แม้ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มานานกว่า 35 ปีแล้ว แต่หลังจากที่พระองค์ได้ตรัสอีกสองครั้งในวันที่ 4 ธันวาคม 2540 และ 2541 แล้ว ปรากฏว่าความเข้าใจของชาวไทยก็ยังมีไม่มากนักและตีความแตกต่างกันไป รัฐบาลหลังจากนั้นก็ได้บรรจุคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” ไว้ในนโยบายทุกครั้ง แต่ในความเป็นจริงการกระทำของรัฐบาลจะเป็นเช่นไรนั้นสามารถตรวจสอบได้จากตัวเลขบางตัว
ถ้าเราเข้าใจสองสิ่งต่อไปนี้คือ (1) หลักการสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ (2) สัดส่วนของมูลค่าสินค้าส่งออกต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพี เราจะพบว่าประเทศเรากำลังเดินห่างออกจากแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้นทุกวัน ผมจะขอกล่าวถึงสิ่งที่สองก่อนนะครับเพราะสามารถเข้าใจได้ง่ายกว่า
ในปี 2529 ซึ่งเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของรัฐบาลที่ใช้คำขวัญว่า “เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า” ประเทศไทยส่งสินค้าออกคิดเป็นมูลค่าประมาณ 20% ของจีดีพี นั่นหมายความว่ามูลค่าสินค้าส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80) ที่เราผลิตได้ภายในประเทศ เราใช้สำหรับการบริโภคภายในประเทศของเราเอง ที่เหลืออีกส่วนน้อยคือร้อยละ 20 เราส่งออกไปขายต่างประเทศ ถ้าประเทศผู้ซื้อประสบกับปัญหาใดๆ ไม่ว่าจะจากภัยเศรษฐกิจหรือภัยธรรมชาติจนต้องลดการบริโภคลง เราในฐานะผู้ผลิตก็จะไม่เดือดร้อนมากนัก พอจะขยับขยายยักย้ายถ่ายเทสินค้าไปที่อื่นหรือกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศก็ยังพอได้
แต่เมื่อผ่านไป 25 ปี สัดส่วนมูลค่าสินค้าส่งออกได้เพิ่มขึ้นทุกปี บางปีถึง 64% (ปี 2551 ดูกราฟประกอบ ที่มาจากข้อมูลดิบจากกระทรวงพลังงาน) นั่นหมายความว่า สองในสามส่วนของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศนั้นเราผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของชาวต่างประเทศ โปรดสังเกตว่าในปี 2552 ซึ่งเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา มูลค่าการส่งออกของเราลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 57 ซึ่งเป็นการลดที่ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับปี 2540 ที่เราเกิดวิกฤตภายในประเทศของเราเอง (วิกฤตต้มยำกุ้ง)
จากข้อมูลดังกล่าว ได้ชี้ให้เราเห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยไม่ได้เป็นอิสระ แต่กลับขึ้นอยู่กับการบริโภคของต่างประเทศมากขึ้นทุกขณะ เศรษฐกิจในลักษณะนี้เป็นเศรษฐกิจที่มีความเสี่ยง ยิ่งประเทศเรามีขนาดเศรษฐกิจขนาดเล็ก เมื่อต่างประเทศเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยก็ย่อมส่งผลกระทบต่อเราอย่างรุนแรงและกว้างขวาง มีบางคนเคยเปรียบเทียบว่า แค่เขาออกอาการไอเพียงเล็กน้อย เราก็ป่วยเจ็บจนหนาวสั่นแล้ว ถ้าพูดตามภาษาของเศรษฐกิจพอเพียงก็จะได้ว่าเพราะเราขาดภูมิคุ้มกันในตัว (self-immunity)
แต่ก่อนจะขึ้นประเด็นใหม่ ผมขอเสริมอีกสักนิดว่า เราได้พูดถึงการผลิตเพื่อการส่งออกเป็นส่วนใหญ่ แต่ยังไม่ได้สนใจว่า ผู้ผลิตสินค้ารวมทั้งผู้บริการนั้นมีคนไทยเป็นเจ้าของกิจการสักกี่ราย นอกจากนี้ถ้าเปรียบโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นเก้าอี้สามขา คือการเกษตร อุตสาหกรรม และ การบริการ พบว่าภาคการเกษตรที่จำนวนประชากรประมาณ 40-45% แต่มีส่วนร่วมในจีดีพีเพียง 10% เท่านั้น นั่นแสดงว่าเก้าอี้ประเทศไทยกำลังมีความเสี่ยงมาก อาจล้มลงมาได้ง่ายๆ
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร?
