พลันที่มีผู้จุดประกายความเหลื่อมล้ำของสวัสดิการรักษาพยาบาลในระบบประกันสังคมที่มีสิทธิประโยชน์ด้อยกว่าบัตรทอง ซึ่งไม่ต้องจ่ายสมทบทุกเดือน หวังกระตุกให้สังคมฉุกคิดถึงความไม่เป็นธรรม และนำไปสู่ความพยายามที่จะผลักดันให้ฝ่ายนโยบายทั้งฝ่ายการเมือง และข้าราชการแก้ไขปัญหาดังกล่าว
ทว่า การเคลื่อนไหวกดดันเรียกร้อง นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 เป็นต้นมา ความคืบหน้าเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องนี้กลับมีน้อยมาก ดังนั้น เมื่อย้อนกลับไปดูความพยายามของภาครัฐที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะสำนักงานประกันสังคม (สปส.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กลับพบว่า ส่วนใหญ่เหมือนพายเรืออยู่ในอ่าง
จุดเริ่มต้นของความพยายามแก้ไขปัญหามาจากการเรียกร้องของ “ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน” ภายใต้การนำของนายนิมิตร์ เทียนอุดม และน.ส.สารี อ๋องสมหวัง เริ่มต้นเคลื่อนไหวเพื่อทวงถามความเป็นธรรมของชมรมพิทักษ์สิทธิฯ เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2554 ในงานเสวนา “ทำไมเราต้องจ่ายอยู่กลุ่มเดียว”
ถัดจากนั้นอีกเพียง 5 วัน ในวันที่ 11 ก.พ.2554 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพแห่งชาติ เพื่อสางระบบสุขภาพ 3 ระบบใหญ่ให้เกิดความเป็นธรรม
นับแต่นั้นมาการขับเคลื่อนเรียกร้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องมีกลุ่มผู้เข้าร่วมสนับสนุนมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระแสกดดันดังกล่าวตกหนักอยู่กับสำนักงานประกันสังคม โดย นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน และประธานบอร์ด สปส.ที่ให้คำยืนยันเมื่อวันที่ 23 มี.ค.2554 ว่าจะนำเรื่องความเป็นไปได้ที่จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความประเด็นการเก็บเงินสมทบขัดต่อรัฐธรรมนูญเข้าที่ประชุมบอร์ดสปส.เดือน เม.ย.2554 พร้อมกับจะเร่งให้ สปส.ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตนและเตรียมขยายสิทธิให้ครอบคลุมประชาชนกลุ่มอื่นๆ ด้วย ขณะเดียวกันกระทรวงแรงงานยังโยนให้ผู้ประกันตนเป็นผู้ตัดสินใจสามารถเลือกใช้ระบบประกันสุขภาพได้ตามความสมัครใจ
ระหว่างนั้น ดูเหมือนปัญหาด้านข้อกฎหมายกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ถกกันอย่างไม่มีวันจบสิ้น โดยเฉพาะประเด็นการเก็บเงินสมทบขัดต่อรัฐธรรมนูญจริงหรือไม่ ซึ่งอาจต้องรอผลสิ้นสุดที่ชั้นศาล
ระหว่างนี้ได้มีการร่วมกันหาทางแก้ปัญหาโดยที่ประชุมบอร์ด สปสช.เมื่อวันที่ 18 เม.ย.ได้ลงมติแต่งตั้งตัวแทนบอร์ด สปสช.เพื่อไปหารือร่วมกับบอร์ดสปส.ตามมาตรา 10 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทว่าการประชุมหลายครั้งหลายครา ดูเหมือนปัญหายังคงวนเวียนซ้ำไปซ้ำมาไม่คืบหน้า
จากที่ต้องตกเป็นฝ่ายรับมาโดยตลอด ในวันที่ 8 พ.ค.2554 สปส.ปรับบทบาทกลับมาเป็นฝ่ายรุกด้วยการจัดเสวนาหัวข้อทางเลือกในการประกันสุขภาพของแรงงานในระบบประกันสังคม : เสือหรือจระเข้ โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนา อาทิ นพ.สมเกียรติ นพ.สุรเดช นายพนัส นายชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาแรงงานแห่งประเทศไทย พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และ นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ โดยทั้งหมดเห็นพ้องกันว่า สปส.เป็นองค์กรที่ดี เป็นระบบเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข แต่ที่ผ่านมาถูกพูดถึงเฉพาะด้านที่ด้อยกว่า สปสช.เท่านั้น หากหยุดเก็บสมทบจะสร้างนิสัยให้ผู้ประกันตนเป็นขอทาน
