xs
xsm
sm
md
lg

“ฮุนเซน” ระบุกวาดล้างทุ่นระเบิดในประเทศคืบหน้า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

<br><FONT color=#000033>นายกรัฐมตรีฮุนเซน กล่าวเปิดการประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดครั้งที่ 11 ในกรุงพนมเปญ เมื่อวันที่ 27 พ.ย.  ผู้แทนที่มาจากประเทศต่างๆ กว่า 100 ประเทศ ได้เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้เพื่อหารือเกี่ยวกับความคืบหน้าในการกวาดล้างทุ่นระเบิด. --AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy. </font></b>

ซินหัว - การประชุมรัฐภาคีอนุสัญญาห้ามทุ่นระเบิดครั้งที่ 11 หรือ อนุสัญญาออตตาวา ได้เริ่มขึ้นแล้วเมื่อเย็นวันอาทิตย์ (27 พ.ย.) ที่กรุงพนมเปญ ของกัมพูชา โดยมีรัฐมนตรี นักการทูต ผู้เชี่ยวชาญด้านทุ่นระเบิด นักเคลื่อนไหวภาคประชาสังคม และผู้รอดชีวิตราว 1,000 คน จาก 120 ประเทศ เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้

การประชุมครั้งนี้นับเป็นการประชุมระดับพหุภาคีครั้งใหญ่ที่สุดที่เคยจัดในกัมพูชา โดยนายกรัฐมนตรีฮุนเซน กล่าวเปิดการประชุมที่จัดขึ้นที่ทำเนียบสันติภาพในกรุงพนมเปญ ว่า นับเป็นเกียรติอย่างยิ่งสำหรับประเทศที่ได้เป็นเจ้าภาพในการจัดการประชุมเช่นนี้ และว่า กัมพูชาได้กวาดล้างทุ่นระเบิดและปล่อยที่ดินให้ใช้ทำการเกษตร หลังจากประเทศหลุดพ้นจากการปกครองในระบอบเขมรแดง ช่วงต้นปี 2522

“การกวาดล้างทุ่นระเบิดในประเทศคืบหน้าไปอย่างมาก จำนวนเหยื่อทุ่นระเบิดลดลงจาก 4,320 คน ในปี 2539 เหลือเพียง 286 คน ในปี 2553 และในระหว่าง 10 เดือนแรกของปี 2554 จำนวนเหยื่อทุ่นระเบิดลดลงเหลือเพียง 152 คน” นายกฯฮุนเซน กล่าว และเชื่อว่าจำนวนเหยื่อทุ่นระเบิดจะน้อยกว่า 200 คน รวมตลอดปี 2554 นี้

นายกฯฮุนเซน ระบุว่า ในตอนท้ายของการประชุมตลอดสัปดาห์นี้ ผู้เข้าร่วมประชุมจะพิจารณาและรายงานความคืบหน้าการประชุม รวมทั้งรายละเอียดความคืบหน้าการทำงานในปีที่ผ่านมา รวมทั้งจัดลำดับพื้นที่สำคัญที่จะดำเนินการต่อในปีถัดไป

นางเฮเลน คลาร์ก หัวหน้าสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ หรือ UNDP กล่าวว่า การประชุมรัฐภาคีครั้งที่ 11 นี้ เป็นการฉลองความคืบหน้าเอาชนะการคุกคามของทุ่นระเบิด และยอมรับว่า ยังมีงานอีกมากในการกำจัดทุ่นระเบิดที่ยังหลงเหลืออยู่ทั่วโลก

“การประชุมครั้งนี้เป็นโอกาสที่ดีที่ทำได้รับรู้ว่าพลังของความร่วมมือระหว่างรัฐ ภาคประชาสังคม และองค์กรระหว่างประเทศ ในด้านมนุษยธรรมทางการทูตเป็นการป้องกันตามธรรมชาติ และช่วยสร้างโลกให้มีสันติและความปลอดภัยมากขึ้น” นางเฮเลน คลาร์ก กล่าว และว่า การระบุจำนวนที่ชัดเจนของเหยื่อและผู้รอดชีวิตจากทุ่นระเบิดเป็นเรื่องยาก แต่โครงการรณรงค์ห้ามใช้ทุ่นระเบิดสากล ประเมินว่า อาวุธชนิดนี้ได้สังหารและทำให้ประชาชนต้องพิการแล้วหลายล้านคน ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา โดย 71% ของเหยื่อทุ่นระเบิดเป็นพลเรือน และเป็นเด็กถึง 32%

อนุสัญญาออตตาวาเป็นอนุสัญญาห้ามการใช้ กักตุน ผลิตและลำเลียงทุ่นระเบิดสังหารบุคคล รวมถึงการทำลายทุ่นระเบิด มีผลบังคับใช้ในปี 2542 นับจนถึงปัจจุบัน มีประเทศเข้าร่วมในอนุสัญญานี้ 158 ประเทศ และ153 ประเทศรายงานว่าไม่มีการกักตุนทุ่นระเบิดในครอบครอง และทุ่นระเบิดมากกว่า 44.5 ล้านทุ่น ได้ถูกทำลายลงแล้ว

กัมพูชาเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากทุ่นระเบิดเลวร้ายที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ซึ่งเป็นผลมาจากสงครามและความขัดแย้งภายในประเทศที่ยาวนานเกือบ 3 ทศวรรษ ที่สิ้นสุดลงเมื่อปี 2541 และรายงานจากระบบสารนิเทศเหยื่อสงครามจากวัตถุระเบิดและทุ่นระเบิดกัมพูชาระบุว่า ตั้งแต่ปี 2522 จนถึงเดือน ก.ย.2554 ทุ่นระเบิดในกัมพูชาทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 19,608 คน และได้รับบาดเจ็บอีก 44,346 คน และกัมพูชาต้องการเงินทุนราว 30 ล้านดอลลาร์ต่อปี เพื่อกำจัดทุ่นระเบิดทั้งหมดในอีก 10 ปีข้างหน้า
<br><FONT color=#000033> นายกรัฐมนตรีฮุนเซน (ซ้าย) และนางเฮเลน คลาร์ก หัวหน้าสำนักงาน UNDP ยืนดูขาเทียมพลาสติกสำหรับผู้พิการ หลังเปิดการประชุม กัมพูชาเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างเลวร้ายจากทุ่นระเบิดที่หลงเหลือจากสงครามกลางเมือง. --AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy. </font></b>
<br><FONT color=#000033>นักกู้ระเบิดชาวเขมร (กลาง) ตรวจสอบพื้นที่ด้วยเครื่องตรวจจับโลหะ ขณะที่ผู้แทนจากประเทศผู้บริจาคร่วมดูการสาธิต ในศูนย์ฝึกอบรมเก็บกู้วัตถุระเบิด (TMCC) ห่างจากกรุงพนมเปญไปทางเหนือราว 40 กม. เมื่อวันที่ 27 พ.ย. --AFP PHOTO/Tang Chhin Sothy. </font></b>
กำลังโหลดความคิดเห็น