ผมเองขอสารภาพว่ายังไม่ค่อยเข้าใจปรัชญานี้ดีนักเช่นกัน แต่เมื่อได้อ่านคำอธิบายในหนังสือ“เศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนามนุษย์ (Sufficiency Economy and Human Development 2007)” ซึ่งเขียนโดยหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติที่ว่าด้วยโครงการพัฒนา (UNDP) ที่มีแผนผังประกอบทำให้ผมคิดว่าผมเข้าใจดีขึ้น แผนผังข้างล่างนี้ ผมได้พยายามแปลเป็นภาษาไทยคู่กับภาษาอังกฤษต้นฉบับเดิม
หลักการสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียงมี 3 องค์ประกอบ คือ (1) พอประมาณ (2) มีเหตุผล และ (3) มีภูมิคุ้มกันในตัว ทั้ง 3 องค์ประกอบนี้มีบางส่วนที่ทับซ้อนซึ่งกันและกัน พอประมาณมีความเชื่อมโยงกับความพอเพียง (sufficiency) ซึ่งคำว่า “พอ (enough)” ในสังคมไทยมีสองความหมายคือ ไม่น้อยเกินไป (not too little) และ ไม่มากเกินไป (not too much) นี่คือความหมายของ “พอประมาณ” ที่ต้องมีควบคู่กับ “มีเหตุผล”
องค์ประกอบที่สามที่ผมจะกล่าวถึงในที่นี้ คือ ภูมิคุ้มกันในตัว เอกสารฉบับนี้ได้อธิบายว่า “คือการสร้างความแข็งแกร่งภายในของทุกระดับ ทั้งในระดับบุคคล ชุมชนและประเทศชาติให้สามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งจากเหตุภายในและภายนอก ความกดดันและการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันได้” หรือมีภูมิคุ้มกันในตัวนั่นเอง
จากที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่า ประมาณ 2 ใน 3 ของจีดีพีมาจากภาคการส่งออกเพียงอย่างเดียว เราจึงสามารถสรุปได้ว่าประเทศไทยเราไม่มีภูมิคุ้มกันภายใน เมื่อเป็นเช่นนี้จึงสรุปต่อไปได้ว่า ไม่ใช่ “เศรษฐกิจพอเพียง” จะมีก็แค่หลอกๆ บนแผ่นกระดาษนโยบายของรัฐบาลเท่านั้น (อาจมีบ้างในระดับชุมชนบางแห่ง)
ในแผนผังนี้ยังแสดงเงื่อนไขที่จำเป็นอีก 2 อย่าง ที่ทำให้หลักการนี้เกิดขึ้นได้คือต้องมีความรู้และคุณธรรม เมื่อมีครบถ้วนแล้วจะนำสังคมไทยไปสู่ ความสมานฉันท์ มั่นคง และยั่งยืน โดยต้องเฝ้าระวังผลกระทบทางด้านวัตถุ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของระบอบโลกาภิวัตน์ ผมว่าเป็นการอธิบายที่เข้าใจง่าย ครบถ้วนและสุดยอด รวมถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยครับ ขอให้มีการนำไปปฏิบัติกันจริงๆ เถอะ แล้วจะเกิดความสุขร่วมกันของมนุษย์และโลกใบนี้ ดังสมการที่ผมเขียนถึงเมื่อครั้งที่แล้ว
ถ้าเราเข้าใจสองสิ่งต่อไปนี้คือ (1) หลักการสำคัญของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ (2) สัดส่วนของมูลค่าสินค้าส่งออกต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพี เราจะพบว่าประเทศเรากำลังเดินห่างออกจากแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้นทุกวัน ผมจะขอกล่าวถึงสิ่งที่สองก่อนนะครับเพราะสามารถเข้าใจได้ง่ายกว่า
