สภา กทม.เห็นชอบตั้งคณะกรรมการวิสามัญ 46 คน พิจารณาร่างข้อบัญญัติ กทม.เรื่อง งบประมาณรายจ่าย ประจำปี 2555เน้นให้หน่วยงานใช้จ่ายงบให้เกิดประโยชน์กับประชาชนสูงสุด
วันนี้ (27 ก.ค.) ณ ห้องประชุมสภากรุงเทพมหานคร นายสุทธิชัย วีรกุลสุนทร ประธานสภากรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมเพื่อพิจารณาญัตติร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 โดยมีม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และสมาชิกสภา กทม.ร่วมประชุม
ในที่ประชุม ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ได้เสนอร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2555 ต่อที่ประชุม โดยตั้งงบประมาณแบบงบสมดุลมีรายได้และรายจ่ายเท่ากัน จำแนกเป็น วงเงินงบประมาณรายรับ 55,780.84 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณปี 54 จำนวน 9,100 ล้านบาท ประกอบด้วย ประมาณการรายรับของกรุงเทพมหานคร 55,000 ล้านบาท ประมาณการรายรับของการพาณิชย์กรุงเทพมหานคร 780.84 ล้านบาท จำแนกเป็นรายได้ประจำ 473.81 ล้านบาท รายได้พิเศษ 201.21 ล้านบาท และคาดการณ์จะได้รับเงินงบประมาณอุดหนุนจากรัฐบาลเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ สำหรับปีงบประมาณ 2555 จำนวน 14,027.59 ล้านบาท และวงเงินงบประมาณการรายจ่าย 55,507.97 ล้านบาท ประกอบด้วย ประมาณการรายจ่ายของ กทม.55,000 ล้านบาท จำแนกเป็น รายจ่ายประจำ 4,600 ล้านบาท โดยจ่ายจากรายได้ประจำของ กทม.4,100 ล้านบาท ประมาณรายจ่ายของการพาณิชย์ กทม.458.39 ล้านบาท จำแนกเป็น รายจ่ายประจำ 239.19 ล้านบาท โดยจ่ายจากรายได้ประจำของการพาณิชย์ของ กทม.487.71 ล้านบาท รายจ่ายพิเศษ 268.78 ล้านบาท โดยจ่ายจากกำไรสะสมของการพาณิชย์ของ กทม.293.12 ล้านบาท
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายปี 2555 จะไม่รวมงบประมาณรายจ่ายของการพาณิชย์ โดยได้จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนนโยบายในด้านต่างๆ ตามนโยบายของผู้บริหารและทิศทางของแผนพัฒนาเพื่อประโยชน์ของกรุงเทพมหานคร จำแนกเป็น ด้านการแก้ปัญหาจราจร 1,807 ล้านบาท ด้านเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม 2,815 ล้านบาท ด้านส่งเสริมสุขภาพคนเมือง 2,080 ล้านบาท ด้านการดูแลความปลอดภัยและจัดการเมือง 557 ล้านบาท ด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการส่งเสริมการท่องเที่ยว 592 ล้านบาท ด้านการศึกษา 1,895 ล้านบาท ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครจึงจำเป็นต้องใช้งบประมาณเพื่อดำเนินงานตามนโยบายหลัก 6 ด้าน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและตรงตามนโยบายในการพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองหลวงที่น่าอยู่ ยั่งยืน และเป็นเมืองสวรรค์ ภายในปี 2555 สนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ขณะที่ ส.ก.ได้ร่วมกันอภิปรายกันอย่างกว้างขวางถึงการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงาน ซึ่งจะต้องเป็นประโยชน์สูงสุด และต้องคำนึงถึงความเหมาะสมเป็นหลัก พร้อมทั้งตั้งข้อสังเกตหน่วยงานควรดำเนินโครงการที่เป็นประโยชน์และสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อมและพัฒนาเมืองหลวงให้น่าอยู่อย่างยั่งยืนอีกด้วย
ทั้งนี้ ในที่ประชุมมีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างข้อ บัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 ทั้งหมด จำนวน 46 คน โดยกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาภายใน 45 วัน
พร้อมกันนี้ นายสุทธิชัย กล่าวว่า ในที่ประชุมสภา กทม.มีมติเห็นชอบญัตติให้กรุงเทพมหานครยืมเงินสะสมกรุงเทพมหานครจำนวน 2,644,692,694 บาท โดยก่อนหน้านี้ที่ประชุม ซึ่งมี นายพิพัฒน์ ลาภปรารถนา เป็นประธานคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาญัตติฯก่อนให้ความเห็นชอบ ได้พิจารณาในรายละเอียด สำหรับหน่วยงานที่ยืมเงินสะสม กทม.มีดังนี้ สำนักการโยธา(สนย.) 430,951,000 บาท, สำนักการระบายน้ำ (สนน.) 210,709,127 บาท, สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) 850,107,152 บาท, สำนักสิ่งแวดล้อม (สวล.) 1,077,725,415 บาท, สำนักการศึกษา 31,600,000 บาท และไม่เห็นชอบให้กทม.ยืมเงินสะสมกรุงเทพมหานคร 43,600,000 บาท (สี่สิบสามล้านหกแสนบาทถ้วน) ได้แก่ หน่วยงานสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล 43,600,000 บาท เนื่องจากหน่วยงานยังไม่ได้ก่อหนี้ผูกพัน
