สธ.มั่นใจคุมมือเท้าปากได้ดีกว่าหวัด 2009 พร้อมตั้งเป้าการตายต้องเป็นศูนย์ และผู้ป่วยต้องไม่เกิน 18,000 คน ส่วนข่าวลือเด็กตายต้องรอผลพิสูจน์อีกครั้ง เชื่อ หลัง ส.ค.สถานการณ์จะดีขึ้น เตือนผู้ใหญ่สามารถป่วยมือเท้าปากได้ แต่เปอร์เซ็นต์การเกิดน้อย ต้องรักษาความสะอาดเช่นกัน
วันนี้ (19 ก.ค.) นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สธ.ได้มีการประชุมวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับกุมารแพทย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และผู้อำนวยการโรงพยาบาลแต่ละจังหวัดทั่วประเทศเพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์โรคมือเท้าปาก โดยได้ทำการหารือกันใน 3 เรื่องหลัก คือ 1.สถานการณ์โรคมือเท้าปาก เป็นโรคที่พบตามฤดูกาลซึ่งเมื่อสิ้นสุดเดือนสิงหาคม สถานการณ์ก็จะดีขึ้น ดังนั้น ช่วงนี้เราจึงควรเตรียมความพร้อมและให้ความรู้กับผู้ปกครองเป็นหลัก 2.รีบหยุดยั้งการแพร่กระจายของเชื้อ และหากพบเด็กป่วยมีอาการต้องสงสัยก็ให้ส่งเด็กกลับบ้านและทำความสะอาดโรงเรียน และ 3.หามาตราการลดการเสียชีวิตของผู้ป่วย คือ ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตน้อยที่สุด โดยเมื่อปี 2554 พบผู้ป่วย 18,000 คน และเสียชีวิต 6 คน แต่ปีนี้ 2555 พบผู้ป่วยประมาณ 13,000 คน แต่จะพยายามให้การตายเป็นศูนย์ และตั้งเป้ายอดผู้ป่วยไม่เกิน 18,000 คน
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า โรคมือเท้าปากอาจเกิดในผู้ใหญ่ได้ แต่ก็เป็นเปอร์เซ็นต์น้อย เนื่องจากโรคนี้ 90% เกิดขึ้นในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี โดยข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา พบว่า สถานการณ์โรคนั้นเป็นการแพร่กระจายตามฤดูกาลซึ่งมันมาสอดคล้องกับผู้ป่วย 2 เรื่อง คือ เรื่องของเชื้อและระบบการดูแลรักษาซึ่งโรคมือเท้าปากก็มีมากว่า 10 ปีแล้ว แต่เชื้อไม่รุนแรงและประชาชนก็เข้าถึงการบริการได้ดีระบบในการดูแลผู้ป่วยของโรงพยาบาลก็ดี ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายในการควบคุมโรคนี้คือในระดับอนุบาล และศูนย์เลี้ยงเด็กเล็กที่ต้องดูแลเรื่องความสะอาด ซึ่งตอนนี้ภาคอีสานและภาคกลางพบการระบาดมากสุด โดยทาง สธ.มั่นใจว่า สามารถคุมสถานการณ์ได้ไม่เหมือนตอนที่ไข้หวัด 2009 ระบาดใหม่ๆ ที่เราไม่รู้อะไรเลย แต่โรคมือเท้าปากเรารู้หมดว่าเชื้อจะเข้าทางปากออกทางอุจจาระ ดังนั้น ถ้าเรารักษาความสะอาดกินร้อนช้อนกลางก็จะช่วยลดการระบาดได้
นพ.ไพจิตร์ กล่าวอีกว่า สำหรับกรณีการเสียชีวิตของเด็กที่โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานีนั้นสาเหตุการตายเบื้องต้นแพทย์ยืนยันว่า ไม่ได้เกิดจากโรคมือเท้าปาก แต่ก็ต้องรอผลพิสูจน์อีกครั้ง ซึ่งต้องรออีก 5 วัน ถึงจะรู้ผลอย่างละเอียด โดยเชื้อไวรัสโรคมือเท้าปากในปีนี้ คือ ค็อกซากี จะเป็นเชื้อที่มีผลในการทำลายระบบกล้ามเนื้อหัวใจ แต่สำหรับเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 จะมีผลต่อการทำลายระบบประสาท ซึ่งเชื้อที่พบในไทยทั้ง 2 ชนิดนี้ไม่รุนแรง อย่างไรก็ตามคนที่เคยป่วยแล้วก็ไม่ควรประมาท เนื่องจากสามารถกลับมาเป็นได้อีกหากไม่รักษาความสะอาด ทั้งนี้ แม้แต่พ่อแม่ผู้ปกครองเองก็ควรรักษาความสะอาดเพราะมีโอกาสเป็นได้เหมือนกันถึงแม้ว่าจะมีโอกาสน้อยก็ตามแต่ก็ไม่ควรประมาท