ในปี 2529 ซึ่งเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของรัฐบาลที่ใช้คำขวัญว่า “เปลี่ยนสนามรบเป็นสนามการค้า” ประเทศไทยส่งสินค้าออกคิดเป็นมูลค่าประมาณ 20% ของจีดีพี นั่นหมายความว่ามูลค่าสินค้าส่วนใหญ่ (ร้อยละ 80) ที่เราผลิตได้ภายในประเทศ เราใช้สำหรับการบริโภคภายในประเทศของเราเอง ที่เหลืออีกส่วนน้อยคือร้อยละ 20 เราส่งออกไปขายต่างประเทศ ถ้าประเทศผู้ซื้อประสบกับปัญหาใดๆ ไม่ว่าจะจากภัยเศรษฐกิจหรือภัยธรรมชาติจนต้องลดการบริโภคลง เราในฐานะผู้ผลิตก็จะไม่เดือดร้อนมากนัก พอจะขยับขยายยักย้ายถ่ายเทสินค้าไปที่อื่นหรือกระตุ้นการบริโภคภายในประเทศก็ยังพอได้
แต่เมื่อผ่านไป 25 ปี สัดส่วนมูลค่าสินค้าส่งออกได้เพิ่มขึ้นทุกปี บางปีถึง 64% (ปี 2551 ดูกราฟประกอบ ที่มาจากข้อมูลดิบจากกระทรวงพลังงาน) นั่นหมายความว่า สองในสามส่วนของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศนั้นเราผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของชาวต่างประเทศ โปรดสังเกตว่าในปี 2552 ซึ่งเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกา มูลค่าการส่งออกของเราลดลงมาอยู่ที่ร้อยละ 57 ซึ่งเป็นการลดที่ค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับปี 2540 ที่เราเกิดวิกฤตภายในประเทศของเราเอง (วิกฤตต้มยำกุ้ง)
จากข้อมูลดังกล่าว ได้ชี้ให้เราเห็นว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยไม่ได้เป็นอิสระ แต่กลับขึ้นอยู่กับการบริโภคของต่างประเทศมากขึ้นทุกขณะ เศรษฐกิจในลักษณะนี้เป็นเศรษฐกิจที่มีความเสี่ยง ยิ่งประเทศเรามีขนาดเศรษฐกิจขนาดเล็ก เมื่อต่างประเทศเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยก็ย่อมส่งผลกระทบต่อเราอย่างรุนแรงและกว้างขวาง มีบางคนเคยเปรียบเทียบว่า แค่เขาออกอาการไอเพียงเล็กน้อย เราก็ป่วยเจ็บจนหนาวสั่นแล้ว ถ้าพูดตามภาษาของเศรษฐกิจพอเพียงก็จะได้ว่าเพราะเราขาดภูมิคุ้มกันในตัว (self-immunity)
แต่ก่อนจะขึ้นประเด็นใหม่ ผมขอเสริมอีกสักนิดว่า เราได้พูดถึงการผลิตเพื่อการส่งออกเป็นส่วนใหญ่ แต่ยังไม่ได้สนใจว่า ผู้ผลิตสินค้ารวมทั้งผู้บริการนั้นมีคนไทยเป็นเจ้าของกิจการสักกี่ราย นอกจากนี้ถ้าเปรียบโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นเก้าอี้สามขา คือการเกษตร อุตสาหกรรม และ การบริการ พบว่าภาคการเกษตรที่จำนวนประชากรประมาณ 40-45% แต่มีส่วนร่วมในจีดีพีเพียง 10% เท่านั้น นั่นแสดงว่าเก้าอี้ประเทศไทยกำลังมีความเสี่ยงมาก อาจล้มลงมาได้ง่ายๆ
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร?
