นักวิชาการ สสส.เตือนพ่อ แม่ อย่ามัวเครียดเหตุน้ำท่วม แนะเฝ้าระวังดูแลลูกใกล้ชิด หวั่นเด็กจมน้ำ ติดเชื้อ-ภัยร้ายที่มากับน้ำ พร้อมเผย ข้อมูลจาก ปภ.พบเด็กวัย 2-8 ขวบ เสียชีวิตจากน้ำท่วมแล้ว 50 คน สาเหตุหลักว่ายน้ำไม่เป็น
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้จัดการแผนจัดการความปลอดภัยในเด็ก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึงอันตรายในเด็กที่ครอบครัวประสบภัยน้ำท่วมว่า จากข้อมูลของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ระบุว่า อุทกภัยน้ำท่วมประเทศไทยในครั้งนี้ สำรวจตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 54 - ปัจจุบัน พบว่า มีผู้เสียชีวิตแล้ว 442 คน ในจำนวนนี้เป็นเด็ก 50 คน ส่วนใหญ่อยู่ในวัย 2-8 ขวบ ซึ่งปัญหาสำคัญอันดับหนึ่งขณะนี้ คือ การเสียชีวิตของเด็กจากการจมน้ำ ที่ลงเล่นน้ำ หรือพลัดตกจากที่สูงลงไปในน้ำ เนื่องจาก พ่อ แม่ ไม่ได้ดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะเป็นกังวลอยู่กับการดูแลบ้าน ขนย้ายข้าวของ และเคร่งเครียดกับสถานการณ์น้ำท่วม
“ อย่าลืมว่าเหตุการณ์น้ำท่วม เด็กส่วนใหญ่ไม่ได้ตกใจ ทุกข์โศก แต่กลับกลายเป็นความรู้สึกตื่นเต้น และพยายามหาพื้นที่ในการวิ่งเล่น ซึ่งเป็นธรรมชาติทั่วไปของเด็ก ซึ่งในสถานการณ์น้ำท่วมจะมีพื้นที่การเคลื่อนไหวน้อยลง จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปกครองต้องให้ความเอาใจใส่ ดูแลขณะเด็กเล่นอย่างใกล้ชิด รวมไปถึง กรณีที่ครอบครัวใดเข้ามาพักอาศัยอยู่ที่ศูนย์อพยพ ควรจะต้องจัดพื้นที่ให้กับเด็กได้มารวมตัวกัน และ พ่อ แม่ ต้องหาเรื่องคุยกับเด็ก เล่านิทาน สื่อสาร หรือทำกิจกรรมกับเด็ก และต้องสลับเวลามาเป็นพี่เลี้ยงคอยดูแลเด็ก อย่าปล่อยให้เด็กเล่นตามลำพัง นอกจากนั้น ต้องเฝ้าระวังภัยจากสัตว์เลี้ยงที่ถูกนำอพยพมาด้วย เช่น สุนัข แมว ที่เด็กอาจจะเข้าไปเล่นด้วย เพราะสัตว์เลี้ยงเหล่านั้นดุร้าย หรือมีอาการป่วย ซึ่งส่งผลก่อให้เกิดอันตรายกับเด็กได้” รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าว
รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังต้องระมัดระวังอุบัติเหตุที่อาจทำให้เกิดบาดแผล เช่น เดินเหยียบเศษกระเบื้อง เศษแก้วในน้ำ เด็กจะมีโอกาสในการติดเชื้อสูงมาก จากเชื้อโรคที่มากับน้ำท่วม สิ่งสำคัญที่ต้องทำในเบื้องต้น คือ 1.พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องรีบล้างแผลด้วยน้ำให้สะอาดที่สุด 2.ใส่ยาฆ่าเชื้อ 3.งดการสัมผัสน้ำ และ 4.เฝ้าสังเกตอาการ 1-2 วัน หากมีอาการบวมแดงลุกลาม ต้องรีบนำตัวเด็กส่งไปพบแพทย์ทันที เพราะหากปล่อยไว้จะรักษายาก มีอาการอักเสบของแผล ซึ่งสิ่งที่ดีที่สุดในเวลานี้ คือ ต้องป้องกันไม่ให้เด็กลงไปว่ายน้ำที่ท่วมขัง และเอาใจใส่เด็กอย่างใกล้ชิด
รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้จัดการแผนจัดการความปลอดภัยในเด็ก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวถึงอันตรายในเด็กที่ครอบครัวประสบภัยน้ำท่วมว่า จากข้อมูลของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย ระบุว่า อุทกภัยน้ำท่วมประเทศไทยในครั้งนี้ สำรวจตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 54 - ปัจจุบัน พบว่า มีผู้เสียชีวิตแล้ว 442 คน ในจำนวนนี้เป็นเด็ก 50 คน ส่วนใหญ่อยู่ในวัย 2-8 ขวบ ซึ่งปัญหาสำคัญอันดับหนึ่งขณะนี้ คือ การเสียชีวิตของเด็กจากการจมน้ำ ที่ลงเล่นน้ำ หรือพลัดตกจากที่สูงลงไปในน้ำ เนื่องจาก พ่อ แม่ ไม่ได้ดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะเป็นกังวลอยู่กับการดูแลบ้าน ขนย้ายข้าวของ และเคร่งเครียดกับสถานการณ์น้ำท่วม
“ อย่าลืมว่าเหตุการณ์น้ำท่วม เด็กส่วนใหญ่ไม่ได้ตกใจ ทุกข์โศก แต่กลับกลายเป็นความรู้สึกตื่นเต้น และพยายามหาพื้นที่ในการวิ่งเล่น ซึ่งเป็นธรรมชาติทั่วไปของเด็ก ซึ่งในสถานการณ์น้ำท่วมจะมีพื้นที่การเคลื่อนไหวน้อยลง จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ปกครองต้องให้ความเอาใจใส่ ดูแลขณะเด็กเล่นอย่างใกล้ชิด รวมไปถึง กรณีที่ครอบครัวใดเข้ามาพักอาศัยอยู่ที่ศูนย์อพยพ ควรจะต้องจัดพื้นที่ให้กับเด็กได้มารวมตัวกัน และ พ่อ แม่ ต้องหาเรื่องคุยกับเด็ก เล่านิทาน สื่อสาร หรือทำกิจกรรมกับเด็ก และต้องสลับเวลามาเป็นพี่เลี้ยงคอยดูแลเด็ก อย่าปล่อยให้เด็กเล่นตามลำพัง นอกจากนั้น ต้องเฝ้าระวังภัยจากสัตว์เลี้ยงที่ถูกนำอพยพมาด้วย เช่น สุนัข แมว ที่เด็กอาจจะเข้าไปเล่นด้วย เพราะสัตว์เลี้ยงเหล่านั้นดุร้าย หรือมีอาการป่วย ซึ่งส่งผลก่อให้เกิดอันตรายกับเด็กได้” รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าว
รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ยังต้องระมัดระวังอุบัติเหตุที่อาจทำให้เกิดบาดแผล เช่น เดินเหยียบเศษกระเบื้อง เศษแก้วในน้ำ เด็กจะมีโอกาสในการติดเชื้อสูงมาก จากเชื้อโรคที่มากับน้ำท่วม สิ่งสำคัญที่ต้องทำในเบื้องต้น คือ 1.พ่อแม่ ผู้ปกครองต้องรีบล้างแผลด้วยน้ำให้สะอาดที่สุด 2.ใส่ยาฆ่าเชื้อ 3.งดการสัมผัสน้ำ และ 4.เฝ้าสังเกตอาการ 1-2 วัน หากมีอาการบวมแดงลุกลาม ต้องรีบนำตัวเด็กส่งไปพบแพทย์ทันที เพราะหากปล่อยไว้จะรักษายาก มีอาการอักเสบของแผล ซึ่งสิ่งที่ดีที่สุดในเวลานี้ คือ ต้องป้องกันไม่ให้เด็กลงไปว่ายน้ำที่ท่วมขัง และเอาใจใส่เด็กอย่างใกล้ชิด