อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เผยนายจ้างส่งสัญญาณเลิกจ้างเริ่มชัดเจนขึ้น คาดตัวเลขเลิกจ้างทะลุ 1 แสนคนแน่นอน ขณะที่ถูกเลิกจ้างแล้วกว่า 3 พันคน จากแรงงานได้รับผลกระทบ 7.5 แสนคน แนะนายจ้างทำตามบริษัทญี่ปุ่นในการรักษาคนงานไว้ยามวิกฤติ เหตุหลังฟื้นฟูแรงงานจะขาดแคลนหนักกว่าเดิม
จากสถานการณน้ำท่วมที่ส่งผลกระทบต่อแรงงานกว่า 7 แสนคนต้องหยุดงานชั่วคราวมาเกือบ 2 เดือน ขณะที่ลูกจ้างส่วนใหญ่ยังไม่รู้อนาคตตัวเองว่าสถานภาพการจ้างงานยังคงมีอยู่หรือไม่ ล่าสุดมีการส่งสัญญาณจากนายจ้างเข้ามามากขึ้นว่าอาจจำเป็นต้องใช้วิธีการเลิกจ้างเป็นทางเลือกสุดท้าย
นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เปิดเผยสถานการณ์การจ้างงานในช่วงวิกฤตขณะนี้ว่า มีสถานประกอบการจำนวน 320 แห่ง ใน 38 จังหวัด ได้แจ้งความประสงค์ที่จะรับผู้ใช้แรงงานที่ประสบอุทกภัยเป็นการชั่วคราว 42,090 อัตรา ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดนครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร และชลบุรี
โดยประเภทตำแหน่งงานส่วนใหญ่เป็นพนักงานฝ่ายการผลิต พนักงานคลังสินค้า ช่างเชื่อม ช่างไฟ ช่างก่อสร้าง ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ อาหารสำเร็จรูป วิศวกร และ สิ่งทอ เป็นต้น ซึ่งล่าสุดมีนายจ้างในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาตอบรับเข้ามาว่าจะส่งต่อลูกจ้างจำนวน 2,800 คน ไปทำงานชั่วคราวตามโครงการนี้
ขณะเดียวกัน จากการเปิดให้ลูกจ้างเข้ามาลงทะเบียนผู้ประสบภัยพบว่ายังมีไม่มากนักเพียง 750 คน ซึ่งถือว่ายังน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด ส่วนสาเหตุที่เข้ามาน้อยเนื่องจากว่ายังเป็นช่วงที่ลูกจ้างยังได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง และยังไม่มั่นใจว่านายจ้างจะเลิกจ้างหรือไม่ อย่างไรก็ตาม คาดว่าในช่วง1-2 สัปดาห์นี้จะมีลูกจ้างเข้ามาลงทะเบียนขอความช่วยเหลือมากขึ้น เพราะหมดรอบการจ่ายเงินที่นายจ้างพอจะจ่ายได้แล้ว
นายอาทิตย์ กล่าวต่อว่า ตั้งแต่เกิดปัญหาน้ำท่วมจนถึงขณะนี้มีลูกจ้างได้รับผลกระทบทั้งสิ้น 752,439 คน จากสถานประกอบการ 19,251 แห่ง และมีลูกจ้างกว่า 3,000 คน ที่ถูกเลิกจ้างใน 2 จังหวัด คือปทุมธานี 4 แห่ง และพระนครศรีอยุธยา 6 แห่ง
นอกจากนี้ ปัญหายังลุกลามไปยังสถานประกอบการในพื้นที่กรุงเทพฯเพิ่มขึ้นอีก 5 เขต มีโรงงานได้รับผลกระทบกว่า 1,855 แห่ง ลูกจ้างกระทบจนต้องหยุดงาน 23,166 คน โดยนายจ้างในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ยังยืนยันยังไม่เลิกจ้าง และยังคงจ่ายค่าจ้างให้เต็มจำนวน และบางส่วนจ่าย 75%
