อุดรธานี-สาธารณสุขจ.อุดรฯ เผย ปี 53 มีผู้เสียชีวิตจากไข้หวัดใหญ่แล้ว 4 ราย ขณะที่ปี 54 พบผู้ป่วยแล้ว 141 ราย แนะรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผัก-ผลไม้
นายแพทย์ สัญชัย ปิยะพงษ์กุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี เปิดเผยว่า จากรายงานทางระบาดวิทยาปี 2553 จังหวัดอุดรธานี พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ จำนวน 1,464 ราย เสียชีวิต 4 ราย และ ปี 2554 จากต้นปีถึงปัจจุบันพบผู้ป่วยแล้ว 141 ราย
โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย เกิดจากเชื้อ อินฟลูเอ็นซ่า ไวรัส (Influenza virus) หลังสัมผัสโรคหรือรับเชื้อ 1-3 วัน จะมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวมาก ปวดทั่วตัว ปวดกล้ามเนื้อ ตาแดง อ่อนเพลียมาก เบื่ออาหาร คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ จาม เจ็บคอ
ทั่วไปโรคจะหายภายใน 7 วัน ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ คือ ปอดบวม หลอดลมอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและสมองอักเสบ หากเป็นมากอาจมีอันตรายถึงชีวิต
สำหรับการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่ ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ซึ่งเป็นแหล่งอุดมด้วยวิตามินซี จะทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรค ดื่มน้ำมากๆ ออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬากลางแจ้งอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่นอนดึกเกินไป สวมเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ ส่วนเด็กทารกควรเลี้ยงด้วยนมแม่
ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนเมื่อป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ หญิงมีครรภ์ อายุครรภ์ 7 เดือนขึ้นไป คนอ้วนที่น้ำหนักตัวเกิน 100 กิโลกรัมขึ้นไป ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ผู้มีโรคเรื้อรัง คือ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย มะเร็งที่กำลังให้เคมีบำบัด เบาหวาน ธาลัสซีเมีย ภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงผู้ติดเชื้อเอดส์ที่มีอาการ และ บุคคลอายุ 65 ปี ขึ้นไป เด็กอายุระหว่าง 6 เดือน ถึง 2 ปี ควรรับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกัน
นายแพทย์ สัญชัย ปิยะพงษ์กุล นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดอุดรธานี เปิดเผยว่า จากรายงานทางระบาดวิทยาปี 2553 จังหวัดอุดรธานี พบผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ จำนวน 1,464 ราย เสียชีวิต 4 ราย และ ปี 2554 จากต้นปีถึงปัจจุบันพบผู้ป่วยแล้ว 141 ราย
โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza) พบได้ในคนทุกเพศทุกวัย เกิดจากเชื้อ อินฟลูเอ็นซ่า ไวรัส (Influenza virus) หลังสัมผัสโรคหรือรับเชื้อ 1-3 วัน จะมีอาการไข้สูงเฉียบพลัน หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวมาก ปวดทั่วตัว ปวดกล้ามเนื้อ ตาแดง อ่อนเพลียมาก เบื่ออาหาร คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ จาม เจ็บคอ
ทั่วไปโรคจะหายภายใน 7 วัน ส่วนภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยในผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ คือ ปอดบวม หลอดลมอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและสมองอักเสบ หากเป็นมากอาจมีอันตรายถึงชีวิต
สำหรับการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันไข้หวัดใหญ่ ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผัก ผลไม้ ซึ่งเป็นแหล่งอุดมด้วยวิตามินซี จะทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรค ดื่มน้ำมากๆ ออกกำลังกาย หรือเล่นกีฬากลางแจ้งอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไม่นอนดึกเกินไป สวมเสื้อผ้าให้เหมาะสมกับสภาพอากาศ ส่วนเด็กทารกควรเลี้ยงด้วยนมแม่
ทั้งนี้ ผู้ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง ต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนเมื่อป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ หญิงมีครรภ์ อายุครรภ์ 7 เดือนขึ้นไป คนอ้วนที่น้ำหนักตัวเกิน 100 กิโลกรัมขึ้นไป ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ผู้มีโรคเรื้อรัง คือ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ หลอดเลือดสมอง ไตวาย มะเร็งที่กำลังให้เคมีบำบัด เบาหวาน ธาลัสซีเมีย ภูมิคุ้มกันบกพร่อง รวมถึงผู้ติดเชื้อเอดส์ที่มีอาการ และ บุคคลอายุ 65 ปี ขึ้นไป เด็กอายุระหว่าง 6 เดือน ถึง 2 ปี ควรรับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกัน