กรมควบคุมโรคสานต่อนโยบายลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของการติดเชื้อเอชไอวี หลังพบผู้ติดเชื้อฯ รายใหม่ เป็นผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีด 900 ราย
วันนี้ (11 ม.ค.) นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวภายหลังการสัมมนา เรื่องการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดกับประเด็นของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนว่า ยาเสพติด เอดส์ และเพศสัมพันธ์ มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิด จากรายงานของโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) กองทุนช่วยเหลือเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ตลอดจนคณะทำงานป้องกันเอดส์โลก พบว่าโครงการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด เป็นการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการรับและถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีของผู้ใช้ยาเสพติดที่ยังเลิกใช้ยาเสพติดไม่ได้ มีผลให้ลดอัตราการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีด และทำให้ผู้ใช้ยาเสพติดได้เข้าถึงบริการบำบัดรักษายาเสพติดเป็นจำนวนมากขึ้น
นพ.สมศักดิ์กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่ยังมีชีวิตอยู่ประมาณ 500,000 คน จากการคาดประมาณจำนวนผู้ติดเชื้อฯรายใหม่ เป็นผู้ติดเชื้อฯ จากการฉีดยาเสพติดคิดเป็นร้อยละ 8.7 ของผู้ติดเชื้อฯ รายใหม่ทั้งหมด และในการติดตามแนวโน้มของการติดเชื้อฯ ในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติด ด้วยวิธีฉีด พบว่าอัตราความชุกการติดเชื้อฯในช่วงปี 2543-2552 อยู่ระหว่าง ร้อยละ 30-40 มาโดยตลอด ทั้งนี้จำนวนผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีดในประเทศจากการคาดประมาณโดยหน่วยงานต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 30,000 คน และด้วยอัตราการใช้เข็มและกระบอกฉีดร่วมกันที่สูงถึงร้อยละ 36 ในปี พ.ศ. 2551 ทำให้คาดประมาณว่ามีผู้ติดเชื้อฯรายใหม่ที่เป็นผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีดในปี 2553 จำนวนประมาณ 900 คน นอกจากการติดเชื้อเอชไอวีแล้ว ผู้ฉีดยาเสพติดยังติดเชื้อโรคที่ติดต่อทางเลือดอื่นๆ ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบ เอ ไวรัสตับอักเสบ บี และไวรัสตับอักเสบ ซี ในอัตราสูงเช่นกัน
รองอธิบดีฯ กล่าวว่า ในส่วนของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้นำนโยบายลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดสู่การปฏิบัติ โดยกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ 3 ด้าน ได้แก่ 1. ศาสตร์การบริการแบบบูรณาการและครบวงจร โดยมีมาตรการ ดังนี้ (1. เสริมสร้างความเข้าใจเชิงบวกของชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม ในการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (2. พัฒนาและให้บริการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดที่เป็นชุดบริการแบบครบวงจร ประกอบด้วย บริการ 10 ด้านให้ผู้ใช้ยาเสพติดแต่ละคนได้เข้าถึงบริการทุกด้านอย่างเหมาะสมและทั่วถึงโดยหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคม 2.ยุทธศาสตร์การบริการเชิงรุก โดยมีมาตรการ ดังนี้ (1. เพิ่มการเข้าถึงผู้ใช้ยาเสพติดในชุมชนโดยเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครของภาครัฐและภาคประชาสังคม เพื่อให้ผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีดเข้าสู่ระบบบริการตามมาตรฐานของประเทศในการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดอย่างครบวงจร (2. เสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรและเครือข่ายที่ทำงานเกี่ยวกับการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีด และ (3. เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด
และ 3. ยุทธศาสตร์การศึกษาวิจัยและประเมินผล โดยมีมาตรการ ดังนี้ (1. พัฒนาระบบข้อมูลข้อสนเทศที่เกี่ยวข้องกับนโยบายลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด (2. ศึกษาวิจัยผลกระทบของการดำเนินงานลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด เพื่อนำมาใช้ปรับปรุงนโยบายและวิธีการดำเนินงาน (3. ติดตามและประเมินผลนโยบายและการดำเนินงานลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด
สำหรับการสัมมนาในวันนี้มีประเด็นหลักสำคัญ 3 หัวข้อ คือ 1. หลักการการดำเนินงานลดอันตรายจากการใช้ยากับประเด็นของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 2. สถานการณ์การดำเนินงานลดอันตรายจากการใช้ยาภายใต้นโยบายปฏิบัติการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด และ 3. ทางออกในการดำเนินงานลดอันตรายจากการใช้ยาของประเทศไทย ซึ่งการสัมมนาได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน ดังนี้ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และภาคประชาสังคม
