ลูกจ้างโวยรัฐบาลแถลงนโยบายเบี้ยวค่าจ้าง 300 บาท โกหกคำโต ดึงเรื่องผลผลิต-ทักษะฝีมือ มาเป็นเงื่อนไข เตรียมบุกแรงงานทวงถาม “เผดิมชัย” นักวิชาการ ชี้ นโยบายที่แถลงแค่ประกันรายได้ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานคนละเรื่องกับค่าจ้างขั้นต่ำ แถมเกาไม่ถูกที่คัน แก้ปัญหาในเรื่องเล็กน้อย แนะโจทย์ใหญ่เร่งยกระดับค่าจ้างแรงงานทั้งระบบ-หนุนลูกจ้างตั้งสหภาพเจรจาต่อรองนายจ้าง
วันนี้ (23 ส.ค.) นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวถึงนโยบายด้านแรงงาน ที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแถลงต่อรัฐสภาที่ จะดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า 300 บาท และผู้ที่จบปริญญาตรีมีรายได้ไม่น้อยกว่าเดือนละ 1.5 หมื่นบาท อย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากรนั้น ว่า การแถลงนโยบายดังกล่าวถือว่าเป็นการเบี่ยงเบนประเด็นขัดเจตนารมณ์ที่ได้หาเสียงไว้ที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน หัวหมาก เป็นการโกหกพี่น้องประชาชนคำโต เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่เลือกเบอร์ 1 เพราะนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันโดนใจ
นายชาลี กล่าวอีกว่า จะให้โอกาสรัฐบาลทำงานก่อน 6 เดือน แต่หากจนถึงเดือน ม.ค.ยังไม่ได้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน คิดว่า แรงงานคงยอมรับไม่ได้ และจะต้องเรียกร้องในเรื่องนี้ต่อไป ทั้งนี้ ได้ทำหนังสือเพื่อขอเข้าพบ นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน เพื่อขอความชัดเจน แต่ รมว.แรงงาน ยังไม่ได้ระบุว่าจะให้เข้าพบวันไหน อย่างไรก็ตาม ไม่อยากให้รัฐบาลปฏิเสธที่จะทำตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ เพราะถือเป็นความหวังของพี่น้องผู้ใช้แรงงานอันดับต้นๆ
นายชาลี กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ค่าแรงยังไม่ได้มีการปรับขึ้นค่าจ้าง แต่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับเพิ่มขึ้นมาก ทุกวันนี้ค่าแรงขั้นต่ำของ กทม.อยู่ที่ 215 บาท ก็ยังไม่เพียงพอ ยังจะเอาเรื่องทักษะฝีมือมาเกี่ยวข้อง แล้วแรงงานแรกเข้าจะทำอย่างไร ซึ่งความเป็นจริงแล้ว รัฐบาลจะต้องทำตามที่หาเสียงไว้ ส่วนการปรับเพิ่มทักษะฝีมือแล้วลดภาษีให้นายจ้างนั้น จะมีแรงงานสักกี่คนที่ได้รับการพัฒนาทักษะฝีมือเพิ่มขึ้น แต่ภาคเอกชนกลับได้กำไรเพิ่มขึ้นทันทีจากการปรับลดภาษี
ศาสตราภิชาน แล ดิลกวิทยรัตน์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า คำแถลงนโยบายด้านแรงงานของนายกฯนั้น ไม่ตรงกับที่รัฐบาลได้หาเสียงและสัญญาไว้กับประชาชน ซึ่งประชาชนต่างเข้าใจกัน ว่า เป็นการปรับค่าจ้างขั้นต่ำและเงินเดือนปริญญาตรีโดยไม่มีเงื่อนไข ทั้งนี้ ค่าจ้างขั้นต่ำไม่เกี่ยวกับเรื่องของประสิทธิภาพการทำงาน เพราะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่แรงงานควรได้รับค่าจ้างแรกเข้าให้เพียงพอที่จะอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี เมื่อเข้าทำงานแล้ว จึงจะมีการพัฒนาทักษะฝีมือ เพื่อเพิ่มผลิตผลและประสิทธิภาพการทำงาน และการขึ้นเงินเดือนปริญญาตรีเป็น 1.5 หมื่นบาท หากเอาคุณภาพของบัณฑิตมาเป็นตัวชี้วัด จะประเมินเช่นไร และถ้าบัณฑิตคุณภาพต่ำกว่าเกณฑ์ควรจะได้เงินเดือนเท่าใด ก็จะมีปัญหาตามมาอีก