ที่สำคัญ มีการตั้งข้อสังเกตว่าจุดประสงค์ของชมรมพิทักษ์สิทธิ์ฯ คือ จงใจฮุบกองทุน สปส.ซึ่งมีเงินร่วม 8 แสนล้านบาท ให้ไปอยู่ภายใต้การดูแลของสปสช. อย่างไรก็ตาม การประชุมร่วมระหว่าง2บอร์ดสุขภาพยังคงจัดขั้นเป็นคู่ขนาน แบบฉบับที่คุยกันโดยไร้ทางออก หรือ ข้อยุติที่จะพอใจทั้ง 2 ฝ่าย
เรื่อยมาจนถึงเดือน มิ.ย.เข้าสู่โหมดเลือกตั้งเต็มรูปแบบ จับกระแสการหาเสียงผ่านนโยบายด้านสาธารณสุข-แรงงาน ไม่พบพรรคการเมืองใดที่ให้ความสนใจกับประเด็นความเหลื่อมล้ำในระบบหลักประกันสุขภาพนัก
จนถึงขณะนี้ กลไกมาตรา 10 ใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ดูเหมือนว่าจะกลายเป็นช่องทางตีบตันที่ไม่สามารถแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมของระบบประกันสังคมได้ เช่นเดียวกับการตีความเรื่องความเหลื่อมล้ำของสิทธิรักษาพยาบาลในระบบประกันสังคมที่ด้อยกว่าสิทธิบัตรทองและสวัสดิการข้าราชการก็ยังคงค้างเติ่งอยู่ที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนและผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยยังไม่มีทีท่าว่าจะคืบหน้าไปได้อย่างไรต่อไป
คำว่า “พายเรือในอ่าง” อาจจะเป็นคำที่เหมาะสมที่สุด ณ เวลานี้ สำหรับความพยายามที่จะแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมที่ผู้ประกันตน ถูกทำให้เผชิญหน้าอยู่ และคงจะเป็นเช่นนี้ต่อไปอีกนานตราบเท่าที่ผู้มีอำนาจทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ตระหนักถึงปัญหาที่แท้จริงร่วมกัน แต่ยังคิดถึงผลประโยชน์ของฝ่ายตนเป็นที่ตั้ง ขณะที่จุดยืนของกลุ่มการเมืองอำนาจใหม่ที่มีต่อเรื่องนี้ก็ยังไม่ชัดเจน เสมือนหนึ่งเฝ้ารอดูจนกว่าจะเห็นช่องทางใหม่ที่จะสร้างชื่อได้จากกรณีนี้เท่านั้น
ทว่า การเคลื่อนไหวกดดันเรียกร้อง นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 เป็นต้นมา ความคืบหน้าเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องนี้กลับมีน้อยมาก ดังนั้น เมื่อย้อนกลับไปดูความพยายามของภาครัฐที่จะแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเฉพาะสำนักงานประกันสังคม (สปส.) และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กลับพบว่า ส่วนใหญ่เหมือนพายเรืออยู่ในอ่าง
จุดเริ่มต้นของความพยายามแก้ไขปัญหามาจากการเรียกร้องของ “ชมรมพิทักษ์สิทธิผู้ประกันตน” ภายใต้การนำของนายนิมิตร์ เทียนอุดม และน.ส.สารี อ๋องสมหวัง เริ่มต้นเคลื่อนไหวเพื่อทวงถามความเป็นธรรมของชมรมพิทักษ์สิทธิฯ เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2554 ในงานเสวนา “ทำไมเราต้องจ่ายอยู่กลุ่มเดียว”
ถัดจากนั้นอีกเพียง 5 วัน ในวันที่ 11 ก.พ.2554 นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพแห่งชาติ เพื่อสางระบบสุขภาพ 3 ระบบใหญ่ให้เกิดความเป็นธรรม
นับแต่นั้นมาการขับเคลื่อนเรียกร้องเป็นไปอย่างต่อเนื่องมีกลุ่มผู้เข้าร่วมสนับสนุนมากขึ้นเรื่อยๆ จนกระแสกดดันดังกล่าวตกหนักอยู่กับสำนักงานประกันสังคม โดย นพ.สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน และประธานบอร์ด สปส.ที่ให้คำยืนยันเมื่อวันที่ 23 มี.ค.2554 ว่าจะนำเรื่องความเป็นไปได้ที่จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความประเด็นการเก็บเงินสมทบขัดต่อรัฐธรรมนูญเข้าที่ประชุมบอร์ดสปส.เดือน เม.ย.2554 พร้อมกับจะเร่งให้ สปส.ปรับเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตนและเตรียมขยายสิทธิให้ครอบคลุมประชาชนกลุ่มอื่นๆ ด้วย ขณะเดียวกันกระทรวงแรงงานยังโยนให้ผู้ประกันตนเป็นผู้ตัดสินใจสามารถเลือกใช้ระบบประกันสุขภาพได้ตามความสมัครใจ
ระหว่างนั้น ดูเหมือนปัญหาด้านข้อกฎหมายกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ถกกันอย่างไม่มีวันจบสิ้น โดยเฉพาะประเด็นการเก็บเงินสมทบขัดต่อรัฐธรรมนูญจริงหรือไม่ ซึ่งอาจต้องรอผลสิ้นสุดที่ชั้นศาล
ระหว่างนี้ได้มีการร่วมกันหาทางแก้ปัญหาโดยที่ประชุมบอร์ด สปสช.เมื่อวันที่ 18 เม.ย.ได้ลงมติแต่งตั้งตัวแทนบอร์ด สปสช.เพื่อไปหารือร่วมกับบอร์ดสปส.ตามมาตรา 10 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ทว่าการประชุมหลายครั้งหลายครา ดูเหมือนปัญหายังคงวนเวียนซ้ำไปซ้ำมาไม่คืบหน้า
จากที่ต้องตกเป็นฝ่ายรับมาโดยตลอด ในวันที่ 8 พ.ค.2554 สปส.ปรับบทบาทกลับมาเป็นฝ่ายรุกด้วยการจัดเสวนาหัวข้อทางเลือกในการประกันสุขภาพของแรงงานในระบบประกันสังคม : เสือหรือจระเข้ โดยมีผู้เข้าร่วมเสวนา อาทิ นพ.สมเกียรติ นพ.สุรเดช นายพนัส นายชินโชติ แสงสังข์ ประธานสภาแรงงานแห่งประเทศไทย พญ.ประชุมพร บูรณ์เจริญ ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และ นายแก้วสรร อติโพธิ นักวิชาการอิสระ โดยทั้งหมดเห็นพ้องกันว่า สปส.เป็นองค์กรที่ดี เป็นระบบเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุข แต่ที่ผ่านมาถูกพูดถึงเฉพาะด้านที่ด้อยกว่า สปสช.เท่านั้น หากหยุดเก็บสมทบจะสร้างนิสัยให้ผู้ประกันตนเป็นขอทาน
ที่สำคัญ มีการตั้งข้อสังเกตว่าจุดประสงค์ของชมรมพิทักษ์สิทธิ์ฯ คือ จงใจฮุบกองทุน สปส.ซึ่งมีเงินร่วม 8 แสนล้านบาท ให้ไปอยู่ภายใต้การดูแลของสปสช. อย่างไรก็ตาม การประชุมร่วมระหว่าง2บอร์ดสุขภาพยังคงจัดขั้นเป็นคู่ขนาน แบบฉบับที่คุยกันโดยไร้ทางออก หรือ ข้อยุติที่จะพอใจทั้ง 2 ฝ่าย
เรื่อยมาจนถึงเดือน มิ.ย.เข้าสู่โหมดเลือกตั้งเต็มรูปแบบ จับกระแสการหาเสียงผ่านนโยบายด้านสาธารณสุข-แรงงาน ไม่พบพรรคการเมืองใดที่ให้ความสนใจกับประเด็นความเหลื่อมล้ำในระบบหลักประกันสุขภาพนัก
จนถึงขณะนี้ กลไกมาตรา 10 ใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ดูเหมือนว่าจะกลายเป็นช่องทางตีบตันที่ไม่สามารถแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมของระบบประกันสังคมได้ เช่นเดียวกับการตีความเรื่องความเหลื่อมล้ำของสิทธิรักษาพยาบาลในระบบประกันสังคมที่ด้อยกว่าสิทธิบัตรทองและสวัสดิการข้าราชการก็ยังคงค้างเติ่งอยู่ที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนและผู้ตรวจการแผ่นดิน โดยยังไม่มีทีท่าว่าจะคืบหน้าไปได้อย่างไรต่อไป
คำว่า “พายเรือในอ่าง” อาจจะเป็นคำที่เหมาะสมที่สุด ณ เวลานี้ สำหรับความพยายามที่จะแก้ปัญหาความไม่เป็นธรรมที่ผู้ประกันตน ถูกทำให้เผชิญหน้าอยู่ และคงจะเป็นเช่นนี้ต่อไปอีกนานตราบเท่าที่ผู้มีอำนาจทั้ง 2 ฝ่าย ไม่ตระหนักถึงปัญหาที่แท้จริงร่วมกัน แต่ยังคิดถึงผลประโยชน์ของฝ่ายตนเป็นที่ตั้ง ขณะที่จุดยืนของกลุ่มการเมืองอำนาจใหม่ที่มีต่อเรื่องนี้ก็ยังไม่ชัดเจน เสมือนหนึ่งเฝ้ารอดูจนกว่าจะเห็นช่องทางใหม่ที่จะสร้างชื่อได้จากกรณีนี้เท่านั้น