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่า ขณะนี้สถานประกอบการไทยที่เป็นบริษัทลูกของประเทศญี่ปุ่นแจ้งความต้องการ ส่งต่อแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น เพื่อรักษาสภาพการจ้าง โดยขอความร่วมมือให้ทางการไทยอำนวยความสะดวกให้ในการส่งต่อแรงงาน เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ไม่รับคนงานเข้าไปในลักษณะลูกจ้าง แต่รับในลักษณะการฝึกอาชีพ ซึ่งต้องแจ้งผ่านกรมการจัดหางานในการออกใบอนุญาตให้
อย่างไรก็ตาม มองว่าวิธีการนี้มีลักษณะคล้ายกับโครงการเพื่อนชวยเพื่อนที่กระทรวงแรงงานกำลังทำอยู่ เพื่อรักษาสภาพการจ้างงานลูกจ้างไว้ จึงอยากแนะนำให้นายจ้างชาวไทยรายอื่นน่าจะทำตามด้วย เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานอยู่แล้ว หากนายจ้างไม่ดูแลลูกจ้าง เมื่อสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติลูกจ้างจะไม่กลับมาทำงานอีก
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานยังประเมินสถานการณ์ด้วยว่า เมื่อหลังน้ำลดนายจ้างที่ไม่ดูแลลูกจ้างเมื่อครั้งประสบภัย จะขาดแคลนแรงงาน และจะเกิดการแย่งชิงลูกจ้างกันขึ้นในตลาดแรงงาน โดยเฉพาะลูกจ้างที่มีความรู้ความสามารถ
ขณะเดียวกัน ยังคงยืนยันตัวเลขคาดการณ์ของลูกจ้างที่อาจจะถูกเลิกจ้างมากกว่า 1 แสนคน เพราะมีการส่งสัญญาณจากนายจ้างเข้ามามากขึ้น โดยการโทรมาสอบถามที่ กสร.ถึงกรณีหากต้องประกาศเลิกจ้างพนักงานจะต้องทำอย่างไร และรัฐบาลจะช่วยดูแลอย่างไร ซึ่งส่วนใหญ่เมื่อโทร.เข้ามาถามลักษณะอย่างนี้ไม่นานก็จะประกาศเลิกจ้างทุกราย
จากสถานการณน้ำท่วมที่ส่งผลกระทบต่อแรงงานกว่า 7 แสนคนต้องหยุดงานชั่วคราวมาเกือบ 2 เดือน ขณะที่ลูกจ้างส่วนใหญ่ยังไม่รู้อนาคตตัวเองว่าสถานภาพการจ้างงานยังคงมีอยู่หรือไม่ ล่าสุดมีการส่งสัญญาณจากนายจ้างเข้ามามากขึ้นว่าอาจจำเป็นต้องใช้วิธีการเลิกจ้างเป็นทางเลือกสุดท้าย
นายอาทิตย์ อิสโม อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เปิดเผยสถานการณ์การจ้างงานในช่วงวิกฤตขณะนี้ว่า มีสถานประกอบการจำนวน 320 แห่ง ใน 38 จังหวัด ได้แจ้งความประสงค์ที่จะรับผู้ใช้แรงงานที่ประสบอุทกภัยเป็นการชั่วคราว 42,090 อัตรา ส่วนใหญ่อยู่ในจังหวัดนครปฐม สมุทรปราการ สมุทรสาคร กรุงเทพมหานคร และชลบุรี
โดยประเภทตำแหน่งงานส่วนใหญ่เป็นพนักงานฝ่ายการผลิต พนักงานคลังสินค้า ช่างเชื่อม ช่างไฟ ช่างก่อสร้าง ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ อาหารสำเร็จรูป วิศวกร และ สิ่งทอ เป็นต้น ซึ่งล่าสุดมีนายจ้างในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาตอบรับเข้ามาว่าจะส่งต่อลูกจ้างจำนวน 2,800 คน ไปทำงานชั่วคราวตามโครงการนี้
