ปลัดสธ.ห่วงผู้ประสบภัย ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ โรคปอดบวม โดยเฉพาะเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ย้ำไม่ควรนำที่นอนเปียกน้ำมาใช้นอน เพราะมีความชื้นสูง เสี่ยงติดเชื้อง่าย แนะหากผู้ประสบภัยป่วยมีไข้สูงติดต่อกันเกิน 2 วัน ขอให้รีบพาไปพบแพทย์ หากไม่สามารถเดินทางออกจากบ้านได้โทรแจ้งหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน 1669
นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(กทม.) ให้สัมภาษณ์ว่า จากการเดินทางไปตรวจเยี่ยมผู้ประสบภัยหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในจังหวัดภาคกลาง ซึ่งยังต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมขังต่อไปอีกหลายวัน อาจเพิ่มความเสี่ยงให้ผู้ประสบภัยโดยเฉพาะเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว อาจเจ็บป่วยง่ายขึ้น เนื่องจากอากาศมีความชื้นสูง ให้ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกาย หมั่นล้างมือ
นายแพทย์ไพจิตร์ กล่าวว่า สิ่งที่ประชาชนต้องระมัดระวังก็คือเรื่องที่นอน บางคนขนย้ายที่นอนไม่ทัน หากที่นอนเปียกน้ำแล้ว ไม่ควรนำมาใช้อีก เนื่องจากน้ำจะชุ่มอยู่ในวัสดุที่ใช้ทำที่นอน และจะมีความชื้นสูง ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจได้ง่าย โดยเฉพาะไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และโรคปอดบวม แนะนำให้ใช้วัสดุอื่นปูนอน เช่น เสื่อ หรือผ้าหนาๆ ก็ได้
ทั้งนี้ ผลการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ตลอดกว่า 2 เดือนมานี้ พบประชาชนป่วยเป็นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่รวมจำนวน 21,904 ราย มากเป็นอันดับ 2 รองจากโรคน้ำกัดเท้า คิดเป็นร้อยละ 6 ของผู้เจ็บป่วยทั้งหมด ยังไม่มีรายงานโรคปอดบวม
นายแพทย์ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า สำหรับโรคไข้หวัดใหญ่ อาการจะเริ่มด้วยการมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ไอ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ หากเริ่มมีอาการ ควรนอนพักผ่อนให้มาก ๆ ดื่มน้ำบ่อย ๆ ถ้าตัวร้อนมากควรใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดตัว หรือกินยาลดไข้ อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นภายใน 2-7 วัน แต่หากมีอาการไอมากขึ้นหรือมีไข้สูงติดต่อกันเกิน 2 วัน โดยเฉพาะในรายที่เป็นเด็กเล็ก หากมีอาการเปลี่ยนแปลงหลังมีไข้ คือหายใจเร็วขึ้น มีอาการหอบ หายใจแรงจนชายโครงบุ๋ม หรือหายใจมีเสียงดัง อาจเกิดโรคแทรกที่สำคัญคือ โรคปอดบวม ซึ่งมีความรุนแรงต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ต้องรีบพาไปพบแพทย์ หากไม่สามารถเดินทางออกจากบ้านได้ หรือเดินทางไม่สะดวก ขอให้โทรแจ้งขอรับการช่วยเหลือที่หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน หมายเลข 1669 โทรฟรีตลอด 24 ชั่วโมง ทางโรงพยาบาลจะส่งทีมแพทย์ไปรับตัวถึงที่ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(กทม.) ให้สัมภาษณ์ว่า จากการเดินทางไปตรวจเยี่ยมผู้ประสบภัยหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในจังหวัดภาคกลาง ซึ่งยังต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมขังต่อไปอีกหลายวัน อาจเพิ่มความเสี่ยงให้ผู้ประสบภัยโดยเฉพาะเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว อาจเจ็บป่วยง่ายขึ้น เนื่องจากอากาศมีความชื้นสูง ให้ดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกาย หมั่นล้างมือ
นายแพทย์ไพจิตร์ กล่าวว่า สิ่งที่ประชาชนต้องระมัดระวังก็คือเรื่องที่นอน บางคนขนย้ายที่นอนไม่ทัน หากที่นอนเปียกน้ำแล้ว ไม่ควรนำมาใช้อีก เนื่องจากน้ำจะชุ่มอยู่ในวัสดุที่ใช้ทำที่นอน และจะมีความชื้นสูง ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจได้ง่าย โดยเฉพาะไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ และโรคปอดบวม แนะนำให้ใช้วัสดุอื่นปูนอน เช่น เสื่อ หรือผ้าหนาๆ ก็ได้
ทั้งนี้ ผลการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ตลอดกว่า 2 เดือนมานี้ พบประชาชนป่วยเป็นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่รวมจำนวน 21,904 ราย มากเป็นอันดับ 2 รองจากโรคน้ำกัดเท้า คิดเป็นร้อยละ 6 ของผู้เจ็บป่วยทั้งหมด ยังไม่มีรายงานโรคปอดบวม
นายแพทย์ไพจิตร์ กล่าวต่อว่า สำหรับโรคไข้หวัดใหญ่ อาการจะเริ่มด้วยการมีไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ไอ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ หากเริ่มมีอาการ ควรนอนพักผ่อนให้มาก ๆ ดื่มน้ำบ่อย ๆ ถ้าตัวร้อนมากควรใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเช็ดตัว หรือกินยาลดไข้ อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นภายใน 2-7 วัน แต่หากมีอาการไอมากขึ้นหรือมีไข้สูงติดต่อกันเกิน 2 วัน โดยเฉพาะในรายที่เป็นเด็กเล็ก หากมีอาการเปลี่ยนแปลงหลังมีไข้ คือหายใจเร็วขึ้น มีอาการหอบ หายใจแรงจนชายโครงบุ๋ม หรือหายใจมีเสียงดัง อาจเกิดโรคแทรกที่สำคัญคือ โรคปอดบวม ซึ่งมีความรุนแรงต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ต้องรีบพาไปพบแพทย์ หากไม่สามารถเดินทางออกจากบ้านได้ หรือเดินทางไม่สะดวก ขอให้โทรแจ้งขอรับการช่วยเหลือที่หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน หมายเลข 1669 โทรฟรีตลอด 24 ชั่วโมง ทางโรงพยาบาลจะส่งทีมแพทย์ไปรับตัวถึงที่ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด