ก.แรงงานชง 2 มาตรการช่วยน้ำท่วม ทั้งจ่าย 2 พันบ. 3 เดือน ให้แรงงาน ชะลอเลิกจ้าง พร้อมจัดอบรมแรงงานกว่า 1.5 หมื่นคน ให้เบี้ยเลี้ยงวันละ 120 บ.เวลา 10 วัน เสนอ ครม.พรุ่งนี้
วันนี้ (7 พ.ย.) นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึง มาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ว่า จะดำเนินการเสนอ 2 โครงการต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันพรุ่งนี้ โดยโครงการแรกคือโครงการช่วยรักษาสภาพการจ้างงานของผู้ประกอบการ จะเสนอให้จ่ายเงินจำนวน 2,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน แก่แรงงานในสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม ซึ่งสถานประกอบการต้องทำเอ็มโอยูกับกระทรวงแรงงาน โดยมีเงื่อนไขดังนี้ คือ สถานประกอบการต้องไม่เลิกจ้างแรงงานและต้องจ่ายค่าจ้างไม่น้อยกว่า 75% ของค่าจ้างเดิม คำนวณจากแรงงานที่ได้รับผลกระทบประมาณ 8 แสนคน คาดว่าจะใช้งบประมาณประมาณ 5 พันล้านบาท หากครม.เห็นชอบคาดว่าจะเริ่มดำเนินการในเดือนพ.ย.นี้
ส่วนโครงการที่สอง คือ โครงการฝึกอบรมลูกจ้างที่หยุดงานชั่วคราว ซึ่งตั้งเป้าฝึกอบรมแรงงาน 15,000 คน ได้รับเบี้ยเลี้ยง 120 บาท ใช้เวลาอบรม 10 วัน ใช้งบประมาณ 61 ล้านบาท เน้นในเรื่องของการพัฒนาทักษะการทำงาน ทั้งนี้ หาก ครม.เห็นชอบก็สามารถดำเนินการได้ทันที เชื่อว่าทั้ง 2 มาตรการนี้จะสามารถช่วยลดการเลิกจ้างแรงงานได้เป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานยังได้เปิดอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานที่ทำอยู่เดิมโดยใช้งบประมาณปกติของกระทรวงที่เหลือจ่ายจากปี 2554 ใน 12 อาชีพ ได้แก่ ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ก่ออิฐฉาบปูน ซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งคาดว่าการฝึกอาชีพเหล่านี้สามารถนำมาประกอบอาชีพได้หลังน้ำลด โดยสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานแรงงานจังหวัดหรือติดต่อศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย โทร.0-2245-2367, 0-2245-3385, 0-2245-1704, 08-5483-8226
นพ.สมเกียรติ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีลูกจ้างได้รับผลกระทบน้ำท่วมได้เพิ่มขึ้นไปถึง 819,147 คน ในสถานประกอบการ 20,526 แห่ง ซึ่งในจำนวนนี้เป็นลูกจ้างซับคอนแทคกว่า 20% ประมาณ 1.5 แสน-1.6 แสนคนโดยแรงงานกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ถูกเลิกจ้างคาดว่าอยู่ที่ประมาณ 1 แสนคน อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มนี้กระทรวงแรงงานได้เตรียมตำแหน่งงานว่างที่มีลักษณะงานใกล้เคียงกันรองรับกลุ่มนี้แล้วจำนวนกว่า 1 แสนคน
ด้านนายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน(กกจ.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ขณะนี้มีตำแหน่งงานว่างรองรับแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วม 124,404 อัตราโดยแยกเป็นตำแหน่งงาน ใน 4 จังหวัดได้แก่ ระยอง ชลบุรี ปราจีนบุรีและฉะเชิงเทราซึ่งสามารถจ้างงานได้ทันที 24,916 อัตราและตำแหน่งงานจังหวัดอื่นๆ 80,948 อัตรา ขณะที่ตำแหน่งงานในต่างประเทศได้แก่ อิสราเอล ตะวันออกกลาง เกาหลีและไต้หวันรวม 15,000 อัตรา
นอกจากนี้ ในช่วงปลายเดือนพ.ย.-ธ.ค.นี้ ทางกกจ.จะจัดงานนัดพบแรงงานเพื่อให้แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและว่างงานซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 1 แสนคนได้มีงานทำโดยจะจัดงานนัดพบแรงงานในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นพื้นที่ที่แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมไปอยู่กันมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่ภูมิลำเนา รวมถึงจังหวัดที่ถูกน้ำท่วมด้วย
