ศธ.เตรียมเสนอสภาการศึกษา ไฟเขียวประกาศจำนวนเขตพื้นที่ฯ ใหม่เป็น 268 เขต จากเดิม 225 เขต เพิ่มเขตมัธยมฯ เป็น 82 เขตจากเดิม 42 พร้อมเดินหน้าประกาศยุทธศาสตร์พัฒนาการศึกษา ต้นเดือน ก.พ.นี้ เชิญนายกฯ เป็นประธานแถลงข่าว
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยถึงผลการประชุมผู้บริหารองค์กรหลัก ศธ.เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เสนอเพิ่มจำนวนเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศเป็น 268 เขต จากเดิม 225 เขต โดยเขตพื้นที่การศึกษาใหม่นี้ จะแยกเป็นเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) 82 เขต (77 จังหวัดละ 1 เขต ยกเว้น กรุงเทพฯ นครราชสีมา อุบลราชธานี เชียงใหม่ และนครศรีธรรมราช จังหวัดละ 2 เขต) และเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) 186 เขต ทั้งนี้ สพฐ.ได้นำข้อเสนอเพิ่มจำนวนเขตพื้นที่การศึกษาผ่านการรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วิเคราะห์ข้อดีข้อเสีย รูปแบบการบริหารจัดการเขตพื้นที่การศึกษาแล้ว หลังจากนี้ สพฐ.จะนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการสภาการศึกษา (สกศ.) เพื่อพิจารณาประกาศปรับปรุงการกำหนดเขตพื้นที่การศึกษาใหม่ภายในเดือนมกราคมนี้
นอกจากนั้น ยังได้ขอให้องค์กรหลักและหน่วยงานในกำกับของ ศธ.โดยเฉพาะ สพฐ.และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ช่วยรณรงค์ทำความเข้าใจเรื่องหลักสูตรมัธยมเชิงปฏิบัติการ เพราะยังมีหลายคนเข้าใจว่าเป็นหลักสูตรสายอาชีพเช่นเดียวกับหลักสูตรอาชีวศึกษา ย้ำว่า การจัดทำหลักสูตรเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องทำความเข้าใจต่อสังคมว่า หลักสูตรเดิมมีการแบ่งเพียงสายวิทยาศาสตร์ และสายศิลปศาสตร์/ภาษา ซึ่งมุ่งเน้นให้เรียนต่อในมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่หลักสูตรใหม่จะพัฒนานักเรียนตามศักยภาพและความถนัด โดยเพิ่มเติมสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิชาชีพ สอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่และตัวนักเรียน เป็นการทำหลักสูตรให้ง่ายขึ้นสำหรับเด็ก โดยดึงส่วนที่ไม่จำเป็นสำหรับเด็กออก แบ่งเป็น 2 สาย คือ 1.การเตรียมความพร้อมเพื่อการประกอบอาชีพ ซึ่งจบออกมาแล้วสามารถประกอบอาชีพได้ทันที 2.การเตรียมความพร้อมเพื่อความเป็นเลิศด้านวิชาชีพ ซึ่งสามารถเรียนต่อในสาขาวิชาตามความถนัดได้ ทั้งนี้หลักสูตรดังกล่าวจะเชื่อมต่อกับนโยบาย “กองทุนตั้งตัวได้” ที่จะมีการตั้งคณะทำงานพิจารณาเพื่อให้รู้ว่าในแต่ละพื้นที่จะมีผลผลิตอะไรออกมาได้บ้าง ซึ่งสถานศึกษาจะต้องมีวิสาหกิจในสถานศึกษาของตนเอง ถือเป็นการจัดการเรียนการสอนทั้งระบบที่เน้นให้เป็นหลักสูตรการมีงานทำ
“ ศธ.ยังเตรียมประกาศแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาเพื่อความยั่งยืน 2555 ในวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์นี้ โดยจะเชิญนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พร้อมทั้งขอให้มีเรื่องข้อมูลของหลักสูตร 7 กลุ่มอาชีพ ที่จะประกาศใช้ในปีการศึกษา 2555 ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยดำเนินการรี่วมกับ สพฐ.พร้อมทั้งขอให้กลุ่มงานวิจัยประสานกับนักวิจัยมาเปิดแสดงด้วย พร้อมทั้งกำชับว่ามหาวิทยาลัยควรให้ความสำคัญกับหลักสูตรการมีงานทำของนักเรียน เพราะจะเป็นการจัดการศึกษาที่สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ ศธ. ” นายวรวัจน์ กล่าว
