ายการเมืองใช้อำนาจและและเสียงข้างมากผลักดันการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ โดยไม่ฟังเสียงคัดค้านว่าผิดหลักการของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ที่ต้องการสร้างความสมดุลแยกให้ผู้ใช้บริการสาธารณสุขออกจากผู้ให้บริการโดยมี สปสช.เป็นผู้แทนและมีความสุ่มเสี่ยงกับการทำผิดกฎหมายในการเปิดโอกาสให้คณะอนุกรรมการและบอร์ดเข้าล้วงลูกการทำงานของ สปสช.และการตรวจสอบของ สตง.
นพ.วิชัย กล่าวว่า การแต่งตั้งอนุกรรมการ ทั้ง 13 ชุด ในครั้งนี้ ถือเป็นการก้าวก่ายอำนาจหน้าที่ของ สปสช.และ สตง.ที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดเจน เป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการแสวงหาประโยชน์จากฝ่ายการเมืองในกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ง่ายขึ้น ทำให้ภาคีภาคประชาชนและเครือข่ายผู้ป่วยในฐานะผู้เสียหาย และต้องรับผลจากมติและการแต่งตั้งดังกล่าว กำลังเตรียมการและปรึกษาฝ่ายกฎหมาย เพื่อขออำนาจศาลปกครองในการเพิกถอนมติการแต่งตั้งดังกล่าว
“การลาออกของ นางวรนุช หงสประภาส จากบอร์ด สปสช.และลาออกจากประธานคณะอนุกรรมการการเงินการคลังครั้งนี้ จะกระทบต่อการทำงานของบอร์ด สปสช.ที่มี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขนั่งเป็นประธานอย่างมาก เพราะจะต้องมีการพิจารณาเสนองบเหมาจ่ายรายหัวของปี 2556 ต่อคณะรัฐมนตรีในเร็วนี้ ซึ่งถ้า นางวรานุช ยังคงเป็นประธานคณะอนุกรรมการอยู่จะต้องรับกับแรงกดดัน จากฝ่ายต่างๆ เพราะมีแนวโน้มว่าจะมีการผลักดันให้เพิ่มงบเหมาจ่ายรายหัวครั้งใหญ่ให้ใกล้เคียงกับระบบประกันสังคมที่ชิงเพิ่มในอัตราสูงกว่าระบบสวัสดิการข้าราชการแล้ว รวมทั้งแรงกดดันในการจัดสรรงบประมาณลงสู่พื้นที่ของฝ่ายการเมือง โดยในอดีตที่ผ่านมาคณะอนุกรรมการชุดนี้มี ดร.โอฬาร ไชยประวัติ และ ดร.อัมมาร สยามวารา เคยเป็นประธาน” นพ.วิชัย กล่าว
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ มีเสียงคัดค้านจากเครือข่ายผู้ป่วยและกลุ่มรักหลักประกันสุขภาพ รวมทั้งชมรมแพทย์ชนบทในเรื่องความไม่ชอบมาพากล และการแต่งตั้งกลุ่มแพทย์ที่เคยคัดค้านนโยบายบัตรทอง โดยฝ่ายการเมืองเปิดโอกาสให้กลุ่มเหล่านี้เข้ายึดครองการกำหนดนโยบายของบอร์ดใหม่ สปสช.และเกรงว่า จะมีการเปลี่ยนหลักการของระบบบัตรทองที่ นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ร่วมกับภาคประชาชนได้สร้างไว้ แรงกดดันนี้อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้นางวรานุช ตัดสินใจลาออก
รายงานข่าวจากกระทรวงสาธารณสุข แจ้งว่า นางวรานุช หงสประภาส อดีตที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ ที่นายวิทยา บูรณศิริ รมว.สาธารณสุขเสนอให้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินการคลังในบอร์ด สปสช.ได้ยื่นใบลาออกจากกรรมการ สปสช.และประธานคณะอนุกรรมการการเงินการคลัง ใบลาออกได้ถึงมือ นายวิทยา แล้ว โดยไม่ทราบสาเหตุในการลาออกครั้งนี้ โดยในที่ประชุมเมื่อวันที่ 24 ม.ค.ที่ผ่านมา นางวรานุช ก็ไม่ได้เข้าร่วมประชุมทั้งที่มีวาระสำคัญในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการชุดต่างๆ และการเตรียมสรรหาเลขาธิการ สปสช.ใหม่ ขณะที่ นพ.วิชัย โชควิวัฒน และนายนิมิตร์ เทียนอุดม บอร์ด สปสช.ในสัดส่วนองค์กรภาคประชาชนประกาศถอนตัวจากการเป็นอนุกรรมการ สปสช.ทุกคณะ เพราะรับไม่ได้ที่ฝ่ายการเมืองใช้อำนาจและและเสียงข้างมากผลักดันการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ โดยไม่ฟังเสียงคัดค้านว่าผิดหลักการของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ที่ต้องการสร้างความสมดุลแยกให้ผู้ใช้บริการสาธารณสุขออกจากผู้ให้บริการโดยมี สปสช.เป็นผู้แทนและมีความสุ่มเสี่ยงกับการทำผิดกฎหมายในการเปิดโอกาสให้คณะอนุกรรมการและบอร์ดเข้าล้วงลูกการทำงานของ สปสช.และการตรวจสอบของ สตง.
