วชช.เร่งผลักดันร่าง พ.ร.บ.เข้าสู่สภา ภายในเดือน พ.ย.นี้ หลังปรับแก้เรื่องการกระจายอำนาจ และการเปิดสอนระดับสูงกว่าอนุปริญญาตามแนวทาง รมว.ศธ.
ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานคณะกรรมการวิทยาลัยชุมชน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการวิทยาลัยชุมชน ว่า ที่ประชุมได้รับทราบถึงร่าง พ.ร.บ.วิทยาลัยชุมชน ที่รอการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎร ว่า แม้ว่าร่างดังกล่าวจะเคยผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปแล้ว แต่เนื่องจากมีการประกาศยุบสภา ดังนั้น จึงต้องมีการเสนอร่างดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ใหม่อีกครั้ง แต่ปรากฏว่า นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ไม่ได้ยืนยันที่จะส่งร่างฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณาของสภา ดังนั้น ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการวิทยาลัยชุมชน จึงได้เข้าพบเพื่อหารือเรื่องดังกล่าว ซึ่ง รมว.ศธ.ได้ให้แนวคิดใน 2 เรื่อง คือ เรื่องการกระจายอำนาจ และเรื่องการเปิดสอนให้มากกว่าอนุปริญญา ซึ่งคณะทำงาน ได้นำ 2 เรื่องนี้กลับมาพิจารณาและทบทวนร่างเดิม จากนั้นจะนำเสนอ รมว.ศึกษาธิการ พิจารณาใหม่อีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม การเสนอร่าง พ.ร.บ.นั้น มีหลายช่องทางที่สามารถทำได้ และที่ผ่านมา การร่าง พ.ร.บ.วิทยาลัยชุมชน ก็มีการยกร่างขึ้นหลายฉบับ ทั้งที่ดำเนินการจากฝ่ายรัฐบาลเอง คือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และที่จัดร่างจากภาคประชาชน ซึ่งในส่วนที่จัดร่างจากภาคประชาชนนี้ เข้าใจว่า จะมีการเสนอร่าง พ.ร.บ.วิทยาลัยชุมชน ผ่านสมาคมวิทยาลัยชุมชน ที่มีการประสานงานผ่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้านโดยตรงเพื่อเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯคู่ขนานไปกับร่าง พ.ร.บ.ฉบับของภาครัฐ ทั้งนี้คาดว่าการปรับร่าง พ.ร.บ.วิทยาลัยชุมชน นี้จะแล้วเสร็จภายใน 1 เดือน และผลักดันบรรจุเป็นวาระประชุมของสภาได้ในเดือน พ.ย.นี้
ดร.กฤษณพงศ์ กล่าวอีกว่า คณะทำงานกรณีวิทยาลัยชุมชนกรุงเทพ ได้มีการรายงานให้ที่ประชุมทราบว่า คณะทำงานได้หารือกันเรื่องปรับโครงสร้างของ วชช.กรุงเทพ โดยสรุปให้มีสภาวิทยาลัยกรุงเทพรูปแบบใหม่ตามกฎของ ศธ.และหลังจากที่มีสภา ววช.กรุงเทพ แล้ว ให้มีการสรรหาผู้อำนวยการ วชช.กทม. ที่สามารถทำงานได้เต็มเวลา ส่วนงบประมาณที่จะนำมาใช้ในปีการศึกษา 2555 ยังคงใช้งบประมาณจากกรุงเทพ และปีการศึกษา 2556 จะใช้งบจากกรุงเทพฯ 40% และ สกอ.60% โดยแผนการดำเนินงานระยะ 1 ปีหลังจากนี้ 6 เดือนแรกจะมุ่งเน้นไปที่เรื่องโครงสร้าง การสรรหาบุคลากรและอื่นๆ ส่วน 6 เดือนหลัง เน้นเรื่องวิชาการ นอกจากนี้ที่ประชุมยังเสนอให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เข้ามาประเมินภายนอก วชช.ใหม่ ตามหลักเกณฑ์ที่ได้มีการปรับใหม่ไป โดยเกณฑ์ที่ปรับใหม่นี้ วชช.ได้เน้นในเรื่องตัวชี้วัดเฉพาะที่เหมาะสมกับ วชช.ด้วย
ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร ประธานคณะกรรมการวิทยาลัยชุมชน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการวิทยาลัยชุมชน ว่า ที่ประชุมได้รับทราบถึงร่าง พ.ร.บ.วิทยาลัยชุมชน ที่รอการพิจารณาจากสภาผู้แทนราษฎร ว่า แม้ว่าร่างดังกล่าวจะเคยผ่านการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปแล้ว แต่เนื่องจากมีการประกาศยุบสภา ดังนั้น จึงต้องมีการเสนอร่างดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของ ครม.ใหม่อีกครั้ง แต่ปรากฏว่า นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ไม่ได้ยืนยันที่จะส่งร่างฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณาของสภา ดังนั้น ก่อนหน้านี้ คณะกรรมการวิทยาลัยชุมชน จึงได้เข้าพบเพื่อหารือเรื่องดังกล่าว ซึ่ง รมว.ศธ.ได้ให้แนวคิดใน 2 เรื่อง คือ เรื่องการกระจายอำนาจ และเรื่องการเปิดสอนให้มากกว่าอนุปริญญา ซึ่งคณะทำงาน ได้นำ 2 เรื่องนี้กลับมาพิจารณาและทบทวนร่างเดิม จากนั้นจะนำเสนอ รมว.ศึกษาธิการ พิจารณาใหม่อีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม การเสนอร่าง พ.ร.บ.นั้น มีหลายช่องทางที่สามารถทำได้ และที่ผ่านมา การร่าง พ.ร.บ.วิทยาลัยชุมชน ก็มีการยกร่างขึ้นหลายฉบับ ทั้งที่ดำเนินการจากฝ่ายรัฐบาลเอง คือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และที่จัดร่างจากภาคประชาชน ซึ่งในส่วนที่จัดร่างจากภาคประชาชนนี้ เข้าใจว่า จะมีการเสนอร่าง พ.ร.บ.วิทยาลัยชุมชน ผ่านสมาคมวิทยาลัยชุมชน ที่มีการประสานงานผ่านสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้านโดยตรงเพื่อเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯคู่ขนานไปกับร่าง พ.ร.บ.ฉบับของภาครัฐ ทั้งนี้คาดว่าการปรับร่าง พ.ร.บ.วิทยาลัยชุมชน นี้จะแล้วเสร็จภายใน 1 เดือน และผลักดันบรรจุเป็นวาระประชุมของสภาได้ในเดือน พ.ย.นี้
ดร.กฤษณพงศ์ กล่าวอีกว่า คณะทำงานกรณีวิทยาลัยชุมชนกรุงเทพ ได้มีการรายงานให้ที่ประชุมทราบว่า คณะทำงานได้หารือกันเรื่องปรับโครงสร้างของ วชช.กรุงเทพ โดยสรุปให้มีสภาวิทยาลัยกรุงเทพรูปแบบใหม่ตามกฎของ ศธ.และหลังจากที่มีสภา ววช.กรุงเทพ แล้ว ให้มีการสรรหาผู้อำนวยการ วชช.กทม. ที่สามารถทำงานได้เต็มเวลา ส่วนงบประมาณที่จะนำมาใช้ในปีการศึกษา 2555 ยังคงใช้งบประมาณจากกรุงเทพ และปีการศึกษา 2556 จะใช้งบจากกรุงเทพฯ 40% และ สกอ.60% โดยแผนการดำเนินงานระยะ 1 ปีหลังจากนี้ 6 เดือนแรกจะมุ่งเน้นไปที่เรื่องโครงสร้าง การสรรหาบุคลากรและอื่นๆ ส่วน 6 เดือนหลัง เน้นเรื่องวิชาการ นอกจากนี้ที่ประชุมยังเสนอให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เข้ามาประเมินภายนอก วชช.ใหม่ ตามหลักเกณฑ์ที่ได้มีการปรับใหม่ไป โดยเกณฑ์ที่ปรับใหม่นี้ วชช.ได้เน้นในเรื่องตัวชี้วัดเฉพาะที่เหมาะสมกับ วชช.ด้วย