ขณะเดียวกัน จากการเปิดให้ลูกจ้างเข้ามาลงทะเบียนผู้ประสบภัยพบว่ายังมีไม่มากนักเพียง 750 คน ซึ่งถือว่ายังน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบทั้งหมด ส่วนสาเหตุที่เข้ามาน้อยเนื่องจากว่ายังเป็นช่วงที่ลูกจ้างยังได้รับค่าจ้างจากนายจ้าง และยังไม่มั่นใจว่านายจ้างจะเลิกจ้างหรือไม่ อย่างไรก็ตาม คาดว่าในช่วง1-2 สัปดาห์นี้จะมีลูกจ้างเข้ามาลงทะเบียนขอความช่วยเหลือมากขึ้น เพราะหมดรอบการจ่ายเงินที่นายจ้างพอจะจ่ายได้แล้ว
นายอาทิตย์ กล่าวต่อว่า ตั้งแต่เกิดปัญหาน้ำท่วมจนถึงขณะนี้มีลูกจ้างได้รับผลกระทบทั้งสิ้น 752,439 คน จากสถานประกอบการ 19,251 แห่ง และมีลูกจ้างกว่า 3,000 คน ที่ถูกเลิกจ้างใน 2 จังหวัด คือปทุมธานี 4 แห่ง และพระนครศรีอยุธยา 6 แห่ง
นอกจากนี้ ปัญหายังลุกลามไปยังสถานประกอบการในพื้นที่กรุงเทพฯเพิ่มขึ้นอีก 5 เขต มีโรงงานได้รับผลกระทบกว่า 1,855 แห่ง ลูกจ้างกระทบจนต้องหยุดงาน 23,166 คน โดยนายจ้างในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ยังยืนยันยังไม่เลิกจ้าง และยังคงจ่ายค่าจ้างให้เต็มจำนวน และบางส่วนจ่าย 75%
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กล่าวว่า ขณะนี้สถานประกอบการไทยที่เป็นบริษัทลูกของประเทศญี่ปุ่นแจ้งความต้องการ ส่งต่อแรงงานไทยที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น เพื่อรักษาสภาพการจ้าง โดยขอความร่วมมือให้ทางการไทยอำนวยความสะดวกให้ในการส่งต่อแรงงาน เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ไม่รับคนงานเข้าไปในลักษณะลูกจ้าง แต่รับในลักษณะการฝึกอาชีพ ซึ่งต้องแจ้งผ่านกรมการจัดหางานในการออกใบอนุญาตให้
อย่างไรก็ตาม มองว่าวิธีการนี้มีลักษณะคล้ายกับโครงการเพื่อนชวยเพื่อนที่กระทรวงแรงงานกำลังทำอยู่ เพื่อรักษาสภาพการจ้างงานลูกจ้างไว้ จึงอยากแนะนำให้นายจ้างชาวไทยรายอื่นน่าจะทำตามด้วย เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานอยู่แล้ว หากนายจ้างไม่ดูแลลูกจ้าง เมื่อสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติลูกจ้างจะไม่กลับมาทำงานอีก
อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานยังประเมินสถานการณ์ด้วยว่า เมื่อหลังน้ำลดนายจ้างที่ไม่ดูแลลูกจ้างเมื่อครั้งประสบภัย จะขาดแคลนแรงงาน และจะเกิดการแย่งชิงลูกจ้างกันขึ้นในตลาดแรงงาน โดยเฉพาะลูกจ้างที่มีความรู้ความสามารถ
ขณะเดียวกัน ยังคงยืนยันตัวเลขคาดการณ์ของลูกจ้างที่อาจจะถูกเลิกจ้างมากกว่า 1 แสนคน เพราะมีการส่งสัญญาณจากนายจ้างเข้ามามากขึ้น โดยการโทรมาสอบถามที่ กสร.ถึงกรณีหากต้องประกาศเลิกจ้างพนักงานจะต้องทำอย่างไร และรัฐบาลจะช่วยดูแลอย่างไร ซึ่งส่วนใหญ่เมื่อโทร.เข้ามาถามลักษณะอย่างนี้ไม่นานก็จะประกาศเลิกจ้างทุกราย