นพ.วิชัย กล่าวว่า การแต่งตั้งอนุกรรมการ ทั้ง 13 ชุด ในครั้งนี้ ถือเป็นการก้าวก่ายอำนาจหน้าที่ของ สปสช.และ สตง.ที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างชัดเจน เป็นการเปิดโอกาสให้เกิดการแสวงหาประโยชน์จากฝ่ายการเมืองในกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ง่ายขึ้น ทำให้ภาคีภาคประชาชนและเครือข่ายผู้ป่วยในฐานะผู้เสียหาย และต้องรับผลจากมติและการแต่งตั้งดังกล่าว กำลังเตรียมการและปรึกษาฝ่ายกฎหมาย เพื่อขออำนาจศาลปกครองในการเพิกถอนมติการแต่งตั้งดังกล่าว
“การลาออกของ นางวรนุช หงสประภาส จากบอร์ด สปสช.และลาออกจากประธานคณะอนุกรรมการการเงินการคลังครั้งนี้ จะกระทบต่อการทำงานของบอร์ด สปสช.ที่มี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขนั่งเป็นประธานอย่างมาก เพราะจะต้องมีการพิจารณาเสนองบเหมาจ่ายรายหัวของปี 2556 ต่อคณะรัฐมนตรีในเร็วนี้ ซึ่งถ้า นางวรานุช ยังคงเป็นประธานคณะอนุกรรมการอยู่จะต้องรับกับแรงกดดัน จากฝ่ายต่างๆ เพราะมีแนวโน้มว่าจะมีการผลักดันให้เพิ่มงบเหมาจ่ายรายหัวครั้งใหญ่ให้ใกล้เคียงกับระบบประกันสังคมที่ชิงเพิ่มในอัตราสูงกว่าระบบสวัสดิการข้าราชการแล้ว รวมทั้งแรงกดดันในการจัดสรรงบประมาณลงสู่พื้นที่ของฝ่ายการเมือง โดยในอดีตที่ผ่านมาคณะอนุกรรมการชุดนี้มี ดร.โอฬาร ไชยประวัติ และ ดร.อัมมาร สยามวารา เคยเป็นประธาน” นพ.วิชัย กล่าว
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ มีเสียงคัดค้านจากเครือข่ายผู้ป่วยและกลุ่มรักหลักประกันสุขภาพ รวมทั้งชมรมแพทย์ชนบทในเรื่องความไม่ชอบมาพากล และการแต่งตั้งกลุ่มแพทย์ที่เคยคัดค้านนโยบายบัตรทอง โดยฝ่ายการเมืองเปิดโอกาสให้กลุ่มเหล่านี้เข้ายึดครองการกำหนดนโยบายของบอร์ดใหม่ สปสช.และเกรงว่า จะมีการเปลี่ยนหลักการของระบบบัตรทองที่ นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ ร่วมกับภาคประชาชนได้สร้างไว้ แรงกดดันนี้อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้นางวรานุช ตัดสินใจลาออก