ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - สสจ.สงขลา ร่วมสร้างกระแสสังคมสู่เป้าหมายลดผู้ติดเชื้อรายใหม่ ลดการตายเนื่องจากเอดส์ และลดการตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อผู้ป่วยโรคเอดส์เนื่องในวันเอดส์โลก
วันนี้ (1 ธ.ค.) ซึ่งเป็นวันเอดส์โลก นพ.ศิริชัย ลีวรรณนภาใส นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า โรคเอดส์ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญใน 10 อันดับแรกของประเทศไทย โดยในปีนี้องค์การเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) ได้กำหนดกรอบในการรณรงค์วันเอดส์โลก ปี 2554 และอีก 5 ปี ข้างหน้า (2554-2559) ว่า “Getting to Zero” หรือ “เอดส์ลดแล้ว... ลดอีก” ได้แก่ “Zero New HIV Infections, Zero AIDS-Related Deaths and Zero Discrimination” หรือ “ไม่มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ไม่มีการตายเนื่องจากเอดส์ และไม่มีการตีตราและเลือกปฏิบัติ” สำหรับประเทศไทยได้กำหนดวิสัยทัศน์สู่เป้าหมายที่เป็นศูนย์ในปี พ.ศ. 2555-2559 ไว้ 3 กรอบ คือ 1.ลดผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ 2.ลดการตายจากโรคเอดส์ และ3.ลดการตีตราและเลือกปฏิบัติ
น.พ.ศิริชัย ลีวรรณนภาใส ได้กล่าวต่ออีกว่า สถานการณ์โรคเอดส์ใน จ.สงขลา ยังเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องดำเนินการควบคุมป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเยาวชนและวัยรุ่นซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ทั้งนี้ จากรายงานของ จ.สงขลา ตั้งแต่ ปี 2531 - 30 ก.ย. 2554 พบว่ามีผู้ป่วยเอดส์ 5,077 คน เสียชีวิต 1,006 คน เป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์สูงสุด ร้อยละ 80.2 รองลงมาคือติดเชื้อจากมารดา ร้อยละ 4.7 และการเสพยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น ร้อยละ 4.4 โดยพบมากในกลุ่มวัยทำงานซึ่งมีอาชีพรับจ้าง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 25-39 ปี
ดังนั้น ในโอกาสวันเอดส์โลกปีนี้ จึงเชิญชวนร่วมรณรงค์เพื่อลดผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ลดการตายจากโรคเอดส์ และลดการตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ โดยหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนคู่นอน ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ตรวจเลือดก่อนแต่งงาน ตรวจเลือดก่อนตั้งครรภ์ เมื่อรู้ว่าตนเองมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีควรเข้ารับการตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีได้ที่โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง ซึ่งให้บริการฟรี 2 ครั้งต่อปี
และเมื่อทราบว่า ติดเชื้อเอชไอวี หรือป่วยเป็นโรคเอดส์ ควรเข้ารับการรักษาแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะทำให้การรักษาได้ผลดี และลดการถ่ายทอดเชื้อไปยังผู้อื่นด้วย นอกจากนี้ เชิญร่วมรณรงค์ลดการตีตราและเลือกปฏิบัติ โดยให้ความเคารพในสิทธิมนุษยชน ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น และไม่รังเกียจผู้ติดเชื้อเอชไอวี ไม่ตีตรา และไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกกลุ่มได้เข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
นพ.ศิริชัย ลีวรรณนภาใส ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า จังหวัดสงขลา มีเป้าหมายที่จะจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ลง 2 ใน 3 จากที่คาดประมาณ ลดอัตราการติดเชื้อเมื่อแรกเกิดให้มีจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 2 และไม่มีการตายเนื่องจากเอดส์ โดยผู้ติดเชื้อทุกคนจะได้รับความคุ้มครองทางสังคม และเข้าถึงการดูแลรักษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม ทั้งนี้ มุ่งเน้นให้ภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการรณรงค์และแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคเอดส์อย่างต่อเนื่อง