ทั้งนี้ ที่ประชุมสภา กทม.จะได้ให้สำนักเลขานุการสภา กทม.ยืนยันในญัตติ ก่อนส่งเรื่องให้ผู้ว่าฯ กทม.ดำเนินการต่อไป
วันนี้ (27 ก.ค.) ณ ห้องประชุมสภากรุงเทพมหานคร นายสุทธิชัย วีรกุลสุนทร ประธานสภากรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมเพื่อพิจารณาญัตติร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2555 โดยมีม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร และสมาชิกสภา กทม.ร่วมประชุม
ในที่ประชุม ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ ได้เสนอร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2555 ต่อที่ประชุม โดยตั้งงบประมาณแบบงบสมดุลมีรายได้และรายจ่ายเท่ากัน จำแนกเป็น วงเงินงบประมาณรายรับ 55,780.84 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณปี 54 จำนวน 9,100 ล้านบาท ประกอบด้วย ประมาณการรายรับของกรุงเทพมหานคร 55,000 ล้านบาท ประมาณการรายรับของการพาณิชย์กรุงเทพมหานคร 780.84 ล้านบาท จำแนกเป็นรายได้ประจำ 473.81 ล้านบาท รายได้พิเศษ 201.21 ล้านบาท และคาดการณ์จะได้รับเงินงบประมาณอุดหนุนจากรัฐบาลเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ สำหรับปีงบประมาณ 2555 จำนวน 14,027.59 ล้านบาท และวงเงินงบประมาณการรายจ่าย 55,507.97 ล้านบาท ประกอบด้วย ประมาณการรายจ่ายของ กทม.55,000 ล้านบาท จำแนกเป็น รายจ่ายประจำ 4,600 ล้านบาท โดยจ่ายจากรายได้ประจำของ กทม.4,100 ล้านบาท ประมาณรายจ่ายของการพาณิชย์ กทม.458.39 ล้านบาท จำแนกเป็น รายจ่ายประจำ 239.19 ล้านบาท โดยจ่ายจากรายได้ประจำของการพาณิชย์ของ กทม.487.71 ล้านบาท รายจ่ายพิเศษ 268.78 ล้านบาท โดยจ่ายจากกำไรสะสมของการพาณิชย์ของ กทม.293.12 ล้านบาท
ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ กล่าวว่า การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายปี 2555 จะไม่รวมงบประมาณรายจ่ายของการพาณิชย์ โดยได้จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนนโยบายในด้านต่างๆ ตามนโยบายของผู้บริหารและทิศทางของแผนพัฒนาเพื่อประโยชน์ของกรุงเทพมหานคร จำแนกเป็น ด้านการแก้ปัญหาจราจร 1,807 ล้านบาท ด้านเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม 2,815 ล้านบาท ด้านส่งเสริมสุขภาพคนเมือง 2,080 ล้านบาท ด้านการดูแลความปลอดภัยและจัดการเมือง 557 ล้านบาท ด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการส่งเสริมการท่องเที่ยว 592 ล้านบาท ด้านการศึกษา 1,895 ล้านบาท ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครจึงจำเป็นต้องใช้งบประมาณเพื่อดำเนินงานตามนโยบายหลัก 6 ด้าน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและตรงตามนโยบายในการพัฒนากรุงเทพมหานครให้เป็นเมืองหลวงที่น่าอยู่ ยั่งยืน และเป็นเมืองสวรรค์ ภายในปี 2555 สนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ขณะที่ ส.ก.ได้ร่วมกันอภิปรายกันอย่างกว้างขวางถึงการใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงาน ซึ่งจะต้องเป็นประโยชน์สูงสุด และต้องคำนึงถึงความเหมาะสมเป็นหลัก พร้อมทั้งตั้งข้อสังเกตหน่วยงานควรดำเนินโครงการที่เป็นประโยชน์และสามารถพัฒนาคุณภาพชีวิต สิ่งแวดล้อมและพัฒนาเมืองหลวงให้น่าอยู่อย่างยั่งยืนอีกด้วย
ทั้งนี้ ในที่ประชุมมีมติเห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างข้อ บัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องบประมาณรายจ่ายประจำปี 2555 ทั้งหมด จำนวน 46 คน โดยกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาภายใน 45 วัน
พร้อมกันนี้ นายสุทธิชัย กล่าวว่า ในที่ประชุมสภา กทม.มีมติเห็นชอบญัตติให้กรุงเทพมหานครยืมเงินสะสมกรุงเทพมหานครจำนวน 2,644,692,694 บาท โดยก่อนหน้านี้ที่ประชุม ซึ่งมี นายพิพัฒน์ ลาภปรารถนา เป็นประธานคณะกรรมการวิสามัญพิจารณาญัตติฯก่อนให้ความเห็นชอบ ได้พิจารณาในรายละเอียด สำหรับหน่วยงานที่ยืมเงินสะสม กทม.มีดังนี้ สำนักการโยธา(สนย.) 430,951,000 บาท, สำนักการระบายน้ำ (สนน.) 210,709,127 บาท, สำนักการจราจรและขนส่ง (สจส.) 850,107,152 บาท, สำนักสิ่งแวดล้อม (สวล.) 1,077,725,415 บาท, สำนักการศึกษา 31,600,000 บาท และไม่เห็นชอบให้กทม.ยืมเงินสะสมกรุงเทพมหานคร 43,600,000 บาท (สี่สิบสามล้านหกแสนบาทถ้วน) ได้แก่ หน่วยงานสำนักยุทธศาสตร์และประเมินผล 43,600,000 บาท เนื่องจากหน่วยงานยังไม่ได้ก่อหนี้ผูกพัน
ทั้งนี้ ที่ประชุมสภา กทม.จะได้ให้สำนักเลขานุการสภา กทม.ยืนยันในญัตติ ก่อนส่งเรื่องให้ผู้ว่าฯ กทม.ดำเนินการต่อไป