สพฐ.เล็งออกระเบียบบริหารโรงเรียนนิติบุคคลนำร่อง โรงเรียนจุฬาภรณฯ แห่งแรก พร้อมวางแผนพัฒนาโรงเรียนระดับพรีเมียมที่มีศักยภาพสูงควบคู่กัน โดยจะเปิดช่องทางให้ ร.ร.เพิ่มศักยภาพและจะประเมินเพื่อสกรีนให้ เหลือ ร.ร.ที่พร้อมอย่างแท้จริง
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมได้รายงานความคืบหน้าโครงการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง ให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ระดับภูมิภาค ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบอนุมัติพร้อมกรอบวงเงินงบประมาณจำนวน 6,085 ล้านบาท ในเวลา 8 ปี รวมทั้งกรอบอัตรากำลังจำนวน 127 คนต่อโรงเรียน และดึงสถาบันอุดมศึกษามาเป็นพี่เลี้ยงในทางวิชาการ
อย่างไรก็ตาม ในระยะเริ่มต้นยังให้โรงเรียนจุฬาภรณฯ เป็นส่วนราชการสังกัด สพฐ.ไปก่อน แต่ต่อไปจะยกระดับให้มีความเป็นอิสระและคล่องตัวมากขึ้น ซึ่งตรงนี้จำเป็นต้องมีการดำเนินการทางกฎหมายเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ในประเด็นทางด้านวิชาการ การเงิน งบประมาณ การบริหารงานบุคคลและการบริหารงานทั่วไป และที่สำคัญ คือ ด้านบุคลากรที่ต้องมีครูที่มีความรู้ความสามารถ ประสบการทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และผู้บริหารที่เหมาะสม โรงเรียน ทั้งนี้คาดว่าจะเสนอให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) พิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวในเดือนหน้า
“ที่ประชุมให้ข้อเสนอแนะว่าควรจะมีการออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่าด้วยการบริหารจัดการโรงเรียนนิติบุคคลนำร่อง เฉพาะกลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณฯ ซึ่งหมายความว่าจะทำให้โรงเรียนจุฬาภรณฯมีข้อยกเว้นบางอย่างที่เกี่ยวกับการบริหารทั้งด้านการเงิน งบประมาณ และการบริหารบุคคล และอาจเสนอให้ตั้งคณะอนุกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) วิสามัญเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลด้วย เพื่อจะได้ครูและผู้บริหารที่มีความสามารถที่เหมาะสม และมีการเสนอว่าให้การบริหารงานบุคคลสิ้นสุดที่โรงเรียน และควรจะมีวิธีการสรรหาผู้อำนวยการโรงเรียนที่มีอิสระและคล่องตัวมากขึ้น” นายชินภัทร กล่าวและว่า ทั้งนี้ โรงเรียนจุฬาภรณฯ มีความเป็นนิติบุคคลอยู่แล้ว แต่กฎระเบียบหลายอย่างไม่เอื้อต่อการเป็นนิติบุคคลอย่างแท้จริง
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ สพฐ.วางแผนจะพัฒนาโรงเรียนอื่นที่มีความพร้อมเป็นนิติบุคคล แต่ยังติดขัดเรื่องบุคลากร การระดมทรัพยากรและเรื่องงานวิชาการ คู่ขนานไปพร้อมกับของโรงเรียนจุฬาภรณฯ ด้วย เช่น โรงเรียนระดับ Premium หรือโรงเรียนที่มีศักยภาพสูง พร้อมที่จะพึ่งพาตัวเองมากขึ้นและพัฒนาสู่ความเป็นเลิศได้ ทั้งนี้ สพฐ.ก็กำลังพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการเพื่อให้โรงเรียนเหล่านี้ได้เพิ่มช่องทางให้โรงเรียนพัฒนาศักยภาพของสูงขึ้น ซึ่งคงไม่ได้หมายถึงโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงทั้งหมดที่มีอยู่ 200 กว่าโรงเรียนในปัจจุบันแต่จะต้องเป็นโรงเรียนที่พร้อมจะพัฒนาเข้าสู่กลุ่มที่เรียนว่า Premium School
“เราจะต้องประเมินความพร้อมด้านวิชาการของโรงเรียนกลุ่มนี้ เช่น ศักยภาพความพร้อมที่จะเสนอหลักสูตรที่เหนือกว่าหลักสูตรทั่วไป ความพร้อมด้านบุคลากรที่ต้องรองรับหลักสูตรที่ตนเองเสนอ ดูความพร้อมในแง่การระดมทรัพยากร เป็นที่ต้องการของนักเรียนและผู้ปกครอง ซึ่งเมื่อประเมินแล้วคาดว่าจะเหลือไม่กี่แห่งที่ถือว่ามีความพร้อมจริงๆ ซึ่งถ้าเราปลดล็อคเรื่องนี้ได้จะมีโรงเรียนที่หลากหลายมากขึ้น” นายชินภัทร กล่าว