วันนี้ (7 พ.ย.) นายสมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวถึง มาตรการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ว่า จะดำเนินการเสนอ 2 โครงการต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันพรุ่งนี้ โดยโครงการแรกคือโครงการช่วยรักษาสภาพการจ้างงานของผู้ประกอบการ จะเสนอให้จ่ายเงินจำนวน 2,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน แก่แรงงานในสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม ซึ่งสถานประกอบการต้องทำเอ็มโอยูกับกระทรวงแรงงาน โดยมีเงื่อนไขดังนี้ คือ สถานประกอบการต้องไม่เลิกจ้างแรงงานและต้องจ่ายค่าจ้างไม่น้อยกว่า 75% ของค่าจ้างเดิม คำนวณจากแรงงานที่ได้รับผลกระทบประมาณ 8 แสนคน คาดว่าจะใช้งบประมาณประมาณ 5 พันล้านบาท หากครม.เห็นชอบคาดว่าจะเริ่มดำเนินการในเดือนพ.ย.นี้
ส่วนโครงการที่สอง คือ โครงการฝึกอบรมลูกจ้างที่หยุดงานชั่วคราว ซึ่งตั้งเป้าฝึกอบรมแรงงาน 15,000 คน ได้รับเบี้ยเลี้ยง 120 บาท ใช้เวลาอบรม 10 วัน ใช้งบประมาณ 61 ล้านบาท เน้นในเรื่องของการพัฒนาทักษะการทำงาน ทั้งนี้ หาก ครม.เห็นชอบก็สามารถดำเนินการได้ทันที เชื่อว่าทั้ง 2 มาตรการนี้จะสามารถช่วยลดการเลิกจ้างแรงงานได้เป็นจำนวนมาก
นอกจากนี้ กระทรวงแรงงานยังได้เปิดอบรมพัฒนาฝีมือแรงงานที่ทำอยู่เดิมโดยใช้งบประมาณปกติของกระทรวงที่เหลือจ่ายจากปี 2554 ใน 12 อาชีพ ได้แก่ ซ่อมแซมที่อยู่อาศัย ก่ออิฐฉาบปูน ซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งคาดว่าการฝึกอาชีพเหล่านี้สามารถนำมาประกอบอาชีพได้หลังน้ำลด โดยสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานแรงงานจังหวัดหรือติดต่อศูนย์ช่วยเหลือผู้ประสบภัย โทร.0-2245-2367, 0-2245-3385, 0-2245-1704, 08-5483-8226
นพ.สมเกียรติ กล่าวด้วยว่า ขณะนี้มีลูกจ้างได้รับผลกระทบน้ำท่วมได้เพิ่มขึ้นไปถึง 819,147 คน ในสถานประกอบการ 20,526 แห่ง ซึ่งในจำนวนนี้เป็นลูกจ้างซับคอนแทคกว่า 20% ประมาณ 1.5 แสน-1.6 แสนคนโดยแรงงานกลุ่มนี้จะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ถูกเลิกจ้างคาดว่าอยู่ที่ประมาณ 1 แสนคน อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มนี้กระทรวงแรงงานได้เตรียมตำแหน่งงานว่างที่มีลักษณะงานใกล้เคียงกันรองรับกลุ่มนี้แล้วจำนวนกว่า 1 แสนคน
ด้านนายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน(กกจ.) กระทรวงแรงงาน กล่าวว่า ขณะนี้มีตำแหน่งงานว่างรองรับแรงงานที่ประสบภัยน้ำท่วม 124,404 อัตราโดยแยกเป็นตำแหน่งงาน ใน 4 จังหวัดได้แก่ ระยอง ชลบุรี ปราจีนบุรีและฉะเชิงเทราซึ่งสามารถจ้างงานได้ทันที 24,916 อัตราและตำแหน่งงานจังหวัดอื่นๆ 80,948 อัตรา ขณะที่ตำแหน่งงานในต่างประเทศได้แก่ อิสราเอล ตะวันออกกลาง เกาหลีและไต้หวันรวม 15,000 อัตรา
นอกจากนี้ ในช่วงปลายเดือนพ.ย.-ธ.ค.นี้ ทางกกจ.จะจัดงานนัดพบแรงงานเพื่อให้แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมและว่างงานซึ่งคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 1 แสนคนได้มีงานทำโดยจะจัดงานนัดพบแรงงานในจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นพื้นที่ที่แรงงานที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมไปอยู่กันมาก เนื่องจากเป็นพื้นที่ภูมิลำเนา รวมถึงจังหวัดที่ถูกน้ำท่วมด้วย