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยถึงผลการประชุมผู้บริหารองค์กรหลัก ศธ.เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เสนอเพิ่มจำนวนเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศเป็น 268 เขต จากเดิม 225 เขต โดยเขตพื้นที่การศึกษาใหม่นี้ จะแยกเป็นเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (สพม.) 82 เขต (77 จังหวัดละ 1 เขต ยกเว้น กรุงเทพฯ นครราชสีมา อุบลราชธานี เชียงใหม่ และนครศรีธรรมราช จังหวัดละ 2 เขต) และเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) 186 เขต ทั้งนี้ สพฐ.ได้นำข้อเสนอเพิ่มจำนวนเขตพื้นที่การศึกษาผ่านการรับฟังความคิดเห็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย วิเคราะห์ข้อดีข้อเสีย รูปแบบการบริหารจัดการเขตพื้นที่การศึกษาแล้ว หลังจากนี้ สพฐ.จะนำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการสภาการศึกษา (สกศ.) เพื่อพิจารณาประกาศปรับปรุงการกำหนดเขตพื้นที่การศึกษาใหม่ภายในเดือนมกราคมนี้
นอกจากนั้น ยังได้ขอให้องค์กรหลักและหน่วยงานในกำกับของ ศธ.โดยเฉพาะ สพฐ.และสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ช่วยรณรงค์ทำความเข้าใจเรื่องหลักสูตรมัธยมเชิงปฏิบัติการ เพราะยังมีหลายคนเข้าใจว่าเป็นหลักสูตรสายอาชีพเช่นเดียวกับหลักสูตรอาชีวศึกษา ย้ำว่า การจัดทำหลักสูตรเป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องทำความเข้าใจต่อสังคมว่า หลักสูตรเดิมมีการแบ่งเพียงสายวิทยาศาสตร์ และสายศิลปศาสตร์/ภาษา ซึ่งมุ่งเน้นให้เรียนต่อในมหาวิทยาลัยเท่านั้น แต่หลักสูตรใหม่จะพัฒนานักเรียนตามศักยภาพและความถนัด โดยเพิ่มเติมสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับวิชาชีพ สอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่และตัวนักเรียน เป็นการทำหลักสูตรให้ง่ายขึ้นสำหรับเด็ก โดยดึงส่วนที่ไม่จำเป็นสำหรับเด็กออก แบ่งเป็น 2 สาย คือ 1.การเตรียมความพร้อมเพื่อการประกอบอาชีพ ซึ่งจบออกมาแล้วสามารถประกอบอาชีพได้ทันที 2.การเตรียมความพร้อมเพื่อความเป็นเลิศด้านวิชาชีพ ซึ่งสามารถเรียนต่อในสาขาวิชาตามความถนัดได้ ทั้งนี้หลักสูตรดังกล่าวจะเชื่อมต่อกับนโยบาย “กองทุนตั้งตัวได้” ที่จะมีการตั้งคณะทำงานพิจารณาเพื่อให้รู้ว่าในแต่ละพื้นที่จะมีผลผลิตอะไรออกมาได้บ้าง ซึ่งสถานศึกษาจะต้องมีวิสาหกิจในสถานศึกษาของตนเอง ถือเป็นการจัดการเรียนการสอนทั้งระบบที่เน้นให้เป็นหลักสูตรการมีงานทำ
“ ศธ.ยังเตรียมประกาศแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาเพื่อความยั่งยืน 2555 ในวันที่ 1-2 กุมภาพันธ์นี้ โดยจะเชิญนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พร้อมทั้งขอให้มีเรื่องข้อมูลของหลักสูตร 7 กลุ่มอาชีพ ที่จะประกาศใช้ในปีการศึกษา 2555 ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มหาวิทยาลัยดำเนินการรี่วมกับ สพฐ.พร้อมทั้งขอให้กลุ่มงานวิจัยประสานกับนักวิจัยมาเปิดแสดงด้วย พร้อมทั้งกำชับว่ามหาวิทยาลัยควรให้ความสำคัญกับหลักสูตรการมีงานทำของนักเรียน เพราะจะเป็นการจัดการศึกษาที่สอดคล้องตามยุทธศาสตร์ ศธ. ” นายวรวัจน์ กล่าว