ผมเองขอสารภาพว่ายังไม่ค่อยเข้าใจปรัชญานี้ดีนักเช่นกัน แต่เมื่อได้อ่านคำอธิบายในหนังสือ“เศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนามนุษย์ (Sufficiency Economy and Human Development 2007)” ซึ่งเขียนโดยหน่วยงานขององค์การสหประชาชาติที่ว่าด้วยโครงการพัฒนา (UNDP) ที่มีแผนผังประกอบทำให้ผมคิดว่าผมเข้าใจดีขึ้น แผนผังข้างล่างนี้ ผมได้พยายามแปลเป็นภาษาไทยคู่กับภาษาอังกฤษต้นฉบับเดิม
หลักการสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียงมี 3 องค์ประกอบ คือ (1) พอประมาณ (2) มีเหตุผล และ (3) มีภูมิคุ้มกันในตัว ทั้ง 3 องค์ประกอบนี้มีบางส่วนที่ทับซ้อนซึ่งกันและกัน พอประมาณมีความเชื่อมโยงกับความพอเพียง (sufficiency) ซึ่งคำว่า “พอ (enough)” ในสังคมไทยมีสองความหมายคือ ไม่น้อยเกินไป (not too little) และ ไม่มากเกินไป (not too much) นี่คือความหมายของ “พอประมาณ” ที่ต้องมีควบคู่กับ “มีเหตุผล”
องค์ประกอบที่สามที่ผมจะกล่าวถึงในที่นี้ คือ ภูมิคุ้มกันในตัว เอกสารฉบับนี้ได้อธิบายว่า “คือการสร้างความแข็งแกร่งภายในของทุกระดับ ทั้งในระดับบุคคล ชุมชนและประเทศชาติให้สามารถเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงทั้งจากเหตุภายในและภายนอก ความกดดันและการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันได้” หรือมีภูมิคุ้มกันในตัวนั่นเอง
จากที่ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่า ประมาณ 2 ใน 3 ของจีดีพีมาจากภาคการส่งออกเพียงอย่างเดียว เราจึงสามารถสรุปได้ว่าประเทศไทยเราไม่มีภูมิคุ้มกันภายใน เมื่อเป็นเช่นนี้จึงสรุปต่อไปได้ว่า ไม่ใช่ “เศรษฐกิจพอเพียง” จะมีก็แค่หลอกๆ บนแผ่นกระดาษนโยบายของรัฐบาลเท่านั้น (อาจมีบ้างในระดับชุมชนบางแห่ง)
ในแผนผังนี้ยังแสดงเงื่อนไขที่จำเป็นอีก 2 อย่าง ที่ทำให้หลักการนี้เกิดขึ้นได้คือต้องมีความรู้และคุณธรรม เมื่อมีครบถ้วนแล้วจะนำสังคมไทยไปสู่ ความสมานฉันท์ มั่นคง และยั่งยืน โดยต้องเฝ้าระวังผลกระทบทางด้านวัตถุ สังคม วัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของระบอบโลกาภิวัตน์ ผมว่าเป็นการอธิบายที่เข้าใจง่าย ครบถ้วนและสุดยอด รวมถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้วยครับ ขอให้มีการนำไปปฏิบัติกันจริงๆ เถอะ แล้วจะเกิดความสุขร่วมกันของมนุษย์และโลกใบนี้ ดังสมการที่ผมเขียนถึงเมื่อครั้งที่แล้ว