วันนี้ (11 ม.ค.) นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวภายหลังการสัมมนา เรื่องการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดกับประเด็นของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนว่า ยาเสพติด เอดส์ และเพศสัมพันธ์ มีความเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิด จากรายงานของโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) กองทุนช่วยเหลือเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF) และองค์การอนามัยโลก (WHO) ตลอดจนคณะทำงานป้องกันเอดส์โลก พบว่าโครงการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด เป็นการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการรับและถ่ายทอดเชื้อเอชไอวีของผู้ใช้ยาเสพติดที่ยังเลิกใช้ยาเสพติดไม่ได้ มีผลให้ลดอัตราการติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีด และทำให้ผู้ใช้ยาเสพติดได้เข้าถึงบริการบำบัดรักษายาเสพติดเป็นจำนวนมากขึ้น
นพ.สมศักดิ์กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ติดเชื้อเอชไอวี ที่ยังมีชีวิตอยู่ประมาณ 500,000 คน จากการคาดประมาณจำนวนผู้ติดเชื้อฯรายใหม่ เป็นผู้ติดเชื้อฯ จากการฉีดยาเสพติดคิดเป็นร้อยละ 8.7 ของผู้ติดเชื้อฯ รายใหม่ทั้งหมด และในการติดตามแนวโน้มของการติดเชื้อฯ ในกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติด ด้วยวิธีฉีด พบว่าอัตราความชุกการติดเชื้อฯในช่วงปี 2543-2552 อยู่ระหว่าง ร้อยละ 30-40 มาโดยตลอด ทั้งนี้จำนวนผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีดในประเทศจากการคาดประมาณโดยหน่วยงานต่างๆ ไม่ต่ำกว่า 30,000 คน และด้วยอัตราการใช้เข็มและกระบอกฉีดร่วมกันที่สูงถึงร้อยละ 36 ในปี พ.ศ. 2551 ทำให้คาดประมาณว่ามีผู้ติดเชื้อฯรายใหม่ที่เป็นผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีดในปี 2553 จำนวนประมาณ 900 คน นอกจากการติดเชื้อเอชไอวีแล้ว ผู้ฉีดยาเสพติดยังติดเชื้อโรคที่ติดต่อทางเลือดอื่นๆ ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบ เอ ไวรัสตับอักเสบ บี และไวรัสตับอักเสบ ซี ในอัตราสูงเช่นกัน
รองอธิบดีฯ กล่าวว่า ในส่วนของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้นำนโยบายลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดสู่การปฏิบัติ โดยกำหนดเป็นยุทธศาสตร์ 3 ด้าน ได้แก่ 1. ศาสตร์การบริการแบบบูรณาการและครบวงจร โดยมีมาตรการ ดังนี้ (1. เสริมสร้างความเข้าใจเชิงบวกของชุมชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคประชาสังคม ในการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี (2. พัฒนาและให้บริการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดที่เป็นชุดบริการแบบครบวงจร ประกอบด้วย บริการ 10 ด้านให้ผู้ใช้ยาเสพติดแต่ละคนได้เข้าถึงบริการทุกด้านอย่างเหมาะสมและทั่วถึงโดยหน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคม 2.ยุทธศาสตร์การบริการเชิงรุก โดยมีมาตรการ ดังนี้ (1. เพิ่มการเข้าถึงผู้ใช้ยาเสพติดในชุมชนโดยเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครของภาครัฐและภาคประชาสังคม เพื่อให้ผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีดเข้าสู่ระบบบริการตามมาตรฐานของประเทศในการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดอย่างครบวงจร (2. เสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรและเครือข่ายที่ทำงานเกี่ยวกับการลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติดทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม และกลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดด้วยวิธีฉีด และ (3. เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของครอบครัว ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด
และ 3. ยุทธศาสตร์การศึกษาวิจัยและประเมินผล โดยมีมาตรการ ดังนี้ (1. พัฒนาระบบข้อมูลข้อสนเทศที่เกี่ยวข้องกับนโยบายลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด (2. ศึกษาวิจัยผลกระทบของการดำเนินงานลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด เพื่อนำมาใช้ปรับปรุงนโยบายและวิธีการดำเนินงาน (3. ติดตามและประเมินผลนโยบายและการดำเนินงานลดอันตรายจากการใช้ยาเสพติด
สำหรับการสัมมนาในวันนี้มีประเด็นหลักสำคัญ 3 หัวข้อ คือ 1. หลักการการดำเนินงานลดอันตรายจากการใช้ยากับประเด็นของการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน 2. สถานการณ์การดำเนินงานลดอันตรายจากการใช้ยาภายใต้นโยบายปฏิบัติการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด และ 3. ทางออกในการดำเนินงานลดอันตรายจากการใช้ยาของประเทศไทย ซึ่งการสัมมนาได้รับความร่วมมือจากหน่วยงาน ดังนี้ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดกระทรวงยุติธรรม กระทรวงมหาดไทย สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ กรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และภาคประชาสังคม