“นโยบายด้านแรงงานของรัฐบาลยังเกาไม่ถูกที่คัน เช่น การส่งเสริมด้านแรงงานสัมพันธ์ให้เป็นไปตามกรอบกฎหมาย การดูแลแรงงานข้ามชาติเพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียนในปี พ.ศ.2558 การทำความเข้าใจกับแรงงานนอกระบบ เพื่อให้เข้าสู่ระบบประกันสังคมนั้นเป็นเพียงการแก้แค่โจทย์เล็กๆ เป็นเรื่องจิ๊บจ๊อยและหน่อมแน้ม ทั้งนี้ โจทย์ใหญ่ที่รัฐบาลควรทำ คือ การยกระดับค่าจ้างของแรงงานทั้งระบบให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และไม่ต้องทำโอที รวมถึงการที่รัฐบาลควรจะรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ)ฉบับที่ 87 และ 98 เพื่อให้แรงงานสามารถจัดตั้งสหภาพแรงงาน เพื่อให้มีอำนาจเจรจาต่อรองสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่นายจ้างสามารถให้ได้โดยไม่ถูกไล่ออก” ศาสตราภิชานแล กล่าว
ศาสตราภิชาน แล กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ รัฐบาลควรสนับสนุนให้แรงงานนอกระบบเข้าสู่ระบบแรงงานเพื่อให้ได้รับการคุ้มครอง การดูแลแรงงานข้ามชาติโดยเพิ่มประสิทธิภาพการจดทะเบียนให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและโปร่งใส ไม่ให้แรงงานข้ามชาติถูกกดขี่ เอาเปรียบ และไม่ปล่อยให้มีการทุจริตในกระบวนการดูแลแรงงานต่างด้าว และทำให้แรงงานนอกระบบเห็นถึงประโยชน์ของการเข้าสู่ระบบประกันสังคม อย่างไรก็ตาม รัฐบาลก็มีนโยบายใหม่ๆ คือ การสนับสนุนให้เอกชนเข้ามาร่วมพัฒนาฝีมือแรงงาน
รศ.ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผอ.วิจัยการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า คำแถลงนโยบายด้านแรงงานของนายกฯแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลรับเอาข้อเสนอของภาคเอกชน เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สภาหอการค้าไทย ที่ได้หารือกันมาผนวกเข้ากับร่างคำแถลงนโยบายเดิม ซึ่งเป็นการเปิดช่องให้แก่นายจ้างและลูกจ้างในเรื่องการปรับค่าจ้างเป็น 300 บาทต่อวัน เพราะไม่ได้ระบุถึงกำหนดเวลา และขั้นตอน แต่มีเงื่อนไขให้เป็นไปตามผลิตภาพ ซึ่งแรงงานก็ต้องพัฒนาทักษะฝีมือเพื่อให้ได้ผลิตภาพเพิ่มขึ้น ขณะที่นายจ้างก็ต้องเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยพัฒนาลูกจ้างและจัดหาเครื่องจักร อุปกรณ์ จึงจะมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน