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า ในการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ที่ประชุมได้รายงานความคืบหน้าโครงการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง ให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ระดับภูมิภาค ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบอนุมัติพร้อมกรอบวงเงินงบประมาณจำนวน 6,085 ล้านบาท ในเวลา 8 ปี รวมทั้งกรอบอัตรากำลังจำนวน 127 คนต่อโรงเรียน และดึงสถาบันอุดมศึกษามาเป็นพี่เลี้ยงในทางวิชาการ
อย่างไรก็ตาม ในระยะเริ่มต้นยังให้โรงเรียนจุฬาภรณฯ เป็นส่วนราชการสังกัด สพฐ.ไปก่อน แต่ต่อไปจะยกระดับให้มีความเป็นอิสระและคล่องตัวมากขึ้น ซึ่งตรงนี้จำเป็นต้องมีการดำเนินการทางกฎหมายเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง ในประเด็นทางด้านวิชาการ การเงิน งบประมาณ การบริหารงานบุคคลและการบริหารงานทั่วไป และที่สำคัญ คือ ด้านบุคลากรที่ต้องมีครูที่มีความรู้ความสามารถ ประสบการทางด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และผู้บริหารที่เหมาะสม โรงเรียน ทั้งนี้คาดว่าจะเสนอให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) พิจารณาตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวในเดือนหน้า
“ที่ประชุมให้ข้อเสนอแนะว่าควรจะมีการออกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่าด้วยการบริหารจัดการโรงเรียนนิติบุคคลนำร่อง เฉพาะกลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณฯ ซึ่งหมายความว่าจะทำให้โรงเรียนจุฬาภรณฯมีข้อยกเว้นบางอย่างที่เกี่ยวกับการบริหารทั้งด้านการเงิน งบประมาณ และการบริหารบุคคล และอาจเสนอให้ตั้งคณะอนุกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) วิสามัญเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลด้วย เพื่อจะได้ครูและผู้บริหารที่มีความสามารถที่เหมาะสม และมีการเสนอว่าให้การบริหารงานบุคคลสิ้นสุดที่โรงเรียน และควรจะมีวิธีการสรรหาผู้อำนวยการโรงเรียนที่มีอิสระและคล่องตัวมากขึ้น” นายชินภัทร กล่าวและว่า ทั้งนี้ โรงเรียนจุฬาภรณฯ มีความเป็นนิติบุคคลอยู่แล้ว แต่กฎระเบียบหลายอย่างไม่เอื้อต่อการเป็นนิติบุคคลอย่างแท้จริง
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ สพฐ.วางแผนจะพัฒนาโรงเรียนอื่นที่มีความพร้อมเป็นนิติบุคคล แต่ยังติดขัดเรื่องบุคลากร การระดมทรัพยากรและเรื่องงานวิชาการ คู่ขนานไปพร้อมกับของโรงเรียนจุฬาภรณฯ ด้วย เช่น โรงเรียนระดับ Premium หรือโรงเรียนที่มีศักยภาพสูง พร้อมที่จะพึ่งพาตัวเองมากขึ้นและพัฒนาสู่ความเป็นเลิศได้ ทั้งนี้ สพฐ.ก็กำลังพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการเพื่อให้โรงเรียนเหล่านี้ได้เพิ่มช่องทางให้โรงเรียนพัฒนาศักยภาพของสูงขึ้น ซึ่งคงไม่ได้หมายถึงโรงเรียนที่มีอัตราการแข่งขันสูงทั้งหมดที่มีอยู่ 200 กว่าโรงเรียนในปัจจุบันแต่จะต้องเป็นโรงเรียนที่พร้อมจะพัฒนาเข้าสู่กลุ่มที่เรียนว่า Premium School
“เราจะต้องประเมินความพร้อมด้านวิชาการของโรงเรียนกลุ่มนี้ เช่น ศักยภาพความพร้อมที่จะเสนอหลักสูตรที่เหนือกว่าหลักสูตรทั่วไป ความพร้อมด้านบุคลากรที่ต้องรองรับหลักสูตรที่ตนเองเสนอ ดูความพร้อมในแง่การระดมทรัพยากร เป็นที่ต้องการของนักเรียนและผู้ปกครอง ซึ่งเมื่อประเมินแล้วคาดว่าจะเหลือไม่กี่แห่งที่ถือว่ามีความพร้อมจริงๆ ซึ่งถ้าเราปลดล็อคเรื่องนี้ได้จะมีโรงเรียนที่หลากหลายมากขึ้น” นายชินภัทร กล่าว