มติบอร์ด วชช.เดินหน้าเสนอร่าง พ.ร.บ.วชช.ฉบับของรัฐที่ผ่านกฤษฎีกาแล้วก่อนหน้า ไม่สนร่างที่สมาคมฯ ดำเนินการ เล็งเข้าพบ “วรวัจน์” ชี้แจง “กฤษณพงศ์” เผย ไม่อยากให้กลับไปเริ่มนับหนึ่งใหม่
ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานคณะกรรมการสภาวิทยาลัยชุมชน เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการวิทยาลัยชุมชน (บอร์ด วชช.) ที่ประชุมได้หยิบยกเรื่องร่าง พ.ร.บ.วิทยาลัยชุมชน ขึ้นมาพูดคุย หลังจากที่ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดเก่า แต่ไม่สามารถบรรจุเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรได้ทันก่อนที่จะมีการประกาศยุบสภาและมีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่ง นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เองก็ไม่ได้ยืนยันร่าง พ.ร.บ.ฉบับเดิมนี้ ตามระยะเวลาที่กำหนด จึงทำให้ร่าง พ.ร.บ.วิทยาลัยชุมชน ต้องตกไป และขณะนี้ทราบว่าทางสมาคมวิทยาลัยชุมชน และวิทยาลัยชุมชน ได้มีการหารือกัน และยกร่าง พ.ร.บ.วิทยาลัยชุมชน ขึ้นมาใหม่ โดยจะเสนอให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เสนอร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้โดยตรง ซึ่งสาระของร่าง พ.ร.บ.ที่ถูกยกร่างขึ้นมาใหม่นี้ จะมีความแตกต่างจากร่างเดิมของรัฐบาลที่ตกไป โดยจะเสนอให้มีการกระจายอำนาจการบริหารงานต่างๆ ให้กับวิทยาลัยชุมชนมากขึ้น และในอนาคตหากวิทยาลัยใดมีความพร้อมก็สามารถเปลี่ยนสถานะไปเป็นนิติบุคคลได้
ประธานบอร์ด วชช.กล่าวอีกว่า จากการพูดคุยกันของบอร์ด วชช.เห็นว่า คงไม่สามารถเข้าไปแสดงความคิดเห็นอะไรในร่าง พ.ร.บ.วิทยาลัยชุมชน ที่สมาคมและวิทยาลัยชุมชนได้ช่วยกันยกร่างขึ้นมาใหม่ได้ แต่ในส่วนของบอร์ดเองจะมีการเสนอร่าง พ.ร.บ.วิทยาลัยชุมชน ฉบับที่ผ่านกฤษฎีกาแล้ว หรือร่างของรัฐบาลเดิมที่ตกไปแล้วกลับมาเสนอใหม่ โดยคณะผู้บริหารจะนัดหมายเพื่อเข้าพบ รมว.ศึกษาธิการ ในเร็วๆ นี้ เพื่อแจ้งให้ทราบว่าจะมีการเสนอร่าง พ.ร.บ.วิทยาลัยชุมชน ให้ท่านได้พิจารณาควบคู่กันไป 2 ฉบับ ส่วนท่านจะพิจารณาอย่างไรนั้นคงไม่สามารถตอบได้ แต่โดยส่วนตัวตนไม่อยากให้ต้องไปเริ่มต้นทำร่าง พ.ร.บ.วิทยาลัยชุมชน ตั้งแต่การนับหนึ่งใหม่ หากมีอะไรที่เห็นว่าควรจะได้รับการแก้ไขในประเด็นใดก็อยากให้ไปดำเนินการในขั้นตอนของกรรมาธิการ ซึ่งหากเป็นไปตามแนวทางนี้คาดว่าภายในสมัยประชุมนี้ก็น่าจะเห็นร่าง พ.ร.บ.วิทยาลัยชุมชน ที่เป็นรูปเป็นร่างหลังจากที่รอคอยกันมานาน
“หาก รมว.ศึกษาธิการ ไม่เห็นด้วยที่จะนำเสนอร่าง พ.ร.บ.วิทยาลัยชุมชนฉบับของรัฐบาลเดิม เราก็คงต้องกลับไปเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะใช้เวลา 6 เดือน 1 ปี หรือ 2 ปี ถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะให้ท่านเสนอไปก่อนแล้วค่อยไปแก้ในชั้นกรรมาธิการ โดยนำร่าง พ.ร.บ.ฉบับของสมาคมฯขึ้นมาพิจารณาไปพร้อมๆ กันด้วย เรื่องไหน ประเด็นไหนที่คิดว่าดีก็หยิบยกมาใส่ก็ได้” ดร.กฤษณพงศ์ กล่าว
ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานคณะกรรมการสภาวิทยาลัยชุมชน เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการวิทยาลัยชุมชน (บอร์ด วชช.) ที่ประชุมได้หยิบยกเรื่องร่าง พ.ร.บ.วิทยาลัยชุมชน ขึ้นมาพูดคุย หลังจากที่ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดเก่า แต่ไม่สามารถบรรจุเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรได้ทันก่อนที่จะมีการประกาศยุบสภาและมีการเลือกตั้งใหม่ ซึ่ง นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เองก็ไม่ได้ยืนยันร่าง พ.ร.บ.ฉบับเดิมนี้ ตามระยะเวลาที่กำหนด จึงทำให้ร่าง พ.ร.บ.วิทยาลัยชุมชน ต้องตกไป และขณะนี้ทราบว่าทางสมาคมวิทยาลัยชุมชน และวิทยาลัยชุมชน ได้มีการหารือกัน และยกร่าง พ.ร.บ.วิทยาลัยชุมชน ขึ้นมาใหม่ โดยจะเสนอให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้เสนอร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้โดยตรง ซึ่งสาระของร่าง พ.ร.บ.ที่ถูกยกร่างขึ้นมาใหม่นี้ จะมีความแตกต่างจากร่างเดิมของรัฐบาลที่ตกไป โดยจะเสนอให้มีการกระจายอำนาจการบริหารงานต่างๆ ให้กับวิทยาลัยชุมชนมากขึ้น และในอนาคตหากวิทยาลัยใดมีความพร้อมก็สามารถเปลี่ยนสถานะไปเป็นนิติบุคคลได้
ประธานบอร์ด วชช.กล่าวอีกว่า จากการพูดคุยกันของบอร์ด วชช.เห็นว่า คงไม่สามารถเข้าไปแสดงความคิดเห็นอะไรในร่าง พ.ร.บ.วิทยาลัยชุมชน ที่สมาคมและวิทยาลัยชุมชนได้ช่วยกันยกร่างขึ้นมาใหม่ได้ แต่ในส่วนของบอร์ดเองจะมีการเสนอร่าง พ.ร.บ.วิทยาลัยชุมชน ฉบับที่ผ่านกฤษฎีกาแล้ว หรือร่างของรัฐบาลเดิมที่ตกไปแล้วกลับมาเสนอใหม่ โดยคณะผู้บริหารจะนัดหมายเพื่อเข้าพบ รมว.ศึกษาธิการ ในเร็วๆ นี้ เพื่อแจ้งให้ทราบว่าจะมีการเสนอร่าง พ.ร.บ.วิทยาลัยชุมชน ให้ท่านได้พิจารณาควบคู่กันไป 2 ฉบับ ส่วนท่านจะพิจารณาอย่างไรนั้นคงไม่สามารถตอบได้ แต่โดยส่วนตัวตนไม่อยากให้ต้องไปเริ่มต้นทำร่าง พ.ร.บ.วิทยาลัยชุมชน ตั้งแต่การนับหนึ่งใหม่ หากมีอะไรที่เห็นว่าควรจะได้รับการแก้ไขในประเด็นใดก็อยากให้ไปดำเนินการในขั้นตอนของกรรมาธิการ ซึ่งหากเป็นไปตามแนวทางนี้คาดว่าภายในสมัยประชุมนี้ก็น่าจะเห็นร่าง พ.ร.บ.วิทยาลัยชุมชน ที่เป็นรูปเป็นร่างหลังจากที่รอคอยกันมานาน
“หาก รมว.ศึกษาธิการ ไม่เห็นด้วยที่จะนำเสนอร่าง พ.ร.บ.วิทยาลัยชุมชนฉบับของรัฐบาลเดิม เราก็คงต้องกลับไปเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะใช้เวลา 6 เดือน 1 ปี หรือ 2 ปี ถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะให้ท่านเสนอไปก่อนแล้วค่อยไปแก้ในชั้นกรรมาธิการ โดยนำร่าง พ.ร.บ.ฉบับของสมาคมฯขึ้นมาพิจารณาไปพร้อมๆ กันด้วย เรื่องไหน ประเด็นไหนที่คิดว่าดีก็หยิบยกมาใส่ก็ได้” ดร.กฤษณพงศ์ กล่าว