“คำแถลงนโยบายเป็นการประกันรายได้ให้แก่แรงงาน ไม่ใช่การปรับค่าจ้างขั้นต่ำ และไม่ตรงกับข้อความที่เขียนไว้ในป้ายหาเสียงของพรรคเพื่อไทย (พท.) ที่ระบุว่า เพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน อาจจะทำให้แรงงานไม่พอใจเพราะไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า การที่รัฐบาลทำเช่นนี้คงประเมินแล้วว่า การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน เป็นไปได้ยาก จะทำให้ธุรกิจเอสเอ็มอีต้องเลิกกิจการจำนวนมากและแรงงานตกงานเยอะ” รศ.ยงยุทธ กล่าว
วันนี้ (23 ส.ค.) นายชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวถึงนโยบายด้านแรงงาน ที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีแถลงต่อรัฐสภาที่ จะดำเนินการให้แรงงานมีรายได้เป็นวันละไม่น้อยกว่า 300 บาท และผู้ที่จบปริญญาตรีมีรายได้ไม่น้อยกว่าเดือนละ 1.5 หมื่นบาท อย่างสอดคล้องกับผลิตภาพและประสิทธิภาพของบุคลากรนั้น ว่า การแถลงนโยบายดังกล่าวถือว่าเป็นการเบี่ยงเบนประเด็นขัดเจตนารมณ์ที่ได้หาเสียงไว้ที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน หัวหมาก เป็นการโกหกพี่น้องประชาชนคำโต เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่เลือกเบอร์ 1 เพราะนโยบายค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันโดนใจ
นายชาลี กล่าวอีกว่า จะให้โอกาสรัฐบาลทำงานก่อน 6 เดือน แต่หากจนถึงเดือน ม.ค.ยังไม่ได้มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน คิดว่า แรงงานคงยอมรับไม่ได้ และจะต้องเรียกร้องในเรื่องนี้ต่อไป ทั้งนี้ ได้ทำหนังสือเพื่อขอเข้าพบ นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน เพื่อขอความชัดเจน แต่ รมว.แรงงาน ยังไม่ได้ระบุว่าจะให้เข้าพบวันไหน อย่างไรก็ตาม ไม่อยากให้รัฐบาลปฏิเสธที่จะทำตามนโยบายที่ได้หาเสียงไว้ เพราะถือเป็นความหวังของพี่น้องผู้ใช้แรงงานอันดับต้นๆ
นายชาลี กล่าวด้วยว่า ขณะนี้ค่าแรงยังไม่ได้มีการปรับขึ้นค่าจ้าง แต่ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคปรับเพิ่มขึ้นมาก ทุกวันนี้ค่าแรงขั้นต่ำของ กทม.อยู่ที่ 215 บาท ก็ยังไม่เพียงพอ ยังจะเอาเรื่องทักษะฝีมือมาเกี่ยวข้อง แล้วแรงงานแรกเข้าจะทำอย่างไร ซึ่งความเป็นจริงแล้ว รัฐบาลจะต้องทำตามที่หาเสียงไว้ ส่วนการปรับเพิ่มทักษะฝีมือแล้วลดภาษีให้นายจ้างนั้น จะมีแรงงานสักกี่คนที่ได้รับการพัฒนาทักษะฝีมือเพิ่มขึ้น แต่ภาคเอกชนกลับได้กำไรเพิ่มขึ้นทันทีจากการปรับลดภาษี
ศาสตราภิชาน แล ดิลกวิทยรัตน์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า คำแถลงนโยบายด้านแรงงานของนายกฯนั้น ไม่ตรงกับที่รัฐบาลได้หาเสียงและสัญญาไว้กับประชาชน ซึ่งประชาชนต่างเข้าใจกัน ว่า เป็นการปรับค่าจ้างขั้นต่ำและเงินเดือนปริญญาตรีโดยไม่มีเงื่อนไข ทั้งนี้ ค่าจ้างขั้นต่ำไม่เกี่ยวกับเรื่องของประสิทธิภาพการทำงาน เพราะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่แรงงานควรได้รับค่าจ้างแรกเข้าให้เพียงพอที่จะอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี เมื่อเข้าทำงานแล้ว จึงจะมีการพัฒนาทักษะฝีมือ เพื่อเพิ่มผลิตผลและประสิทธิภาพการทำงาน และการขึ้นเงินเดือนปริญญาตรีเป็น 1.5 หมื่นบาท หากเอาคุณภาพของบัณฑิตมาเป็นตัวชี้วัด จะประเมินเช่นไร และถ้าบัณฑิตคุณภาพต่ำกว่าเกณฑ์ควรจะได้เงินเดือนเท่าใด ก็จะมีปัญหาตามมาอีก