วันนี้ (19 ก.ค.) นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า สธ.ได้มีการประชุมวิดีโอคอนเฟอเรนซ์กับกุมารแพทย์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) และผู้อำนวยการโรงพยาบาลแต่ละจังหวัดทั่วประเทศเพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์โรคมือเท้าปาก โดยได้ทำการหารือกันใน 3 เรื่องหลัก คือ 1.สถานการณ์โรคมือเท้าปาก เป็นโรคที่พบตามฤดูกาลซึ่งเมื่อสิ้นสุดเดือนสิงหาคม สถานการณ์ก็จะดีขึ้น ดังนั้น ช่วงนี้เราจึงควรเตรียมความพร้อมและให้ความรู้กับผู้ปกครองเป็นหลัก 2.รีบหยุดยั้งการแพร่กระจายของเชื้อ และหากพบเด็กป่วยมีอาการต้องสงสัยก็ให้ส่งเด็กกลับบ้านและทำความสะอาดโรงเรียน และ 3.หามาตราการลดการเสียชีวิตของผู้ป่วย คือ ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตน้อยที่สุด โดยเมื่อปี 2554 พบผู้ป่วย 18,000 คน และเสียชีวิต 6 คน แต่ปีนี้ 2555 พบผู้ป่วยประมาณ 13,000 คน แต่จะพยายามให้การตายเป็นศูนย์ และตั้งเป้ายอดผู้ป่วยไม่เกิน 18,000 คน
นพ.ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า โรคมือเท้าปากอาจเกิดในผู้ใหญ่ได้ แต่ก็เป็นเปอร์เซ็นต์น้อย เนื่องจากโรคนี้ 90% เกิดขึ้นในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี โดยข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา พบว่า สถานการณ์โรคนั้นเป็นการแพร่กระจายตามฤดูกาลซึ่งมันมาสอดคล้องกับผู้ป่วย 2 เรื่อง คือ เรื่องของเชื้อและระบบการดูแลรักษาซึ่งโรคมือเท้าปากก็มีมากว่า 10 ปีแล้ว แต่เชื้อไม่รุนแรงและประชาชนก็เข้าถึงการบริการได้ดีระบบในการดูแลผู้ป่วยของโรงพยาบาลก็ดี ทั้งนี้ กลุ่มเป้าหมายในการควบคุมโรคนี้คือในระดับอนุบาล และศูนย์เลี้ยงเด็กเล็กที่ต้องดูแลเรื่องความสะอาด ซึ่งตอนนี้ภาคอีสานและภาคกลางพบการระบาดมากสุด โดยทาง สธ.มั่นใจว่า สามารถคุมสถานการณ์ได้ไม่เหมือนตอนที่ไข้หวัด 2009 ระบาดใหม่ๆ ที่เราไม่รู้อะไรเลย แต่โรคมือเท้าปากเรารู้หมดว่าเชื้อจะเข้าทางปากออกทางอุจจาระ ดังนั้น ถ้าเรารักษาความสะอาดกินร้อนช้อนกลางก็จะช่วยลดการระบาดได้
นพ.ไพจิตร์ กล่าวอีกว่า สำหรับกรณีการเสียชีวิตของเด็กที่โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานีนั้นสาเหตุการตายเบื้องต้นแพทย์ยืนยันว่า ไม่ได้เกิดจากโรคมือเท้าปาก แต่ก็ต้องรอผลพิสูจน์อีกครั้ง ซึ่งต้องรออีก 5 วัน ถึงจะรู้ผลอย่างละเอียด โดยเชื้อไวรัสโรคมือเท้าปากในปีนี้ คือ ค็อกซากี จะเป็นเชื้อที่มีผลในการทำลายระบบกล้ามเนื้อหัวใจ แต่สำหรับเชื้อเอนเทอโรไวรัส 71 จะมีผลต่อการทำลายระบบประสาท ซึ่งเชื้อที่พบในไทยทั้ง 2 ชนิดนี้ไม่รุนแรง อย่างไรก็ตามคนที่เคยป่วยแล้วก็ไม่ควรประมาท เนื่องจากสามารถกลับมาเป็นได้อีกหากไม่รักษาความสะอาด ทั้งนี้ แม้แต่พ่อแม่ผู้ปกครองเองก็ควรรักษาความสะอาดเพราะมีโอกาสเป็นได้เหมือนกันถึงแม้ว่าจะมีโอกาสน้อยก็ตามแต่ก็ไม่ควรประมาท