ไทยตั้งเป้าพัฒนาสุขภาพแม่และเด็ก ปี 58 มีแม่ตายไม่เกิน 9 คน ต่อการเกิด 1 แสนคน และเด็กตายไม่เกิน 4.3 คน ต่อการเกิดและอยู่รอด 1 พันคน เร่งประชุมร่วมประเทศกลุ่มอาเซียน กำหนดแผนงานระดับภูมิภาค
นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้กล่าวถึงการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อจัดทำแผนงานและตัวชี้วัดประเมินผลการพัฒนาสุขภาพอนามัยแม่และเด็กของอาเซียน พ.ศ. 2553-2558 ระหว่างวันที่ 30 ม.ค. - 2 ก.พ. ที่โรงแรมอมารี วอเตอร์เกต กทม. ว่าการประชุมดังกล่าวเป็นการจัดประชุมนานาชาติ โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการด้านอนามัยแม่และเด็กจาก 10 ประเทศในอาเซียน ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า รวมทั้งจากองค์การอนามัยโลก (WHO) สำนักเลขาธิการสาธารณสุขอาเซียน องค์กรยูนิเซฟ (UNICEF) องค์กรพัฒนาประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNDP) กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) โครงการความปลอดภัยชีวิตเด็ก (Save the Children) และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของประเทศญี่ปุ่น หรือไจก้า รวม 50 คน
นพ.โสภณ กล่าวว่า การประชุมจะเร่งจัดทำแผนการพัฒนาสุขภาพประชากรลดปัญหาการเสียชีวิตของแม่และเด็กในกลุ่ม 10 ประเทศอาเซียน ซึ่งมีประชากรรวมกันประมาณ 590 ล้านคน ตามกรอบแผนความร่วมมือการดำเนินงานการพัฒนาด้านสาธารณสุขของอาเซียน พ.ศ. 2553-2558 ซึ่งประกอบด้วยงานด้านสาธารณสุข 2 ด้าน คือ การส่งเสริมงานอนามัยแม่และเด็ก และการควบคุมโรคไม่ติดต่อ โดยตั้งเป็นคณะกรรมสาธารณสุขอาเซียน ซึ่งการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กนี้ ถือเป็นพันธะของทุกประเทศ ที่จะดำเนินการตามปฏิญญาแห่งสหัสวรรษของสหประชาชาติ (Millennium Development Goals :MDG )ขององค์การสหประชาชาติ ที่ประกาศในพ.ศ. 2533 และกำหนดให้ภายใน พ.ศ. 2558 หรืออีก 3 ปี จะลดอัตราการตายของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ลง 2 ใน 3 และลดอัตราการเสียชีวิตของแม่ลง 3 ใน 4 ของปี 2533 เช่นกัน
“สำหรับผลการพัฒนาอนามัยแม่และเด็กของไทยตามปฏิญญาแห่งสหัสวรรษมีความก้าวหน้า โดยในปี 2533 ไทยมีอัตราส่วนการตายของแม่ 36.0 คนต่อการเกิดและอยู่รอด 1 แสน คน ซึ่งเป้าหมายในอนาคต ปี 2558 กำหนดให้เหลืออัตราไม่เกิน 9 คน ส่วนผลการดำเนินการในปี 2553 ไทยมีอัตราตายของแม่ 10.2 คนต่อการเกิดและอยู่รอด 1 แสนคน ส่วนอัตราตายของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในปี 2533 ไทยมี 12.8 คนต่อการเกิดมีชีพ 1 พันคน กำหนดให้เหลือไม่เกิน 4.3 คนต่อการเกิดมีชีพทุก 1 พันคน ในปี 2558 และผลการดำเนินการใน พ.ศ. 2553 ไทยลดได้เหลือ 7.0 คนต่อการเกิดและอยู่รอดของเด็ก 1 พันคน” นพ.โสภณกล่าว
นพ.โสภณ เมฆธน รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้กล่าวถึงการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เพื่อจัดทำแผนงานและตัวชี้วัดประเมินผลการพัฒนาสุขภาพอนามัยแม่และเด็กของอาเซียน พ.ศ. 2553-2558 ระหว่างวันที่ 30 ม.ค. - 2 ก.พ. ที่โรงแรมอมารี วอเตอร์เกต กทม. ว่าการประชุมดังกล่าวเป็นการจัดประชุมนานาชาติ โดยมีผู้เข้าร่วมเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการด้านอนามัยแม่และเด็กจาก 10 ประเทศในอาเซียน ได้แก่ ไทย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน ลาว กัมพูชา เวียดนาม และพม่า รวมทั้งจากองค์การอนามัยโลก (WHO) สำนักเลขาธิการสาธารณสุขอาเซียน องค์กรยูนิเซฟ (UNICEF) องค์กรพัฒนาประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNDP) กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA) โครงการความปลอดภัยชีวิตเด็ก (Save the Children) และองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของประเทศญี่ปุ่น หรือไจก้า รวม 50 คน
นพ.โสภณ กล่าวว่า การประชุมจะเร่งจัดทำแผนการพัฒนาสุขภาพประชากรลดปัญหาการเสียชีวิตของแม่และเด็กในกลุ่ม 10 ประเทศอาเซียน ซึ่งมีประชากรรวมกันประมาณ 590 ล้านคน ตามกรอบแผนความร่วมมือการดำเนินงานการพัฒนาด้านสาธารณสุขของอาเซียน พ.ศ. 2553-2558 ซึ่งประกอบด้วยงานด้านสาธารณสุข 2 ด้าน คือ การส่งเสริมงานอนามัยแม่และเด็ก และการควบคุมโรคไม่ติดต่อ โดยตั้งเป็นคณะกรรมสาธารณสุขอาเซียน ซึ่งการพัฒนางานอนามัยแม่และเด็กนี้ ถือเป็นพันธะของทุกประเทศ ที่จะดำเนินการตามปฏิญญาแห่งสหัสวรรษของสหประชาชาติ (Millennium Development Goals :MDG )ขององค์การสหประชาชาติ ที่ประกาศในพ.ศ. 2533 และกำหนดให้ภายใน พ.ศ. 2558 หรืออีก 3 ปี จะลดอัตราการตายของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ลง 2 ใน 3 และลดอัตราการเสียชีวิตของแม่ลง 3 ใน 4 ของปี 2533 เช่นกัน
“สำหรับผลการพัฒนาอนามัยแม่และเด็กของไทยตามปฏิญญาแห่งสหัสวรรษมีความก้าวหน้า โดยในปี 2533 ไทยมีอัตราส่วนการตายของแม่ 36.0 คนต่อการเกิดและอยู่รอด 1 แสน คน ซึ่งเป้าหมายในอนาคต ปี 2558 กำหนดให้เหลืออัตราไม่เกิน 9 คน ส่วนผลการดำเนินการในปี 2553 ไทยมีอัตราตายของแม่ 10.2 คนต่อการเกิดและอยู่รอด 1 แสนคน ส่วนอัตราตายของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ในปี 2533 ไทยมี 12.8 คนต่อการเกิดมีชีพ 1 พันคน กำหนดให้เหลือไม่เกิน 4.3 คนต่อการเกิดมีชีพทุก 1 พันคน ในปี 2558 และผลการดำเนินการใน พ.ศ. 2553 ไทยลดได้เหลือ 7.0 คนต่อการเกิดและอยู่รอดของเด็ก 1 พันคน” นพ.โสภณกล่าว