“นโยบายด้านแรงงานของรัฐบาลยังเกาไม่ถูกที่คัน เช่น การส่งเสริมด้านแรงงานสัมพันธ์ให้เป็นไปตามกรอบกฎหมาย การดูแลแรงงานข้ามชาติเพื่อรองรับการเปิดเสรีอาเซียนในปี พ.ศ.2558 การทำความเข้าใจกับแรงงานนอกระบบ เพื่อให้เข้าสู่ระบบประกันสังคมนั้นเป็นเพียงการแก้แค่โจทย์เล็กๆ เป็นเรื่องจิ๊บจ๊อยและหน่อมแน้ม ทั้งนี้ โจทย์ใหญ่ที่รัฐบาลควรทำ คือ การยกระดับค่าจ้างของแรงงานทั้งระบบให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และไม่ต้องทำโอที รวมถึงการที่รัฐบาลควรจะรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ไอแอลโอ)ฉบับที่ 87 และ 98 เพื่อให้แรงงานสามารถจัดตั้งสหภาพแรงงาน เพื่อให้มีอำนาจเจรจาต่อรองสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่นายจ้างสามารถให้ได้โดยไม่ถูกไล่ออก” ศาสตราภิชานแล กล่าว
ศาสตราภิชาน แล กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ รัฐบาลควรสนับสนุนให้แรงงานนอกระบบเข้าสู่ระบบแรงงานเพื่อให้ได้รับการคุ้มครอง การดูแลแรงงานข้ามชาติโดยเพิ่มประสิทธิภาพการจดทะเบียนให้เป็นไปอย่างรวดเร็วและโปร่งใส ไม่ให้แรงงานข้ามชาติถูกกดขี่ เอาเปรียบ และไม่ปล่อยให้มีการทุจริตในกระบวนการดูแลแรงงานต่างด้าว และทำให้แรงงานนอกระบบเห็นถึงประโยชน์ของการเข้าสู่ระบบประกันสังคม อย่างไรก็ตาม รัฐบาลก็มีนโยบายใหม่ๆ คือ การสนับสนุนให้เอกชนเข้ามาร่วมพัฒนาฝีมือแรงงาน
รศ.ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผอ.วิจัยการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า คำแถลงนโยบายด้านแรงงานของนายกฯแสดงให้เห็นว่า รัฐบาลรับเอาข้อเสนอของภาคเอกชน เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) สภาหอการค้าไทย ที่ได้หารือกันมาผนวกเข้ากับร่างคำแถลงนโยบายเดิม ซึ่งเป็นการเปิดช่องให้แก่นายจ้างและลูกจ้างในเรื่องการปรับค่าจ้างเป็น 300 บาทต่อวัน เพราะไม่ได้ระบุถึงกำหนดเวลา และขั้นตอน แต่มีเงื่อนไขให้เป็นไปตามผลิตภาพ ซึ่งแรงงานก็ต้องพัฒนาทักษะฝีมือเพื่อให้ได้ผลิตภาพเพิ่มขึ้น ขณะที่นายจ้างก็ต้องเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานโดยพัฒนาลูกจ้างและจัดหาเครื่องจักร อุปกรณ์ จึงจะมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน
“คำแถลงนโยบายเป็นการประกันรายได้ให้แก่แรงงาน ไม่ใช่การปรับค่าจ้างขั้นต่ำ และไม่ตรงกับข้อความที่เขียนไว้ในป้ายหาเสียงของพรรคเพื่อไทย (พท.) ที่ระบุว่า เพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทต่อวัน อาจจะทำให้แรงงานไม่พอใจเพราะไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า การที่รัฐบาลทำเช่นนี้คงประเมินแล้วว่า การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน เป็นไปได้ยาก จะทำให้ธุรกิจเอสเอ็มอีต้องเลิกกิจการจำนวนมากและแรงงานตกงานเยอะ” รศ.ยงยุทธ กล่าว