วันนี้ (1 ธ.ค.) ซึ่งเป็นวันเอดส์โลก นพ.ศิริชัย ลีวรรณนภาใส นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสงขลา เปิดเผยว่า โรคเอดส์ยังเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญใน 10 อันดับแรกของประเทศไทย โดยในปีนี้องค์การเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) ได้กำหนดกรอบในการรณรงค์วันเอดส์โลก ปี 2554 และอีก 5 ปี ข้างหน้า (2554-2559) ว่า “Getting to Zero” หรือ “เอดส์ลดแล้ว... ลดอีก” ได้แก่ “Zero New HIV Infections, Zero AIDS-Related Deaths and Zero Discrimination” หรือ “ไม่มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ไม่มีการตายเนื่องจากเอดส์ และไม่มีการตีตราและเลือกปฏิบัติ” สำหรับประเทศไทยได้กำหนดวิสัยทัศน์สู่เป้าหมายที่เป็นศูนย์ในปี พ.ศ. 2555-2559 ไว้ 3 กรอบ คือ 1.ลดผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ 2.ลดการตายจากโรคเอดส์ และ3.ลดการตีตราและเลือกปฏิบัติ
น.พ.ศิริชัย ลีวรรณนภาใส ได้กล่าวต่ออีกว่า สถานการณ์โรคเอดส์ใน จ.สงขลา ยังเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องดำเนินการควบคุมป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะเยาวชนและวัยรุ่นซึ่งมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวี ทั้งนี้ จากรายงานของ จ.สงขลา ตั้งแต่ ปี 2531 - 30 ก.ย. 2554 พบว่ามีผู้ป่วยเอดส์ 5,077 คน เสียชีวิต 1,006 คน เป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์สูงสุด ร้อยละ 80.2 รองลงมาคือติดเชื้อจากมารดา ร้อยละ 4.7 และการเสพยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น ร้อยละ 4.4 โดยพบมากในกลุ่มวัยทำงานซึ่งมีอาชีพรับจ้าง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 25-39 ปี
ดังนั้น ในโอกาสวันเอดส์โลกปีนี้ จึงเชิญชวนร่วมรณรงค์เพื่อลดผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ ลดการตายจากโรคเอดส์ และลดการตีตราและเลือกปฏิบัติต่อผู้ติดเชื้อและผู้ป่วยเอดส์ โดยหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนคู่นอน ควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ ตรวจเลือดก่อนแต่งงาน ตรวจเลือดก่อนตั้งครรภ์ เมื่อรู้ว่าตนเองมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชไอวีควรเข้ารับการตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีได้ที่โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง ซึ่งให้บริการฟรี 2 ครั้งต่อปี
และเมื่อทราบว่า ติดเชื้อเอชไอวี หรือป่วยเป็นโรคเอดส์ ควรเข้ารับการรักษาแต่เนิ่นๆ ซึ่งจะทำให้การรักษาได้ผลดี และลดการถ่ายทอดเชื้อไปยังผู้อื่นด้วย นอกจากนี้ เชิญร่วมรณรงค์ลดการตีตราและเลือกปฏิบัติ โดยให้ความเคารพในสิทธิมนุษยชน ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น และไม่รังเกียจผู้ติดเชื้อเอชไอวี ไม่ตีตรา และไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกกลุ่มได้เข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
นพ.ศิริชัย ลีวรรณนภาใส ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า จังหวัดสงขลา มีเป้าหมายที่จะจำนวนผู้ติดเชื้อเอชไอวีรายใหม่ลง 2 ใน 3 จากที่คาดประมาณ ลดอัตราการติดเชื้อเมื่อแรกเกิดให้มีจำนวนน้อยกว่าร้อยละ 2 และไม่มีการตายเนื่องจากเอดส์ โดยผู้ติดเชื้อทุกคนจะได้รับความคุ้มครองทางสังคม และเข้าถึงการดูแลรักษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม ทั้งนี้ มุ่งเน้นให้ภาคีเครือข่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนมีส่วนร่วมในการรณรงค์และแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคเอดส์อย่างต่อเนื่อง